การเปิดกรุพระอู่ทองลพบุรี-และที่เขมร

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย thejirayu, 29 พฤศจิกายน 2006.

  1. thejirayu

    thejirayu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2006
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +2,088
    [​IMG][SIZE=+1]การเปิดกรุพระอู่ทองลพบุรี-และที่เขมร[/SIZE]


    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="6%"><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=670>พระอู่ทอง ท้องช้าง
    วัดพระศรีฯ ลพบุรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="94%">ในปีพุทธศักราช 2508 และในอดีตที่ผ่านมานั้น ได้มีการลักลอบขุดค้นเพื่อหา
    ของมีค่า ตามบริเวณวัดร้างโดยทั่วไปในเมืองลพบุรีกันมาก โดยไม่ใช่เจ้าหน้าที่หรือ
    ทางราชการขุดหรือเปิดกรุแต่อย่างใด พระที่ผู้ลักลอบขุดพบโดยมากกระจัดกระจาย
    ไปอยู่ในหมู่นักเล่นแทบทั้งหมด เพราะผู้ขุดได้พยายามปิดบังซ่อนเร้นเจ้าหน้าที่ทุก
    เวลาจึงยากแก่การติดตามของฝ่ายเจ้าหน้าที่เป็นอย่างยิ่ง เวลาได้พบพระแล้วคนขุด
    จะปกปิดเรื่องราวข่าวคราว และแม้แต่กระทั่งวัตถุที่ใช้บรรจุพระก็มีโดยพยายามพูด
    ดำให้เป็นขาว พูดขาวให้เป็นดำเสมอๆ ดังนั้นจึงต้องติดตามข่าวคราวทั้งหลายทั้งปวง
    ให้ได้ข้อมูลละเอียดถี่ถ้วนเป็นอย่างดีเสียก่อน จึงจะเสนอข่าวต่อไปยังท่านผู้อ่าน
    เพื่อให้ข่าวนั้นถูกต้องใกล้เคียง และสามารถพิสูจน์ได้
    การขุดค้นหาของชาวลพบุรีนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่ม แต่ละหมู่
    มีความชำนาญมากน้อยไม่เหมือนกัน บางกลุ่มขุดไปแทบตายเกิดไปพบแหล่งที่มี
    ผู้คนขุดไปก่อนแล้วก็มี (เรียกว่าขุดช้ำที่) แหล่งที่ผู้ค้นหากันมากที่สุดนั้น เห็นจะมี
    แต่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในตัวจังหวัดลพบุรีก็ว่าได้

    มีการขุดค้นกันมาหลายยุคหลายสมัย จากคำบอกเล่าของนักขุดรุ่นเก่า และนักขุด
    รุ่นใหม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ ปรากฏว่าจะพบพระแทบทุกครั้งที่มีการขุด จะไม่พบนั้นมีน้อย
    เหลือเกิน แสดงให้เห็นว่าการลักลอบขุดในแต่ละครั้งมักจะปรากฏสิ่งของมีค่า เช่น
    พระบูชาและพระเครื่องและสิ่งอื่นๆ อีกเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สิ่งที่ปรากฏในช่วงระยะกลังๆ นั้น โดยมากจะพบจากซากฐานเจดีย์ที่จมดินแล้วเกือบทั้งสิ้น ส่วนเจดีย์ลอยที่มีฐาน
    ให้เห็นโดยมากจะถูกขโมยลักลอบขุดไปก่อนแล้วเกือบทั้งหมด ภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดร้างเก่าบางวัด
    (ส่วนมากเกือบ 100 %) มีคนขุดกรุแล้วทั้งนั้น นั่นเป็นเพราะว่าสมัยก่อนการเข้มงวดกวดขับ ยังไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควรนัก
    แต่ปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่เองจริงเอาจังต่อข้อบังคับ กฏระเบียบที่วางไว้อย่างชัดเจน จึงเป็นการยากที่จะค้นหาได้อย่างเสรี
    เหมือนก่อน แต่ก็ยังมีปรากฏอยู่บ้างในต่างจังหวัดเพราะมีข่าวคราวอยู่เสมอๆ แต่ก็เป็นการปิดบังกันอีก และหรือพยายาม
    หลีกเลี่ยงกฏหมายกันเรื่อยมา เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของสวัสดีความเศร้าประจำปี 2537 ก็แล้วกัน

