การพัฒนาของพระพุทธศาสนาทางประเทศตะวันตก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย พรายแสง, 30 เมษายน 2005.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. พรายแสง

    พรายแสง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    833
    ค่าพลัง:
    +371
    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>มาดามฮีลีน่า พิโทรวา บลาวัตสกี(ค.ศ.1832-ค.ศ.1907) และผู้พันเฮนรี่ โอลคอตต์(1832-1907)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>กำเนิดธรรมะประจำใจชาวตะวันตก
    เริ่มปีค.ศ. 1848 ในช่วงสงครามกลางเมืองของกองทัพเหนือและใต้ยุคบุกเบิกสู่ดินแดนใหม่เรียก อเมริกา
    ยุคนี้ผู้คนที่อพยพมาจากยุโรปต่างนำความเชื่อศรัทธาเรื่องความดี ชั่ว เรื่องจิตวิญญาณตามลัทธินิยมแบบท้องถิ่นและเผ่าพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการสะกดจิต การดูดวงลูกแก้ว การเข้าทรงผสมความเชื่อทางคริสต์ศาสนา
    - สืบเนื่องจากสภาวะหลังสงครามกลางเมืองแล้ว ผู้คนล้มตายจากการรบพุ่ง มีทั้งความโศกเศร้า ความเสียใจที่อยากจะรู้ถึงชะตากรรมของญาติพี่น้องหลังความตายว่า วิญญาณเป็นเช่นใด จึงเกิดความต้องการเรื่องไสยศาสตร์ คาถาอาคม การเรียกดวงวิญญาณจนเกิดลัทธิความเชื่อของกลุ่มต่างๆ
    เริ่มเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในนครนิวยอร์กถือเป็นแหล่งรวมของชนนานาชาติ
    - ได้มีผู้พันทหารผู้หนึ่งชื่อ เฮนรี่ โอลคอตต์ Henry Olcott ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าราชการทำหน้าที่รับสอนเรื่อง การคดโกงค่าประปาทางมิเตอร์วัดประจำบ้าน ในเมืองนิวยอร์ก โดยความบังเอิญผู้พันเฮนรี่ได้เดินผ่าแผงลอยขายหนังสือพิมพ์ เห็นข่าวพาดหัวเรื่องจะมีการชุมนุมของผู้วิเศษผู้รู้เรื่องการติดต่อกับจิตวิญญาณในนิตยสาร The Banner of Light ที่พิมพ์ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่การประกอบพิธีเรียกวิญญาณที่เอดดี้ ฟาร์ม (Eddy Farm) เมืองชีทเท็นเด็น รัฐเวอร์มอนต์ (Vermont)ในบทความ กล่าวว่า ผู้ที่สนใจสามารถเห็นหรือสัมผัสกับญาติผู้เสียชีวิตไปแล้ว และสามารถเรียกวิญญาณกลับร่างเหมือนจริงเป็นเวลาชั่วคราวได้ จนสามารถเห็นเป็นรูปร่างได้จากบทความข่าวนี้เอง ทำให้ผู้เห็นเกิดความสนใจตื่นเต้น
    ทั้งอยากพิสูจน์ด้วยตาตนเองว่า จริงหรือเท็จเช่นใด จึงได้เดินทางไป
    สู่รัฐเวอร์มอนต์ทันทีนี่คือจุดเริ่มต้นของการพบกับมาดามบลาวัตสกีเป็นครั้งแรก
    และต่อมานำไปสู่การจัดตั้งสมาคมแห่งพุทธธรรมในสหรัฐอเมริกาเป็น
    ครั้งแรก

    ผู้พันเฮนรี่ โอลคอตต์ (1832-1907) เกิดวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1832 (พ.ศ. 2375)
    ในรัฐนิวเจอร์ซี่ในครอบครัวผู้เคร่งศาสนา
    - เมื่อเป็นหนุ่มเริ่มเข้าสู่การเกณฑ์ทหารของกองทัพยูเนียน
