หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ขอเชิญร่วมโชว์วัตถุมงคล พูดคุย ประสบการณ์ได้ทุกๆท่านครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย tee_tores, 6 มีนาคม 2012.

  1. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129

    เหมือนกันเป๊ะ แต่ของผมไม่มีมูลค่า เพราะไม่ได้ขาย
    :boo::boo:

    [​IMG]
     
  2. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG] [​IMG]
     
  3. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG]
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    กราบครูบาอาจารย์ทุกๆท่านด้วยครับ
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร มีนามเดิมว่า กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ปีมะเส็ง ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ ๙ ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นบุตรของคุณพ่อ ตุ้ย ปั้นสน ซึ่งบ้านเดิมอยู่วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มารดาชื่อคุณแม่ต่วน เดชมา เป็นคนบ้าน แค ท่านทั้งสองมีบุตรและธิดาด้วยกัน ๕ คน

    คนที่ ๑ ชื่อนายตุ๊ ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    คนที่ ๒ ชื่อนายคาด ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    คนที่ ๓ ชื่อนายชื้น ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    คนที่ ๔ ชื่อนางนาค ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    คนที่ ๕ พระกวย ชุตินฺธโร (มรภาพเเล้ว)

    เด็กชายกวย เมื่อโตขึ้นมา โยมบิดาได้ส่งมาเรียนหนังสือกับหลวงปู่ขวด วัดบ้านแค หลังจากหลวงปู่ขวดก็มรณภาพ บิดามารดาจึงได้นำเด็กชายกวยมาเรียนหนังสือขอมต่อกับอาจารย์ดำ วัดหัวเด่น ซึ่งใกล้ ๆ กับวัดบ้านแค หลังจากนั้นก็มาช่วยทางบ้านประกอบอาชีพ ทำไร่ไถนาตามประสาอาชีพของทางครอบครัว

    อุปสมบท




    ต่อมาเมื่อครบอายุบวช จึงเข้าอุปสมบท โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระชัยนาทมุนี มีหลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละพระอาจารย์หริ่งเป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เวลา ๑๕ นาฬิกา๑๗ นาที อายุ ๒๐ ปี ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีฉายาว่า ชุตินฺธโร แปลว่า "โลกนี้มีแต่ความวุ่นวายของโลก หนักไปด้วยกิเลส ตัณหาคือ โลภ โกรธ หลง ทั่งสิ้น ถ้าท่านผู้ใดตัดกิเลส ตัณหาได้ก็จะถึงซึ่งฝั่งพระนิพพาน"

    วิชาการเเหล่เเละเทศน์

    เมื่ออุปสมบทแล้วก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านแค ตอนนั้นหลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระกวย ชุตินฺธโร จึงหัดเทศน์เวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร, ทานกัณฑ์ ท่านชอบเทศน์แหล่หญิงหม้ายซึ่งกล่าวถึงพระนางมัทรี ตอนที่องค์พระเวสสันดร ถูกเนรเทศออกนอกเมือง ไปบวชอยู่ในป่า หลักฐานในเรื่องนี้คือใบลานเทศน์ต่างๆที่หลวงพ่อเก็บรักษาไว้ เเละบางอันท่านได้ประทับตราสิงห์ชูคอเอาไว้ บางอัน หลวงพ่อเขียนไว้ว่า พระกวยสร้างถวาย หรือพระกวยสร้างส่วนตัวหลังจากนั้นหลวงพ่อได้ไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อเรียนวิชารักษาโรคระบาด หรือโรคห่าเเละ โรคไข้ทรพิษ

    เรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์

    ต่อมาในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านได้มาอยู่ที่วัดวังขรณ์ ต.โพธิ์ชนไก่ ๒ พรรษา ในพรรษาต่อมาได้เรียนธรรมโท แต่พอสอบไล่ เป็นไข้ไม่สบายเลยไม่ได้สอบ จึงมาคิดได้ว่าปริยัติธรรมก็เรียนมาพอสมควร จึงอยากจะเรียนวิปัสสนากรรมฐานและอาคมตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลัง จึงได้เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วิริยะโสภิต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อได้เรียนวิชาทำแหวนนิ้ว ซึ่งแหวนนิ้วของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ใต้ท้องวงจะตอกตัวขอมอ่านว่าอิติ ของหลวงพ่อกวยก็เช่นกันและท่านยังได้ได้เรียนวิชาอีกหลายอย่าง กับหลวงพ่อศรีนี้ หลวงพ่อกวยได้ ยันต์เเรกที่หลวงพ่อสำเร็จเเละท่านมั่นใจในยันต์นี้มาก นั่นคือ ยันต์มงกุฎพระเจ้า ซึ่งหลวงพ่อมักใช้ปลุกเสกพระเเละเครื่องรางต่างๆ ท่านมั่นใจในยันต์นี้มากเเละได้ใช้ยันต์นี้ลงในหลังเหรียญรุ่นเเเรกของท่าน โดยบรรจุยันต์นี้ครบสูตร เเละท่านยังได้ทำเป็นตรายางเพื่อประทับผ้ายันต์เเละรูปถ่ายบางรุ่น คือมีความหมายทางคุ้มครองเเละช่วยเสริมดวง จนกลายมาเป็นชื่อยันต์เสริมดวงที่เรียกกันนั่นเองนอกจากนี้ ตามที่ได้ข้อมูลว่า ยันต์เเละคาถานะโมตาบอด หลวงพ่อก็ได้มาจากหลวงพ่อศรี ยันต์นี้ นอกจากใช้จารเครื่องรางเเล้ว ท่านยังใช้บรรจุที่หลังเหรียญรุ่นสองของท่าน หลังจากเล่าเรียนกับหลวงพ่อศรี ท่านก็มาจำพรรษาอยู่วัดหนองตาแก้ว ต.โคกช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ที่วัดตาแก้วนี้ หลวงพ่อได้ปลูกต้นสมอไว้ ๑ ต้น ปัจจุบันยังอยู่ หลวงตาสมาน เคยไปอยู่วัดหนองตาแก้ว ได้นำไก่แจ้เอาไปนอนบนต้นสมอ ปรากฏว่าไก่ไม่ยอมนอน ไม่ทราบว่าหลวงพ่อได้ลงวิชาอะไรไว้ ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อ เพิ่งอายุ ๒๘ ปี พรรษาได้ ๘ พรรษา แสดงว่าหลวงพ่อเป็นผู้มีอาคมตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่มๆต้นสมอที่หลวงพ่อลงอาคมนี้ ปัจจุบันยังอยู่เเละไม่มีใครกล้าไปตัดหรือทำอะไร เพราะกลัวอาถรรพ์ เคยมีพระบางรูปขึ้นไปตัด เเต่ก็ต้องเจอกับอาถรรพ์จนเสียชีวิตมาเเล้ว

    ตำราในโพรงไม้

    ต่อมา ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท อีก ๑ พรรษา ได้เรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ ในขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีเพื่อนภิกษุชื่อ แจ่ม ได้เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพณ์แรงมาก คล้ายมีเทพและเทวดารักษา จึงได้มาชักชวนพระกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้ พระภิกษุกวย จึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า "ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเอาตำรานี้ไปเก็บรักษาไว้ ขอธูปที่จุดนี้ให้ไหม้ให้หมดดอก" แต่ปรากฏว่าธูปได้ไหม้ไม่หมด พระภิกษุกวยจึงได้เสี่ยงสัตย์อธิษฐานขึ้นมาใหม่ว่า "ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือ ประชาชนเท่านั้น" แล้วก็จุดธูปขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายปรากฏว่าธูปได้ไหม้หมดทั้ง ๓ ดอก หลวงพ่อจึงได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของตำราและอัญเชิญเอาตำรานั้นมาเก็บไว้ เกี่ยวกับตำรานี้ มีคำร่ำลือกันว่า ก่อนหน้านั้นมีคน ๆ หนึ่งได้นำตำราชุดนี้มาเก็บไว้ในบ้าน ได้เกิดเหตุวิบัติ เจ็บไข้ล้มตาย จึงเอาตำราชุดนี้มาทิ้งไว้ที่ดังกล่าว พระภิกษุกวย เมื่อได้ข่าวดังนั้นก็มาเปิดตำราดู ก็ปรากฏว่ามีลายลักษณ์อักษรบอกไว้ในตำราว่า ตำรานี้ห้ามเอาไปไว้บ้านใคร ๆ ทั้งสิ้น มิฉะนั้นจะฉิบหาย ท่านจึงได้ศึกษาตำรายันต์และคาถาจากตำราเล่มนี้ ปัจจุบันตำราเล่มนี้ยังอยู่ที่วัด หน้าปกเขียนว่า “ครูแรง” ด้วยสีแดง นับว่าหลวงพ่อกวยท่านเป็นพระที่ได้ตำราเเบบเเปลกกว่าพระอื่นๆทั่วไป ส่วนพระภิกษุเเจ่มที่เป็นคนพาหลวงพ่อไปเอาตำรานี้ภายหลังได้สึกเเละผันชีวิตไปเป็นอ้ายเสือ เรื่องตำรายันต์ที่หลวงพ่อคัดลอกและเรียนมานี้ ปัจจุบันบางส่วนยังอยู่ที่วัด บางส่วนอยู่ที่ศิษย์หลวงพ่อหลายๆท่าน เช่นที่อาจารย์เหวียน มณีนัย บ้านท่าทอง ต.ปากน้ำ อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี อยู่ที่วัดท่าทอง อยู่ที่อาจารย์โอภาสหรือ(มรณภาพเเล้ว) วัดซับลำใย จ.ลพบุรี อยู่ที่อาจารย์แสวง(มรณภาพเเล้ว) วัดหนอง อีดุก อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ตำราเก่า สมุดบันทึก ตลอดจนของเก่าๆที่หลวงพ่อเก็บไว้ บางอย่างท่านจะห่อปกด้วยกระดาษ เเละมักจะเขียนว่าห้ามทำสกปรก จะจับถือให้เบามือ เเสดงว่าหลวงพ่อท่านเป็นคนรักของเเละมีระเบียบ หลวงพ่อไม่หวงของเเต่ไม่ชอบให้ทิ้งขว้าง ตำรายาเเละเลขยันต์ต่างๆ ที่ท่านได้จดบันทึกไว้ บางเล่มท่านจะเขียนหน้าปกไว้ ว่า ห้ามหยิบ ห้ามจับ ครูเเรง บางเล่มจะเขียนสั่งว่า เปิดดูจุกตาย เป็นต้น

    เรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

    เมื่อหลวงพ่อออกจากวัดหนองแขมแล้ว ได้ไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำ แหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นของหลวงพ่อที่เป็นที่รู้กันคือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย จากคำบอกเล่าจากพระภิกษุแบนและพระหลวงตา ตลอดจนศิษย์รุ่นเก่าได้พูดตรงกันว่า หลวงพ่อกวยตอนที่อยู่ที่วัดก็เป็นพระที่มีอาคมเหมือนพระทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อท่านกลับมาจากเรียนวิชาจากเมืองเหนือ (หมายถึง นครสวรรค์) เมื่อท่านกลับมาท่านเก็บตัว พูดน้อย มีจิตมหัศจรรย์ วาจาสิทธิ์ เรื่องที่หลวงพ่อไปเรียนวิชามากับหลวงพ่อเดิมนี้ มีหลักฐานคือมีรูปถ่ายของหลวงพ่อเดิม มีจารด้วย เป็นรูปถ่ายพรรษาท้ายๆของหลวงพ่อเดิมลายมือ พบในกุฏิของหลวงพ่อ หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ลุงหล่อน คนสักยันต์แทนหลวงพ่อ ตอนนั้นลุงหล่อนได้ทำบุญเเละได้รูปหลวงพ่อเดิมมาสองรูปกับเเหวนหลวงพ่อเดิมหนึ่งวง รูปนั้นเป็นรูปหลวงพ่อเดิมพรรษาท้ายๆ อีกรูปเป็นรูปหลังเเววหางนกยูง ข้อมูลจากลุงหล่อน ได้กรุณาเล่าว่า สมัยนั้นเดินไปกับหลวงพ่อ ตอนนั้นลุงยังหนุ่มๆอายุยี่สิบเศษๆ เดินเท้าจากบ้านเเคไปตาคลี ใช้เวลาหนึ่งวัน ไปค้างที่วัดหนองโพสามคืน ลุงหล่อนได้คุยเเละนวดให้หลวงพ่อเดิมด้วย ลุงบอกว่าหลวงพ่อเดิมนั้นใจดี มีเมตาตามาก หลวงพ่อกวยเคยขอเรียนวิชาทำทอง เล่นแร่แปรธาตุ แต่หลวงพ่อเดิมไม่สอนให้ ท่านจึงเรียนมาเท่านั้น

