พุทธวิธีสร้างความประทับใจ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 26 พฤศจิกายน 2007.

แท็ก: แก้ไข
  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    พุทธวิธีสร้างความประทับใจ

    ธรรมะใต้ธรรมาสน์

    ไต้ ตามทาง



    พระพุทธเจ้าตรัสว่า เสน่ห์ที่แท้จริงอยู่ที่จิตใจเราเอง วิธีสร้างเสน่ห์ดึงดูดใจคนไม่มีอะไรดีไปกว่าแต่งใจให้งามด้วยคุณธรรม เมื่อใจมีคุณธรรมแล้ว คนเขาจะมารักใคร่ชอบพอเอง ดุจดังแม่เหล็กมีพลังดึงดูดในตัวฉะนั้น

    คุณธรรมที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจคนมี 4 ประการ ประการแรกคือ

    1. ทาน (ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)

    ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นี้เป็นคุณสมบัติภายในใจที่เราจะต้องสร้างขึ้นให้ได้ก่อนคือ ต้องพยายามทำใจให้มีความรักความปรารถนาดีต่อคนอื่น คิดอยากช่วยเหลือคนอื่นทุกขณะ ทุกเวลา ทุกสถานที่ถ้ามีโอกาส จากนั้นก็ค่อยๆ แสดงออกทางวาจาและทางการกระทำทางกาย เริ่มตั้งแต่เรื่องพื้นๆ ธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น

    - ขึ้นรถเมล์เห็นคนแก่หรือเด็กขึ้นมาก็ลุกให้ที่นั่งแก่เขา ไม่ยืนโหนอยู่ที่ประตูรถขวางทางขึ้นลงของคนอื่น

    - กำลังขับรถ มีน้ำใจให้ทางแก่คนที่ขอทาง หยุดรอให้คนเดินถนนข้าม ไม่แซง ไม่ตัดหน้าในที่ไม่สมควร ด้วยคิดแต่ตัวเองต้องรีบ เพราะคนอื่นๆ เขาก็รีบเช่นเดียวกัน

    ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจในเรื่องเช่นนี้หรือเรื่องอื่นๆ ตลอดจนถึงการแบ่งปันของกินของใช้ที่ตนมีแก่ผู้อื่นตามโอกาส เป็น "เสน่ห์ในตัว" ที่ใครเห็นใครก็รัก อยากคบค้าสมาคมด้วย คนเช่นนี้ อยู่เขาก็ไว้ใจ จากไปเขาก็คิดถึง

    2. เปยยวัชชะ (พูดจาเป็นที่รัก)

    "ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์

    มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

    แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร

    จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"

    รัตนกวีสุนทรภู่กล่าวเป็นสุภาษิตเตือนใจไว้ดังว่ามานี้ แสดงว่าคำพูดของคนมีความสำคัญมาก คนจะรัก จะชัง จะโกรธเกลียดหรือชื่นชมยกย่อง เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็ก เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ ก็อยู่ที่ "ปาก" เรานี่แหละ จึงมีคำพูดที่ได้ยินทั่วไปว่า "พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี" อันหมายถึง ถ้าใช้ปากเป็นก็เป็นสิริมงคล สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการ ถ้าใช้ปากไม่เป็น นอกจากจะไม่สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการ อาจก่อการทะเลาะวิวาทถึงเจ็บตัวได้ ขอให้ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้

    นายดำขับรถตามรถเมล์ไปบนถนนสายหนึ่ง ซึ่งอนุญาตให้เฉพาะรถเมล์วิ่งได้ รถส่วนตัวอื่นๆ ไปไม่ได้ ตำรวจจราจรสั่งให้หยุด ขอดูใบขับขี่ นายดำถือว่าตนเป็นคนสำคัญในสังคมคนหนึ่งเห็นตำรวจจราจรเป็นเพียงตำรวจผู้น้อยธรรมดา ไม่ยอมให้ใบขับขี่ เขาเถียงว่าตนไม่ผิด รถเมล์ยังมาได้ ตนก็มาได้ แถมยังขู่ตะคอกเจ้าหน้าที่ตำรวจ อวดใหญ่อวดโตต่างๆ นานา ตำรวจผู้ทำตามหน้าที่ก็ไม่สนใจ ยึดใบขับขี่ เขียนใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับตามกฎหมาย

    ในกรณีเดียวกัน นายแดงถูกตำรวจสั่งให้หยุดรถ ก็เปิดกระจก ยกมือไหว้ตำรวจ พูดจาสุภาพ นุ่มนวล ขอโทษขอโพยว่า ตนไม่ทราบว่าทางนี้ห้ามรถยนต์ส่วนตัวผ่าน ถ้ารู้ก็จะไม่มาทางนี้ตำรวจคนเดียวกัน ได้ยินคำพูดที่สุภาพของนายแดง รู้สึกพอใจยิ้มพลางยื่นใบขับขี่คืนให้ พร้อมกับตักเตือนว่าคราวหน้าโปรดระวังอย่าผิดกฎจราจรเป็นอันขาด นายแดงยกมือไหว้ กล่าวขอบคุณตำรวจที่กรุณาปล่อยตัวไป

    ในกรณีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจอยู่สองประการ คือ (1) ปรับ หรือ (2) ตักเตือน นายแดงรู้จักพูด พูดดี พูดเพราะ ตำรวจจึงไม่ปรับ ปล่อยตัวไป ส่วนนายดำนั้นถูกปรับเพราะใช้คำพูดไม่เป็น ไม่รู้จักยอมรับผิด และไม่สุภาพอ่อนน้อมต่อเจ้าพนักงานตำรวจ

    คนที่ใช้คำพูดเป็นคือ พูดเพราะ พูดดี พูดคำจริง คำที่มีประโยชน์ เป็นคนมีเสน่ห์ในตัว ใครได้สัมผัสใกล้ชิดจะรู้สึกประทับใจไม่รู้ลืม

    3. อัตถจริยา (ทำตนให้เป็นประโยชน์)


    มีคำพังเพยโบราณว่า "อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น" เป็นคติเตือนใจให้คนเรารู้จักช่วยเหลือคนอื่น ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่คนอื่น แก่สังคมประเทศชาติที่ตนอยู่อาศัย ความมีน้ำใจชอบทำตนให้เป็นประโยชน์ ทางพระเรียกว่า "อัตถจริยา" แปลตามศัพท์ว่าการทำประโยชน์ ซึ่งขยายออกเป็น 2 ประการ คือ

    (1) ทำตนให้เป็นประโยชน์ หมายถึง ทำตนให้มีคุณค่า มีคุณงามความดี พอที่จะทำประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนตนให้มีความสามารถเพื่อไปประกอบอาชีพเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัวในภายหน้าได้ เมื่อทำงานเป็นหลักเป็นฐานแล้ว ก็ขยันหมั่นเพียรสร้างตน สร้างฐานะ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พอที่จะเจือจุนครอบครัว และช่วยเหลือสาธารณประโยชน์

    (2) ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้อแรกนั้นเรียกว่า "ทำตนให้พร้อม" ส่วนข้อที่สองนี้เรียกว่า "เอาความพร้อมที่มีแจกจ่ายกำลังออกไปช่วยคนอื่น" สิ่งที่จะช่วยเอาความพร้อมที่มีออกไปช่วยเหลือคนอื่นได้นั้นก็คือความมีน้ำใจ หรือความไม่เห็นแก่ตัว

    คนที่เห็นแก่ตัว ใจไม่กว้าง ไม่มีน้ำใจ ถึงจะมีความรู้ ความสามารถมาก ถึงจะมีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็ไม่คิดช่วยเหลือคนอื่น ไม่คิดทำประโยชน์แก่คนอื่น ส่วนคนที่มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัวย่อมพร้อมจะช่วยเหลือคนอื่นตลอดเวลา แม้ว่าตนจะมีไม่มาก มีความรู้ความสามารถไม่มากก็ตาม


    ----------
    ที่มา: ข่าวสด
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd055MHhNUzB5Tmc9PQ==
     
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,447
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,510
    อนุโมทนาครับ ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และในอนาคตไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ พร้อมเหล่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านทุกองค์ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ สาธุ มหาสาธุ
     
  3. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    อยากเป็นคนที่ใครเห็นก็รัก ก็ประทับใจอ่าครับ ทั้งมนุษย์ทั้งชาวโลกทิพย์ แต่ไม่รู้ว่าทำดีพอแล้วหรือยังอ่า แต่จะพยายามต่อไปครับ นำธรรมะของพระพุทธองค์มาใช้อยู่เสมอๆครับ เพื่อความสุขคร้าบบ
     
  4. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    ขอโมทนาบุญ....ขอให้ท่านเจริญขึ้น ๆ ไป

    ประสพแต่ความสุขความเจริญ
     
  5. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้ตั้งกระทู้ และทุกๆท่านที่ร่วมอนุโมทนาครับ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...