    ตามบริเวณวัดร้างวัดเก่าแก่ ที่มีความสำคัญยิ่งนั้น มีประชาชนคนทั่วไปเชื่อมั่นว่าในบริเวณวัดพระศรีฯ มีสิ่งของที่
    คุณค่ามากกว่าวัดอื่นๆ โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่องหรือพระบูชา หรือแก้วแหวน เงินทอง เครื่องราชูปโภคที่สำคัญๆ
    หรือเครื่องราชกกธภัณฑ์ต่างๆ นับได้ว่าวัดพระศรีฯ มีสิ่งของเหล่านั้นที่มีความสำคัญมากไปด้วยคุณค่ายิ่ง ผู้อยากได้และ
    นักลักลอบขุดทั้งหลายที่ไม่เกรงกลัวบาปหรือความผิด ก็คือทำการขุดค้นกันจนปรากฏว่า ได้พบข้าวของดังข่าวเล่าลือเสมอ
    มา เช่น พระบูชาและพระเครื่อง ที่ท่านเห็นขณะนี้ นั่นคือ พระอู่ทองลพบุรี ที่ผมขอแนะนำให้ท่านรู้จักเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=670>พระอู่ทอง ท้องช้าง
    วัดพระศรีฯ ลพบุรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อปี พ.ศ. 2508 หน่วยศิลปากรที่ 1 จังหวัดลพบุรี ให้ตรวจพบโดยเก็บได้จากรุที่ขโมยทำการขุดร่วงหล่นไว้ มี
    พระเครื่องชั้นยอดที่นักนิยมพระชาวลพบุรีและทั่วไปเสาะแสวงหาอยู่หลายชนิด เช่น พระหูยาน เก็บได้ 8องค์ ชำรุด 6 องค์
    มี 2 พิมพ์ ได้แก่พิมพ์กลางและพิมพ์ใหญ่ มีผิวปรอทขาววับ มองดูคล้ายของใหม่ องค์ที่สมบูรณ์ ปรากฏว่าเห็น หู (พระกรรณ)
    ตา (พระเนตร) ชัดเจนมาก มีทั้งหน้าบาง คือหน้าอ่อนๆ และที่เป็นหน้าเคร่งขรึมถมึงทึงก็มีเหตุที่เรียกพระชนิดนี้ว่าหูยานนั้น เพราะมีพระกรรณ(หู) ยานยาวจรดบ่า (อังสา) นั่นเอง นักนิยมพระจึงเรียกสั้นๆ ว่า "หูยาน"
    พุทธลักษณะของพระหูยาน
    เป็นพระปางมารวิชัย สังฆาฏิชัดประทับนั่งขัดสมาธิราบ เหนือบังเล็บช้าง 5 กลีบ ด้านหลังมีเป็นร่องหรือหลังเต็มก็มี จะมีลาย
    ค่อนข้างหยาบ (ผ้าใบ)ลายผ้าละเอียดมีน้อย กดอย่างชัดเจนบ้างและไม่ชัดเจนบ้าง ส่วนเนื้อนั้นมีทั้งเนื้อชินเงินเนื้อดิน และ
    ชินเงินผสม
    ในกรุนี้คนร้ายได้ทิ้งไว้ไม่กี่องค์ แต่คนร้ายได้ไปมากพระอู่ทองเก็บได้สมบูรณ์ทั้งหมด 12 องค์ เป็นพิมพ์ใหญ่
    -กลาง-เล็ก พระชนิดนี้ปรากฏเห็นหูตาชัดเจนเช่นเดียวกัน ลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย สังฆาฏิสั้นและชัดเจนและมีรอยต่อ
    จากสังฆฏิพาดทั้ข้อพระหัตถ์ซ้ายขององค์พระ มีทั้งฐานเตี้ย และฐานสูง วัสดุเนื้อชินเงินผิวปรอท(ผิวเงิน) ตัดกรอบเฉพาะองค์
    ผู้เขียนเชื่อว่า เป็นพระที่ช่างได้สร้างขึ้นจากพระสามพี่น้อง (ตรีกาย)องค์กลางและองค์ริมทั้งสองมากกว่า ตามความเข้าใจ
    ช่างจะต้องลอกเลียนแบบมาทำหลายครั้งหลายหน รัดแขน และอุณทิศ ที่หน้าผากหายไป กรอบไรพระศกและเกศฝาละมี
