ปกิณกะพระเครื่อง ธรรมะ และวัดวาอาราม

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 5 ธันวาคม 2014.

  1. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    รุ่นนี้มีเก๊หรือยังพี่ปู...:'(
     
  2. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326



    พระหลวงปู่แหวนมีปลอมแทบทุกรุ่นเลยครับพี่โญ หลายๆรุ่นที่ราคาหลักร้อยก็มีปลอม คือสมัยนั้นหลวงปู่ท่านดังมาก ออกวัตถุมงคลรุ่นไหนมา ของปลอมก็ตามออกมาเลยทีเดียว ศึกษาก่อนสะสมดีที่สุดครับ
     
  3. พ่อณภัทร

    พ่อณภัทร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    7,877
    ค่าพลัง:
    +3,633
    ตั้งแต่สมัยผมเป็นเด็ก คณะขายยาเร่สลับการแสดงอับดุล ถามได้ตอบได้ และงูเห่ากัดกับพังพอน เป็นของที่ได้รับความนิยมมาก นอกจากยาผีบอกแล้วยังมีพระเครื่องให้บูชากันถูกๆ นอกจากพระสมเด็จสายรุ้ง หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัวแล้ว เหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นต่างๆ เป็นพระเครื่องที่คณะนิยมนำมาให้บูชากันมากที่สุด ยุคนั้นชื่อเสียงหลวงปู่เลื่องลือที่สุดจริงๆ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0161.JPG
      IMG_0161.JPG
      ขนาดไฟล์:
      241.2 KB
      เปิดดู:
      293
    • IMG_0155.JPG
      IMG_0155.JPG
      ขนาดไฟล์:
      241.4 KB
      เปิดดู:
      347
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2015
  4. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    พระหล่อรูปเหมือนพิมพ์กลีบบัว หลวงปู่แหวน เนื้อนวโลหะ อุดเส้นเกศา


    พระหล่อรูปเหมือนพิมพ์กลีบบัว ปี2516 หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    พิธีปลุกเสกในวาระแรก ปี 2516
    -วัตถุมงคลชุดนี้มี พระพุทธรูปบูชาจำลอง ขนาด 5 นิ้ว 9 นิ้ว รวมพระเครื่องของหลวงปู่แหวน สุจินโณ ซึ่งได้อนุญาตให้ทางวัดเกาะ(วัดสัมพันธวงศ์)จัดสร้างหลายชนิด เมื่อปีพ.ศ.2516
    -ปลุกเสกครั้งที่ 1 ในวันมาฆะบูชา 7 กุมภาพันธ์ ปี 2516
    -ปลุกเสกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 หลวงปู่อายุครบ 7 รอบ 16 มกราคม ปี 2517

    พิธีมหาพุทธาภิเษกวาระที่สอง หมายกำหนดการ ไว้ 3 วัน

    -ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธปฏิมาประธานประจำพระอุโบสถสร้างใหม่ ของวัดสัมพันธวงศ์, พระพุทธรูปบูชาจำลองหน้าตัก 5 นิ้ว 9 นิ้ว และพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเกศพระพุทธปฏิมาประธาน โดยกราบทูลอาราธนา เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธานประกอบพิธี กับได้ทูลเชิญพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล เป็นประธานอำนวยการจัดงาน และทูลเชิญ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ องค์อุปถัมภ์ของวัด เป็นประธานที่ปรึกษา
    ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพมหานครวันที่ 29 30 31 ธันวาคม พ.ศ. 2517

    กำหนดมหาพุทธาภิเษกเฉพาะวันที่ 30 ธ.ค. 2517
    -มีพิธีในวันจันทร์ที่ 30 ธ.ค. 2517 สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบ พิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก เวลา 20.36 นาฬิกา มีพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จากภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวม 60 รูป มานั่งปรกบริกรรมภาวนาปลุกเสกตลอดคืน มีดังนี้