    การสักยันต์

    ต่อมาเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพ่อกลับมาอยู่วัดบ้านแค หลวงพ่อได้ทำการสักให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน ทางเดินสมัยก่อนต้องเดินเท้าเอา ลำบากมาก อย่างดีก็ขี่จักรยาน รถ ๒ แถว มีเข้าวัด ๑ คัน ออก ๑ คัน เท่านั้น มีศิษย์สักมาก ได้จดบัญชีไว้ ๔ หมื่น ๔ พันคน ต่อมา หลวงพ่อเห็นว่าสมควรแก่เวลา หลวงพ่อได้หยุดสัก เปลี่ยนมาทำพระเเละแต่เรื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด, มีดหมอ, แหวนแขน เป็นต้น ช่วงนั้น ข้าวยากหมากเเพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะ เเถวภาคกลางตอนล่าง เเถบนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี เป็นเเหล่งกบคานของก๊กเสือร้ายหลายกลุ่ม ชาวบ้านเเคก็ได้อาศัยบารมีหลวงพ่อเพื่อคุ้มครองครอบครัวเเละทรัพย์สิน ของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด ลูกเมียก็จะมาขอนอนที่วัดเพราะกลัวโจรฉุด วัวควายก็พากันเอามาผูกในลานวัด จากคำบอกเล่าของคนเก่าๆที่บ้านเเค เล่าว่า พวกโจร เสือต่างๆไม่มีใครกล้ากับหลวงพ่อ มีอยู่รายนึงเป็นเสือมาจากอ่างทอง พาสมุนล้อมวัดบ้านเเคตอนกลางคืน เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก เเต่ก็โดนตะพดหลวงพ่อจนต้องรีบพาสมุนกลับเเละก็ไม่มาเเถวบ้านเเคอีกเลย เขาว่าในสมัยนั้นเมื่อเสือ เดินผ่านวัดหลวงพ่อ ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง

    ผลงานทางศาสนา

    หลวงพ่อไม่ชอบการก่อสร้าง ชอบความเป็นอยู่แบบสมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ แต่การก่อสร้างนั้น หลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ยกเว้นส่วนที่ยากจึงจ้างช่างทำ ฉะนั้น ทางวัดจึงมีแต่กุฏิเก่า ๆ ที่สร้างใหม่ก็มีมีแต่พระอุโบสถ, ศาลาทำบุญ กุฏิชุตินฺธโร ที่ศิษย์สร้างถวายเท่านั้น เกี่ยวกับพระอุโบสถนั้น ศิษย์หลวงพ่อ โยมเช้า เเผ้วเกตุ ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของท่านเจ้าอาวาสวัดโมสิตารามรูปปัจจุบัน เล่าว่า สมัยก่อนได้ไปกับหลวงพ่อ ไปหาอิฐเก่าๆตามวัดร้าง โดยใช้เกวียนขน เพื่อมาทำฐานพระอุโบสถ นอกจากนี้คนในตระกูลยิ้มจูบางท่าน ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของหลวงพ่อ ได้เล่าให้ฟังว่า เคยมาช่วยหลวงพ่อถมดินรอบพระอุโบสถ เวลาไปช่วยงาน หลวงพ่อจะเเจกพระให้ทุกครั้ง

    สมณศักดิ์

    วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ อายุ ๗๔ ปี ๕๔ พรรษา ด้วยอาการสงบ ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงพ่อได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉันโรค ว่าหลวงพ่อเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา ๓๐ ปี ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อยู่โรงพยาบาลได้ไม่นาน ก็กลับวัด เมื่อกลับวัดหลวงพ่อก็ยังได้ฉันอาหารเพียงวันละ ๑ ครั้ง เช่นเดิม โดยไม่เปลี่ยนความตั้งใจ หลวงพ่อยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคล

    มรณภาพ

    ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อได้วงปฏิทิน วันที่ท่านเริ่มเจ็บเอาไว้ด้วยสีน้ำเงิน และวงปฏิทิน วันที่ท่านมรณภาพเอาไว้ด้วยตัวหนังสือสีแดง คือวันที่ ๑๑ มีนาคม และ ๑๑ เมษายน ๒๕๒๒ พร้อมทั้งเขียน พระคาถา นะโมตาบอด ให้ไว้เป็นคาถาแคล้วคลาดและกำบัง หลวงพ่อเขียนว่า "อาตมาภาพพระกวย " นะตันโต นะโมตันติ ตันติ ตันโต นะโม ตันตัน" จะมรณภาพ วันที่ ๑๑ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที" พอวันที่ ๑๑ มีนาคม หลวงพ่อก็ล้มป่วย ไม่มีโรคอะไร เพียงแต่ไม่มีกำลัง ฉันอาหารไม่ได้ ไม่ยอมไปโรงพยาบาล มีอาการไข้แทรก ฉันอาหารแทบไม่ได้เลย ไม่มีรสชาติ บางครั้งท่านพ่นข้าวออกจากปาก ไม่ยอมฉัน แล้วหยิบแผ่นตะกรุดขึ้นมาจาร บางครั้งก็จับสายสิญจน์ ปลุกเสกวัตถุมงคล กลางคืนก็จับสายสิญจน์ปลุกเสกวัตถุมงคล บางคืนถึงสว่าง ร่างกายของท่านปกติก็ผอมมากอยู่แล้วกลับผอมหนักเข้าไปอีก วันที่ ๑๐ เมษายน กลางคืนมีศิษย์มาเฝ้าท่านเต็มไปหมด ตอนเช้ายิ่งมาก เพราะท่านจะมรณภาพ แต่ท่านก็ไม่มรณภาพ ท่านผอมมากมีแต่หนังหุ้มกระดูก มีแต่ประกายตาที่สดใสเท่านั้น จนกระทั่งตกกลางคืนท่านก็ไม่มรณภาพ ค่อนสว่างวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๒ ทางกรรมการวัดและศิษย์ใกล้ชิดได้ประชุมปรึกษากันว่า สงสัยในกุฏิท่านจะลงอาถรรพณ์เอาไว้ ตลอดจนตำราอักขระเลขยันต์ ตลอดจนรูปครูบาอาจารย์ คงจะไม่มีใครกล้ามารับท่านแน่ อยากเห็นท่านไปดี จึงปรึกษากัน นำท่านออกมาที่หอสวดมนต์ เมื่อเตรียมที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว อุ้มท่านมาจำวัดที่เตียงที่หอสวดมนต์ ท่านลืมตาขึ้นเป็นการสั่งลา ครั้งสุดท้าย แล้วหลับตาพนมมือเกิดอัศจรรย์ ระฆังใบใหญ่ที่หอสวดมนต์ได้ขาดตกลงมา ดังหง่าง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ดังยาวนาน ศิษย์ที่อยู่ศาลาเข้าใจว่าท่านมรณภาพแล้ว จึงได้ตีระฆัง คือคาดว่ามีคนตีระฆัง เมื่อจับเวลาดู เป็นเวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที จับชีพจรท่านดู ปรากฏว่าท่านมรณภาพแล้ว ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยโบราณ ปัจจุบันทางวัดเเละเหล่าบรรดาศิษย์หลวงพ่อจึงยึดเอาในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญ ประจำปีเพื่ออุทิศและระลึกถึงหลวงพ่อ จบประวัติของหลวงพ่อคร่าวๆเเต่เพียงเท่านี้ ขอให้หลวงพ่อคุ้มครองทุกท่านให้มีแต่ความสุขความเจริญ ชีวิตไม่ตกต่ำเหมือนกับคำพรของหลวงพ่อ ที่เคยให้ไว้

    "ขอศิษย์ทั้งหลาย จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา"

    หมายเหตุ ข้อมูลต่างๆ เเกัไขเเละดัดเเปลงจาก ข้อมูลของเก่าครูสมจิต(เฒ่า สุพรรณ)ที่เขียนไว้ในหนังสือนะโมเเละหนังสืออิทธิปาฎิหารย์หลวงพ่อกวยเล่มเเดงที่เขียนโดยครูสมจิต เเละจากการบอกเล่าของศิษย์รุ่นเก่าของหลวงพ่อ

    ครูบาอาจารย์เเละวิชาอาคมของหลวงพ่อกวย

    ๑.หลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาว

    หลวงพ่อเฒ่า เป็นพระอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่๔ ชื่อจริงคือ หลวงพ่อปั้น เเต่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อเฒ่า เป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกของวัดคังคาว วัดนี้อยู่ไม่ไกลจากวัดหลวงพ่อกวย หลวงพ่อเฒ่านั้นเป็นพระร่นพี่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ทั้งสองรูปได้ศึกษาวิชาจากตำราเดียวกัน เเละมีการเเลกเปลี่ยนวิชากันด้วยวัตถุมงคลที่สำคัญของหลวงพ่อเฒ่า คือ ตะกรุดโทน ผ้าเเดง โดยเฉพาะผ้ายันต์นั้น นับเป็นผืนเดียวในเมืองไทยที่มีการตัดอักขระขายเป็นตัว ผ้ายันต์ที่ว่านั้นคือ ผ้ายันต์ค่ายกล ซึ่งยังมีชื่อเรียกเเตกต่างออกไป เช่น ผ้ายันต์อาฬวกยักษ์ ผ้ายันต์จักรณีย์ เป็นต้น ลักษณะของผ้าจะเป็นตารางทั้งผืนโดยมีอักขระสี่ตัว อะปะจะคะ เดินสลับกันทั้งผืนเป็นค่ายกล ยันต์สี่ตัวของหลวงพ่อเฒ่านั้น มีหลายเกจิที่นำมาใช้สืบทอดต่อจากหลวงพ่อเฒ่า อาทิเช่น หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อป่วน วัดโพธิ์งาม หลวงพ่อฉาบ วัดคลองจันทร์ หลวงพ่อเจ้ย วัดห้วยเจริญสุข สำหรับหลวงพ่อกวยนั้น ท่านเกิดไม่ทันหลวงพ่อเฒ่า เเละท่านก็สืบทอดยันต์นี้ โดยใช้จารเครื่องราง เเละทำผ้ายันต์ค่ายกลเเเบบหลวงพ่อเฒ่า มีทั้งเขียนมือเเละพิมพ์ หลักฐานคือ ยันต์ค่ายกลที่หลวงพ่อได้คัดลอกไว้ในตำราเเละสมุดบันทึกเก่าๆของท่าน

    ๒.หลวงศรี วัดพระปรางค์

    หลวงพ่อศรีเป็นพระเกจิที่โด่งดังของจ.สิงห์บุรี มีลูกศิษย์มากมาย ที่ไปเรียนวิชากับท่านเเละมีชื่อเสียงอาทิเช่น หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ หลวงพ่อบัว วัดเเสวงหา หลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา หลวงพ่อเเพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อปรง วัดธรรมเจดีย์ หลวงพ่อเย็น วัดสระเปรียญ เป็นต้นหลวงพ่อกวยได้สร้างเเหวนตามตำรับของหลวงพ่อศรี โดยมีคาถาอิติอยู่ที่ใต้ท้อง เเละท่านก็ชอบใช้คาถาอิติจารเครื่องรางด้วย

    ๓.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา

    หลวงพ่อไปเรียนวิชากับหลวงพ่ออิ่ม ได้วิชา เช่นวิชามนต์จินดามณี การทำผงจินดามณี วิชามือยาว ศิษย์ร่วมสำนักที่โด่งดังคือ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ทั้งหลวงพ่อมุ่ยเเเละหลวงพ่อกวย ได้สร้างผ้ายันต์โดยสืบทอดต่อจากของหลวงพ่ออิ่ม ซึ่งลักษณะรูปเเบบของผ้ายันต์จะดูคล้ายเเละตัวยันต์จะเหมือนกัน ผ้ายันต์ชนิดนี้ของหลวพ่อกวยจะเรียกว่า ผ้ายันต์อิทธิเจหรือผ้ายันต์สารพัดดีสารพัดกัน

    ๔.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

    ก่อนที่หลวงพ่อกวยจะเดินไปหาหลวงพ่อเดิมกับลุงหล่อน ก่อนหน้านี้ท่านก็เคยไปเรียนกับหลวงพ่อเดิมมาบ้างเเล้ว ท่านเรียนวิชาทำมีดหมอ ตะกรุด เเละปลุกเสกเครื่องรางจากหลวงพ่อเดิม โดยเฉพาะมีดหมอนี้ ของหลวงพ่อกวยเเท้ๆนับเป็นมีดหมอที่หายาก เเละมีราคาเเพงรองจากของหลวงพ่อเดิมทีเดียว

    ๕.หลวงพ่อเเบน วัดเดิมบาง

    หลวงพ่อได้เรียนวิชาทำผ้าขอดจากหลวงพ่อเเบน ผ้าขอดของหลวงพ่อกวยดังมากเเละก็หายากด้วยนอกจากนี้ยังมี หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง หลวงพ่อพวง วัดหนองกะโดน ซึ่งอาศัยจากหลักฐานคือ บัยทึกที่ท่านได้เขียนเอาไว้ ระบุคาถาเเละเจ้าของยันต์ เเต่ไม่ทราบเเน่ชัดว่า ท่านเรียนมาโดยตรงหรือเปล่า หรือรับทอดต่อมาจากใคร

    ๖.ฆราวาส

    หลวงพ่อเคยเล่าให้หมอเฉลียว เดชมา ฟังว่า ท่านเรียนวิชาเเผนโบราณจากครูฟุ้ง ครูจำปีซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เรียนวิชาถอนของ ถอนคุณไสย เเละวิชาสะเดาะกุมารในท้องนอกจากนี้ก็เรียนจากครูลุน ครูเพ็ง อาจารย์เเเหล่ม วัดท่าช้าง เป็นศิษย์สายหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เรียนวิชาอาบว่านยา วิชาสัก วิชาหินเบา วิชาสักเเละอาบว่านยานี้ ทำให้หลวงพ่อโด่งดังมาก ก่อนที่ท่านจะทำพระเเละเครื่องราง

    ๗.ตำราศักดิ์สิทธิ์จากโพรงไม้ เป็นตำราเก่าที่ภิกษุเเจ่มพาหลวงพ่อไปเอาจากโพรงไม้ดังที่ได้กล่าวมาเเล้ว นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้จดบันทึกยันต์จากหลวงพ่อต่างๆ ที่ท่านเห็นว่าสวย ท่านจะคัดลอกเก็บไว้ หลักฐานคือ ในบันทึกเก่าๆของหลวงพ่อ มียันต์ต่างๆที่ท่านจดไว้มากมาย เเม้กระทั่งยันต์ของเสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาจารย์ของท่านเจ้าคุณนรหลวงพ่อก็กวยท่านก็มี