    ก็มีการแต่งโดยขีดเป็นรอยลึก สังฆาฏิก็ใช้ของปลายแหลมๆ กดลงไปให้ชัดเจนไม่เหมือนองค์เดิม(สมบูรณ์) เส้นพระศก
    เลือนลางทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าได้ลอกเลียนมาจากของเดินทั้งสิ้นแล้วนำมาตบแต่งใหม่ในคราวหลัง จึงเชื่อแน่ว่าสร้างใน
    ยุคหลัง อีกประการหนึ่งนั้น เจดีย์ที่บรรจุ(กรุ)เป็นเจดีย์ในสมัยอยุธยาเป็นราชธานีไม่ใชเจดีย์ในสมัยลพบุรีที่มีขอมปกครอง
    ฉะนั้นลพบุรีจึงมีหลายยุคหลายสมัย ลพบุรีในสมัยทวาราวดีก็มี ลพบุรีในสมัยขอมปกครองก็มี ลพบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา
    เป็นราชธานีก็มี และลพบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีเช่นกัน จึงต้องเรียงลำดับให้ถูกต้องเพื่อข้อยุติ
    พระอื่นๆ ที่กรมศิลปากรเก็บได้ ก็มีพระยอดขุนพล พระซุ้มปรางค์ พระแผงสามพี่น้องพระแผงใหญ่ คนร้ายได้หวนกลับ
    มาขุดไปอีก 1 ไห ในเจดีย์ใกล้ๆ ชิดกันนั่นเอง ได้เป็นพระหูยานล้วนๆ มีพิมพ์ใหญ่-กลาง-เล็ก เนื้อชินเปราะ สีขาวคล้าย
    พระหล่อใหม่ มีผิวของชินเกาะคล้ายปรอท บางอค์มีความอับคล้ายรายของขนมปังที่เกิดรา (เชื้อรา) เกาะติดองค์พระแน่น
    เวลาถูกอากาศจะมีลักษณะของสีเหลืองๆ คล้ายน้ำในหนองที่เกิดการขุ่นมัว
    นายยุทธ ผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งนั้น ได้ขออนุญาตต่อกรมศิลปขุดทั่วทั้งวัด เพื่อป้องกันมิให้คนร้ายมาลักลอบขุด
    การขุดครั้งหลัง ปรากฏว่าหน่วยศิลปากรที่ 1 จังหวัดลพบุรีกับจังหวัดได้ทำการขุดองค์พระเจดีย์ ที่พระยากำจัดบูรณะ
    สร้างครอบไว้ พบไหเคลือบสีดำปากแคบแบบขอม 1 ไห เมื่อเย็นวันที่ 11 สิงหาคม 2508 มีพระต่างๆ ในไหคือ พระทอง,
    เป็นแผ่นทองปั๊ม, ค่อนข้างหนา มีสีชาดตามร่องขององค์พระ(ปิดทองล่องชาด) ปางมารวิชัย เป็นพระสมัยอยุธยาเลียนแบบ
    สุโขทัย ขนาดกว้างฐาน 5 ซม. ครึ่ง สูง 8 ซม. 1 องค์ พระเงินปั๊ม ค่อนข้างหนา ปางมารวิชัย เป็นพระสมัยอยุธยาเช่นเดียว
    กับพระทอง พระซุ้มเดี่ยว คล้ายพระซุ้มนครโกษาหรือพระร่วงนั่งวัดไก่ เป็นพระปางมารวิชัยฐานสูงกว้างเว้ากลาง ลวดลาย
    ไม่ค่อยชัดเจน เนื้อชินขนาดส่วนกว้าง ที่ฐาน 1 ซม. สูง 4 ซม. มีจำนวนทั้งหมด 500 องค์ และได้พบพระนางวัดพระธาตุ,
    พระหูยาน, พระร่วงยืน, พระนาคปรก, พระซุ้มนาคปรก, พระร่วงคืบ หรือพระร่วงยืน, พระศรีกายหรือพระสามพี่น้องดินเผา,
    พระสาม พี่น้อง (ตรีกาย) เนื้อชินพิมพ์ใหญ่ๆ พระตรีกายสามพี่น้องพิมพ์เล็ก, พระซุ้มกระรอกแตฯลฯ

