เรื่องเด่น คนกิเลสหนากับการบรรลุธรรม

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 4 พฤศจิกายน 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,810
    A.PNG

    การบรรลุธรรมของคนที่มีกิเลสหนา เรื่องน่าคิดจากพระไตรปิฎก

    หลายท่านอาจจะสงสัยว่า “คนที่มีกิเลสหนา บรรลุธรรมไม่ได้” และเชื่อกันมาแบบนี้ แต่พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ไว้ในพระสูตรที่มีชื่อว่า วิตถารสูตร ถึงการบรรลุธรรมของคนที่มีกิเลสหนา ไว้ว่า…


    บุคคลบางคนในโลกนี้ ตามปกติเป็นผู้มีความกำหนัดยินดีในกาม (ราคะ) ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดจากความกำหนัดยินดีในกามตลอด


    เป็นผู้มีความโกรธ (โทสะ) รุนแรง ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากความโกรธตลอด

    เป็นผู้ที่มีความหลง (โมหะ) รุนแรง ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากความหลงตลอด

    G.PNG

    แต่อินทรีย์ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เหล่านี้มีความแรงกล้า เขาย่อมบรรลุธรรมอย่างฉับพลัน แต่หากคนผู้นั้นมีกิเลสเป็นราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง ไม่ได้มีความทุกข์โทมนัสจากราคะ โทสะ และโมหะ แต่อินทรีย์ทั้ง 5 ประการนี้อ่อน เขาย่อมได้บรรลุมรรคผลล่าช้า การบรรลุธรรมจึงขึ้นอยู่กับอินทรีย์ 5 ประการ


    F.PNG

    ระดับของการบรรลุธรรม

    การบรรลุธรรมของคนที่มีกิเลสหนาถึงจะขึ้นอยู่กับอินทรีย์ 5 แต่ก็มีความช้าและความเร็วแตกต่างกันไป พระพุทธเจ้าทรงจัดระดับไว้ 4 ระดับด้วยกันคือ

    1) ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา หมายถึง ผู้ที่มีกิเลสหนา แต่มีอินทรีย์ 5 ประการบาง จึงบรรลุธรรมได้ช้า

    2) ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา หมายถึง ผู้ที่มีกิเลสหนา แต่มีอินทรีย์ 5 ประการแรงกล้า จึงบรรลุธรรมได้ไว
    3) สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา หมายถึง ผู้ที่ไม่มีกิเลส แต่มีอินทรีย์ 5 ประการบาง จึงบรรลุธรรมช้า
    4) สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา หมายถึง ผู้ที่ไม่มีกิเลส และมีอินทรีย์ 5 ประการแรงกล้า จึงบรรลุธรรมได้ไว

    H.png

    ทำไมการบรรลุธรรมจึงเกี่ยวข้องกับอินทรีย์ 5 ประการ?

    อินทรีย์ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เป็นองค์ธรรมที่ช่วยให้โลภะ โทสะ และโมหะ ลดลง เมื่อมีความเชื่อมั่น (ศรัทธา) ต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเกิดความเพียร (วิริยะ) การระลึกรู้ได้ก็จะตามมา (สติ) เมื่อเกิดการระลึกได้สมาธิก็จะตามมา เมื่อมีสมาธิผลที่ได้คือปัญญา ผู้บรรลุอรหันต์ล้วนผ่านองค์ธรรม 5 ประการนี้

    D.PNG

    ตัวอย่างเช่น เจ้าหญิงอภิรูปนันทา เป็นสตรีชนชั้นสูงที่มีความงามเป็นเลิศ จึงมีอุปนิสัยรักสวยรักงาม พอผนวชเป็นภิกษุณี ก็ยังไม่ทรงละอุปนิสัยรักสวยรักงามอยู่ดี พระพุทธเจ้าทรงต้องการโปรดเจ้าหญิงอภิรูปนันทาให้ทราบถึงโทษของการรักสวยรักงาม

    พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตสตรีนางหนึ่งขึ้นมาให้มีความงามประดุจนางฟ้า เจ้าหญิงทรงหลงใหลแล้วชมว่า สตรีนางนี้ช่างมีความงดงามมากกว่าสตรีใดๆที่้เคยพบเห็นมา ไม่นานสตรีนางนี้ก็ค่อยๆ แก่ลง แล้วตายกลายสภาพเป็นศพ และเริ่มเน่าส่งกลิ่นเหม็น แล้วกลายเป็นโครงกระดูกในที่สุด

    E.PNG

    เมื่อเจ้าหญิงอภิรูปนันทาทอดพระเนตรดังนั้นแล้วทรงเชื่อ (ศรัทธา) ในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วว่าการยึดติดในความงามเป็นสิ่งที่เที่ยง แท้ที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เมื่อเจ้าหญิงทรงพิจารณาร่างของสตรีนางนั้นด้วยความตั้งใจ (วิริยะ) เมื่อทรงสังเกตพินิจพิจารณาจนถึงตอนที่สตรีนางนั้นสิ้นลม การระลึกรู้ (สติ) ถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าก็บังเกิดขึ้นในบัดนั้นทันที พอทรงมีสติพิจารณาใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนดีแล้ว จึงบังเกิดความสงบ (สมาธิ) ขึ้น เจ้าหญิงอภิรูปนันทาเกิดความเข้าพระทัยว่า สิ่งที่พระนางหลงใหล (โลภะ) ในความงามนั้น เป็นความเขลาเบาปัญญา ทำให้พระนางตรึงอยู่ในกระแสแห่งการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป

    B.PNG

    พระนางทรงข้ามฝั่งแห่งน่านน้ำอวิชชามาถึงฝั่งแห่งวิชชา อันเกิดจากการพิจารณาร่างของสตรีซึ่งถูกเนรมิต จนทำให้พระนางบรรลุธรรม เจ้าหญิงอภิรูปนันทา เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าคนที่มีกิเลสหนา ที่บรรลุธรรมได้นั้นมีอยู่จริง แต่อินทรีย์ 5 ประการของพระนางถึงพร้อม พระพุทธเจ้าทรงเห็นจึงได้มาโปรดพระนางด้วยวิธีนี้จนพระนางบรรลุธรรม

    C.PNG


    Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจาก วิตถารสูตร ว่าด้วยปฏิปทาโดยพิสดาร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต




     

แชร์หน้านี้

Loading...