    ขออนุญาติเวบวัดโฆษิตาราม ด้วยครับ
     
  6. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    ประวัติหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    หลวงปู่ทิม อิสริโก นามเดิมชื่อ "ทิม งามศรี" เป็นบุตรของนายแจ้า นางอินทร์ เกิดที่บ้านรหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ 2 ต.ละหาร (ปัจจุบันเป็น หมู่ 1 ต.หนองบัว) อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2422 เป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบครัว

    เมื่ออายุ 17 ปี นายแจ้ผู้เป็นบิดา นำตัวไปฝากไว้กับหลวงพ่อสิงห์ (วัดละหารใหญ่) เล่าเรียนหนังสือทั้งไทยและอักษรขอม ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นขอลาหลวงพ่อสิงห์กลับไปช่วยโยมบิดา มารดา ทำงานบ้าน จนถึงอายุ 19 ปี ท่านจึงถูกคัดเลือกเข้าเป็นลูกหมู่ หรือทหารประจำการในสมัยนั้นอยู่ที่กรุงเทพถึง 4 ปีเศษ จึงได้รับการปลดปล่อยกลับมาอยู่บ้านตามเดิม โยมบิดาจึงได้ขออนุญาตให้ท่านได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา

    หลวงปู่ทิม ได้อุปสมบทที่วัดทับมา โดยพระครูขาว เจ้าคณะแขวงเมืองระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อสิงห์เป็นกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการเกตุเป็นอนุสาวนาจารย์ โดยทำพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2449 ตรงกับปีมะแม เดือน 6 วันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ ได้รับฉายานามสงฆ์ว่า "อิสริโก" หลังจากบวชแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนทางปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานจากหลวงพ่อสิงห์ อาจารย์ของท่าน และศึกษาวิชาต่างๆ จากตำราคู่วัดละหารใหญ่ (เข้าใจว่าเป็นตำหรับเดิมของหลวงปู่สังข์เฒ่า) จนมีความรู้แตกฉานได้ออกจาริกปฏิบัติธุดงค์กับหลวงพ่อยอด นักปฏิบัติที่เป็นอาจารย์ ออกตังค์ไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเจริญสมณธรรม ออกหาความวิเวกสันโดษ ตามอัธยาศัยเป็นเวลา 3 ปี ครั้นเมื่อใกล้เข้าพรรษากลับมาถึงจังหวัดชลบุรีได้จำพรรษาที่วัดนามะตูมถึง 2 พรรษา ได้เที่ยวร่ำเรียนศึกษาวิชาเพิ่มเติม กับพระเกจิอาจารย์หลายรูป ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสที่เก่งกล้าอีกลายคน จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดละหารไร่ และได้รับนิมนต์จากชาวบ้านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ตั้งแต่พ.ศ. 2450 ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะบูรณซ่อมแซมกุฏิ และถาวรวัตถุอีกหลายอย่าง

    หลังจากหลวงปู่ทิม อิสริโก ได้สร้างอุโบสถเสร็จด้วยบารมีของท่านแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2517 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 95 ปี หลวงปู่ทิมได้วางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญ "ภาวนาภิรัติ" และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2518 จากนั้นได้สร้างปละปรับปรุงหอฉัน "อุตตโม" หลวงพ่อทิมมีตำแหน่งครั้งสุดท้ายเป็นพระครูภาวนาภิรัติ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "หลวงปู่ทิมฎ ซึ่งท่านได้มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ณ หน้าหอสวดมนต์ วัดละหารไร่ หลังจากรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา เป็นเวลา 23 วัน คณะศิษย์จึงได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดละหารไร่ และเก้บศพไว้บนศาลาภาวนาภิรัติ โดยขอพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2526 ณ เมรุวัดละหารไร่

    หลวงปู่ทิม อิสริโก ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมและพระวินัยขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในรูปรส กลิ่น เสียง ฉันอาหารเจเป็นประจำ ฉันภัตราหารมื้อเดียวเวลาประมาณ 7.00น. และฉันน้ำชาประมาณ 4 โมงเย็น จะไม่มีการฉันเพลเลย อาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรืออาหารคาวทุกชนิดท่านจะไม่ยอมฉัน แม้แต่น้ำปลา อาหารที่ท่านฉันส่วนใหญ่จะเป็นผัก ถั่ว หรือน้ำพริกกับเกลือป่น ปฏิบัติอย่างนี้เป็นเวลาถึง 50 ปี ร่างกายผิวพรรณของท่านก็ปกติอยู่ตามเดิม พละกำลังของท่านยังดีแะลสมบูรณ์อยู่เช่นเดิม ร่างกายอ้วนท้วนพอสมควร ทั้งนี้คงเป็นเพระบุญบารมีของท่านที่สะสมมา จึงทำให้ท่านเป็นพระที่เคร่งครัด และบริสุทธิ์ในพระธรรมวินัย ดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง 96 ปี อายุพรรษา 72 พรรษา และได้มรณภาพด้วยโรคชรา หลังจากเข้ารับการรักษาจาก

    และวันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี วัดละหารไร่และคณะศิษย์จะร่วมกันจัดงานวันระลึกถึงหลวงปู่ทิม ซึ่งก็มีลูกศิษย์มาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก

    ประวัติวัดละหารไร่

    ที่ตั้ง วัดละหารไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

    ประวัติความเป็นมา

    วัดละหารไร่นี้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2354 โดยหลวงพ่อสังข์เฒ่า รองเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่สมัยนั้น เห็นว่าพื้นที่ทางฝั่งคลองด้านตรงข้ามทางทิศเหนือของวัดละหารใหญ่มีทำเลดีเหมาะแก่การปลูกพืชผัก จึงได้หักล้างถางพงใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผัก ขึ้นแรกได้สร้างที่พักร่มเงาไว้เมื่อถึงเวลาเข้าพรรณา ก็จำพรรษาที่วัดละหารใหญ่ ต่อมามีผู้คนไปทำไร่ในแถบใกล้ๆ ที่นั้นมากขึ้น เห็นว่ามีพระสงฆ์อยู่ เมื่อถึงวันพระก็จัดภัตตาหารไปถวายเป็นประจำ ต่อมาได้มีพระภิกษุไปอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงได้ก่อสร้างกุฏิวิหาร พระสงฆ์ก็มาจำพรรษาที่นั่น ตั้งชื่อว่า "วัดไร่วารี" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดละหารไร่" โดยมีหลวงพ่อสังข์เฒ่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

    ในภายหลังทางวัดละหารไร่ได้มีพระภิกษุแก่อวุโสขึ้นหลวงพ่อสังข์เฒ่าจึ มอบให้ปกครองกันเอง ส่วนตัวท่านได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ (ทราบว่าภายหลังได้รับการนิมนต์จากเจ้าเมืองระยองไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเก๋ง จังหวัดระยอง) มอบหมายให้หลวงพ่อแดง เป็นเจ้าอาวาสแทน เต่มาได้มีเจ้าอาวาสอีกหลายรูปปกครองวัดละหารไร่ คือ หลวงพ่อเกิด หลวงพ่อสิงห์ หลวงพ่อจ๋วม ต่อมาหลวงพ่อจ๋วมได้ลาสิกขาบท ทำให้วัดละหารไร่ขาดพระภิกษุจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ในขณะนั้นหลวงพ่อทิม อิสริโก (งามศรี) ได้เดินทางกลับจากจังหวัดชลบุรี พุทธศาสนิกชนบ้านละหารไร่จึงพร้อมใจกันนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2450 หลวงพ่อทิมจึงได้สร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่งทำด้วยไม้ ปัจจุบันได้เลื่อนย้ายมาห่างจากที่เดิมประมาณ 20 วา และบูรณะให้อยูในสภาพเดิม

    ปี พ.ศ.2483 หลวงพ่อทิมได้มอบศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เปิดสอนนักเรียนเพื่อให้บุตรหลานได้ศึกษาเล่าเรียน ต่อมาชาวบ้านเห็นดีด้วยจึงได้ร่วมใจสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ข. ขึ้นหลังหนึ่ง และเริ่มทำการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2483 โดยมีนายเสียน จันทนี เป็นครูใหญ่

    พ.ศ.2514 นายธง สุขเทศน์ และชาวบ้านวัดละหารไร่จึงได้ร่วมใจกันสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ โดยหลวงพ่อทิม มอบเงินให้เป็นทุนขั้นแรก 30,000 บาท ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมือวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2515 ด้วยบารมีของหลวงพ่อทิม บุโบสถก็สำเร็จภายในเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น และได้ขอพระราชทานวิสุงคามเสมาทำพิธีฝังลูกนิมิตเมื่อตั้นปี พ.ศ.2517

    ปี พ.ศ.2478 พระอธิการทิม อิสริโก จึงได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นพระครูชั้นประทวน โดยส่งหมายและตราตั้งไว้ทางเจ้าคณะจังหวัดระยอง แต่หลวงปู่ทิมก็ยังไม่ยอมไปรับ และไม่บอกใคร ทางจังหวัดจึงได้มอบหมายให้เจ้าคณะอำเภอมามอบให้ที่วัดเอง ท่านจึงได้รับเป็นพระครูทิม อิสริโก และได้รับเป็นพระคู่สวด ปีพ.ศ.2497 ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งพระครูทิม อิสริโก เลื่อนชั้นเป็นพระครูสัญญาบัตร ท่านก็ยังไม่ยอมเอา และไม่บอกให้ญาติโยมได้รู้จนทางเจ้าคณะอำเภอได้มีหนังสือส่งไปยังวัด ไวยาวัจกรได้ทราบและนำเรื่องนี้ปรึกษาชาวบ้านและคณะกรรมการวัดให้ทราบ ตึงอาราธนาหลวงปู่ทิม มารับัญญาบัตรพัดยศ เมือนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2507

    บารมีของหลวงปู่ทิม

    คัดลอกจากหนังสือที่ระลึก ฉลองหอฉัน และฉลองอายุครบ 8 รอบ พระครูภาวนาภิรัต (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง 10 มิ.ย.2518

    จากบันทึกของนายสาย แก้วสว่าง

    บิณฑบาตที่จ.ชลบุรี

    มีผู้ชายคนหนึ่งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี อ.บางละมุง ซึ่งผมจำชื่อไม่ได้ ได้มาเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อวานนี้ผมเห็นหลวงปู่ทิม ไปบิณฑบาตอยู่ที่เมืองชล ผมจำได้เขาบอกว่าเรื่องนี้เป็นความจริง เพราะจำหลวงปู่ทิมได้ ผมก็ได้แต่นึกและก็ไม่กล้าตอบ แต่นึกว่าหลวงปู่ของเราจะเป็นไปได้หรือ ผมจึงเก็บเอาเนื้อความนี้ไว้แต่ในใจและก็คุยกันเรื่องอื่นต่อไป อยู่มาประมาณอีกสัก 10 กว่าวันก็มีคนเมืองชลมาเล่าให้ผมฟังอีก ก็เหมือนกับทีคนแรกเล่าให้ผมฟังทุกประการ ผมจึงลองถามหลวงตาที่เป็นขรัวรองอยู่ที่วัดดูและเล่าเรื่องราวให้ท่านฟัง ท่านตอบว่า อาตมาก็ไม่ทราบและไม่ได้สังเกตเพราะฉันจังหันต่างกัน แต่ก็ปรากฏท่านทีอาหารแปลกปะปนอยู่เสมอ แต่ก็อาจจะเป็นความจริงเพราะท่านเป็นพระที่สำเร็จญาณชั้นสูงอยู่แล้ว

    ยิงไม่ถูก

    มีชาวบ้านหนองละลอกคนหนึ่งชื่อ นายธง สุขเทศ หรือชาวบ้านละแวกนั้นมักเรียกว่า ปลัดธง บ้านอยู่ไม่ห่างจากบ้านผมเท่าไรนัก หลังจากที่ผมกลับจากทำงานก็อาบน้ำจวนจะทานอาหาร เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ปลัดผู้นี้ก็เริ่มจะทานอาหารเหมือนกัน หยิบจานอาหารมาวางและมีลูกสาวอยู่ใกล้ๆ ผมก็กำลังทานอาหารอยู่ที่บ้าน ก็ได้ยินเสียงปืนระเบิดขึ้น 2 จังหวะ 4 นัด แล้ว 3 นัดติดต่อกัน ปรากฏภายหลังว่าผู้ยิงพาดปืนกับขอบสังกะสีรั้วบ้านระยะประมาณ 4 เมตร แต่กระสุนมิได้ถูกนายธงเลย มีกระสุนไปถูกขาตั้งรถจักรยานทำให้สะเก็ดบินไปโดนเด็กลูกสาวที่ขาบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะอภินิหารเหรีญหลวงปู่ทิมรุ่นแรกซึ่งนายธงแขวนคออยู่เพียงเหรียญเดียว ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่าผู้ยิงใช้ปืนคาบิ้น 2 กระบอกเพราะเก็บปลอกกระสุนได้แน่ชัด

    ยิงไม่เข้า

    มีคนเดินทางมาจากเมืองชลเล่าให้ผมฟังว่าเพื่อนของเขาถูกยิงตอนเวลาหลังอาหารด้วววยปืนลูกซองถึง 9 นัด เสื้อขาดทะลุถึงผิวหนังไหม้เกรียมแต่ไม่เข้า ทั้งนี้ก็เพราะเขาได้ปลักขิกหลวงปู่ทิมกับลูกอมมาแขวนไว้เพียงไม่กี่วัน และเรื่องเท่าที่ผมเห็นมาเกี่ยวกับปลักขิกก็คือหลานของผมถูกสุนัขกัดจนเสื้อออกางเกงขาดเป็นริ้วรอย ถึงกับล้มลงนอนร้องไห้ เมื่อผมวิ่งไปช่วยปรากฏว่าไม่มีรอยเขี้ยวสุนัขเลย เด็กคนนั้นมีแต่เพียงปลักขิกของหลวงปู่ทิมแขวนอยู่ที่เอว 1 อันเท่านั้น