    1.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี (ชรามาก จะแผ่พลังเมตตาจิตมาในวันพิธี)
    2.หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (ชรามาก จะแผ่พลังเมตตาจิตมาให้ในวันพิธี)
    3.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโต วัดสิริสาลวัน อุดรธานี
    4.พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดนิโครธาราม อุดรธานี
    5.พระอาจารย์บุญ ชินวโส วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
    6.พระอาจารย์จันทร์ เขมปปตโต วัดจันทาราม หนองคาย
    7.พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    8.พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ วัดภูทอก หนองคาย
    9.พระอาจารย์ลี ฐิตธมโม วัดศรีชมพู สกลนคร
    10.พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
    11.พระอาจารย์อุ่น กลยาณธมโม วัดป่าบ้านโคก สกลนคร
    12.พระอาจารย์สุภาพ ธมมปญโญ วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    13.พระอาจารย์คล้าย ทานรโต วัดสุจินต์ประชาราม สกลนคร
    14.พระอาจารย์เตรียม ธมมธโร วัดสามัคคีธรรม สกลนคร
    15.พระอาจารย์เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า สกลนคร
    16.พระอาจารย์บุญมี ฐิตปุญโญ วัดประชานิยม สกลนคร
    17.พระอาจารย์ประสาร ปญญาพโล วัดคามวาสี สกลนคร
    18.พระอาจารย์บัว วัดป่าบ้านเสาเส้า อุดรธานี
    19.พระอาจารย์ปั่น ญาณวโร วัดพุฒาราม สกลนคร
    20.พระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก วัดโนนแสงทอง สกลนคร
    21.พระอาจารย์เกิ่ง วิทิโต วัดสามัคคีบำเพ็ญผล สกลนคร
    22.พระสังวรวิมลเถร (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    23.พระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    24.พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดหนองพะอง สมุทรสาคร
    25.พระครูวิจารณ์สมถกิจ (จรัญ เขมจารี) วัดประชารังสรรค์ ศรีสะเกษ
    26.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสฤษฎ์ ศรีสะเกษ
    27.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี
    28.พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    29.พระครูญาณจักษ์(ปรมาจารย์ผ่อง จินดา) วัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ
    30.พระศีลขันธโสภณ (หลวงพ่อสนิท) วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    31.พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
    32.พระอุดมสารโสภณ (ผาสุก) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
    33.พระญาณโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    34.พระครูวรพรตศีลขันธ์ (หลวงพ่อแฟ้ม) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    35.พระสิรินันทมุนี (สนั่น) วัดพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
    36.หลวงปู่ฟัก วัดวังไทรติ่ง ประจวบคีรีขันธ์
    37.พระครูประจักษ์ตันตยาคม (เฉลา) วัดคีรีภาวนาราม ระยอง
    38.พระอาจารย์พวง สุวีโร วัดป่าบ้านปูลู อุดรธานี
    39.พระอาจารย์แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    40.พระอาจารย์ศรีนวล สิริปญโญ วัดศรีไตรรัตนนิมิต อุดรธานี
    41.พระอาจารย์บุญมี วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
    42.พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    43.พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อหิน) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    44.พระปัญญาพิศาลเถร (สงวน) วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
    45.พระธรรมภาณโศภน (สวัสดิ์) วัดปลดสัตว์ อ่างทอง
    46.พระพ่อสาม อภิญจโน วัดไตรวิเวการาม สุรินทร์
    47.พระพ่อศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
    48.พระสุทธิสารโสภณ(โสภณ) วัดศรีโพนแท่น เลย
    49.พระอาจารย์เปลี่ยน วัดบ้านปง เชียงใหม่
    50.พระชินวงศาจารย์(พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    51.หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา ระยอง
    52.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    53.พระครูวิจิตรธรรมภาณี(สิงห์) วัดหนองบัว อุบลฯ
    54.พระอาจารย์เมือง พลวฑฺโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส กาฬสินธุ์


    รูปเหมือนหลวงปู่แหวน นั่งในกลีบบัวบาน บรรจุเกศา
    -ชนิดทองคำ สร้างจำนวน 17 องค์
    -ชนิดเงินบรรจุเกศา
    -ชนิดนวโลหะบรรจุเกศา
    -ชนิดเนื้อชินชุบทองอัดพลาสติก
    -รูปเหมือนหลวงปู่แหวน นั่งในกลีบบัวตม บรรจุเกศาชนิดผง



    ที่มา: ทำเนียบพระเครื่อง เวปพระดอทคอม
     
  5. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,438
    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]


    พระโพธิจักร พ่อท่านลี (ออกวัดป่าคลองกุ้ง) เนื้อช็อกโกแลต
    หลวงพ่อลี วัดอโศการาม พระพิมพ์โพธิจักรหลังแบน (เรียบ)เนื้อช๊อคโกแลต พระเครื่องท่านพ่อลี วัดอโศการาม ที่สุดแห่งความแคล้วคลาดปลอดภัยของชาวปากน้ำ หนึ่งในกองทัพธรรมสายพระธุดงค์กรรมฐาน
    ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนสายท่านพระอาจารมั่น( ภูริทัตโต )โดยท่านเป็นศิษย์ร่นแรกของหลวงปู่มั่นที่มีลูกศิษย์มาก เช่น หลวงตามหาบัว( ญาณสัมปันโน ) หลวงตามหาบัวเคยกล่าวถึงท่านพ่อลีในงานครบรอบวันมรณภาพของท่านพ่อลี ว่า ณ.ที่แห่งนี้( วัดอโศการาม ) ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ในวันนี้( วันครบรอบมรณภาพของท่านพ่อลี ) เราจะต้องมาเคารพอาจารย์เราเพื่อเราจะระลึกถึงท่านที่ท่านเมตตาสั่งสอนเรามา และยังมีหลวงปู่ตื้อ ( อจลธัมโม ) และเป็นอีกรูปหนึ่งที่เคารพรักท่านพ่อลี และ ยังมีอีกหลายๆรูปที่เรารู้จักกันดี
    วัตถุมงคลของท่านมากด้วยประสบการณ์โดยเฉพาะเรื่องแคล้วคลาด ปลอดภัย ท่านพ่อลี มรณะภาพเมื่อ พ.ศ.2504 สรีระของท่านทางวัดและคณะศิษย์ได้เก็บรักษาไว้ในโรงทอง เป็นที่เคารพบูชาของลูกศิษย์และประชาชนโดยทั่วไป พระเครื่องของท่านพ่อลีท่านสร้างครั้งแรกที่วัดป่าคลองกุ้ง จันทบุรี
    โดยนำต้นแบบมาจากงาแกะที่ประเทศอินเดียซึ่งมี 2 พิมพ์คือพิมพ์พนมมือ และ พิมพ์สมาธิ ( ออกที่วัดอโศการาม )ต้นแบบทั้ง 2 พิมพ์นี้ท่านได้นำไปบรรจุแล้วในธุตังคเจดีย์เมื่อครั้งที่ท่านวางศิลาฤกษ์ในปี 2500 พระที่ท่านสร้างที่วัดป่าคลองกุ้งนั้นส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินมีหลายพิมพ์แต่ที่นิยมมากนั้น จะเป็นเนื้อช๊อกโกแลตซึ่งเป็นเนื้อที่ท่านผสมเอง และไม่ทราบว่าผสมอย่างไรโดยจะเป็นเนื้อผงสีน้ำตาล-ไปถึงเกือบดำมีมวลสารในเนื้อ บางองค์จะมีเม็ดผดขึ้นมาสวยงามมากโดยจะมีทุกพิมพ์ที่ท่านสร้าง เนื้อดินท่านพ่อลี พิมพ์พระโพธิจักรและพิมพ์พนมมือเนื้อช๊อคโกแลตเป็นพิมพ์นิยมสูงที่สุดของวัดป่าคลองกุ้งจันทบุรี และเป็นพิมพ์ที่หาได้ยากที่สุด ในส่วนของวัดอโศการามนั้นจะเป็นพิมพ์ใบโพธิ์นั่งสมาธิซึ่งจะมีพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มีทั้งหลังเรียบและหลังยันต์ดวงโดยจะมี 2 แบบคือ1.ยันต์ดวง ส.1 ( ยันต์ดวงพระพุทธเจ้า ) และ ยันต์ดวง ส.2 ( ยันต์ดวงของท่านพ่อลี ) วัตถุมงคลของท่านพ่อลี มีประสบการณ์สูงมากพุทธคุณเข้มขลังดั่งแก้วสารพัดนึก ทั้งทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด ปลอดภัย เมตตามหานิยม และ โชคลาภ....ฯลฯ
     
