พระพุทธมุนีศรีมหาราชพระโตที่สมเด็จโตสร้างเพื่อความกตัญญูต่อบูรพาจารย์

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 31 สิงหาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    พระพุทธมุนีศรีมหาราชพระโตที่สมเด็จโตสร้างเพื่อความกตัญญูต่อบูรพาจารย์
    [​IMG]
    พระพุทธรูปปางมารวิชัย ณ วัดกุฎีทอง (วัดพิตเพียน)

    วัดกุฎีทอง อ.มหาราช จ.อยุธยา...อีกตำนานหนึ่งของสมเด็จโต ท่านเรียนอยู่ที่นี่ ๓ ปี
    วัดกุฎีทอง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔ หมู่ที่ ๗ ตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๕ ไร่ พื้นที่วัดเป็นที่ราบ
    อาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถกว้าง ๖.๙๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ก่ออิฐถือปูน
    ศาลาการเปรียญกว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างด้วยไม้
    กุฏิสงฆ์จำนวน ๗ หลัง เป็นอาคารไม้
    นอกจากนี้มีวิหารหอระฆัง สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง กว้าง ๖ วา เศษ มีพระนามว่า “พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช” หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโต”

    วัดกุฎีทอง หรือ เรียกอีกนามว่า “วัดกุฎีลอย” สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาราว พ.ศ. ๒๔๑๐
    เจ้าอาวาสมีด้วยกัน ๑๑ รูป
    ๑.พระอาจารย์คล้าย
    ๒.อาจารย์ละม้าย
    ๓.พระอาจารย์สอน
    ๔.พระอาจารย์เลี้ยง
    ๕.พระอาจารย์แถม
    ๖.พระอาจารย์แช่ม
    ๗.พระอาจารย์ขาว
    ๘.พระอาจารย์ดุ่ย
    ๙.พระอาจารย์มนูญ
    ๑๐.พระอาจารย์สืบ อนุจาโร
    ๑๑.พระครูสุวรรณ ธมฺมโกวิท (เจ้าอาวาสปัจจุบัน)

    สมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันติดปากว่า หลวงพ่อโต ที่วัดแห่งนี้เดิมวัดแห่งนี้ชื่อว่า วัดพิตเพียน ตามชื่อตำบล ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดกุฏีทอง

    พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช หรือ หลวงพ่อโต
    พระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ ก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ วา ๘ ศอก นั่งหันหน้าไปทางแม่น้ำลพบุรีซึ่งไหลผ่านหน้าวัด เพราะในสมัยก่อนการเดินทางอาศัยทางน้ำเป็นหลัก ดังนั้นผู้คนที่จะมาทำบุญที่วัดจึงเดินทางโดยเรือ หลวงพ่อโตก็จะคอยนั่งยิ้ม ต้อนรับผู้ที่เดินทางมาทำบุญที่วัด และมานมัสการองค์ท่านด้วย
    หลวงพ่อโต หรือพระพุทธมหามุนีศรีมหาราช ที่วัดกุฏีทอง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหามุนีศรีมหาราช หรือชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นพระพุทธรูปนั่งตามแบบสมัยอยุธยาปางสะดุ้งมารพระพักตร์ยิ้มสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนมีขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 10 เมตร สูง 18 เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาประกอบพิธียกพระเกตุมาลา พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช หรือหลวงพ่อโต เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2515 เป็นหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนนับถือมากและนิยมมาบนหลวงพ่อแล้วแก้บนด้วยการ ?วิ่ง? รอบ ๆ องค์ หลวงพ่อ สมัยเมื่อยังมีการสัญจรทางน้ำ คนที่พายเรือผ่านหรือนั่งเรือยนต์ผ่านมาตามแม่น้ำลพบุรี พากันยกมือไหว้ท่วมหัวเพื่อขอพรหลวงพ่อทุกครั้งที่ผ่านหน้าวัด ปัจจุบันมีถนนผ่านด้านข้างวัด ต้องมุ่งหน้าแวะไปนมัสการกันโดยตรง จึงจะได้เห็นหลวงพ่อชัดเจน องค์หลวงพ่อโตนี้มีประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตารามเป็นผู้สร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับพระอาจารย์ของท่าน เมื่อครั้งที่ท่านยังหนุ่มอายุได้ 28 ปี ท่านได้ธุดงค์มาที่วัดพิตเพียน พระนครศรีอยุธยา (วัดกุฏีทอง ในปัจจุบัน) เพื่อมาเรียนวิชากับหลวงตาคง เจ้าอาวาสวัดพิตเพียน ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 105 ปี หลวงตาคงมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถืออย่างกว้างขวาง ท่านได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์และได้รับถ่ายทอดวิชาจากหลวงตาคงจนหมดสิ้น เมื่อเรียนจบแล้วท่านจึงออกเดินธุดงค์ต่อไป ต่อมาหลวงตาคงได้มรณภาพเมื่ออายุ 107 ปี สมเด็จฯโตได้เดินทางธุดงค์กลับมาจากลพบุรีพอดี จึงมีโอกาสทดแทนพระคุณอาจารย์และเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงหลวงตาคง ท่านจึงสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้น ชื่อว่า ?พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช? ซึ่งชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปว่า ?หลวงพ่อโต? ตามนามผู้สร้างและขนาดองค์พระ

    พระอธิการสืบ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ เล่าว่า การปฏิสังขรณ์พระโตนี้ถึง ๔ ครั้ง
    ครั้งแรก คือ (เข้าใจว่าสร้างค้างอยู่) นายพลอย นางแตงไทย ละนางอู่ร่วมกันปฏิสังขรณ์ มื่อราวปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐ (สิ้นเงินเท่าไร่ไม่ทราบ)
    ครั้งที่ ๒ พระพักตรแบะ พระนาภีทะลุเป็นรู เนื่องจากอนุนีบาตรตกลงในที่ใกล้เคียงกัน ปฏิสังขรณ์เมื่อปีจอ พ.ศ.๒๔๗๗ สิ้นเงิน ๕๐๐ บาท
    ครั้งที่ ๓ พระพาหาเบื้องขวาหลุด เนื่องจากฝนตกหนัก ปฏิสังขรณ์เมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๘๓ สิ้นเงิน ๓๐๐ บาท
    ครั้งที่ ๔ พระศกและพระกรรณหักพังลงมา ปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ (เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ วันที่ ๑ มีนาคม สำเร็จวันที่ ๒๙ เมษายน) สิ้นเงิน ๓,๘๑๔.๙๐ บาท (เงินที่ไช้จ่ายในการปฏิสังขรณ์ทุกครั้งเป็นเงินส่วนเรี่ยไร)

    การบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ยกพระเกศหักพังลงมา บูรณะเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕
    เมื่อบูรณะเสร็จในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมาทำพิธีเปิด “พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช” เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง (จากคำบอกเล่าของพระครูสุวรรณ ธมมฺโกวิท เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน)
    ในวันเดียวกันนี้ยังทรงมา ตัดหวายฝังลูกนิมิต ณ พระอุโบสถหลังใหม่นี้อีกด้วย ตรงหน้าบันของพระอุโบสถหลังนี้ได้อัญเชิญตรา พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ไว้ด้วย
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     

แชร์หน้านี้

Loading...