    เข้าร่วมสงครามกลางเมืองในช่วง Civil War ของสหรัฐฯ
    และได้รับมอบหมายให้ทำการสืบสวนเหตุการณ์ลอบสังหาร
    ประธานาธิบดีลินคอล์น ต่อมาเข้าทำงานหนังสือพิมพ์
    ในนิวยอร์ก ในปีค.ศ. 1874 มีโอกาสเดินทางไปสืบราชการที่เมืองเวอร์มอนต์ (Vermont)
    เพื่อเข้าทำการสอบสวนเหตุการณ์ที่น่าเป็นห่วงและต้องสงสัยในเรื่องความเชื่อทางจิตวิญญาณและวิชาไสยศาสตร์ที่มีการชุมนุมและรวมกลุ่มของบุคคลหลายวงการเป็นที่น่าจับตามองของฝ่ายรักษากฎหมายบ้านเมือง ณ ที่นี่ โอลคอตต์ ได้มีโอกาสพบปะกับมาดามบลาวัตสกี สตรีม่ายเชื้อชาติรัสเซีย ผู้ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่สหรัฐฯ
    และผู้สนใจเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณเป็นชีวิตจิตใจ
    นับจากจุดนี้เองนำไปสู่การจัดตั้งสมาคมพุทธธรรมเป็นครั้งแรกขึ้นในสหรัฐฯ และเผยแพร่สู่ทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐฯในปีค.ศ. 1875 เป็นต้นมา รวมเวลาอุทิศชีวิต
    เพื่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนานานถึง 32 ปี เพื่ออุทิศชีวิตรับใช้มนุษยชาติ บำเพ็ญประโยชน์
    เพื่อพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนชาวตะวันตกโดยละทิ้งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา ย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ประเทศศรีลังกาและเสียชีิวตในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)ในเมืองอัดยาร์ ประเทศอินเดีย รวมอายุได้ 75 ปี
    พันเอกเฮนรี่ สตีล โอลคอตต์ (Colonel Henry Steel Olcoot)
    และมาดามฮีลีน่า พิโทรวา บลาวัตสกี (MADAMEP.BLAVATSKY)
    ได้รับการยกย่องเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง "สมาคมพุทธศาสนาธรรม"
    BUDDHIST THEOSOPHY ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกชาติตะวันตก ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1875 หรือพ.ศ. 2418 ณ มอทท์แมโมเรียลฮอล ณ มหานครนิวยอร์ก (MOTT MEMORIAL HALL) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า
    ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่กำหนดวงจรชีวิตของจักรวาล
    - เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมนิวเคลียสของจริยธรรม
    แห่งมวลมนุษยชาติ โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ ผิว
    - เพื่อศึกษาความเชื่อในศาสนา ปรัชญา และวิชาการทางศีลธรรม
    เพื่อค้นคว้าและอธิบายความลึกลับมหัศจรรย์ของธรรมชาติ
    และพลังจิตวิญญาณที่มีอยู่ในใจมนุษย์บนพื้นฐานแห่งปรัชญาตะวันออกกล่าวกันว่า บุคคลทั้งสองท่านมีโอกาสมาพบกันโดยบังเอิญ เป็นครั้งแรกด้วยอำนาจแห่งบุพเพสันนิวาสจากปางก่อน