    ในปี พ.ศ. 2518 ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ได้จัดให้มีการประกวดพระเครื่องขึ้นที่จังหวัดลพบุรี ก็ได้มีคณะกรรมการ
    จัดประกวดเอาพระที่ได้ในครั้งนี้ (ผู้ลักลอบขุด) นำออกประกวดด้วยโดยตั้งชื่อของท่านว่า "พระอู่ทองท้องช้าง" ซึ่งผม
    ก็งงจะกระทั่งบัดนี้ว่าทำไมจึงเรียกอย่างนั้น(จนกระทั่งบัดนี้ก็ไม่รู้) ผู้พบครั้งแรกคงจะตั้งชื่อของท่านมากกว่า การลำดับสมัย
    ของพระเครื่องพระบูชาก็มีปรากฏ เฉพาะสมัยอู่ทองในลพบุรีคือ สมัยทวาราวดี, ศรีวิชัยลพบุรี, สมัยสุโขทัย, อยุธยารุ่นแรก,
    อยุธยาหลัง, รัตนโกสินทร์ เท่านั้น คำว่า "อู่ทอง" นี้ น่าจะเอาชื่อของเมือง หรือชื่อของพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่1)
    ปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มาตั้งมากกว่า
    เพราะในอดีตนั้นพระเจ้าอู่ทองเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของศรีอยุธยา
    อันเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของกรุงสุโขทัย เสื่อมอำนาจลงแล้ว และความเป็นมาหรือความเลื่อมใสเฉพาะพระองค์มีมาก
    ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเมืองทองของสยามในสมัยนั้นก็ว่าได้ คนทั้งหลายจึงเอาชื่อ
    ของพระมหากษัตริย์มาตั้งเป็นชื่อของศิลป พระในโอกาสต่อมามากกว่า อย่างเช่นพระร่วง เป็นต้น
    สำหรับแบบสมัยอู่ทองนี้ เรายังมิได้พิจารณากันมาก่อนเลย เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่เราควรจะได้พิจารณากันอย่าง
    ละเอียดเสียก่อน ก่อนที่เราจะพูดถึงพระพุทธรูปสมัยอู่ทองก็ขอทำความเข้าใจเรื่องเมืองอู่ทองพอเป็นสังเขป เป็นการปูความรู้
    เบื้องต้น เพราะปัจจุบันนี้ อู่ทองเป็นอำเภอหนึ่ง ขึ้นกับจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอำเภอสำคัญอำเภอหนึ่งในสมัยทวาราวดีโน่น
    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเล่าไว้ในรายงานเสด็จครวจราชการเมืองสุพรรณบุรีดังนี้
    มีเมืองโบราณเมืองหนึ่งอยู่ในแขวงเมืองสุพรรณบุรี ทางตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับเทือกเขา ซึ่งเป็นเขตแดนเมืองสุพรรณ
    ติดต่อกับเมืองกาญจนบุรี มีล้ำน้ำเก่าผ่านหน้าเมืองโบราณเรียกว่าลำน้ำจรเข้สามพัน ทุกวันนี้ขาดเขิน เป็นห้วงเป็นตอนเสียแล้ว
    พวกราษฎรเรียกเมืองนั้นว่า "เมืองท้าวอู่ทอง" มีเรื่องราวเล่าสืบต่อกันมาว่า ท้าวอู่ทองครองเมืองนี้มา จนกาลครั้งหนึ่ง
    เกิดไข้ห่า(อหิวตกโรค) ราษฎรล้มตายมาก ท้าวอู่ทองจึงอพยพผู้คนทิ้งเมืองหนีห่าไปทางทิศตะวันออก ข้ามลำน้ำสุพรรณ
    ไปทางฝั่งตะวันออกจึงได้พ้นห่า ยังมีห่าที่ริมน้ำสุพรรณเรียกว่าห่าท้าวอู่ทอง อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
    สมเด็จฯ ได้ไปเที่ยวเมืองท้าวอู่ทองในคราวนั้น ตรวจดูภูมิฐานเห็นเป็นเมืองใหม่ มีกำแพงเมืองสองชั้น และมีสระใหญ่
    หลายสระ คล้ายเมืองสุโขทัยเก่า ข้างในเมืองมีอิฐซึ่งพึงเห็นได้ว่า เป็นวัดวาของเก่าแก่มากมายหลายอย่าง พระเจดีย์ยังคงรูป
    อยู่มีอยู่บ้าง ได้ตรวจดูของเก่าเป็นพยานอายุของเมืองนี้ได้พระพุทธรูปเป็นฝีมือเดียวกับที่นครปฐม ได้ สืบตามชาวบ้านถึง
    สิ่งของโบราณ ก็ได้เงินเหรียญตราสิงห์อย่างเดียวกับที่ขุดได้จากพระประโทน ซึ่งสันนิษฐานว่าเมืองนี้เป็นเมืองสมัยเดียวกัน ส่วนเจดีย์นั้น สังเกตว่าเป็นรูปชั้นใหม่ ประมาณว่าในครั้งกรุงเก่าก็มีบ้าง ดูการก่อสร้างเป็นสองยุคอยู่
    เมืองนี้เดิมคงจะเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ครอบครอง ครั้นต่อมาแม่น้ำเปลี่ยนทิศทาง ทำให้แม่น้ำตื้นเขิน และกันดารน้ำ
    ยิ่งขึ้นจึงต้องทิ้งเมืองย้ายไปที่อื่น เมืองที่ต้องทิ้งให้ร้างเพราะแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางอย่างว่านี้ มีตัวอย่างหลายเมือง คือ เมือง
    สุโขทัยเก่าเป็นต้น และเมืองที่ต้องทิ้งให้ร้างในชั้นหลังอีกเมืองหนึ่งก็คือ เมืองพิจิตรเก่า เมื่อปี่ขาล อัฐศกศักราช 1220
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่นัน เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ด้วยเรือไฟพระที่นั่ง "อรรถราชวรเดช" ซึ่งเป็นเรือ
    สองปล่องใหญ่ ในเวลานั้นยังไปทางแม่น้ำพิจิตรได้ ทุกวันนี้แม่น้ำตื้นเขินเป็นห้วงเป็นตอนใช้เรือไม่ได้ ต้องย้ายเมืองพิจิตร
    มาตั้งทางแม่น้ำใหม่ข้าง "คลองเรียง" การสร้างเมืองแต่โบราณต้องอาศัยลำน้ำและที่ทำนาจึงตั้งเป็นเมืองใหญ่โตได้
    อาศัยเหตุเหล่านี้จึงได้คงความสันนิษฐานดังกล่าวมาแล้ว