  6. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326



    ขอบคุณครับนอร์ สำหรับภาพพระสวยๆ และเรื่องราวดีๆครับ
     
  7. porpek

    porpek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,680
    ค่าพลัง:
    +4,275
    พระกลีบบัว วัดบวรมงคล (วัดลิงขบ) ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

    พิมพ์ตื้น

    [​IMG]

    [​IMG]


    พิมพ์ลึก

    [​IMG]

    [​IMG]

    ผู้สร้างพระกลีบบัว

    พระสุเมธาสจารย์ (ศรี) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่
    "พระครูราชปริศ" ได้มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน
    ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดเป็นการใหญ่
    และได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งเพื่อไว้เป็นอนุสรณ์

    เมื่อสร้างเจดีย์เสร็จ ได้นำเอาพระพุทธรูป
    พระเครื่องและสิ่งของมีค่าต่างๆ บรรจุไว้ในองค์เจดีย์
    รวมทั้งได้สร้าง พระพิมพ์กลีบบัว เนื้อดินเผา
    บรรจุไว้ด้วย เพื่อเป็นการสืบพระศาสนาด้วย

    การสร้าง "พระพิมพ์กลีบบัว" นี้ พระสุเมธาจารย์
    เป็นประธานฝ่ายสงฆ์โดยมีพระเถราจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคม
    ในสมัยนั้นมาร่วมพิธีปลุกเสก ซึ่งมีอยู่มากมายหลายท่านด้วยกัน
    มีบางท่านกล่าวว่า พระพิมพ์กลีบบัว นี้สร้างในช่วงที่
    เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ธนบุรี ยังมีชีวิตอยู่

    จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จโตฯ
    จะได้รับนิมนต์มาร่วมปลุกเสกด้วยก็ได้

    เมื่อเทียบปี พ.ศ.ดูแล้ว เห็นว่าตรงในสมัย
    ของเจ้าประคุณสมเด็จฯโต จริง ก็อาจจะเป็นไปได้
    อันนี้ถือเป็นข้อสันนิษฐาน มิใช่ข้อยืนยันว่าเป็นจริง

    แต่สิ่งที่ยืนยันได้แน่ๆ คือตอนที่กรุแตกได้พบ
    พระสมเด็จของสมเด็จโตอยู่ด้วยในกรุบรรจุไว้ในโถเบญจรงค์
    ตรงคอเจดีย์อยู่ ๓ องค์ จึงเป็นการสันนิษฐานว่า

    สมเด็จโตฯมาร่วมพุทธาภิเษก
    และนำพระสมเด็จมาร่วมบรรจุไว้ในเจดีย์
    เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาด้วย
     