    น้ำมนต์เดือด

    เมื่อราว พ.ศ.2511 ที่วัดตะพงนอก อ.เมือง จ.ระยอง ได้มีพิธีปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังหลวงพ่อจันทร์ เจ้าอาวาสวัดตะพงนอก ในพิธีนี้ได้นิมนต์เกจิอาจารย์มาหลายรูปด้วยกัน และหลวงปู่ทิมก็ได้รับนิมนต์ด้วย หลังจากเริ่มพิธีปลุกเสก หลวงพ่อต่างๆ ก็ได้ทำการปลุกเสก และในพิธีนี้ อาจารย์รัตน์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดได้นำโอ่งใส่น้ำมนต์มาตั้งไว้ และนิมนต์หลวงปู่ทิมทำการปลุกเสกน้ำมนต์องค์เดียวท่ามกลางพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ปรากฏว่าน้ำมนต์ที่อยู่ในโอ่งใหญ่ครึ่งโอ่งพอหลวงปู่ลงมือปลุกเสกน้ำได้เดือดและค่อยๆ ทวีความสูงขึ้นท่ามกลางความอัศสสจรรย์ของผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอ่างมาก ปรากฏว่าหลวงจากพิธีแล้ว น้ำมนต์ได้ถูกชาวบ้านแย่งเอาไปจนหมดสิ้น

    แคล้วคลาด

    นายจำลองแห่งร้านทวีทรัพย์ ได้ชวนนายเพียรวิทย์ จารุสถิติ นายนิวัฒน์ ร้านรุ่งเรืองมิตร ได้ไปหาหลวงปู่ทิมเพื่อนมัสการท่าน ขากลับได้บูชาเหรียญ รูปถ่ายและปลักขิก กลับมาได้ครึ่งทางนายนิวัฒน์จึงชวนนายจำลองเพื่อขอลองของ ทั้ง 3 ก็ได้ทำการทดลองโดยทั้ง 3 นำเอาเครื่องรางดังกล่าวอาราธนาแล้วแขวนกิ่งต้นไม้ นายจำลองได้ใช้ปืน .22 ยิงในระยะห่างกันประมาณ 1 คืบ ปรากฏว่ายิงไม่ถูก นายนิวัฒน์จึงขอยิงบ้าง จ่อยิงปรากฏว่าไม่ถูกอีกเช่นกัน ทั้งคู่บอกว่าถ้าระยะนี้ยิงไม่ถูกก็ไม่ต้องใช้ปืนแล้ว เพราะทั้งคู่เป็นผู้ที่สนใจปืนอยู่แล้ว

    ถ่ายรูปหลวงปู่ไม่ติดถ้าไม่ขออนุญาต

    เมื่อคราวปลุกเสกของที่วัดพลา จังหวัดระยอง หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปนั่งปลุกเสกด้วย มีช่าวภาพหนังสือพิมพ์ไปถ่ายรูปโดยไม่ขออนุญาตจากหลวงปู่ก่อนปรากฏว่า กดชัตเตอร์เท่าไรๆ ชัตเตอร์ก็ไม่ทำงาน แต่พอนึกได้เข้าไปขออนุญาตก็ติดและได้ภาพที่ชัดเจนดี

    เสกตะกรุดใต้น้ำ

    คุณป้าอยู่ งามศรี บ้านอยู่ใกล้ๆ วัดละหารไร่และเป็นหลานของหลวงปู่ทิมได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยหลวงปู่ทิมอายุประมาณ 60-70 ปี เวลาท่านทำตะกรุดท่านจะลงไปทำใต้น้ำโดยถือตะกรุดแล้วเดินลุยน้ำลงไปจากศาลาหน้าวัด มีผู้เห็นกันหลายคน เมื่อหลวงปู่ทิมทำตะกรุดเสร็จเดินลุยน้ำขึ้นมาทุกคนประหลาดใจ เพราะเนื้อตัวและจีวรของหลวงปู่ทิมหาได้เปียกน้ำไม่

    เสกตะกรุดลอย

    ท่านอาจารย์รัตน์ เจ้าอาวาสวัดหนองกระบอก อ.บ้านค่าย จ.ระยองเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ทิมเป็นพระที่มีพลังจิตกล้าแข็งมากสามารถเสกจนตะกรุดลอยได้ ท่านเล่าว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งได้นิมมนต์พระอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดระยองมา 4 รูปด้วยกัน มีหลวงพ่อหอม หลวงพ่ออ่ำ หลวงพ่อชื่น และหลวงปู่ทิม ให้หลวงพ่อที่มาทั้ง 4 รูปนำตะกรุดสาริกามาด้วย แล้วนำลงใส่บาตรให้หลวงพ่อทั้ง 4 องค์นั่งล้อมรอบบาตร และขอให้ท่านทุกองค์เรียกตะกรุดให้ลอยขึ้นจากบาตร หลวงพ่อหอม เป็นผู้เรียกก่อนโดยนั่งบริกรรมอยู่พักหนึ่ง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตะกรุดลอยขึ้นมา จากนั้นหลวงพ่ออ่ำ และหลวงพ่อชื่อก็ได้นั่งบริกรรมทำนองเดียวกัน ตะกรุดก็ไม่ยอมลอยขึ้น จนถึงองค์สุดท้ายคือหลวงปู่ทิม ท่านนั่งบริกรรมอยู่สักครู่ก็ปรากฏว่าตะกรุดลอยขึ้นมาจากก้นบาตร หลวงพ่อหอมและเจ้าอาวาสวัดหนองกระบอกเห็นเช่นนั้นก็ตกใจแลบอกว่า ขอให้ช่วยทำให้วิ่งรอบบาตรด้วย หลวงปู่ทิมก็นั่งหลับตาภาวนา ตะกรุดก็วิ่งอยู่รอบๆ บาตรท่ามกลางความตื่นตะลึงของพระสงฆ์ทุกองค์ และเรื่องนี้ได้เป็นที่โจษขานกันทั่วไปในจังหวัดระยอง

    อำนาจจิตอันกล้าแข็งของหลวงปู่ทิม

    แม้แต่เครื่องปั่นไฟท่านก็สามารถบังคับให้หยุดได้โดยไม่ทราบสาเหตุ คือ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่วัดละหารไร่มีลิเกมาเล่น พอลิเกกำลังจะออกแขกก็ปรากฏว่าไฟฟ้าดับพรึบลง พอแขกเข้าโรงไฟฟ้าก็สว่างขึ้นเป็นอย่างนี้ถึง 3ครั้ง จนต้องมีคนเตือนคณะลิเกให้ไปขออนุญาตหลวงปู่ทิมเสียก่อน เมื่อไปขออนุญาตแล้วก็ปรากฏว่าไฟฟ้าที่เคยปิดๆ ดับๆ ก็ติดสว่างตลอดทั้งคืน

    หลวงปู่ทิมเป็นพระที่สร้างของยาก

    มีผู้ไปขอสร้างของเสมอ แต่ถูกปฏิเสธไปเกือบทุกราย ท่านบอกว่าท่านไม่เก่ง แต่นับเป็นการประหลาดมากเมื่อครั้งที่คุณชินพร สุขสถิตย์ บรรณาธิการหนังสืออภินิหารและพระเครื่องไปกราบนมัสการและขออนุญาตท่านสร้างพระเครื่องเพื่อหารายได้สร้างศาลาการเปรียญท่านอนุญาตให้โดยดี ทั้งๆ ที่ตัวผู้ขอสร้างเองยังหนักใจเรื่องทุนที่จะนำมาลงทุนสร้างซึ่งต้องใช้เงินหลายแสนเพราะมีการหล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พราะสังกัจจัยและพระปิดตาถึง 4 รายการด้วยกัน แต่หลวงปู่ทิม ท่านบอกว่า "ทำไปเถิดและจะสำเร็จเอง" ถึงปรากฏเป็นเรื่องจริงขึ้น บรรดาทุนรอนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องจ่ายให้ช่างหล่อกันก็มีลู่ทางและได้มาอย่างไม่น่าเชื่อในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้ หลวงปู่ทิมท่านพูดว่า "เป็นการสร้างของลูกศิษย์แท้ๆ และเงินทองจะไหลมาเทมา" หลวงปู่ทิมจึงอนุญาตให้คุณชินพรและคุณอารมย์ ทับสุวรรณ ครอบครูเป็นศิษย์ของท่านได้ทั้งๆ การจะครอบครูเป็นศิษย์โดยตรงของหลวงปู่ทิมนั้นนับว่ายากมาก ศิษย์ที่จะได้รับครอบครูต้องปรนนิบัติรับใช้เป็นเวลาหลายๆ ปีจึงจะครอบครูให้


    เรื่องจากคุณธงชัย อุดมความสุข

    ตะกรุด 3 กษัตริย์

    นับเป็นยอดตะกรุดมหานิทรา ยิงไม่ออก ถ้านำไปแขวนไว้ที่เสาหมอจะสะกดคนในบ้านให้หลับไหลหมด ขึ้นหยิบทรัพย์สินได้และดูเหมือนจะประสบกับโยมวัดผู้หนึ่ง เสียของเกือบหมดบ้านเพราะนอนไมรู้สึกตัวเลย เนื่องจากเอาตะกรุด 3 กษัตริย์ไปแขนไว้ที่เสาหมอกลางบ้าน หลวงปู่ทิมทราบเรื่องจึงไม่คิดจะทำอีก

    อาของผู้เขียนเล่าให้ฟังว่านางเอี้ยน เกสารัตน์ เสมียนประจำสำนักงานสหกรณ์ระยองไปขอตะกรุด 3 กษัตริย์จากหลวงปู่ทิม พอได้มาก็เอากลัดไว้กับเสื้ออย่างมั่นคง พอลากลับหลวงปู่ทิมถามว่าตะกรุดยังอยู่ดีหรือ? นางเอี้ยนก็ตอบว่าอยู่ค่ะ หลวงปู่หัวเราะแบมือให้ดู ปรากฏว่าตะกรุดอยู่ในมือหลวงปู่ทิม นายเอี้ยนหันมาดูที่เสื้อไม่พบตะกรุดก็ตกใจ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าหลวงปู่ทิมทราบดีว่านางเอี้ยนไม่ค่อยเชื่อถือท่านเท่าใดนัก จึงลองให้ดู ตะกรุด 3 กษัตริย์ของท่านนี้เล่ากันว่าเอาปืนยิงใส่บ้านยังไม่ออกเลย ไปยิงลิงยิงค่างถ้าเอาตะกรุดไปด้วยก็จะทำให้ยิงไม่ออกเช่นกัน

    เรื่องจากคุณชินพร สุขสถิตย์

    ปลาของหลวงปู่ทิม

    ช่างมงคล นาคแทน ผู้รับเหมาสร้างโบสถ์และศาลาการเปรียญได้เล่าให้ผมฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งคุณมงคลได้มาที่วัดเพื่อควบคุมงานก่อสร้าง หลวงปู่ได้เรียกเข้าไปหาและสั่งว่าได้ขอร้องไม่ให้ลูกน้องไปยุ่งเกี่ยวกับปลาในสระแล้วทำไมลูกน้องจึงเข้าไปยุ่งอีก ขอให้ช่วยไปตักเตือนสั่งสอนด้วย คุณมงคลได้ยินดังนั้นก็ตกใจ เพราะหลวงปู่ได้สั่งไว้หลายหนแล้วว่าให้กำชับคนงานอย่าให้ไปยุ่งกับปลาในสระน้ำ คุณมงคลจึงกลับไปที่พักคนงานและเรียกลูกน้องมาด่าทุกคน แล้วถามว่าใครไปจับปลาของหลวงปู่ ซึ่งทุกคนปฏิเสธ คุณมงคลจึงไปหาหลวงปู่อีกและออกรับแทนลูกน้องว่า ไมมีลูกน้องคนใดไปยุ่งเกี่ยวกับปลาของหลวงปู่เลย หลวงปู่ทิมจึงว่า "ไอ้คนดำมืดยังไง" คุณมงคลก็กลับไปใหม่ และไปเรียกนายดำซึ่งมีผิวกายดำมะเมื่อมอยู่คนเดียวมา และบอกว่า "หลวงปู่บอกว่าลื้อไปจับปลาของท่านมาจริงหรือเปล่า" นายดำได้ยินก็ตกใจพูดกับช่างมงคลว่า "ท่านรู้ได้อย่างไรก็ผมไปแอบจับตอนตี 1 แล้วนี่ครับ

    เกี่ยวกับปลานี้

    คุณเพรียรวิทย์ จารุสถิติศิษย์ก้นกุฏิของท่านเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อถึงวันดีคืนดี หลวงปู่จะเดินลุยน้ำลงไปในสระ คลี่ชายจีวรออก จับกางสองมือแล้วช้อนปลาเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง มีปลาเข้ามาขังอยู่ที่ชายจีวรแน่นไปหมด คุณเพียรวิทย์บอกว่าหลวงปู่ใช้มนต์จินดามณีเรียกปลามาหา