    หลักฐานต่างๆ ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในนิทานที่เล่าสืบกันมา หรือในหนังสือโบราณคดีนั้นต่างก็มีเหตุและผลไป
    คนละอย่างกัน ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานเป็นหลายอย่างหลายขั้นนตอน และหลายนัยเช่นหนังสือจารึกหลักศิลาเมืองสุโขทัย
    เป็นต้น กล่าวถึงเมืองสุพรรณก่อนเรียกว่า เมืองสุวรรณภูมิ หาได้เรียกเมืองสุพรรณบุรีไม่ คำว่า อู่ แปลได้ 2 อย่างคือ แปลว่า
    เปล ก็ได้ หรือจะแปลว่า เป็นที่มีที่เกิด ดังเช่นพูดว่า อู่ข้าวอู่น้ำ เป็นต้น

    เมืองอู่ทอง เรียกตามภาษาไทย แต่ถ้าเรียกตามภาษาบาลีว่า "สุวรรณภูมิ" สันนิษฐานว่า พระมหากษัตริย์ที่ครองเมือง
    ท้าวอู่ทอง หรือพระเจ้าอู่ทองนั้น คือเรียกอย่าง พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา หรือพระเจ้าเชียงใหม่ ไม่ใช่นามพระมหากษัตริย์
    พระองค์หนึ่งพระองค์ไม่ เป็นนามที่ครองเมืองอู่ทองทุกพระองค์

    ในหนังสือพงศาวดารบางเล่มกล่าวว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพมาจากเมืองเทพนคร(หรือเมืองไตรตรึงค์ อยู่ใกล้กันระหว่าง
    เมืองกำแพงเพชรกับเมืองพิจิตร และอยู่เหนือนครสวรรค์นั้น พิเคราะห์ความตามเหตุผลแล้วน่าจะมาจากเมืองสุพรรณบุรี
    มากกว่ามาข้างเหนือ สภาพภูมิประเทศและระยะทางก็ใกล้กว่า การกวาดต้อนผู้คนให้อยู่ในภูมิลำเนาเดียวกันทำได้ง่าย
    ผู้เขียนเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 นั้น คือพระเจ้าอู่ทองที่มาจาก สุพรรณบุรีที่แท้จริง นี่คือเรื่อง
    สังเขปของเมืองอู่ทอง
    ส่วนเรื่องของศิลปอู่ทองนั้น เฉพาะพระบูชาแลพระเครื่องที่เราท่านทั้งหลายได้กล่าวตามนักโบราณคดีนั้น เกิดจาก
    อิทธิพลของศิลปที่ผู้เข้าครอบครองดินแดนที่เรียกว่า อู่ทองดังกล่าวมาแล้ว ก่อให้เกิดศิลปอู่ทองขึ้น ดินแดนแถบนี้อยู่ใน
    ภาคกลางทั้งหมด อันเป็นดินแดนขอมเข้าครอบครอง ซึ่งเราเรียกว่าอาณาจักรทวาราวดี ศิลปอู่ทองเกิดการผสมผสาน
    ของศิลปของผู้ที่เข้าครอบครองดังกล่าวนั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
    แบบที่ 1 มีอิทธิพลของศิลปทวาราวดีกับขอมปนกัน
    แบบนี้ถือว่าเป็นรุ่นแรกและเกิดขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-18
    แบบที่ 2 มีอิทธิพลศิลปขอมและลพบุรีมากขึ้น
    แบบนี้คงเกิดขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-19

    แบบที่ 3 มีอิทธพลของสุโขทัยเข้าปนอยู่มาก
    เกิดขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-20

    แต่อย่างไรก็ตาม มีบางท่านได้แบ่งพระพุทธรูปสมัยอู่ทองเป็น 2 สมัยคือ ยุคแรกระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-19
    ยุคหลังระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงสมัยศิลปแบบอยุธย

    พระพุทธรูปหรือพระเครื่องสมัยอู่ทองนั้น นิยมทำเป็นพระนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยห่มดอง เส้นพระศกเป็นแบบ
    หนามขนุนหรือเม็ดสาคู มีไรพระศก สังฆาฏิเป็นแผ่นยาวใหญ่ ปลายตัดตรง ทรวดทรงคล้ายมนุษย์ธรรมอย่างเราๆ
    วงพระพักตร์มีทั้งลักษณะแก่และหนุ่ม ฐานมักทำเป็นหน้ากระดานเว้าเข้าไปข้างใน ด้านหลังรัดประคตเป็นปื้นใหญ่ตลอด
    (เรียกกว่าอู่ทองหน้าแก่ถ้ารัดประคตเดียวเรียกว่าอู่ทองหน้าหนุ่มหรือหน้ากลาง)