  8. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์รุ่นแรก รุ่นสร้างโบสถ์ เนื้อเงินและทองแดง หลวงปู่คำน้อย วัดภูกำพร้า มุกดาหาร ปี ๒๕๓๗
    หลวงปู่คำน้อย ท่านอายุยืนมาก กว่า 238 ปี อยู่วัดถ้ำภูกำพร้า อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่ท่าน อายุได้ 100 กว่าปี ท่านก็สามารถนั่งสมาธิถอดจิต ไปเที่ยว สวรรค์ - นรก ได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านได้ไปถึงด่านตรีเทพพิทักษ์มหาราช แต่เข้าไปไม่ได้ มีตรีเทพเฝ้าคุมอยู่ ในขณะนั้นมีหลวงจีนใส่จีวรปะ ๆ ผ่านมา และกล่าวกับหลวงปู่คำน้อยว่า ท่านจะเข้าไปในนี้ได้ ต้องไปเปิดประตูสวรรค์เสียก่อน หลวงปู่คำน้อยถามว่า แล้วจะไปเปิดประตูสวรรค์ได้ที่ไหน หลวงจีนรูปนั้นก็บอกว่า ให้ไปรอที่โลกมนุษย์ แล้วจะจัดการให้เอง จากนั้นหลวงปู่คำน้อย ก็รอมาจนอายุ 200 ปีเศษ ก็มีอาจารย์ถ่ายทอดถอดเบิกธรรม เดินทางไปทำพิธีถ่ายทอดธรรมะ ที่วัดถ้ำภูกำพร้า ขณะที่กำลังทำพิธีอยู่ หลวงปู่ก็ได้เข้าไปขอเปิดประตูสวรรค์ ในระหว่างทำพิธีอยู่นั้น หลวงปู่คำน้อย ก็เห็นหลวงจีนที่ใส่จีวรปะ ๆ องค์นั้น นำกุญแจทองมาเปิดประตูสวรรค์ ให้กับผู้ที่รับธรรมะทีละคน ( หลวงจีนที่ใส่จีวรปะ ๆ ก็คือ พระพุทธจี้กง) หลังจากได้รับธรรมะแล้ว หลวงปู่คำน้อย ก็กลับเข้าห้อง นั่งสมาธิถอดจิตขึ้นเบื้องบน เพื่อพิสูจน์ว่า ไตรรัตน์ที่ได้รับ สามารถผ่านด่านตรีเทพพิทักษ์มหาราช ได้จริงหรือไม่ ปรากฏว่า ผ่านเข้าไปได้จริง ๆ เมื่อท่านกลับลงมา จึงเรียกให้ลูกศิษย์ และญาติโยมทั้งหลาย รีบมารับธรรมะกันให้หมด เพราะธรรมะนี้สูงส่ง วิเศษที่สุด

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  9. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326



    ขอขอบคุณท่านปลัด(ขออนุญาตเรียกตามพี่โญนะครับ) ที่นำพระสวยๆและความรู้มาแบ่งปันกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกมากทีเดียวครับ
     
  10. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326


    ขอบคุณคุณเหน่ง ทีมาร่วมกันเผยแผ่บารมีครูบาอาจารย์ครับ
     
  11. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,021
    [​IMG]

    [​IMG]
    เหรียญเจริญพรบน เนื้อพระกริ่งชินบัญชร ญสส.เพชรกลับ หลวงปู่บัว ถามโก ปี2553
    หลวงปู่บัวประกอบพิธีเททองหล่อด้วยตัวท่านเอง ณ วัดบวรนิเวศ ในปีเสือ เดือนสิงห์ กระทิงวัน (19 สิงหาคม 2553) และอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในวันที่16 พฤศจิกายน 2553

    วัตถุมงคลชุดนี้ เป็นมงคลนามในความหมายของ "เพชรกลับ" ที่โบราณ กล่าวว่า จะช่วยให้เรื่องร้ายกลับกลายเป็นดี เรื่องที่ดีกลับดียิ่งขึ้น สิ่งที่ย่ำแย่จะกลับไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ' ปั๊มให้เสร็จก่อนตะวันจะตกดิน ไปใช้จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ไม่มีวันที่จะตกต่ำเหมือนตะวันที่กำลังจะตกดิน '

    จัดสร้าง 655 เหรียญ โดยสร้างจากเนื้อพระกริ่งที่เหลือจากการเทพระกริ่งชินบัญชร ญสส. เพชรกลับ ประมาณ 10 กิโลกรัม มาผสมกับทองแดงเพื่อให้เกิดความอ่อนนุ่มพอที่จะสามารถปั๊มเป็นเหรียญได้ จะมีโค๊ต "เพชรในดอกบัว" ซึ่งเป็นโค๊ตที่ตอกในพระกริ่งชินบัญชร ญสส. และมีโค๊ตหมายเลข ซึ่งเป็นหมายเลขตัวใหญ่ จะตอกเฉพาะเนื้อพระกริ่งชินบัญชร เพียงเนื้อเดียวเท่านั้น

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  12. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326


    ขอบคุณคุณบอย ที่มาช่วยกันแนะนำสิ่งดีๆให้กับเพื่อนสมาชิกครับ

    ขอบคุณทุกๆท่านอีกครั้ง การมีข้อมูลจากหลายๆท่านกระทู้จะได้มีความหลากหลาย เผื่อเพื่อนสมาชิกกำลังหาข้อมูลพระรุ่นไหนอยู่ หรือยังไม่พระองค์ไหนเป็นเป้าหมายในใจ จะได้เข้ามาศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการเก็บพระต่อไปครับ
     
  13. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,021
    'เหรียญเจ้าสัว'เหรียญแห่ง'มงคลนามของชาวจีน'
    คำว่า เจ้าสัว เป็นภาษาจีน มีความหมายถึงคหบดีผู้มีฐานะความร่ำรวยกว่าชาวบ้านทั่วๆไป และเป็นผู้มีฐานะร่ำรวยกว่าคำว่า เถ้าแก่ หลายเท่านัก ด้วยเหตุนี้คำว่าเจ้าสัว จึงเป็นมงคลนามที่ชาวจีนนิยมชมชอบกันมาก และด้วยกระแสความนิยมเหรียญเจ้าสัวหลวงปู่บุญ วัดต่างๆ จึงได้มีการสร้างล้อพิมพ์เป็นจำนวนมาก

