การบ้าน(2-3) พระไตรปิฏกเล่มที่ 15 พันธนสูตรที่ ๑๐/ทุติยวรรคที่ ๒ ชฏิลสูตรที่ ๑

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Potter, 1 กรกฎาคม 2009.

  1. Potter

    Potter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +238
    <CENTER>พันธนสูตรที่ ๑๐
    </CENTER>[๓๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำ
    ไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูก
    จองจำด้วยโซ่ตรวน ฯ
    ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลาเช้าถือบาตรและจีวร
    เข้าไปสู่พระนครสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ครั้นกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลัง
    ภัตตาหารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาค แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    พวกภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี-
    *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้
    จองจำไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวก
    ถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ฯ
    [๓๕๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้
    ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
    นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวเครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำ
    ด้วยไม้ และทำด้วยหญ้า (เชือก) ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่น
    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวความความรักใคร่พอใจนักในแก้วมณี
    และกุณฑล และความห่วงอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย
    ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจำที่หย่อนๆ
    แต่ปลดเปลื้องได้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำ
    แม้เช่นนั้นออกบวช เป็นผู้ไม่มีความห่วงอาลัย ละกามสุข
    เสียแล้ว ฯ




    <CENTER>จบ วรรคที่ ๑




    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------




    </CENTER><CENTER>รวมพระสูตรในปฐมวรรคที่ ๑ นี้ คือ
    </CENTER>ทหรสูตรที่ ๑ ปุริสสูตรที่ ๒ ราชสูตรที่ ๓ ปิยสูตรที่ ๔ อัตตรักขิต-
    *สูตรที่ ๕ อัปปกสูตรที่ ๖ อรรถกรณสูตรที่ ๗ มัลลิกาสูตรที่ ๘ ยัญญสูตรที่ ๙
    และพันธนสูตรที่ ๑๐ ฯ




    <CENTER class=l>-----------------------------------------------------

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.625694/[/music]






    <CENTER>ทุติยวรรคที่ ๒




    </CENTER><CENTER>ชฏิลสูตรที่ ๑
    </CENTER>[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม
    ปราสาทของมิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี ฯ
    ก็สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงพักผ่อนแล้ว
    ประทับนั่งที่ภายนอกซุ้มประตู ฯ
    ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๓๕๕] ก็สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน
    เอกสาฎกนิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือ
    เครื่องบริขารต่างๆ เดินผ่านไปในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ฯ
    ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสด็จลุกจากอาสนะทรงกระทำพระภูษา
    เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ พื้นแผ่นดิน ทรง
    ประนมอัญชลีไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฏก-
    *นิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้ว ทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า
    ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล... ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชา
    ปเสนทิโกศล ฯ
    ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก-
    *นิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คนเหล่านั้น เดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้า
    ปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระ-
    *อรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุพระอรหัตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก ฯ
    [๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์
    บริโภคกาม ครอบครองเรือน บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์
    อันมาแต่แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีเงินและทอง ยากที่
    จะรู้เรื่องนี้ว่า คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือคนพวกนี้บรรลุอรหัตมรรค ฯ
    ดูกรมหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้โดย
    กาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญา
    จึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
    ดูกรมหาบพิตร ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยการงาน ก็ความสะอาดนั้นจะพึง
    รู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้
    ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
    ดูกรมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้น จะพึงรู้
    ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้
    ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
    ดูกรมหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วย
    กาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญา
    จึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
    [๓๕๗] พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่า-
    *อัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เท่าที่
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม...
    ยากที่จะรู้เรื่องนี้... ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ดังนี้ เป็นอันตรัส
    ดีแล้ว ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของหม่อมฉัน เป็นจารบุรุษ
    เป็นคนสืบข่าวลับ เที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันมา ในภายหลังข้าพระองค์
    จึงจะรู้เรื่องราวที่คนเหล่านั้นสืบได้ก่อน ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้คนเหล่านั้น ชำระล้างละอองธุลีนั้นแล้ว
    อาบดี ประเทืองผิวดี โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่มเพรียบพร้อม
    ด้วยเบญจกามคุณ บำเรอข้าพระองค์อยู่ ฯ
    [๓๕๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้ทรง
    ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
    คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจ เพราะผิวพรรณและรูปร่าง
    ไม่ควรไว้วางใจ เพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว เพราะว่า
    นักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปยังโลกนี้ ด้วย
    เครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว ประดุจกุณฑล-
    *ดิน และมาสกโลหะหุ้มด้วยทองคำปลอมไว้ คนทั้งหลาย
    ไม่บริสุทธิ์ในภายใน งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวาร
    ท่องเที่ยวอยู่ในโลก ฯ





    </PRE></P></CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...