    เนื่องจากทั้งสองมีจิตใจตรงกันในความสนใจเรื่องพุทธศาสนา อันสืบเนื่องจากได้รับการศึกษาจากหนังสือบันทึกการโต้วาทีเรื่องพุทธศาสนากับศาสนาคริสต์ที่เกิดขึ้น
    ณ บริเวณพื้นที่ตากอากาศปานะทุระ ใกล้นครโคลัมโบ
    - ในปีค.ศ. 1873 ซึ่งการโต้วาทีครั้งสำคัญนี้ เป็นครั้งที่ 5 ระหว่างพระมิเคตตุวัตเต คุณานันทเถระ
    ฝ่ายพุทธศาสนากับบาทหลวงเดวิด เดอ ซิลวา (David De Silva) ซึ่งผลปรากฏว่า พระคุณานันทเถระฝ่ายพุทธเป็นฝ่ายมีชัย
    โดยมีการจัดพิมพ์รายละเอียดบันทึกคำโต้วาทีอย่างละเอียดจาก ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์
    นักปราชญ์จากอเมริกา ซึ่งเดินทางท่องเที่ยวรอบโลก
    ผ่านศรีลังกาเข้ามาฟังการโต้วาทีทั้ง 2 วันพอดี จึงนำกลับไปตีพิมพ์เผยแพร่ในสหรัฐฯ เป็นหนังสือขนาด 100 หน้า แพร่หลายทั่วยุโรปและอเมริกา
    ประชาชนได้สนใจอ่านมานานกว่า 130 ปี และหนังสือนี้ได้แปลเป็นภาษาไทย โดยพันเอก (พิเศษ)
    นามสงวนทรัพย์ชื่อหนังสือ "บันทึกการโต้วาที
    เรื่องพุทธศาสนากับศาสนาคริสเตียน" ซึ่งถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา
    ที่ทายาทนักวิชาการและประชาชนคนไทย ในยุคปัจจุบันสมควรจะได้ศึกษายิ่ง ในปีค.ศ. 1880 พันเอกโอลคอตต์ และมาดามบลาวัตสกีได้เดินทางสู่ประเทศศรีลังกา เพื่อช่วยทำนุบำรุงฟื้นฟู
    แหล่งพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงยิ่งขึ้น
    - ในสมัยนั้น ทั่วประเทศศรีลังกาคงมีโรงเรียนชาวพุทธเพียงแห่งเดียว โรงเรียนนี้ชื่อ โดดัน ดุวา
    มีพระปิบรัตนะนายกะเถระ เป็นผู้ก่อตั้ง
    - เมื่อท่านทั้งสองได้มาถึงก็ประกอบพิธรปฏิญาณตน
    เป็นพุทธมามกะทันทีที่วัดวิชัยนันทะ และจัดตั้งมูลนิธิอุปถัมภ์ชาวพุทธชื่อ สมาคมพุทธศาสนธรรมโคลัมโบ
    (The Columbo Buddhist Theosophical Society)
    - พันเอกโอลคอตต์ได้ช่วยจัดตั้งโรงเรียนชาวพุทธจำนวนถึง 400 โรงเรียนทั่วศรีลังกา

    ผลงานสำคัญ
    พันเอกโอลคอตต์ เป็นผู้รวบรวม สารัตถะ 14 ประการ
    ของพระพุทธศาสนาไว้ในหนังสือปุจฉา-วิสัชนา
    อันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกทั้งมหายานและเถรวาท
    และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลกหลายภาษา
    - ท่านได้เรียกร้องและเสนอแนะให้รัฐบาลอังกฤษที่ดูแลศรีลังกา
    ในขณะนั้น ให้ประกาศวันวิสาขบูชา วันประสูติ วันตรัสรู้
    วันเสด็จปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นวันหยุดแห่งชาติ
    ของประเทศศรีลังกาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    ท่านได้ออกแบบธงและให้เคารพคือ "ธงฉัพพรรณรังสี มี 6 สี"
    อันเป็นธงสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนาทั่วโลก
    ให้เป็นธงของศรีลังกาด้วย และมีสีเหมือนกับธงของ
    องค์ทะไลลามะแห่งทิเบต