    เรื่องจากคุณ พ.เด็กวัด..หลวงปู่ทิมของผม

    สมัยที่หลวงปู่ทิมเดินจงกรม ท่านกำหนดจิตยกมือพนมเหนืออก ข้อศอกคู้แนบติดกับลำตัวย่างเท้าก้าวเดินอยางช้าๆ กำหนดเดินไปข้างหน้าเก้าสิบเก้าก้าว และกันหลังกลับถอยไปอีกเก้าสิบเก้าก้าว บริเวณที่หลวงปู่ทิมเดินจงกรม บริเวณที่เดินจงกรมนี้ต้นหญ้าไม่กล้างอกขึ้นมา แต่แปลกที่สุด ไม่ว่าพวกมดหรือสัตว์สี่เท้าใดๆ ไม่กล้าเดินผ่านบริเวณนั้น จะต้องเดินอ้อมพ้นเขตบริเวณจงกรม

    คาถาของหลวงปู่ทิม

    "มะอะอุ ทุกขัง อนิจัง อนัตตา พุทโธ พุทโธ"
    หลวงปู่ทิมท่านว่าเป็นคาถาที่ดีและก็สั้น และพุทธคุณของคาถาบทนี้ก็สูงมากอยู่ที่คนปฏิบัติ ท่านยังกรุณาเล่าให้ฟังว่า มีใครคนหนึ่งที่อยู่ตลาดมาปรับทุกข์ให้ท่านฟังว่า ขายของก็ไม่ดีทะเลาะกับเมีอยู่ที่บ้านแทบทุกวัน ญาติพี่น้องต่างเกลียดชัง อยากจะขอคาถาให้เขารัก หลวงปู่จึงให้คาถาบทนี้ไป ปรากฏว่าเดี๋ยวนี้ ชายผู้นั้นมีความสุขแล้ว จะไปไหนเมียก็ตามไปด้วย ญาติพี่น้องก็รักใครกันดี ผู้เขียนจึงมั่นใจว่าพุทธานุภาพในคาถาบทนี้จะประสบผลสำหรับผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าผู้ใดได้รับคาถานี้ไป ขอให้นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และคุณหลวงปู่ทิมเป็นที่ตั้งทุกอย่างก็จะอำนวยโชคพอสมควรกับบุญกรรมของบุคคลนั้น

    พัดโบกหลวงปู่ทิม

    ช่วงเดือนตุลาคม ปี 2517 ได้เกิดน้ำป่าไหลท่วมบริเวณวัด ขณะนั้นหลวงปู่ทิมนั่งฟังเสียงน้ำหลากอยู่หน้าห้องของท่านพลันลุกขึ้นเข้าห้องหยิบผ้ายันต์ผืนสี่เหลี่ยม ถือเดินออกไปยังหอฉันเก่า ซึ่งผู้เขียนเกรงว่าจะถูกน้ำพัดพาไปด้วย หลวงปู่ท่านยืนเสกผ้าผืนนั้นซักอึดใจหนึ่งท่านก็โยดผ้าผืนนั้นลงไปตามกระแสน้ำ ผ้าผืนนั้นก็ลอยไปตามน้ำอย่างรวดเร็วท่ามกล่างคนงานที่ได้ช่วยกันเก็บเครื่องครัวอยู่บนวัดโดยไม่ทราบว่าหลวงปู่ได้ทำอะไร สักครู่หนึ่งทุกคนต่างตะลึงได้เห็นผ้าผื้นนั้นไหลทวนน้ำขึ้นมาหาหลวงปู่โดยหอบเอาอะไรมาสิ่งหนึ่ง หลวงปู่ได้หยิบผ้าผืนนั้น ปรากฏมีลูกไก่เล็กๆ สีขาวคู่หนึ่งอยู่ในอุ้งมือ ท่านเอามือลูบไล้ไปที่ลูกไก่สีขาวคู่นี้ด้วยความปราณีอย่าง
     
  7. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในมหาอำมาตย์โท พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

    สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมี พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

    พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษามคธได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

    เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

    ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเก็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

    หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ถึงแก่พิราลัย ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19.40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก
     
  8. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129


    ประวัติหลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค
    หลวงพ่อพรหม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน 2426 ณ ต.บ้านแพรก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคุณพ่อหมี และคุณแม่ล้อม โกสะสัง
    มีพี่น้อง 4 คน คือ 1. นางลอย 2.นางปลิว 3.หลวงพ่อพรหม 4. นางฉาบ

    ในช่วงวัยเด็ก เรียนหนังสือ ฝึกหัดอ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน รวมทั้งศึกษาอักษรขอมควบคู่ไปกับภาษาไทย อีกทั้งได้ศึกษาวิทยาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ชื่อ อาจารย์พ่วง

    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2447 โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า ถาวโร

    หลังอุปสมบท ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่มฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก่อนได้ศึกษาสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนาจากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบสังกัดอยู่ประมาณ 4 ปี

    หลวงพ่อพรหมได้ออกเดินธุดงค์เป็นเวลาหลายพรรษา โดยท่านเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองย่างกุ้ง ได้นมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก

    หลวงพ่อพรหม เดินธุดงค์ไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก ได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ เป็นสถานที่ที่หลวงพ่อพรหม เห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะสำหรับการบำเพ็ญธรรม จึงได้อยู่ปฏิบัติสมาธิเจริญจิตตภาวนา ณ ช่องเขาแห่งนี้

    ขณะที่หลวงพ่อพรหมจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง

    ต่อมา ชาวบ้านในแถวนั้นเห็นวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อพรหม จึงเกิดความนับถือเลื่อมใส กำนันคล้าย มีสวัสดิ์ และกลุ่มชาวบ้านช่องแค ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อพรหมลงมาจำพรรษาข้างล่าง คือ วัดช่องแคในปัจจุบัน

    หลวงพ่อพรหม เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดช่องแค โดยที่ชาวบ้านได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเพิ่มเติม หลวงพ่อพรหมได้เริ่มต้นสร้างวัดจากวัดที่รกร้างเมื่อปี พ.ศ.2460 จนกลายมาเป็นวัดที่มีกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงครัว ซึ่งส่วนหนึ่งของทรัพย์สินมาจากการขายสมบัติส่วนตัวและมรดกของหลวงพ่อ

    ครั้นต่อมา เมื่อวัดจะสร้างอุโบสถ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูง คณะกรรมการของวัด จึงขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคล ด้วยหลวงพ่อพรหมชอบระฆัง การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อ จึงเน้นรูประฆัง ทั้งพระผง เหรียญรูประฆัง จนกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงพ่อพรหม

    จากผลการศึกษาพระธรรม การปฏิบัติจิต เจริญสมาธิภาวนาและการเดินธุดงค์ รวมไปถึงการศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลายครูบาอาจารย์ ทำให้ท่านได้ชื่อว่าเป็นพระเถระที่มีวิทยาคม มีวัตถุมงคลที่เลื่องลือในด้านประสบการณ์บ่อยครั้ง

    ด้านการปลุกเสกวัตถุมงคล หลวงพ่อพรหม มีวิธีการปลุกเสกวัตถุมงคลที่ไม่เหมือนใคร ส่วนใหญ่หลวงพ่อจะปลุกเสกในบาตร ถ้ามีเทียนชัยจะจุดเทียนชัยหยดน้ำตาเทียนลงในบาตรน้ำมนต์แล้วนำเทียนชัยวน 9 รอบ ต่อจากนั้นจึงนำดินสอพองมาเจิมที่วัตถุมงคล เอามือคนไปรอบๆ โดยที่หลวงพ่อลืมตาเพ่งกระแสจิตอัดพลัง แล้วจึงนำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมวัตถุมงคลทั้งหลาย แล้วจับบาตรใส่วัตถุมงคล

    ดังนั้น เป็นที่สังเกตได้ว่าพระเนื้อผงของหลวงพ่อจะมีรอยบิ่น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ด้วยเกิดจากหลวงพ่อเอามือคนในบาตร พระที่มีรอยบิ่นจึงสันนิษฐานได้ว่า ได้สัมผัสกับมือหลวงพ่อโดยตรง

    บุญญาภินิหารปรากฎ
    มีศิษย์ของหลวงพ่อพรหมคนหนึ่ง ถูกเกณฑ์ทหาร และได้รับเลือกเป็นทหาร ได้มากราบ หลวงพ่อพรหม ท่านได้มอบสิ่งหนึ่งให้คือ ผ้าขาวม้า โดยได้จารยันต์โสฬส ด้วยมือท่านเอง หลังจากนั้นศิษย์ผู้นี้ได้ถูกฝึกและส่งไปเป็นทหารปราบปรามผู้ก่อการร้าย สมัยก่อนผู้ก่อนการร้ายชุงกว่ายุมเสียอีก และศิษย์ผู้นี้ทุกครั้งที่ราดตระเวณ จะนำผ้าขาวม้าผืนนี้ผูกเอวไว้ และวันหนึ่งก็เกิดเรื่อง เข้าจนได้ กองราดตระเวณที่ชายผู้นี้อยู่ ปะทะกับผู้ก่อนการร้ายเข้า โดนยิงด้วยปืนเอ็ม 16 พรุนทั้งร่างเจ้าตัวสลปเข้าใจว่าตาย เพื่อน ๆ ทหารเข้าใจว่าตายเช่นกัน พอจะนำร่างศิษย์ของท่านกลับ แทบไม่เชื่อสายตาตนเอง เสื้อพรุนไปทั้งร่าง แต่กระสุนไม่ระคายผิว แถมยังมีลมหายใจอยู่ เพียงแค่สลปด้วยความเจ็บที่กระสุนกระทบร่าง 30 กว่านัด แต่ไม่สามารถที่จะกระชากวิญญาณจากร่างได้ ข่าวนี้แพร่กระจายไปทั่ว ทำให้ผู้คนทั้งสิบทิศที่ทราบข่าว มุ่งสู่วัดช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

    วาจาสิทธิปรากฎ
    ผ้าขาวม้าหลวงพ่อพรหมนี้ทุกคนต้องการมาก ๆ มีเท่าใดก็หมดจากวัดในเวลาอันรวดเร็วใน สมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ มีพระลูกวัดอยู่รูปหนึ่ง จัดหาผ้าขาวม้ามา และเขียนยันต์เอง และนำมาจำหน่าย ภายในวัดโดยที่ท่านไม่ทราบเรื่อง ภายหลังท่านทราบเรื่องดังกล่าว เรียกไปตำหนิ พลั้งเผลอพูดว่า ท่านจะบ้าหรือ ทำอย่างนี้ได้อย่างไร เท่ากับหลอกเงินชาวบ้าน หลังจากนั้นไม่กี่เดือนพระรูปนั้น วิกลจริตตามที่ท่านได้พลั้งเผลอพูดไป

    ไฟฟ้าแรงสูงช็อตไม่ตาย
    มีชายผู้หนึ่ง คล้องเหรียญสรงน้ำ (ถ้าจำไม่ผิด) ได้ขับมอเตอร์ไซด์ฝ่าฝนที่ตกหนัก คนเราถึงคราวเคราะห์ เสาไฟฟ้าในสมัยก่อนเป็นไม้ และด้วยแรงลมประกอบกับความเก่า สายไฟฟ้าแรงสูงได้ห้อยลงมา ประกอบกับฝนตกหนัก ชายผู้นั้นไม่เห็นขับฝ่าฝน ร่ายกายโดนสายไฟฟ้าที่ห้อยลงมา เท่านั้นแหละ ไฟฟ้าแรงสูงช็อตทันที มอเตอร์ไซด์ไหม้ ตัวกระเด็นออกมา สร้อยคล้อง พระเสตนเลสละลาย เสื้อขาดเป็นช่วง ๆ ประกอบกับร่างกายมีรอยดำดำ ด่าง ๆ รอยไหม้ เลือดออกทางตา จมูก และหู แต่เหรียญหลวงพ่อพรหม อยู่ที่หน้าอกชายผู้นี้ ชายผู้นี้ได้ถูกนำส่งตัวที่ โรงพยาบาลทันที สลปไปประมาณ 2 เดือน แต่รอดชีวิตครับ ทีมแพทย์ที่รักษาในสมัยนั้น บอกกับญาติว่า 1 ในล้าน ที่รอด ส่วนใหญ่โดนไฟฟ้าแรงสูงเป็น 1000-2000 วัตต์ ตายสถานเดียว เหลือเชื่อมาก ๆ เป็นหมอมาทั้งชีวิต เห็นรายนี้รายแรก อัศจรรย์มาก ๆ (ไม่ต้องมากหรอกครับเพียงไฟบ้าน 220 วัตต์ ถ้าโดนดูดตายทันทีครับเห็นมาหลายรายแล้ว)

    ฟ้าผ่าไม่ตาย
    มีชาวนาผู้หนึ่งคล้องพระท่าน ใส่เกี่ยวข้าวและวันนั้นฝนตก ฟ้าคะนอง จึงเดินกลับที่พัก ระหว่างเดินกลับ ฟ้าผ่าลงมาที่ร่างชาวนาผู้นี้ เสื้อผ้าขาด ร่างกายเป็นรอยไหม้ แต่ไม่ตายครับ เรื่องนี้เป็นที่กล่าวขวัญอีกครั้ง และล่ำลือไปทั่วจังหวัดนครสวรรค์ และชื่อเสียงกระจายทั่วภาคกลางในเวลาต่อมา