    ข้อพึงสังเกต รุ่นแรกกับรุ่นหลังมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้ รุ่นแรกมีพระรัศมี อย่างเป็นต่อมแลอย่างยาวเป็น
    เปลวเส้นพระศกละเอียด ไรพระศกเป็นกรอบรองวงพระพักตร์ พระหนุ(คาง)ป้าน เป็นรูปคางคน โดยสังฆฎิยาวและชาย
    อันตรวาศก(สบงผ้านุ่งของพระ) ข้างบนเป็นสัน ขัดสมาธิราบ ฐานที่นั่งเป็นน่ากระดานเป็นร่องแอ่นเว้าเข้าข้างใน รุ่นหลัง
    มักทำเป็นพระพักตร์ยาวรีกว่ารุ่นแรก พระรัศมีก็ทำแบบสุโขทัย ไรพระศกทำเป็นเส้นเล็กๆ ส่วนสังฆฎิทำใหญ่กว่าแบบ
    สุโขทัย แต่ไม่เป็นเขี้ยวตะขาบ มาทำตัดเป็นเส้นตรงหรือทำเป็นสองแฉกห้อยชายลงมา
    ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ได้กล่าวชมคุณค่าทางศิลปเฉพาะพระสมัยอู่ทองไว้มาก ในเรื่องประติมากรรมไทย
    จึงขอคัดมาให้ท่านทั้งหลายพิจารณา
    "ศิลปอู่ทองมีค่ายิ่งกว่าของอยุธยาและรัตนโกสินทร์และโดยเหตุที่มีแบบวิธีแปลก และมีออกมาอย่างแข็งแรง
    เป็นนอพระหนุ ออกเป็นสองปริมาตร เพราะฉะนั้นพระเศียรพระพุทธรูปจึงมีอาการสำแดงเป็นอย่างเพ่งตรึกตรอง แทนที่
    จะสำแดงอาการเป็นลักษณะของพระพุทธเจ้าเมื่อขณะตรัสรู้ดังกล่าวมาแล้ว เป็นพระเศียรซึ่งสำแดงความไม่ไหวติง
    แห่งการคิดและความมีสมาธิมั่นก่อนหน้าที่จะบรรลุพระโพธิญาณ"

    ผู้อ่านจะสังเกตเห็นมาแล้วว่า พระปฏิมากรรมอู่ทอง มีลักษณะตรงข้ามกันทีเดียวกับศิลปสมัยสุโขทัย ศิลปสุโขทัย
    เป็นอาการสำแดงอันวิเศษสุดในความปรีชาสามารถทางศิลปของไทยเพราะฉะนั้นเราอาจลงความเห็นไปในทางที่ว่า ศิลปะ
    ซึ่งมีลักษณะอยู่ตรงข้าม จำเป็นที่ฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นศิลปะอันไม่มีคุณค่า แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ศิลปะอู่ทองเป็นอาการ
    ปรากฏทางศิลปะอย่างสูงเหมือนกัน และที่สำคัญที่สุดก็มีลักษณะเป็นพิเศษแบบของศิลปะอู่ทองเป็นอาการสำแดงความ
    จริงใจแท้ๆ ประการหนึ่งของศิลปินในท้องถิ่นนั้น ศิลปะเป็นสิ่งที่น่าชมเพราะมีสิ่งแปลกๆ กัน เรื่องอย่างเดียวกันอาจมี
    ความหมายและเสนออาการสำแดงศิลปะได้ต่างๆ กันก็ได้

