คนยอมพูดเท็จเพื่อผลประโยชน์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 16 กันยายน 2009.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    ๗ อัตถกรณสูตร


    ว่าด้วยคนยอมพูดเท็จเพื่อผลประโยชน์

    [๓๔๓] พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ ข้าพระองค์ได้นั่ง ณ ศาลพิจารณาคดี เป็นกษัตริย์มหาศาลบ้าง พรหมณมหาศาลบ้าง คฤหบมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้เป็นการไม่สมควรที่เราจะพิจารณาคดี (เพราะ) บัดนี้ ราชโอรสนามว่า วิฑูฑภะ ผู้มีหน้าชื่นบาน จักมาพิจารณาคดี.

    [๓๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ชอบแล้วๆ มหาบพิตร กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล แม้บางพวกเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย ยังกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน.

    [๓๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์นี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาต่อไปอีกว่า
    สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมาก หมกมุ่นในกาม ย่อมไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด เหมือนฝูงปลาไม่รู้ตัวว่าเข้าไปสู่เครื่องดักที่เขาดักไว้ ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง เพราะว่ากรรมนั้นมีวิบากเลวทราม.

    อัตถกรณสูตรที่ ๗ จบ


    อรรถกถาอัตถกรณสูตรที่ ๗

    พึงทราบวินิจฉัยในอัตถกรณสูตรที่ ๗ ต่อไป

    คำว่า เพราะกามเป็นเหตุ (กามเหตุ) ได้แก่ มีกามเป็นมูล. คำว่า เพราะกามเป็นเค้ามูล (กามนิทานํ) ได้แก่ มีกามเป็นปัจจัย. คำว่า เพราะกามเป็นตัวการณ์ (กามาธิกรณํ) ได้แก่มีกามเป็นเหตุ. ทุกคำเป็นไวพจน์ของกันและกันหมด. คำว่า ผู้มีหน้าชื่นบาน (ภทฺมฺโธ) ได้แก่ หน้างาม. ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระราชาเสด็จออกประทับนั่ง พิจารณาคดีความ. ในที่นั้นพวกอมาตย์รับสินบนมาก่อนวินิจฉัยคดี ก็ตัดสินให้ผู้มิใช่เจ้าของทรัพย์สินกลายเป็นเจ้าของทรัพย์สินไป. พระราชาทรงทราบเรื่องนั้นแล้วทรงดำริว่า "ต่อหน้าเราผู้เป้นใหญ่ในแผ่นดิน อมาตย์พวกนี้ยังกระทำถึงเพียงนี้ ลับหลังเรา พวกเขาจักไม่ทำได้อย่างไร บัดนี้ วิฑูฑภิเสนาบดีจักเป็นพระราชเอง ประโยชน์อะไรที่เราจะนั่งพิจารณาคดี ร่วมกับพวกอมาตย์กินสินบนพูดมดเท็จเห็นปานนี้" เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

    คำว่า สู่เครื่องดักที่เขาดักไว้ (ขิปฺปํว โอฑฺฑิตํ) ได้แก่ เหมือนปลาเข้าไปสู่เครื่องดัก. อธิบายว่า ปลาทั้งหลายเข้าไปสู่เครื่องดักที่เขาดักไว้ยังไม่รู้สึกตัว ฉันใด สัตว์ทั้งหลายล่วงเข้าไปสู่วัตถุกาม เพราะกิเลสกามก็ไม่รู้สึกตัว ฉันนั้น.

    อรรถกถาอัตถกรณสูตรที่ ๗ จบ


    พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล
    พระสุตตันตปิฎก
    สารัตถปกาสินี สังยุตตนิกาย
    สคาถวรรค
    ภาค ๑ เล่ม ๑
    หน้า ๓๔๓-๓๔๔

    ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
    เล่ม ๒๔

     

แชร์หน้านี้

Loading...