    ตกจากหลังคาโบสถ์ และห้ามลม ฝน
    ผมเคยรู้จักกับเจ้าของโรงงานไดนาโม ย่านฝั่งธนท่านหนึ่ง เห็นเฮียคล้องเหรียญหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นสรงน้ำอยู่ เฮียคนนี้เพื่อนแนะนำให้รู้จัก จึงเอ๋ยปากขอเช่าพระ แต่เฮียเขาบอกปลอมนะ ผมมั่นใจสายตาบอกว่าปลอมก็เช่า ของปลอมไม่มีค่า แต่ผมให้ 500 บาท ซื้อพระปลอม แกเงียบไปสักพักหนึ่ง บอกว่าไม่ปล่อย ดูเป็นหรือเรา หลังจากนั้นมีการพูดคุยกันถูกคอ เฮียเล่าให้ผมฟังว่า สมัยหนุ่ม ๆ ญาติได้ชวนไป ทำบุญยกช่อฟ้าโบสถ์ ที่วัดช่องแค ตัวเฮียไม่รู้จักหรอกว่าหลวงพ่อมีชื่อเสียง แต่รู้ว่าไปถึงวัดคนมาร่วมบุญจำนวนมากอยู่ เวลายกช่อฟ้าจะต้องมีคนอย่างน้อยประมาณ 3-4 คน อยู่ บนหลังคาโบสถ์ช่วงที่จะนำช่อฟ้าไปติดตั้ง ผลปรากฎว่าวันนั้นมีชายผู้หนึ่งพลัดตกลงมา คนเอะอะโวยวายกันใหญ่ เฮียก็ไปดูกับเขาด้วยเห็นปฐมพยาบาลสักครู่ ชายผู้นั้นลุกเดิน เสมือนหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้น และได้ไปโรงพยาบาล ภายหลังทราบว่าแค่ฟกช้ำดำเขียว เฮียแกแปลกใจตั้งแต่ตกลงมาแล้วว่าทำไมถึงไม่เป็นไร และลุกขึ้นเดินได้ แกมารู้ภายหลังว่า ไปโรงพยาบาลตรวจเช็ค ร่างกายเพียงฟกช้ำ แพทย์ลงความเห็นว่าไม่เป็นไร ปลอดภัย
    หลังจากนั้นพอใกล้ฤกษ์ยกช่อฟ้า ฟ้าที่สว่าง แดดเปรี้ยง กลับมืดคลื้มประดุจเวลาพลบค่ำกรรมการวัด และชาวบ้านเห็นเข้ารู้ทันทีว่า พายุเข้าฝนตกหนักแน่นอน กรรมการวัดได้ไปกราบ หลวงพ่อพรหม ซึ่งท่านนั่งอยู่ในเต้นท์ว่า ต้องเลื่อนการยกช่อฟ้าออกไปอากาศไม่อำนวย หลวงพ่อพรหม ไม่พูดอะไร ให้ศิษย์ไปหยิบธูปมากำใหญ่กำหนึ่ง และจุดธูปให้ท่าน ท่านถือธูปไป กลางแจ้ง ยกมือภาวนา ปักธูปกำใหญ่ลงไปในพื้นดิน และถอดจีวรออก สะบัดไปสี่ทิศ คนในงานมองเป็นตาเดียว และงงกันเป็นแถว ๆ ว่าหลวงพ่อทำอะไร เฮียแก่เล่าว่าเหลือเชื่อมาก ฟ้าที่มืดคลื้ม กับสว่างที่ละเล็กละน้อย และสว่างมากขึ้นเป็นลำดับ แดดเปรี้ยงดังเดิม ทั้งเฮีย และผู้คนในงาน งง เป็นไก่ตาแตก และเรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันมาก เฮียถึงบูชาพระเครื่องท่าน มาประมาณ 20 เหรียญ พร้อมพระผงจำนวนหนึ่งครับ และหลังจากเหตุการณ์นั้น ฝนไม่ตก ที่อำเภอตาคลีเป็นเวลา 3 ปี ชาวบ้านรุ่นเก่า ๆ ทราบดี เฮียแกเล่าให้ฟัง

    หลวงพ่อพรหม ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส
    เมื่อปี พ.ศ.2514 รวมเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแค 54 ปี เพื่อให้พระปลัดแบงค์ ธัมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ตลอดเวลาที่หลวงพ่อพรหมจำพรรษาอยู่ที่วัดช่องแค ท่านได้สร้างคุณประโยชน์มากมายให้กับชุมชนและประชาชนทั่วไป ตั้งแต่การทำนุบำรุงพระศาสนา รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย สร้างเสนาสนะในวัด

    กระทั่งท่านได้มรณภาพอย่างสงบ
    เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุได้ 91 พรรษา 71
    ภายหลังหลวงพ่อพรหมมรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ
    ศพของหลวงพ่อพรหมไม่เน่าเปื่อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ท่านจะมรณภาพมาแล้วนานกว่า 30 ปี

    สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือ หลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพแล้วศพของหลวงพ่อไม่เน่าเปื่อย
    1. เส้นผมงอกยาว 5-6 มม.
    2. เส้นขนคิ้วงอกยาว 5-6 มม.
    3. เส้นขนตางอกยาว 1 ซม.
    4. หนวดงอกยาว 5-6 มม.
    5. เคราใต้คางยาว 5-6 มม.
    6. เล็บมืองอกยาว 1 ซม.
    7. เล็บเท้างอกยาว 4-5 มม.
     
  9. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    พระราชสังวราภิมณฑ์ ( โต๊ะ อินทสุวณณเถร ) วัดประดู่ฉิมพลี หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า “หลวงปู่โต๊ะ” ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีกุนยังเป็นอัฐศกตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๙ ณ.บ้านคลองบางน้อย ตำบลบางพรมหม อำเภอคณฑี เป็นบุตร นายพลอย กับ นางทับ รัตนคอน มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันคนหนึ่งชื่อ เฉื่อย เมื่อเยาว์วัยอยู่กับบิดามารดาและได้เล่าเรียนวิชาหนังสือไทยที่วัดเกาะแก้ว ปากคลองบางน้อย ใกล้บ้านเกิด ครั้นมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว ผู้เป็นญาติบวชอยู่กับพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ พาท่านมาฝากให้อยู่กับอธิการสุข วัดประดู่ฉิมพลี เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ส่วนนายเฉื่อยน้องชายนั้นมิได้ตามมาด้วย

    บรรพชา อุปสมบท

    ท่านมาเรียนหนังสือต่อที่วัดประดู่ฉิมพลีอีกประมาณ ๔ ปี พออายุได้ประมาณ ๑๗ ปี ก็บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดนี้ โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณะภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปาการะท่านต่อมา

    เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักวัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งมีพระอธิการคำเป็นเจ้าอาวาสปกครองสืบมา พร้อมกับเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรมหมอีกทางหนึ่งด้วย จนกระทั่งอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ อุตตราษาฒขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะแม นพศก ตรงกับ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา พระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) เป็นอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาในพระพุทธศาสนาว่า “อินทสุวณโณ” ได้เล่าเรียนปฏิบัติทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ทั้งสองด้าน ด้วยความวิริยะอุตสาหะ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และปีนั้นเองเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีว่างลงอีก เพราะพระอธิการคำมาณภาพทางคณะสงฆ์ จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม

    ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ และสมณศักดิ์

    พระอธิการโต๊ะได้บริหารงานของวัด ตลอดจนปกครองพระภิกษุสามเณรสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกด้วยความเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ ประกอบด้วยเมตตากรุณาสงเคราะห์อนุเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้า ทั้งได้ประพฤติปฏิบัติสมณธรรม เป็นอจลพรมหมจรรย์ตลอดมา จึงได้รับตำแหน่งทางคณะสงฆ์และสมณศักดิ์สูงขึ้นสูงขึ้นเป็นลำดับ คือ

    พ.ศ. ๒๔๕๕–๒๔๕๗ เป็นเจ้าคณะตำบลวัดท่าพระ
    พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นพระครูสังฆวิชิต ฐานานุกรมของสมเด็จพระวันรัต (เฮงเขมจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ แต่ครั้งยังเป็นพระเทพโมลี
    พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูวิริยกิตติ
    พ.ศ. ๒๔๙๗ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม (พัด จ.ป.ร.)
    พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นพระอุปัชฌายะ
    พ.ศ. ๒๕๐๖ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นประธานกรรมการตรวจสอบบัญชีของวัดประจำตำบล วัดท่าพระ
    พ.ศ. ๒๕๑๑ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ
    พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระสังวรวิมลเณร
    พ.ศ. ๒๕๒๑ เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชสังวราภิมณฑ์

    วัดประดู่ฉิมพลี

    พระราชสังวราภิมณฑ์ท่านอยู่กับวัดประดู่ฉิมพลีมาตั้งแต่เด็ก บรรพชาอุปสมบทที่วัดนี้ และได้เป็นอธิบดีสงฆ์วัดนี้มาช้านานถึง ๖๙ ปีจนมรณภาพ พูดได้ว่าท่านผูกพันกับวัดประดู่ฉิมพลีอย่างแน่นแฟ้นมาตลอดชีวิต ท่านจึงเป็นธุระดูแลบูรณะปฏิสังขรณ์และทำความเจริญต่าง ๆ ให้แก่วัดของท่านเอง ความเจริญทั้งหลายทุก ๆ ด้านที่บังเกิดแก่วัดประดู่ฉิมพลีในทุกวันนี้ ถ้าจะพูดว่าเป็นผลงานของท่าน ก็ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้

    อันวัดประดู่ฉิมพลีนี้เดิมเรียกว่าวัดสิมพลี เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเรียกว่า วัดประดู่นอกคู่กับวัดประดู่ในหรือวัดประดู่ในทรงธรรม จะเป็นวัดมีมาแต่เดิมหรือไม่ไม่ทราบได้ สมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาพิชยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาสำเร็จบริบูรณ์เอาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ้นเวลาถึง ๘ ปี

    วัดประดู่ฉิมพลี อยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ มีเนื้อที่เฉพาะเขตอาราม ไม่รวมที่ธรณีสงฆ์ถึง ๑๓ ไร่เศษ จัดว่าเป็นวัดใหญ่และงดงามมั่นคงมาก ผิดกว่าวัดที่เป็น “วัดราษฎร์” ทั่วไป ด้วยเหตุที่ท่านผู้สร้างท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีสูงในแผ่นดิน คือเป็น “ผู้สำเร็จราชการในพระนครทุกสิ่งทุกพนักงาน” ทั้งยังว่าการพระคลังสินค้าด้วย ภูมิสถานที่ตั้งวัด คิดดูในสมัยก่อนจะต้องสง่างามอย่างยิ่ง ด้วยเขตวัดด้านหน้าจดคลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง) ซึ่งเป็นคลองใหญ่ตลอดแนว มีศาลาท่าน้ำ มีลานหน้าวัดกว้างขวาง เขตพุทธาวาสมีกำแพงก่ออิฐถือปูน มีบัวทั้งข้างล่างข้างบนตลอดแนว บนกำแพงทำเป็นเสาหัวเม็ดยอดปริกห้าชั้น ลานหน้าวัดภายในกำแพงปูด้วยแผ่นหินแกรนิตจากเมืองจีนทั้งหมด ตรงกำแพงด้านหน้าเป็นประตูเข้าสู่พุทธาวาส ซึ่งประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่เป็นหลักของวัด คือ

    ๑. อุโบสถขนาดใหญ่กว้าง ๖ วา ๒ ศอก ยาว ๑๖ วา ตั้งอยู่ลึกเข้าไปใกล้กับกำแพงด้านใน หรือด้านในขนานกับลำคลอง หน้าวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
    ๒. ถัดอุโบสถออกมาตรงกลางสร้างพระเจดีย์ทรงรามัญ องค์เจดีย์กลม แต่ฐานกบบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆัง ที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด กับ มีเครื่องประดับประดาที่ยอดดังเช่นเจดีย์รามัญทั้งหลายทั่วไป เจดีย์นี้สร้างไว้เหนือเรือนตึกแปดเหลี่ยม ซึ่งเสามีรายและและมีชานโดยรอบทำนองมณฑปแต่เรียกกันว่าวิหาร ภายในวิหารเดิมจะประดิษฐานสิ่งใดไม่ทราบแน่ ปัจจุบันนี้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็นของทำในชั้นหลัง
    ๓. ข้างนอกออกมามีวิหารน้อยมีมุขหน้าหลัง ๒ หลัง อยู่ตะวันออกหลังหนึ่ง ข้างตะวันตกหลังหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศใต้ ลงคลองบางกอกใหญ่ หลังตะวันออกประดิษฐานพระยืน หลังตะวันตกประดิษฐานพระไสยาสน์.
    ๔. หน้าวิหารน้อยทั้งสองนั้นมีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุขขนาดย่อมอีกหลังละองค์
    ๕. นอกจากนี้ก็มีหอวัดระฆังและหอพระไตรปิฎก ซึ่งบัดนี้รื้อลงสร้างหอสมุดแทน สังฆาวาสอยู่ลึกลงไปทางข้างใต้ จะเป็นอย่างไรไม่ทราบแน่ เพราะรื้อลงปรับปรุงใหม่เกือบหมดแล้ว เหลือแต่กุฏิใหญ่ที่เป็นกุฏิเจ้าอาวาสหลังเดี่ยว


    นั่งสมาธิในอุโบสถ วัดประดู่ฉิมพลี


    อาคารอันเป็นอุโบสถวิหารทั้งหมดสร้างตามแบบที่เรียกกันว่าเป็น “พระราชนิยม” ในรัชกาลที่ ๓ คือเป็นแบบที่มุ่งหมายให้ความมั่นคงถาวรยิ่งกว่าอื่น เพราะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นตังแต่ในรัชกาลที่หนึ่ง เมื่อแรกสถาปนาพระนครกรุงเทพ ฯ มีอายุล่วงเข้า ๕๐ ปีแล้วเป็นฟื้น เกิดชำรุดทรุดโทรมลงทั่วกัน ถึงคราวต้องบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงรับภาระเป็นอันมาก ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ดังกล่าวนั้น นับเฉพาะวัดก็ถึง ๑๗ วัด

