การปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดํา)

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 19 ตุลาคม 2022.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,359
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    LP Ruesri2.jpg
    การปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว
    โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดํา)
    สรุปสมหาสติปัฏฐาน จาก...หนังสือธรรมะปกิณกะ ๒

    เรามาสรุปเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตรที่ศึกษามาแล้ว ว่าการปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว เร็วหรือไม่เร็วก็ชื่อว่าเข้าถึงมรรคผล เมื่อก่อนนี้เราก็ว่ากันมาตั้งแต่อานาปานุสสติกรรมฐาน นั่นเป็นการศึกษา แต่ว่าจะปฏิบัติกันจริงๆ ละก้อ ท่านจะต้องขึ้นโพชฌงค์ ๗ ก่อน ฉันไม่เหมือนชาวบ้านเขาแล้ว ถ้าเราจะเอามรรคผลกันจริงๆ ก็ต้องใช้โพชฌงค์ ๗ ก่อน อันดับแรก เพราะกำลังใจของเราต้องเข้าถึงโพชฌงค์ เราต้องมีโพชฌงค์ ๗ มาเป็นกำลังใจ อันดับแรกก่อนคือ

    ๑. ต้องเป็นคนมีสติ

    ๒. ธัมมวิจยะ ธัมมวิจยะนี่ใคร่ครวญธรรมะที่เราพึงปฏิบัติ และข้อวัตรปฏิบัติ

    ๓. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค

    ๔. มีปีติ สร้างปีติ ความเอิบอิ่มใจให้ปรากฏกับใจ นี่หมายความว่า การปฏิบัติแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บอกว่าถึงพระนิพพานแน่ อย่างเลวที่สุดเราก็ไปพักแค่สวรรค์ดีขึ้นไปหน่อยไปพักแค่พรหม ดีที่สุดเราถึงพระนิพพาน เรารู้ความจริงแบบนี้ ปีติ คือความอิ่มใจมันก็เกิด ก็คิดว่า เรานี่ยังไงๆ ก็ไม่ตกนรกแน่ ความภาคภูมิใจที่เกิดอย่างนี้เราเรียกว่าปีติ

    ๕. ทีนี้ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ สงบของปัสสัทธิ มีอยู่ ๒ จุด คือ สงบจากนิวรณ์และสงบจากกิเลส ให้มีอารมณ์นิ่ง มีอารมณ์สงบไม่ยอมให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจหรือไม่ยอมให้กิเลสเข้ามารบกวนใจแล้วก็

    ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่น

    ๗. อุเบกขา วางเฉย หมายความว่า ทรงอารมณ์เดียวเข้าไว้ ไม่ยอมรับทราบอารมณ์อื่นที่เข้ามารบกวนใจ

    นี่สิ่งทั้ง ๗ ประการนี้เรียกว่า โพชฌงค์ คือว่า องค์เป็นเครื่องตรัสรู้จะต้องมีประจำใจอยู่ก่อน สอนแปลกเสียแล้ว ก็ต้องสรุปซีนะ ไม่ขึ้นตอนต้น เพราะว่าการขึ้นตอนต้นท่านถือตามหลัก ตามเกณฑ์ว่าควรปฏิบัติ นี่เมื่อเรามีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจ โพชฌงค์ ๗ นี่เป็นอารมณ์ประจำใจ คือเราคิดไว้เสมอว่า

    ๑. เราจะมีสติรู้อยู่ ในที่นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน

    ๒. เราต้องใช้ปัญญา ธรรมะที่พึงจะปฏิบัติ ว่าที่เขาสอนเรานี่ หรือว่าตำราที่กล่าวมานี่ มันตรงตามความเป็นจริงหรือยัง

    ๓. มีความเพียร คือวิริยะ ถ้าขาดความเพียรเสียอย่างเดียว ขี้เกียจมันก็ไม่ได้อะไร

    ๔. ปีติ ความอิ่มใจ เต็มใจในการที่จะปฏิบัติ หวังในผลที่จะพึงได้

    ๕. ปัสสัทธิ รักษาอารมณ์ให้สงบอยู่เสมอ

    ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา

    ๗. อุเบกขา กันอารมณ์อื่นไม่ให้เข้ามายุ่ง อุเบกขานี่แปลว่า ความวางเฉย อารมณ์อื่นนอกจากที่เราจะต้องการมันเข้ามายุ่ง เราขับมันไปเลย

    เปิดดูไฟล์ 6016575 รวมคำสอน “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ”
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38703

    เปิดดูไฟล์ 6016576 ประวัติและปฏิปทา “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ”
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=34508
    :- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=47322
     

แชร์หน้านี้

Loading...