    พระอู่ทองลพบุรีที่ท่านเห็นเป็นพระศิลปลพบุรีทั้งสิ้น แต่ศิลปผู้สร้างได้สร้างขึ้นเป็นเฉพาะองค์ๆ เท่านั้น จึงแลดูคล้าย
    กับว่ามีการสกัดตัดออกจากองค์เดิม ความจริงแล้วคือพระสามพี่น้องอันมีสถูปอยู่ด้านหน้า 9 สถูปแล้วช่างนำมากดพิมพ์
    ทำเป็นรองพิมพ์มาแต่งเติมภายหลัง สิ่งต่างๆ ขององค์ประกอบแห่งศิลปะได้จางหายไปจนหมดสิ้น แม้แต่รัดแขนก็หายไป
    แสดงให้เห็นว่าช่างได้ดัดแปลงแม่พิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกทำให้เลอะเลือนไปสิ้น จึงขาดความงดงามที่ระทึกใจไปหลายๆ อย่าง
    เมื่อช่างสร้างเสร็จแล้วก็ใช้สิ่วสะกัดหรือของมีคมตัดออก โดยแยกออกจากกันเป็นองค์ๆ ดังที่เราเห็นท่านได้เห็นกันอยู่
    นี้แหละ (ในรูป) ลพบุรีอู่ทองหรืออู่ทองลพบุรี ก็คงจะมีส่วนถูก (ควรเรียกอย่างนี้)
    มีทั้งกรุเก่าและกรุใหม่ คือ ปี 08 และก่อนปี 08 เป็นพระที่มีคนเรียกชื่อท่านว่าอู่ทองท้องช้างบ้าง พระยอดขุนพลบ้าง
    และเรียกกันหลายชื่อเปรอะไปหมด เป็นพระที่ได้พร้อมกันกับพระหูยานกรุใหม่ ในเจดีย์รายรอบวิหารด้านทิศตะวันออก
    ของวัดพระศรีฯนั่นเอง เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่ชาวลพบุรีนิยมชมชอบมากพิมพ์หนึ่ง สนนราคาก็ไม่สู่จะถูกนักเป็นพระที่มีคุณค่า
    มีสง่าราศี เหมาะแก่การมีไว้ใช้และบูชา เพราะชื่อของท่านนั้น มีมงคลเหลือหลาย
    สำหรับพระอู่ทองอีกพิมพ์หนึ่ง ผมได้นำมาเปิดเผยให้นักนิยมสะสมพระได้รับรู้ไว้ดังนี้คือ เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่ชาวเขมร
    ได้ลักลอบขุดกรุในเมืองเขมร และนำมาจำหน่ายให้นักสะสมคนไทยที่ชอบสะสมของเก่ารับซื้อ (เช่าไว้) นักสะสมนั้นก็ได้
    นำมาจำหน่ายจ่ายแจกให้กับบรรดานักสะสมของไทยเรา หลายแห่ง หลายที่ หลายคน กระจัดกระจายไปหมดสิ้น เป็นพระ
    คุณค่าของศิลปอู่ทองเป็นอาการปรากฏดีที่สุดในหมู่สกุลช่างต่างๆ ของพระพุทธปฏิมากรรม

    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>พระอู่ทอง ขุดได้ในประเทศเขมร</TD></TR><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=670>ด้านหน้า</TD><TD align=middle width=670>ด้านหลัง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ศิลปอู่ทองมีต่างกันเป็นสองสมัยคือ สมัยอันเป็นอาการปรากฏโดยแท้ของอู่ทอง และอีกสมัยหนึ่งเป็นศิลปซึ่งอยู่
    ใต้อิทธิพลแห่งตัวอย่างสุโขทัยในศิลปต้องสมัยนี้ สมัยต้นดีกว่ามาก เพราะเป็นศิลปที่มีอาการสำแดงอันออกจากความจริง
    แท้ๆ ของศิลปอู่ทองเอง
    จริงอยู่ แบบอย่างพระพุทธรูปของอู่ทองได้รับบันดาลใจมาจากศิลปเขมร แต่การบันดาลใจไม่ได้หมายความว่า เลียน
    หรือลอกแบบเอามา ศิลปอู่ทองเป็นแบบอย่างต่างหาก ซึ่งศิลปินผู้คิดประดิษฐ์สร้างขึ้นเองในแหล่งนั้นๆ สร้างขึ้นมีทั้ง หน้าแก่,
    หน้ากลาง,และหน้าหนุ่ม ฯลฯ
    ศิลปสุโขทัยและศิลปอู่ทองมีลักษณะตรงกันข้ามศิลปสุโขทัยมีวงรูปนอกและรายละเอียดประณีตสุขุม ทำให้เป็นอย่าง
    บริบูรณ์ซึ่งพระรูปโฉมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนศิลปอู่ทองเป็นลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด และมีหลายเส้นเป็น
    ขนาบใหญ่ เป็นอาการสำแดงว่ามีสมาธิเป็นอุดมทัศนะ
    ในอาการสำแดงนี้บ่งให้เห็นว่า พระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิต
    ที่จะเอาชนะแก่โลกีย์และค้นหาทางหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดให้ถึงซึ่งสมมติ (ความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง)
    เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า อาการสำแดงทางศิลปในพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง แสดงถึงลักษณะเมื่อพระบรมศาสดา
    ทรงพยายามครั้งสุดท้าย เพื่อบรรจุพระสัมโพธิญาณ
    พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง มีพระกรขวาเหยียดตรงเป็นเส้นประสานเข้ากันกับมวลสิ่งแห่งองค์ ส่วนพระกริ่งข้างหนึ่ง
    ตั้งเป็นมุมฉากกับมวลสิ่งแห่งพระเพลา

    รูปวงนอกของพระเศียรก็เหมือนกัน ออกจะเป็นเหลี่ยมพระเกศมาลาดูห่อและพองข้างลักษณะพิเศษ อย่างนี้
    เป็นที่แน่นอนทีเดียวว่า คงรับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปของเขมรซึ่งมีพระเกศมาลาเป็นเครื่องประดับคล้ายพวงมาลา
    อยู่รอบพระเศียร