    ซึ่งแต่ละแห่งที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ เรียกได้ว่าเท่า ๆ กับสร้างใหม่ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพน วัดสระเกศ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดโมฬีโลกยาราม วัดอินทาราม เป็นต้น ทั้งยังทรงพระราชศรัธาสร้างขึ้นใหม่ ๓ วัด และพระราชทานทุนอุดหนุนผู้มีศรัทธาให้สร้างขึ้นด้วยอีกถึง ๓๓ วัด การซ่อมสร้างทั้งนั้นย่อมหมดเปลืองทุนทรัพย์จำนวนมาก ถึงเศรษฐกิจการเงินของบ้านเมือง จะกำลังมั่นคงรุ่งเรืองขึ้นมากในเวลานั้น ก็ยังต้องคำนึงถึงเรื่องการประหยัดและความคงทนทานถาวรด้วยเป็นหลัก ดังนั้นการสร้างทำอาคารสถานต่าง ๆ นอกจากจะสร้างทำตามแบบสถาปัตยกรรมไทยแท้อย่างเดิมแล้ว

    จึงได้ทรงสร้างตามแบบที่ทรงพระราชดำริแก้ไขขึ้นมาใหม่ ซึ่งถือความแข็งแรงมั่นคงเป็นหลักด้วย ตามแบบพระราชนิยมอย่างใหม่นี้ ส่วนของอาคารส่วนใดที่ทำด้วยไม้และพอจะเปลี่ยนเป็นอิฐเป็นปูนได้เป็นเหลี่ยม ส่วนประดับประดาที่เคยใช้ไม้มาวาดเจียนจำหลักจนบอบบาง เช่นช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ก็โปรดให้ลดเสีย หรือใช้อิฐปูนก่อตั้งแทน ลายจำหลักไม้ปิดทอประดับกระจกก็เปลี่ยนเป็นลายปั้นปูนประดับกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ สี หน้าบันอย่างเก่าที่มีไขราคูหา เป็นที่น้ำฝนจะติดขัง นกหนูจะอาศัยทำรังให้รกรุงรังได้ ก็เปลี่ยนเป็นหน้าบันก่อปูนปิดตันหมดเป็นกะเท่เซ น้ำฝนขังติดอยู่ได้เหมือนแบบเก่า ดูตัวอย่างได้ที่วัดที่ทรงสถาปนาและที่ผู้อื่นสถาปนามากมายหลายวัด เช่น วัดราชโอรส วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดเทพธิดา วัดนางรอง วัดอัปสรสวรรค์ วัดจันทาราม วัดสัมพันธวงศ์ (รื้อแล้ว) วัดกลางจังหวัดสมุทรปราการ วัดนางชี วัดเศวตฉัตร วัดมหรรณพาราม วัดกัลยานิมิตร ดังนี้ อุโบสถวัดประดู่ฉิมพลี

    ซึ่งสร้างในครั้งนั้น จึงสร้างตามแบบพระราชนิยมดังกล่าว คือยกฐานสูงสองชั้น เป็นฐานรองตัวอุโบสถชั้นหนึ่ง เป็นชานโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดขึ้นที่ฐานทั้ง ๔ ด้าน ภายในอุโบสถที่ยื่นมาปกคลุมมุขหน้าหลังและชานโดยรอบอุโบสถ หน้าบันเป็นแบบกะเท่เซ ปั้นลายปูนประดับกระเบื้องเคลือบต่างสี ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายปูนเป็นลายดอกไม้ใบไม้บานประตูหน้าต่างปิดทอง ประดับกระจกลายยาเป็นทำนองลายแก้วเชิงดวง ผนัง เพดาน ภายในเขียนลายฮ่อ (ซึ่งบัดนี้ลบเสียเกือบหมดแล้ว) แต่ฐานพระประธานนั้นทำเป็นฐานสิงห์ ปั้นปูนปิดทองประดับกระจกอย่างไทย ให้สมกับองค์พระที่เป็นแบบสุโขทัย

    พระประธานวัดประดู่ฉิมพลีนี้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติท่านพยายามเสาะแสวงหาและเลือกสรรอย่างยิ่ง มีความกล่าวในประวัติวัดบวรนิเวศวิหารว่า เจ้าอธิการวัดอ้อยช้าง (เรียกวัดบางอ้อก็เรียก) จังหวัดนนทบุรี จำชื่อไม่ได้ ไปเชิญเอาพระศาสดามาแต่จังหวัดพิษณุโลก จะมาไว้ที่วัดอ้อยช้าง สมเด็จเจ้าพระยาท่านทราบเข้าจึงไปขอมาเป็นพระประธานวัดประดู่ฉิมพลีที่สร้างใหม่ ครั้นความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเข้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าพระศาสดาเคยอยู่กับพระพุทธชินสีห์มาก่อน จึงมีพระบรมราชโองการให้ไปเชิญพระศาสดาจากวัดปีะดู่ฉิมพลีมาไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่ขณะที่เชิญมานั้น ยังสร้างพระวิหารไม่เสร็จ โปรดให้นำไปไว้ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ชั่วคราวก่อน เมื่อเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๓๙๖

    เมื่อมีพระพระบรมราชโองการให้เชิญพระศาสดาไปแล้ว กล่าวกันว่าสมเด็จเจ้าพระยาท่านไปเลือกสรรพพระพุทธรูปจากวัดอ้อยช้างได้อีกองค์หนึ่ง ขนาดไล่เลี่ยกับพระพระพุทธรูปสุโขทัยทั่วไป จัดเป็นพระพุทธรูปที่งดงามวิเศษหายากยิ่งนัก ควรที่ผู้สนใจจะหาโอกาสชมและศึกษา วัดประดู่ฉิมพลีมีพระสังฆธิการปกครองเป็นเจ้าอาวาสตามลำดับมา แต่มิได้มีการบันทึกไว้ จึงไม่สามารถจะเรียงรายนามเจ้าอาวาสได้ครบ เพียงแต่จำกันได้ว่ามีพระอธิการแผว พระอธิการสุข และอธิการคำ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๕๕ จึงปรากฏนามพระอธิการโต๊ะเป็นเจ้าอาวาส ตามเอกสารประวัติพระสมณศักดิ์ และท่านได้ครองวัดยั่งยืนมาช้านานถึง ๖๙ ปี จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ขณะนี้พระครูวิโรจน์กิตติคุณ รักษาการเจ้าอาวาสสืบมา


    ความเจริญของวัดประดู่ฉิมพลียุคพระราชสังวราภิมณฑ์

    พระราชสังวราภิมณฑ์ ท่านมีความตั้งใจและอุตสาหะพยายามมากในการสร้างเสริมความเจริญทุก ๆ ด้านของวัดประดู่ฉิมพลี กรณียกกิจของท่านบำเพ็ญต่อเนื่องมาช้านาน เพื่อการนี้มากมายเกินกว่าที่จะจดจำนำมาแสดงให้ครบถ้วนได้ จึงขอสรุปลงเป็น ๓ หัวข้อ ดังนี้

    ๑. ด้านการศึกษา

    ท่านเอาใจใส่ทำนุบำรุงมากทั้งการศึกษาของพระภิกษุสามเณรและของเยาวชน

    พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้จัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้น ชื่อว่า “โรงเรียนวิริยบำรุง” ซึ่งต่อมาได้
    โอนเข้าเป็นของเทศบาลและได้เปลี่ยนชื่อว่า “โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี”

    พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลีขึ้น แต่นั้นก็ได้จัดส่งพระภิกษุสามเณรเข้าสอบสนามหลวง เป็นประจำทำให้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาบวชเรียนในสำนักวัดประดู่ฉิมพลีมาก ที่ไปเรียนต่อสำนักอื่นแล้วออกไปเป็นหลักของพระศาสนาในที่อื่นก็มีมากมายหลายรุ่น ส่วนที่ท่านส่งเสริมให้ไปศึกษาต่างประเทศ
    เช่นประเทศอินเดียเพื่อรับปริญญาก็มีอีก

    พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้เป็นกรรมการจัดตั้งโรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรมในทรงธรรม ซึ่งเท่ากับเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาของท่าน


    ๒. ด้านการอบรมและเผยแพร่ธรรม

    ท่านเอาใจใส่อบรมธรรมปฏิบัติแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกามาก ทั้งที่เป็นศิษย์ภายในวัดและที่มาจากนอกวัด ลงเทศน์อบรมกรรมฐานและความคุมการปฏิบัติโดยสม่ำเสมอตลอดมาเป็นเวลาช้านาน ได้ปลูกฝังศัทธาปสาทะในพระรัตนตรัยให้แก่บุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะและอาชีพเป็นจำนวนนับพันนับหมื่น ยิ่งกว่านั้นยังได้เคยเดินทางออกไปเผยแพร่ธรรมถึงต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ คือเมื่อ ๔๗ ปีมาแล้ว เรียกได้ว้าก่อนที่ใคร ๆ จะคิดทำกัน ครั้งนั้นท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดสว่างอารมณ์ ปีนัง และได้ไปเทศน์สั่งสอนธรรมหลาย ๆ แห่ง ทั้งในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์

    ๓. ด้านการบูรณะปฏิสังขรณ์

    งานด้านนี้ท่านคงจะได้ทำมามากกว่ามาก นับตั้งแต่ท่านยังเป็นพระอันดับ เท่าที่มีหลักฐานปรากฏชัด เพราะเป็นงานสำคัญและเป็นงานที่ท่านทำในชั้นหลัง ๆ นี้ก็มี

    พ.ศ. ๒๔๗๕ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังหนึ่ง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น จุนักเรียนประมาณ ๓๐๐ คน ชื่อว่า “โรงเรียนสายหยุดเกียรติยาคาร” สิ้นค่าก่อสร้างในสมัยนั้นประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๔๗๙ สร้างศาลาเปรียญ ๑ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น ชั้นบน
    ใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล ชั้นล่างเป็นโรงเรียนประถมศึกษา (ส่วนหนึ่งของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี) ชื่อว่า “หออิศราภัสสรสุวภาพ”สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๐๐ สร้างเขื่อนไม้หน้าวัดแทนเขื่อนเก่าที่ชำรุดหักพัง และซ่อมแซมหลังคา หน้าบันอุโบสถด้านทิศตะวันตก ซึ่งหักพังลงมา ให้คืนสภาพเดิม โดยเปลี่ยนเป็นเทคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดส่วนที่ชำรุด พร้อมทั้งซ่อมแซมหลังคาและทาสีอุโบสถใหม่หมดทั้งหลัง ทั้งสองรายการนี้สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๐๑ รื้อ ย้ายกุฏิ ๕ หลัง ๑๘ ห้อง ไปรวมหมู่เข้าแถวเดียวกันสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๘,๐๐ บาท กับสร้างสะพานไม้ถาวรข้ามคลองบางประกอกใหญ่ระหว่างฝั่งวัประดู่ฉิมพลีกับฝั่งประตูน้ำภาษีเจริญ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๐๗ สร้างกุฏิกรรมฐานขึ้น ๔ หลัง พร้อมทางเดินจงกรม สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๔,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๐๘ ซ่อมแซมกุฏิ ๓ หลัง รวม ๘ ห้อง สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ ๒๖,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๐๙ สร้างหอสมุดขึ้นแทนหอพระไตรปิฎกหลังเก่าที่ชำรุดหมดสภาพเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น ชั้นบนเป็นหอสมุดสำหรับวัดฯ เพื่อเก็บรวบรวมโบราณวัตถุและใช้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าพระปริยัติธรรม ชั้นล่างเป็นห้องเรียนประถมศึกษาได้
    ๔ ห้องเรียน การก่อสร้างไม่เสร็จสิ้นในปีนั้น สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ ๖๕,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๐ สร้างกุฏิกรรมฐานขึ้นอีกหนึ่งหลัง สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๘,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๑ บูรณะกุฏิ ซึ่งเดิมเป็นหอสวดมนต์ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งทาสีลงพื้นใหม่ และดำเนินการก่อสร้างหอสมุดต่อจนสำเร็จ สิ้นค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างกุฏิกรรมฐานขึ้นอีก ๕ หลัง สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กริมคลองหน้าวัด แทนเขื่อนไม้ที่ชำรุดเสียหาย สิ้นค่าก่อสร้างประมาณทั้งสิ้น ๑๓๙,๓๐๐ บาท กับได้เสริมผนังกุฏิใหม่ชั้นล่างและกุฏิเล็ก อีก ๒ หลัง กั้นเป็นห้องได้ ๒๔ ห้อง สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเข้าวัด กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสินประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างถนนคอนกรีตเหล็กหน้าวัด กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๖ สร้างกุฏิใหม่แบบครึ่งตึกครึ่งไม้ สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๑๖๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ปรับพื้นลานหน้าวัดบริเวณสังฆาวาสทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นค้าใช้จ่ายประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๑๙ ซ่อมวิหาร ๒ หลัง และปรับพื้นอุโบสถโดยรอบ สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณทั้งสิ้น ๔๕,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๒๐ สร้างกำแพงแบ่งเขตบริเวณสังฆาวาสกับพุทธวาสเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน รอบบริเวณสังฆาวาส สิ้นค่าก่อประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๒๑ ซ่อมแซมโรงเรียนสายหยุดเกียรติยาคาร สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณทั้งสิ้น ๓๘๐,๐๐๐ บาท

    พ.ศ. ๒๕๒๒ ซ่อมแซมกุฏิอาคารไม้ สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ ๑๖๕,๐๐๐ บาท

