กูรูชี้โลกร้อนคือตัวเพิ่มความขัดแย้ง เร่งคนนับล้านให้รุนแรง-ก่อการร้าย

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย mead, 25 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    กูรูชี้'โลกร้อน'คือตัวเพิ่มความขัดแย้ง เร่งคนนับล้านให้รุนแรง-ก่อการร้าย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>กูรูชี้'โลกร้อน'คือตัวเพิ่มความขัดแย้ง เร่งคนนับล้านให้รุนแรง-ก่อการร้าย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 มกราคม 2550 05:20 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาวะโลกร้อนคือสาเหตุหนึ่งในการก่อการร้าย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เอเจนซี - ภาวะโลกร้อนอาจเพิ่มการแบ่งแยกประเทศร่ำรวย-ยากจน และช่วยทำให้ประชากรกลายเป็นพวกหัวรุนแรง ทั้งยังปลุกระดมการก่อการร้ายในบรรดาประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและภูมิอากาศ ระบุเมื่อวันพุธ(24)

    "เราต้องรับมือกับการโน้มเอียงหาความรุนแรงของมนุษย์" เซอร์ คริสปิน ทิกเคล อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำองค์การสหประชาชาติ กล่าวในการประชุมที่ลอนดอน เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ผลกระทบต่อความมั่นคงทั่วโลก"

    "เราต้องยอมรับว่า ความรุนแรงภายในและระหว่างสังคม และระหว่างรัฐชาติต่างๆ อาจเพิ่มขึ้นได้ เพราะตัวอย่างก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป"

    เขายกตัวอย่างประเทศรวันดาและเขตดาร์ฟูร์ของซูดาน ซึ่งแห้งแล้งและประชากรหนาแน่น ทั้งยังขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง

    ผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมแห่งนี้ ซึ่งมีสถาบัน Royal United Services Institute เป็นเจ้าภาพ กล่าวว่า เป็นไปได้ว่า ภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดการไหลทะลักของผู้ลี้ภัยจำนวนมาก เพราะผู้คนพยายามหลบหนีจากบริเวณที่ถูกน้ำท่วมเนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น หรือพื้นที่ที่กลายเป็นทะเลทรายจนอยู่อาศัยไม่ได้

    ทิกเคลเผยว่า ผู้ก่อการร้ายน่าจะฉวยโอกาสหาประโยชน์จากความตึงเครียดที่เกิดขึ้น

    "ผู้คนที่ขาดแคลนอาหาร ผู้คนที่ขาดแคลนน้ำ ผู้คนที่ไม่สามารถย้ายไปยังประเทศที่เหมือนว่าทุกอย่างดีเลิศ จะเป็นคนที่ใช้มาตรการยามเข้าตาจนเพื่อแสดงให้เห็นจุดประสงค์ของพวกเขา"

    จอห์น มิตเชล หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ จากกรมอุตุนิยมวิทยาของอังกฤษ ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มอัลกออิดะห์ได้จัดให้การทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ในบัญชีแค้นที่มีต่อสหรัฐฯแล้ว

    "ท่านทำลายธรรมชาติด้วยขยะและก๊าซจากอุตสาหกรรมของท่านมากกว่าประเทศอื่นใดในประวัติศาสตร์ และแม้จะเป็นเช่นนี้ ท่านยังไม่ยอมลงนามในข้อตกลงเกียวโต เพื่อให้บริษัทและอุตสาหกรรมที่มีแต่ความละโมภของตัวเองสามารถทำกำไรได้" อุซามะห์ บินลาดิน เขียนไว้ใน "จดหมายถึงชาวอเมริกัน" เมื่อปี 2002

    พอล โรเจอรส์ อาจารย์ด้านสันติภาพศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยแบรดฟอร์ด กล่าวว่า ความพยายามใดๆจากประเทศที่ต้องการสร้างกำแพงเพื่อเป็นป้อมปราการกั้นผู้ลี้ภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะไม่ประสบความสำเร็จ

    "ถ้าลองใช้บังกลาเทศเป็นตัวอย่าง หาก คน 60 ล้านคนจาก 140 คน ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในบังกลาเทศ แต่ก็ยังต้องถูกบังคับให้อยู่ที่นั่น คุณก็จะต้องเผชิญกับ 1. ความทนทุกข์ของมนุษย์อย่างมากมหาศาล และ 2. การค่อยๆกลายเป็นพวกหัวรุนแรงสุดๆ และนั่นจะไม่อยู่ในความสนใจด้านความมั่นคงของใครด้วยซ้ำไป"

    บังกลาเทศ ซึ่งมีชายฝั่งติดอ่าวเบงกอลยาว 580 กม. เป็นเป้าเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น พายุไซโคลน และความแห้งแล้ง เป็นอย่างมาก

    มิตเชล ผู้เป็นนักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ กล่าวว่า ประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และตะวันออกกลาง มีแนวโน้มจะมีฝนตกน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกเหนือจากความตึงเครียดเรื่องน้ำที่มีอยู่เดิมแล้ว

    จอห์น แอชตัน ผู้แทนพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ แสดงความวิตกว่า ปัญหานี้อาจทำลายความมั่นคงในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งอยู่แล้ว

    "ดูจากลักษณะที่เปราะบางของภูมิภาคนั้น ดูจากผลทั่วโลกที่ตามมาจากความเปราะบางนั้น ใช่ ผมวิตกเรื่องนั้นเป็นอย่างมาก" เขากล่าวกับรอยเตอร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...