    ปริมาตรของพระพักตร์ก็ดูแบน ขมวดพระเกศก็มีขนาดเล็ก และมีพระพุทธรูปเป็นตัวอย่างอยู่หลายองค์ ที่ขมวด
    พระเกศมาลาเพียงจุดเล็กๆ เท่านั้น มีไรพระศกเป็นปื้นส่วนพระเกศากันพระนลาฎ กระทำให้พระนลาฎเห็นกว้าง ความกว้าง
    นี้เข้าไปรวบกับพระขบง (คิ้ว) แล้วไปบรรจบกันที่ดั้งพระนาสิก (ดั้งจมูก) ประกอบเป็นรูปสันอันแปลกพิเศษ อันควรแก่
    ลักษณะช่างคิดตรึกตรอง ลักษณะของพระเศียรแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจทางใจและทางความคิดตรึกตรอง
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=670 bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width=670>พระอู่ทอง เขมร</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระเนตรออกจะแบน หลังพระเนตรนูนโค้งนิดๆ เพราะฉะนั้นพระเนตรจึงขาดอาการเห็นหรี่ ซึ่งเกิดจากเงาของหลัง
    พระเนตรที่แผ่แบบออกมา ดังจะเห็นเป็นอย่างได้ในพระพุทธรูปสุโขทัยและเชียงแสน พระนาสิกก็เหมือนกัน ออกจะแบน
    แล้วไปบรรจบกันตอนกลางดั้ง เป็นเส้น ช่องพระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์ที่กว้างดังตัวอย่างพระพุทธรูปบางองค์ ก็มีพระ
    อาการยิ้ม แทบจะมีเป็นลักษณะอย่างว่ามีนัยส่วนตัวอย่างลางองค์ พระโอษฐ์มีอาการสำแดงอย่างเข้มแข็งชวนให้เห็น
    ได้บริบูรณ์ซึ่งอำนาจทางจิต อำนาจทางจิตนี้ได้เน้นให้เห็นอีกด้วยลัษณะพระหนุ(คาง) ที่ยื่น ที่มีพุทธลักษณะเหมือนกับ
    พระอู่ทองของไทยทุกประการ แต่ศิลปดูจะไม่ค่อยงดงามเท่าที่ควร เนื้อวัสดุที่ใช้สร้างคือ เนื้อชินเงิน มีความหมายมากกว่า
    พระอู่ทองของไทยมีรอยระเบิดจากธรรมชาติที่สามารถกระทบสายตาของเราแล้วรู้ได้เลยว่า เป็นของเก่าแท้ สถานที่พบ
    ในเมืองเขมร คนที่ได้มานั้นผมไม่บอกขอรู้คนเดียว องค์พระส่วนมากมีทั้งสมบูรณ์แบบ และไม่สมบูรณ์แบบ สำหรับองค์
    ที่ไม่สมบูรณ์แบบมีนักสะสมพระสมองใส นำไปให้ช่างชาวอยุธยาสกัดออกจากแผงเป็นองค์ๆ (แผงหนึ่งมี 3 องค์)
    เราเรียกว่าตรีกาย ซึ่งก็เป็นพระประเภทเดียวกันกับพระอู่ทองของเมืองไทยเรานี่เอง
    เรื่องของพระอู่ทองของไทย และพระอู่ทองของเขมร ก็มีความหมายเดียวกัน แต่พบคนละที่เท่านั้น ส่วนศิลปสมัย
    คงจะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ทรงองค์ประกอบของศิลปนั้น เหมือนกันกับพระอู่ทองในประเทศไทย
    เปรี๊ยบเลย

    สำหรับพระพิมพ์ต่างๆ ที่มุ่งสู่ประเทศไทยในปัจจุบันก็มี 3 ประเทศคือ เขมร ลาว และพม่า ประชาชนของเขาลักลอบ
    นำมาจำหน่ายให้กับคนไทยบางคนที่สะสมของเก่า โดยมากเป็นพระประเภทที่มีศิลปค่อนข้างสูง วัสดุนี้ใช้สร้างโดยมาก
    จะเป็นเนื้อดินชิน เนื้อทองผสม เป็นส่วนใหญ่ของเหล่านี้ หรือวัตถุเหล่านี้ไม่ค่อยมีวางจำหน่ายในแผงพระเท่าใดนัก
    นักสะสมรายใหญ่ๆ จะเหมาไว้หมด ก็ประชาสัมพันธ์ให้รู้เสียเลยว่า แม้แต่ในเขมร ในพม่า ยังมีการลักลอบขุดพระกันเลย
    สำมะหาอะไร เมืองไทยเราจะไม่มีการลักลอบขุด กรมศิลป์เจ้าขา รู้เรื่องหรือเปล่าเจ้าคะ.........ว่าเมืองเขาก็ลักลอบขุดกัน
    และนำมาจำหน่ายในประเทศไทยเรา .........
     
  2. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,370
    เปงเยี่ยงนี้น่ะเอง
     
  3. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,667
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,216
    [​IMG]

    พระอู่ทอง ลพบุรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...