    "เหรียญเจ้าสัว" สุดยอดของเหรียญหลวงปู่บุญ หรือพระพุทธวิถีนายก อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากกล่าวคือ เหรียญหล่อพิมพ์เจ้าสัว เดิมไม่ได้เรียกเหรียญเจ้าสัวแต่ประการใด แต่สมัยที่สร้างเรียกกันว่า เหรียญหล่อซุ้มกระจัง

    ตามประวัติของวัดที่บันทึกไว้มีว่าเหรียญเจ้าสัวรุ่นแรกนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานทำบุญฉลองอายุครบ ๗ รอบของหลวงปู่บุญ โดยแจกเฉพาะผู้ร่วมบริจาคปัจจัยจำนวนมาก ไม่ได้แจกทุกคนที่มาร่วมงานในครั้งนั้น ด้วยเหตุที่ผู้ได้รับแจกส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฐานะมีอันจะกิน หรือบริจาคปัจจัยจำนวนมากในการบอกบุญเรี่ยไรเงินทุนสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัด ทำให้ชาวบ้านเรียกเหรียญนี้ว่า เจ้าสัวตั้งแต่สมัยนั้น

    กรรมวิธีการสร้างเหรียญเจ้าสัว ก็เหมือนกับการเททองหล่อพระแบบโบราณทั่วไป คือขึ้นหุ่นเทียน พอกหุ่นขี้ผึ้ง ทำเป็นช่อด้วยดินไทย เทหล่อด้วยเนื้อโลหะเหลวที่หลอมด้วยความร้อนสูง พอเย็นลงก็ทุบดินออกจากเบ้าพิมพ์ แล้วตัดองค์พระออกมาจากช่อชนวน ตกแต่งด้วยตะไบ แล้วจึงเชื่อมหูเหรียญในภายหลัง

    เหรียญเจ้าสัวหลวงปู่บุญ มีพุทธลักษณะเป็นเหรียญหล่อโบราณ หูเชื่อม ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธ นั่งขัดสมาธิเพชร บนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ด้านข้างมีกรอบซุ้มเรือนแก้ว ๒ เส้นขนานกัน กรอบซุ้มหยักเข้ารูป พระเกศองค์แหลมเรียวยาวเกือบจรดเส้นกรอบซุ้ม พระเมาลีเป็นตุ่ม มีรายละเอียดที่เส้นสังฆาฏิ พระพาหากลม ด้านหลังเหรียญเรียบ ไม่มีอักขระเลขยันต์ หรือตัวหนังสือใดๆ แต่มีรอยตะไบที่ตกแต่งพิมพ์ให้เรียบร้อย บางเหรียญมีรอยเหล็กจาร ทั้งโดยลายมือของหลวงปู่บุญ และลายมือของหลวงปู่เพิ่ม หูเหรียญของแท้ต้องมีร่องรอยเชื่อมหู ซึ่งเป็นรอยเก่าปรากฏอยู่

    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญเจ้าสัว2 วัดกลางบางแก้ว ปี2535
    สร้างเพื่อสมทบทุนพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก การสร้างครั้งนั้นมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมีการดำเนินการ วิธีการและการจัดสร้าง ดังต่อไปนี้

    เหรียญเจ้าสัว ตำรับหลวงปู่บุญ ซึ่งวัดกลางบางแก้วได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ได้นำตำรับของหลวงปู่บุญมาปฏิบัติการตามขั้นตอนต่างๆ อย่างครบถ้วน โดยมีท่านพระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี และเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วเป็นผู้ดำเนินการ

    มีพระอาจารย์เจือ ปิยะสีโล ศิษย์หลวงปู่เพิ่ม ผู้รับการถ่ายทอดพุทธาคมมาจากหลวงปู่บุญ อันถือว่าได้สืบทอดวิทยาคมมาจากหลวงปู่บุญเป็นผู้จารอักขระแผ่นยันต์ตามตำรับเหรียญเจ้าสัว อันประกอบด้วยยันต์ต่างๆ มากมาย เช่น ยันต์มหาโภคทรัพย์ 109 ยันต์มหาเศรษฐี เรือนเงิน-เรือนทอง ยันต์มหาลาภสังกัจจายน์ ยันต์มหาวาสนาบารมี 16 พระอรหันต์ และยันต์พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ เป็นต้น หล่อหลอมรวมกับชนวนโลหะพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ ตลอดจนตะกรุด ทองคำ เงิน และทองแดงของหลวงปู่บุญ ซึ่งตกค้างอยู่ในกุฏิเก่าของท่าน นอกจากนี้ ยังได้รับชนวนพระสำคัญ และยันต์จากคณาจารย์ต่างๆ มากมายมาร่วมผสมในเนื้อโลหะของเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ด้วยมากมาย เช่น
    - ชนวน พระกริ่ง วัดสุทัศนเทพวราราม
    - ชนวน พระกริ่ง นเรศวร เมืองงาย
    - ชนวน พระกริ่ง บัวรอบ วัดบวรนิเวศวิหาร
    - ชนวน พระกริ่ง นเรศวร วังจันทร์ พิษณุโลก
    - ชนวน พระกริ่ง ทักษิณชินวโร พัทลุง
    - ชนวน พระกริ่ง วัดมะขามเรียง
    - ชนวน พระกริ่ง ดำรงราชานุภาพ อันประกอบด้วย
    - แผ่นยันต์ ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร
    - แผ่นยันต์ หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
    - แผ่นยันต์ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง
    - แผ่นยันต์ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    - แผ่นยันต์ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
    - แผ่นยันต์ จากหลวงพ่ออีกกว่าร้อยองค์ทั่วประเทศ
    - ชนวน พระนางพญา คุณากร
    - ชนวน พระผงสุพรรณ ทองคำ งาน 400 ปี สมเด็จพระนเรศวร สุพรรณบุรี
    - ชนวน พระพุทธชินราช งาน 400 ปี สมเด็จพระนเรศวร พิษณุโลก