    - ท่านได้ริเริ่มโครงการพุทธศาสนาในอินเดีย
    โดยการจัดงานแสดงศิลปะหัตถกรรมสวาเดษี ณ รัฐมัทราส
    เพื่อปลุกเร้าให้ชาวอินเดียทั้งหลายได้ซาบซึ้งในคุณค่า
    แห่งความงามสุนทรียภาพของผลิตภัณฑ์ของประเทศตน
    ก่อนที่ศิลปะเหล่านี้จะสูญหายไป เพราะชาวอินเดียเอง
    ไม่ค่อยให้ความสนใจและเห็นคุณค่า พันเอกโอลคอตต์ ได้ปลุกกระแสให้ชาวอินเดีย
    ตื่นจากความหลับไหลก่อนที่ท่านมหาตมะคานธี จะดำเนินการต่อมาในภายหลัง
    - ด้วยความพยายามและอุทิศตนแก่ชาวอินเดีย ทำให้นำไปสู่การจัดตั้งรัฐสภาแห่งชาติอินเดีย
    เมื่อประเทศอินเดียได้รับเอกราชกลับคืนจากอังกฤษ
    โดยมีนางแอนนี เบซานท์ (Anne Besant)
    เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมพุทธศาสนธรรมสืบทอดต่อจากท่าน ปัจจุบันทั้งประชาชนศรีลังกา
    และอินเดีย ยังคงระลึกถึงและยกย่องให้เกียรติต่อท่าน
    พันเอกโอลคอตต์ ตลอดจวบจนถึงทุกวันนี้
    - รวมทั้งท่านยังมีส่วนสร้างแรงบันดาลใจให้กับกวีนิพนธ์
    ผลงานของเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ (Sir Edwin Arnold)
    ที่ได้เขียนผลงานที่มีชื่อ The Light of Asia ประทีบ
    แห่งทวีปเอเชีย (ในปีค.ศ. 1879) ซึ่งถือเป็นหนังสือที่มีผู้อ่านมากที่สุดเล่มหนึ่งของโลกตะวันตก


    มาดาม บลาวัตสกี (1831-1891)
    สตรีเหล็ก-เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมพุทธธรรม THEOSDPHICAL SOCIETY ร่วมกับ ผู้พันเฮนรี่
    โอลควอตต์
    - บลาวัตสกี เกิดที่ยูเครน ในครอบครัวสูงศักดิ์ทางรัสเซีย
    บิดาเป็นนายทหารชั้นสูง และเป็นทั้งนักประพันธ์มีชื่อ
    - มารดาเป้นผู้สนใจการศึกษาใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองหลังจากต้องประสบควมล้มเหลวในชีวิตสมรส หล่อนจึงคิดตัดสินใจเดินทางมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในนิวยอร์ก ในปี
    ค.ศ. 1873 และหลังจากนั้นอีก 2 ปีก็มีโอกาสพบกับผู้พัน โฮลคอตต์ และร่วมกันก่อตั้งสมาคมพุทธธรรม
    เป็นครั้งแรกในนิวยอร์ก
    - ตามประวัติมาดามบลาวัตสกีเล่าว่า ตนเคยใช้เวลาศึกษาปรัชญาและพุทธศาสนาในทิเบตเป็นเวลา 7 ปี
    กับอาจารย์ลาปะผู้ซึ่งตนเรียกว่า มหาตามะด้วยเหตุนี้ทำให้ตนมีพื้นฐานความรู้ปรัชญาในอดีตกาล
    และเข้าใจหลักการทางความเชื่อในลิทธิต่างๆ มากมายและส่วนใหญ่ตนจะติดต่อกับท่านอาจารย์ก็โดยวิธีการเข้าสมาธิ ติดต่อสื่อสารกันทาง
    กระแสจิต หลังจากได้มีโอกาสศึกษากับเกจิอาจารย์มีชื่อหลายลัทธิใน
    อินเดียแล้ว เธอพบว่าคำสั่งสอนของอาจารย์เหล่านี้มักบ่ายเบนและ
    คลาดเคลื่อน จากหลักคำสอนดั้งเดิมที่ควรจะเป็นเธอจึงได้สละเวลาเขียนสาระบทความเพื่อพยายามนำกลับเอาคำสั่งสอนเดิม
    อันเป็นแก่นแท้ของคำสอนเดิมมาเผยแพร่ ในหนังสือชื่อ