    แผ่นยันต์ ตลอดจนชนวนโลหะทั้งหมดได้ทำการหล่อหลอมรวมเนื้อ เพื่อนำไปสร้างเหรียญเจ้าสัวทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง ในวันอังคารที่ 14 เมษายน 2535 เวลา 07.19 น. อันได้ตำแหน่ง “มหัทธโนฤกษ์” คือ “ฤกษ์แห่งผู้มีทรัพย์” ณ วัดกลางบางแก้ว ท่ามกลางพิธีกรรมอันถูกต้อง

    ลักษณะของเหรียญเป็นพระที่สร้างขึ้นแบบหล่อฉีด จึงทำให้บริเวณด้านหน้ามีรูพรุนเท่าปลายเข็มโดยรอบ เป็นพระพุทธประทับนั่งบนอาสนะบัว ภายใต้ซุ้มกระจัง เหมือนเหรียญเจ้าสัวหลวงปู่บุญทุกประการ ด้านหลังเหรียญตรงกลางด้านบนเป็นยันต์เฑาะว์มหาพรหม และมีอักขระขอมอีก3บรรทัด บรรทักแรกอ่านว่า อะ ระ หัง บรรทัดที่สองอ่านว่า ภะ คะ วา บรรทัดที่สามอ่านว่า นะ ชา ลี ติ

    จำนวนการจัดสร้าง ซึ่งเหรียญแต่ละชนิดมีจำนวนการสร้าง ดังนี้
    1. เหรียญเจ้าสัวทองคำ 700 เหรียญ
    2. เหรียญเจ้าสัวเงิน 6,685 เหรียญ
    3. เหรียญเจ้าสัวนวโลหะ 7,230 เหรียญ
    4. เหรียญเจ้าสัวทองแดง 9,000 เหรียญ

    นอกจากนี้ยังได้มีการตอกโค๊ดเพื่อกันการปลอมแปลงในอนาคตอีกด้วย ตอกโค๊ตภาษาจีน คำว่า จอสัว หรือเจ้าสัว

    พุทธคุณ เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ นั้นมีคติความเชื่อว่า เด่นทางด้านโชคลาภ ทำมาค้าขาย และทางด้านแคล้วคลาดอีกด้วยเชื่อกันว่า ผู้ที่ห้อยบูชาเหรียญเจ้าสัวแล้วทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยทุกคน จึงได้รับสมญาว่าเหรียญเจ้าสัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  14. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    <a href="http://emoticon.ohozaa.com" target="_blank"><img src="http://emoticon.ohozaa.com/datas/emoticon/Onion/A657.gif" border="0" alt="A657.gif" /></a>​
     
  15. ryan boy

    ryan boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +22,021
    [​IMG]


    [​IMG]



    พระเครื่องพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของวัดระฆัง ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็น จักรพรรดิของพระเครื่อง และเป็นหนึ่งในชุด เบญจภาคี ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ซึ่งได้ดำเนินการจัดสร้างในความรับผิดชอบของพระครูใบฎีกาโชคชัย และนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นผู้ดำเนินการแกะแม่พิมพ์ ซึ่งจำแนกออกได้ คือ พิมพ์ใหญ่ทรงนิยม อันเป็นพิมพ์ดั้งเดิมของวัดระฆังฯ ,พิมพ์พระคะแนนพิมพ์สมเด็จ เป็นพิมพ์ใหญ่แต่ย่อส่วนให้เล็กลง ,พิมพ์พระรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต นั่งอยู่ภายใน ลายเส้นขอบเป็นทรงระฆัง เพื่อคงเอกลักษณ์ของชื่อวัดไว้และพิมพ์พระคะแนนพิมพ์รูปเหมือน แต่ละพิมพ์ใหญ่จัดสร้างจำนวนพิมพ์ละ ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับจำนวน พระธรรมขันธ์ ซึ่งจำนวนพระที่มีมากมายนี้มีข้อที่น่าสังเกตก็คือ มีจำนวนมากมายกระทั่งคนที่คิดไม่ดีก็ออกปากว่ามี ของเสริม ข้อเท็จจริงก็คือ สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังรุ่น ๑๐๐ ปีนี้ ของเสริม ไม่มีแน่นอน จะมีก็แต่ ของเก๊หรือ ของเทียม หรือเลียนแบบเท่านั้น อย่าลืมว่าในสมัยปี ๒๕๑๕-๒๕๑๖ นั้น พระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปีนี้ดังมาก พระเครื่องอะไรที่ดังมาก ๆ ราคาเช่าหาแพงขึ้น ของปลอมยิ่งมีมากเป็นเงาตามตัว เหตุเกิดเช่นนี้ก็เลยมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปี มีของเสริม จึงทำให้ค่าความนิยมของพระสมเด็จฯ รุ่นนี้ยังย่ำอยู่กับที่ไม่สูงส่งมาก ก็นับว่าเป็นโอกาสดีของนักสะสม เพราะเนื้อหามวลสารและพิธีกรรมของพระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปีนี้ดีมาก จึงทำให้นักสะสมมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย จากบันทึกของวัด ได้ระบุไว้ว่า...ส่วนผสมของพระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปีนี้ ประกอบไปด้วย เกสรดอกไม้ โดยเฉพาะเกสรดอกบัวที่บูชา พระแก้วมรกต เกสรดอกไม้ที่บูชาตามสถานที่ สำคัญ ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เศษทองคำเปลวที่ปิดบูชาพระทั่วพระราชอาณาจักร โดยเฉพาะที่ปิด พระรูปเหมือนสมเด็จฯ โต ภายในพระวิหารที่วัดระฆัง ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีปสิงเห และ ผงมหาราช ที่บรรดาพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญ ๆ ประสิทธิ์ประสาทไว้ เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อกล้วย วัดหงส์ฯ ธนบุรี หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีผงพระที่ชำรุด ไม่เป็นองค์แล้ว อย่างเช่น พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นแรกของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ผงพระสมเด็จปิลันทน์ ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพุฒาจารย์ ม.จ. (ทัด เสนีย์วงศ์) หรือ สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ ผงว่านที่มีอานุภาพด้านต่าง ๆ ๑๐๘ ชนิด ไคลเสมาหน้าพระอุโบสถวัดระฆัง ผงปูนจากเสมาและภายในพระอุโบสถ เมื่อคราวบูรณะฯ ฯลฯ


    [​IMG]
    เหตุผลที่น่าสนใจที่นักสะสมพระเครื่องรุ่นใหม่ควรหามาบูชา อันได้แก่
    1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเสด็จมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก
    2. มีมวลสารผงเก่าของพระสมเด็จวัดระฆังยุคแรกที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ปลุกเสก
    3. เจตนาและวัตถุประสงค์ในการสร้างดีมาก และเป็นพระสมเด็จวัดระฆังเพียงรุ่นเดียวที่สร้างด้วยการกดมือทุกองค์ตาม แบบโบราณ(ไม่ใช่พระที่ปั๊มจากโรงงาน)
    4. หลวงปู่โต๊ะ ได้มาร่วมพิธีปลุกเสก และได้นิมิตเห็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี มาเวียนประทักษิณ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่ซุ้มตั้งวัตถุมงคลจนครบ 3 รอบ จนเป็นที่ฮือฮาในสมัยนั้น
    5. มีพุทธคุณเด่นในด้านเมตตา ค้าขาย และแคล้วคลาดปลอดภัย จนมีประสบการณ์เกิดขึ้นมากมาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2015
  16. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    เข้ามาอ่านครับ

    [​IMG]
     
  17. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    รอชมภาพวัตถุมงคลหลวงปู่แหวนสวยๆจากพี่โญ เพื่อให้เพื่อนสมาชิกมีโอกาสได้ศึกษากันครับ

    หลวงปู่แหวนนับได้ว่าเป็นพระอริยสงฆ์ที่ยิ่งด้วยบุญบารมี เป็นที่กราบไหว้แม้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินและพระอริยสงฆ์ด้วยกัน




    [​IMG]

    สมเด็จพระสังราช วัดราชบพิตรฯ และหลวงปู่โต๊ะ เข้ากราบนมัสการหลวงปู่



    [​IMG]

    หลวงตามหาบัว ก้มกราบหลวงปู่ด้วยความเคารพอย่างสูง



    [​IMG]

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม



    [​IMG]

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี นำคณะลูกหลานเข้ากราบนมัสการหลวงปู่



    [​IMG]

    เป็นพระอริยสงฆ์ที่ในหลวงทรงมีพระราชศรัทธาเสด็จไปกราบบ่อยมากองค์หนึ่ง
     
  18. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    เข้ามาอ่านครับ

    [​IMG]
     
  19. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    รอถ่ายภาพให้ได้ครบตามที่ตั้งใจไว้ก่อนครับพี่ปู
     
  20. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]



    เหรียญมหามงคล(พิมพ์ใหญ่) ปี๑๗ หลวงปู่แหวน เนื้อทองแดงบล็อกนวโลหะ


    เหรียญมหามงคล หลวงปู่แหวน

    พิธีปลุกเสกในวาระแรก ปี 2516
    -วัตถุมงคลชุดนี้มี พระพุทธรูปบูชาจำลอง ขนาด 5 นิ้ว 9 นิ้ว รวมพระเครื่องของหลวงปู่แหวน สุจินโณ ซึ่งได้อนุญาตให้ทางวัดเกาะ(วัดสัมพันธวงศ์)จัดสร้างหลายชนิด เมื่อปีพ.ศ.2516
    -ปลุกเสกครั้งที่ 1 ในวันมาฆะบูชา 7 กุมภาพันธ์ ปี 2516
    -ปลุกเสกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 หลวงปู่อายุครบ 7 รอบ 16 มกราคม ปี 2517