    THE SECRET DOCTRINE (ค.ศ.1888) ซึ่งมีเนื่อหาอธิบายถึง
    ความหมายของวงกลมทั้ง7/ และเผ่าพันธ์ุแตกย่อยอีก 7 เธอกล่าวว่า โลกของเรานี้ได้ผ่านการพัฒนาทั้ง
    คลื่นจิตจักรวาลมาแล้ว 3 ระดับ และขณะนี้เรากำลังเข้า4วงจรที่4 ซึ่งเป็นวงจรทางโลกกายภาพ และอีก 3 วงจรต่อไปในอนาคตจะเป็นโลกอห่งธรรมะและจิตวิญญาณแทนวัตถุและเทคโนโลยีและทุกคนเวลากลับมาเกิดวนเวียนตามกฎแห่งกรรม
    - ต่อมาเธอได้อธิบายเรื่องวิวัฒนาการแห่งจิตวิญญาณในแนวทางกวีกาพย์โคลงในหนังสือชื่อ THE VOICE OF SIL ENCE (ค.ศ. 1889) และได้แปลหนังสือนี้เป็นภาษา เซนซา ซึ่งเธอได้ศึกษาจากลามะ และ มหาตมะบของทิเบต
    - ต่อมาถายหลัง หนังสือนี้ได้รับการยกย่องและหล่าวถึงจากปราชญ์
    ทางพุทธศาสนาเช่น ด็อกเตอร์ ไดเซท ซูสูกิ และผ่านคริสมาส ฮัมฟรีย์ ซึ่งได้รวบรวมบทความลงในหนังสือรวมเรื่องปรัชญาพุทธศาสาในปี 1960 ชื่อ THE WISDOM OF BUDDHISM
    - ซึ่งภาษาที่มาดามบลาวัตสกี ใช้ในการรจนาเป็นภาษาที่ไพเราะและแตกฉาน ให้อรรถรสต่อผู้อ่านและกินใจมีวิสัยทัศน์ที่ลึกซึ้งยิ่ง
    ด้วยความสามามาถพิเศษของเธอ สามารถชักจูงให้คนมีชื่อเสียงอย่างเช่น โทมัส เอดิสัน (THOMAS EDISON) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมาคม พุทธธรรมด้วย และเอดิสัน ยังได้จัดการอัดเสียงคำบรรยายของเธอลงในแผ่นเสียงเป็นครั้งแรกและเตรียมจะนำไปเปิดแสดงที่ประเทศอินเดีย
    - ในปีค.ศ. 1879 มาดามและผู้สนใจโอลคอต์ต ได้เดินทางไปสู่อินเดีย
    เพื่อที่พยายามปรับปรุงบูรณะสร้างความเจริญทางศาสนากลับมาให้เจริญยิ่งขึ้นใหม่ แด่ทั้งสองก็ถูกจับตามองโดยทั้งรัฐบาลอินเดีย
    และอังกฤษเพราะเกรงในพฤติกรรมและต้องสงสัยเป็นสายลับให้กับ
    รัสเซียด้วย
    - ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 ทั้งมาดามและผู้พัน
    ได้คุกเข่าเข้ารับศีลและถวายตนเข้าเป็นพุทธมามกะ ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัดต่อหน้าประชาชนชาวศรีลังกาจำนวนมากมาย ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์แห่งพุทธศาสนาที่มีชาติฝรั่งปกครองและมีชาวพุทธเป็นชาวอเมริกันตามประเพณีชาวพุทธครบทุกประการ นับจากนี้ต่อมา ทั้งสองได้อุทิศชีวิตที่เหลือพยายาม
    เผยแพร่คำสอน ธรรมะตามวัดและห้องประชุมตามสถานที่สำคัญ
    หลังจากเริ่มต้น โครงการสัญจรทั่วศรีลังกา ท่านทั้งสองสามารถ
    จัดสร้างสถาบันพุทธรรมแห่งศรีลังกาขยายไปอีก 7 สาขา และในขณะเดียวกันก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรคจากการต่อต้านจากทางการและกลุ่มมิชชั่นนารี ระดับ ท้องถิ่นในศรีลังกาด้วยในปี ค.ศ.1891 มาดามบลาวัตสกีได้สิ้นชีวิตที่กรุงลอนดอน
    ประเทศอังกฤษ รวมอายุได้ 60 ปี

    เอามาจากที่นี่ค่ะ http://www.manager.co.th
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...