    พิธีมหาพุทธาภิเษกวาระที่สอง หมายกำหนดการ ไว้ 3 วัน

    -ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธปฏิมาประธานประจำพระอุโบสถสร้างใหม่ ของวัดสัมพันธวงศ์, พระพุทธรูปบูชาจำลองหน้าตัก 5 นิ้ว 9 นิ้ว และพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเกศพระพุทธปฏิมาประธาน โดยกราบทูลอาราธนา เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธานประกอบพิธี กับได้ทูลเชิญพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล เป็นประธานอำนวยการจัดงาน และทูลเชิญ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ องค์อุปถัมภ์ของวัด เป็นประธานที่ปรึกษา
    ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพมหานครวันที่ 29 30 31 ธันวาคม พ.ศ. 2517

    กำหนดมหาพุทธาภิเษกเฉพาะวันที่ 30 ธ.ค. 2517
    -มีพิธีในวันจันทร์ที่ 30 ธ.ค. 2517 สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบ พิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก เวลา 20.36 นาฬิกา มีพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จากภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวม 60 รูป มานั่งปรกบริกรรมภาวนาปลุกเสกตลอดคืน มีดังนี้


    1.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี (ชรามาก จะแผ่พลังเมตตาจิตมาในวันพิธี)
    2.หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (ชรามาก จะแผ่พลังเมตตาจิตมาให้ในวันพิธี)
    3.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโต วัดสิริสาลวัน อุดรธานี
    4.พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดนิโครธาราม อุดรธานี
    5.พระอาจารย์บุญ ชินวโส วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
    6.พระอาจารย์จันทร์ เขมปปตโต วัดจันทาราม หนองคาย
    7.พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    8.พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ วัดภูทอก หนองคาย
    9.พระอาจารย์ลี ฐิตธมโม วัดศรีชมพู สกลนคร
    10.พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
    11.พระอาจารย์อุ่น กลยาณธมโม วัดป่าบ้านโคก สกลนคร
    12.พระอาจารย์สุภาพ ธมมปญโญ วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    13.พระอาจารย์คล้าย ทานรโต วัดสุจินต์ประชาราม สกลนคร
    14.พระอาจารย์เตรียม ธมมธโร วัดสามัคคีธรรม สกลนคร
    15.พระอาจารย์เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า สกลนคร
    16.พระอาจารย์บุญมี ฐิตปุญโญ วัดประชานิยม สกลนคร
    17.พระอาจารย์ประสาร ปญญาพโล วัดคามวาสี สกลนคร
    18.พระอาจารย์บัว วัดป่าบ้านเสาเส้า อุดรธานี
    19.พระอาจารย์ปั่น ญาณวโร วัดพุฒาราม สกลนคร
    20.พระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก วัดโนนแสงทอง สกลนคร
    21.พระอาจารย์เกิ่ง วิทิโต วัดสามัคคีบำเพ็ญผล สกลนคร
    22.พระสังวรวิมลเถร (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    23.พระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    24.พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดหนองพะอง สมุทรสาคร
    25.พระครูวิจารณ์สมถกิจ (จรัญ เขมจารี) วัดประชารังสรรค์ ศรีสะเกษ
    26.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสฤษฎ์ ศรีสะเกษ
    27.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี
    28.พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    29.พระครูญาณจักษ์(ปรมาจารย์ผ่อง จินดา) วัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ
    30.พระศีลขันธโสภณ (หลวงพ่อสนิท) วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    31.พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
    32.พระอุดมสารโสภณ (ผาสุก) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
    33.พระญาณโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    34.พระครูวรพรตศีลขันธ์ (หลวงพ่อแฟ้ม) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    35.พระสิรินันทมุนี (สนั่น) วัดพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
    36.หลวงปู่ฟัก วัดวังไทรติ่ง ประจวบคีรีขันธ์
    37.พระครูประจักษ์ตันตยาคม (เฉลา) วัดคีรีภาวนาราม ระยอง
    38.พระอาจารย์พวง สุวีโร วัดป่าบ้านปูลู อุดรธานี
    39.พระอาจารย์แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    40.พระอาจารย์ศรีนวล สิริปญโญ วัดศรีไตรรัตนนิมิต อุดรธานี
    41.พระอาจารย์บุญมี วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
    42.พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    43.พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อหิน) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    44.พระปัญญาพิศาลเถร (สงวน) วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
    45.พระธรรมภาณโศภน (สวัสดิ์) วัดปลดสัตว์ อ่างทอง
    46.พระพ่อสาม อภิญจโน วัดไตรวิเวการาม สุรินทร์
    47.พระพ่อศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
    48.พระสุทธิสารโสภณ(โสภณ) วัดศรีโพนแท่น เลย
    49.พระอาจารย์เปลี่ยน วัดบ้านปง เชียงใหม่
    50.พระชินวงศาจารย์(พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    51.หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา ระยอง
    52.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
    53.พระครูวิจิตรธรรมภาณี(สิงห์) วัดหนองบัว อุบลฯ
    54.พระอาจารย์เมือง พลวฑฺโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส กาฬสินธุ์



    [​IMG]


    .เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ มี2ขนาด
    ชนิดกลมใหญ่
    -ชนิดเนื้อเงิน
    -ชนิดเนื้อนวโลหะ
    -ชนิดเนื้อทองแดง

    ชนิดกลมเล็ก
    -ชนิดเนื้อเงิน
    -ชนิดเนื้อนวโลหะ
    -ชนิดเนื้อทองแดง



    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...