    ครั้งหลังที่สุดที่ท่านดำริว่าอุโบสถ เจดีย์ วิหาร เสนาสนะที่เป็นของเก่าที่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก ถึงคราวจะต้องซ่อมสร้างให้มั่นคงบริบูรณ์ขึ้นดังเดิม ท่านจึงเริ่มวางโครงการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยจัดสร้างพระพุทธรูปบูชาขึ้นจำนวนหนึ่ง นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปบูชาครั้งแรกของท่าน โดยจำลองจากพระประธานในอุโบสถ สำหรับให้ศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนทั่วไปได้นำไปสักการบูชา แล้วนำปัจจัยที่ได้รับบริจาคมาใช้ดำเนินงานปฏิสังขรณ์ งานสำเร็จลุล่วงไปได้ส่วนใหญ่ คือสามารถซ่อมพระเจดีย์วิหารทุกแห่งได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ยังเหลือแต่อุโบสถที่ยังมิได้ลงมือซ่อมแซม ก็พอดีท่านมรณภาพลงเสียก่อน เป็นอันว่าผู้ที่อยู่ภายหลังจะต้องรับภาระนี้สืบไป
    อัธยาศัยและกิจวัตร

    พระราชสังวราภิมณฑ์ ท่านมีอัธยาศัยงดงาม สุภาพอ่อนโยน มากด้วยเมตตากรุณา ยินดีสงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ผู้อื่นสัตว์อื่นโดยเสมอแหน้า ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นผู้ซื่อตรง ถ่อมตน ยึดมั่นในระเบียบประเพณีและความกตัญญูกตเวที ทั้งมีความภักดีในองค์พระมาหากษัตริย์และพระราชวงศ์อย่างแน่นแฟ้น ผู้ที่มีโอกาสเข้าใกล้ชิดคุ้นเคยกับท่าน จะยืนยันในความที่กล่าวนี้ได้ทุกคน อีกประการหนึ่ง ท่านเป็นคนหมั่นขยันและแน่วแน่ ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วเป็นต้องทำจนสำเร็จ กิจที่ท่านปฏิบัติเป็นนิจในแต่ละวันจนตลอดชีพของท่าน คือ

    ๔.๐๐ น. ตื่นขึ้นเจริญสมณธรรม
    ๘.๐๐ น. นำภิกษุสามเณรทำวัตรสวดมนต์
    ๑๖.๐๐ น. ออกรับแขกที่มาถวายสักการะบ้าง ที่มาขอบารมีธรรมบ้าง ที่มาสนทนาธรรมบ้าง
    ๑๘.๐๐ น. นั่งบำเพ็ญสมณธรรมไปจนถึง ๒๐.๐๐ น. แล้วนำภิกษุสามเณรทำวัตรค่ำ

    ในระยะหลังท่านนั่งบำเพ็ญสมณธรรมนานเข้าจนถึงเวลา ๒๑.๐๐ หรือ ๒๒.๐๐ น. โดยไม่ย่อท้อต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเนื่องแต่ความเสื่อมของสังขาร ในวันธรรมสวนะท่านจะแสดงธรรมแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาเป็นประจำ และทุกวันพฤหัสบดีจะมีภิกษุ สามเณร จากวัดต่าง รวมทั้งผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม มาขอฝึกปฏิบัติกรรมฐานเป็นจำนวนมาก นับว่าท่านได้เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวอย่างยิ่งของคนทั่วไป และบุคคลใดที่ได้บารมีธรรมของท่านแล้ว มักประกอบธุรกิจการงานได้รับผลสำเร็จสมควรปรารถนา


    การปฏิบัติธรรม

    พระราชสังวราภิมณฑ์ ท่านสนใจศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาตั้งแต่ยังเป็นสามเณรเท่าที่ทราบท่านศึกษากับพระอาจารย์พรมหม วัดประดู่ฉิมพลีก่อน พระอาจารย์พรมหมมรณภาพแล้วจึงได้ไปศึกษากับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จังหวัดสมุทรสาคร แล้วออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือหลายครั้ง ต่อมาจึงได้มารู้จักคุ้นเคยกับหลวงพ่อสด คือพระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน ๔ ปี หลวงพ่อสดได้ชักชวนท่านให้ไปเรียนกับพระอาจารย์โหน่งที่วัดจังหวัดสุพรรณบุรีอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น ท่านก็กลับมาปฏิบัติภาวนาโดยตัวของท่านเองที่วัดต่อมา แม้ว่าท่านจะมีภาระกิจในด้านบริหารหมู่คณะ และการสงเคาระห์อนุเคราะห์ผู้อื่นส่วนมากก็ตาม ท่านก็หาได้ละเลยพิกเฉยส่วนวิปัสสนาธุระไม่ คงขะมักขะเม้นฝึกฝนอบรมตามโอกาสอันสมควรตลอดมา จึงปรากฏว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจพระศาสนาส่วนนี้อยู่รูปหนึ่ง และโดยอัธยาศัยที่เคยอบรมด้านวิปัสสนาธุระมามาก จึงได้รับอาธารนาให้เข้าร่วมพิธีประสิทธิ์มงคลต่าง ๆ แทบทุกงาน ทั้งในกรุงและหัวเมือง ตลอดจนถึงต่างประเทศฤฤ
     
  10. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    ประวัติ เจ้าคุณนรฯ

     
  11. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    พ่อท่านคล้าย หรือท่านพระครูพิศิษฐ์อรรถการนามเดิม “คล้าย สีนิล” เกิดเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๑๙ ณ บ้านโคกกระทือ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช (บางตำราเขียนไว้ว่า พ่อท่านเกิดวันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๑๗ ซึ่งถ้านับตามปีที่พ่อท่านคล้ายเกิดจนกระทั่งมรณภาพก็จะครบ ๙๖ ปีพอดี หย่อนอยู่ไม่กี่เดือน)

    พ่อท่านคล้ายเป็นบุตรของนายอินทร์ กับนางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อเพ็ง สีนิล จนกระทั่งท่านอายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ พอจะเรียนอักษรสมัยตามประเพณีในสมัยนั้น ท่านก็ได้เริ่มเรียนหนังสือโดยบิดาของท่านเป็นครูสอนเองที่บ้าน ต่อมาเมื่ออายุประมาณ ๑๓ ขวบ บิดาของท่านก็ได้นำไปฝากให้เรียนวิชาเลขในสำนักของนายขำ ไม่ทราบนามสกุล อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งปอน (จันดี) บ้านโคกกระทือ ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ พ่อท่านคล้ายมีอายุ ๑๔ ย่าง ๑๕ ปี ก็ได้ไปอาศัยอยู่กับพี่สาวและพี่เขย ที่ตำบลมะม่วงเอน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในช่วงเวลานั้นเองก็เกิดเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของท่าน โดยมีผู้เล่าสืบๆกันมาว่า วันหนึ่งท่านได้ไปกับพี่เขย คือนายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ เพื่อโค่นไร่ (ถางป่าทำไร่) โดยพี่เขยโค่นไม้บุกหยวกซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง พ่อท่านคล้ายนั่งอยู่บนขอนไม้ที่โค่นลงแล้ว ถูกไม้ที่พี่เขยกำลังโค่นหักลงมาถูกที่หลังเท้าข้างซ้ายของท่านแตกละเอียด มีอาการเจ็บปวดมาก แม้จะใช้ยาพอกก็ไม่หาย โดยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายใช้มีดที่ลับคมดีแล้วตัดปลายเท้าออกเหลือแค่ข้อเท้า โดยมือของท่านเอง ใช้ยาพอกไม่นานก็หาย เมื่อแผลหายเป็นปกติแล้ว พ่อท่านคล้ายได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดวังม่วง ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง โดยมีอาจารย์ทอง ปทุมสุวณฺโน เจ้าอาวาสวัดวังม่วง เป็นอาจารย์ฝึกสอนให้เรียนหนังสือไทย หนังสือขอมและวิชาเลข จนมีความชำนาญขึ้นกว่าเดิมแต่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นพระอุปัชฌาย์ให้บรรพชา พ่อท่านคล้ายบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ได้ ๒ พรรษาแล้วได้ลาสิกขาออกไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดาประกอบกิจการงานต่อไป เมื่อครั้งที่พ่อท่านคล้ายยังเป็นฆราวาสอยู่ก็ได้ไปฝากตัวอยู่กับนายทองสาก อาจารย์หนังตะลุงผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น พ่อท่านหัดหนังตะลุงอยู่หลายปีจนเป็นที่นิยมของคนหมู่มาก พ่อท่านคล้ายเป็นผู้มีเสียงไพเราะ มีรูปสวยแม้เท้าจะด้วน ความติดพันแห่งเพศตรงกันข้ามก็มีโดยมิต้องสงสัย ทราบว่ามีหลายคนเสียด้วย ซึ่งโยมบิดามารดาของท่านขอร้องแกมบังคับให้ท่านบวชและท่านก็ตกลงใจตามคำขอร้อง



    clay3 ประวัติพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ นครศรีธรรมราช



    ช่วงเวลาแห่งการเข้าสู่ร่มกาสวะพักตร์

    ในวันศุกร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา พ่อท่านคล้ายได้อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง หมู่ที่ ๒ ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีท่านพระครูกราย คงฺคสุวฺณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เจ้าคณะแขวงฉวาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาในวันอุปสมบทว่า “จนฺทสุวณฺโณ”

    หลังจากที่พ่อท่านคล้ายอุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจนแตกฉาน จนในปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน พ่อท่านคล้ายได้รับความเคารพศรัทธาในปฏิปทา จริยวัตรปาฏิหาริย์ของทุกชนชั้น ตั้งแต่สามัญจนถึงพระมหากษัตริย์และเป็นมิ่งขวัญของศิษยานุศิษย์และศาสนิกชนทั่วไป พ่อท่านคล้ายเป็นพระอรหันต์ยุคกึ่งพุทธกาลแห่งแดนใต้ มีสัจจะวาจาศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ปากพระร่วง เมื่อได้กล่าวสิ่งใดออกไปแล้วจะเป็นไปตามนั้นทุกประการซึ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับท่านล้วนศักดิ์สิทธิ์และเกิดปาฏิหาริย์ให้ผู้คนได้ประจักษ์มาแล้วทั้งสิ้น

    พ่อท่านคล้ายเป็นนักบำเพ็ญประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ผู้หนึ่ง เหมือนว่าจะไม่มีถนนสายไหน โรงเรียนหลังไหน สะพานใดและวัดใด ในเขตอำเภอฉวาง ตลอดถึงต่างอำเภอ ต่างจังหวัดและต่างประเทศ ที่พ่อท่านคล้ายจะไม่จาริกไปช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ให้อย่างทั่วถึงแม้จนกระทั่งวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต งานที่ท่านบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ก็ยังมีอยู่อีกมากและรอการสานต่อจากพุทธศาสนิกชนที่เคารพและศรัทธาในตัวท่านเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของครูบาอาจารย์ผู้มี “วาจาสิทธิ์” สืบไป

    อวสานแห่งชีวิต

    พ่อท่านคล้ายได้บำเพ็ญประโยชน์มาเป็นเวลานาน ครั้นถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๓ พ่อท่านคล้ายเกิดอาพาธกะทันหัน จึงได้นำตัวของท่านไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า หมอได้พยายามรักษาจนเต็มความสามารถเป็นเวลา ๑๔ วัน อาการมีแต่โทรมกับทรุด ครั้นถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ เวลา ๒๓.๐๕ นาฬิกา พ่อท่านคล้ายได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ พร้อมหน้าหมอและศิษยานุศิษย์ที่อยู่พร้อมหน้ากัน ณ ที่นั้น ศิริชนมายุพ่อท่านคล้ายได้ ๘ รอบ ซึ่งหย่อนอยู่ไม่กี่พรรษาก็จะครบ ๙๖ ปีบริบูรณ์ พ่อท่านคล้ายได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมา ๗๔ พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขันได้ ๖๕ ปี



    clay4 ประวัติพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ นครศรีธรรมราช



    อนึ่งในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ อันครบกำหนดสัตมวาร (๗ วัน) นับแต่วันมรณภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.ต. ชุมพล001 โลหะชาละ ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางนำผ้าไตรหลวงจำนวน ๒๕ ไตร มาบำเพ็ญกุศลสัตมวารอุทิศถวายพ่อท่านคล้ายเป็นการบำเพ็ญราชานุเคราะห์ส่วนพระองค์ สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช) ทรงประทานพระโอวาทแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของพ่อท่านคล้าย มีใจความตอนหนึ่งว่า “ตั้งแต่สร้างกรุงศรีอยุธยามาจนถึงบัดนี้ ยังไม่เคยมีสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ หรือพระราชาคณะองค์ใดได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าไตรถึง ๒๕ ไตรเลย เคยมีสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งได้รับ ๒๔ ไตรแต่พ่อท่านคล้ายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษพระราชทานถึง ๒๕ ไตร”



    ปัจจุบันนี้ศพพ่อท่านคล้ายได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์น้อย ยังไม่ได้มีผู้ใดริเริ่มการขอพระราชทานเพลิงศพ ปัจจุบันนี้ยังคงมีประชาชนหลั่งไหลมาสักการะศพของพ่อท่านคล้ายอยู่ไม่ได้ขาด
     
  12. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013
  13. maxkasinee

    maxkasinee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +2
    แท้ไหมครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      967
  14. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129

    มาแบบนี้เหมือนจะลองภูมิเลยนะครับ ขอออกความเห็นว่าไม่น่าจะดีนะครับ
     
  15. เขากระโดง

    เขากระโดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +1,015
    แท้มั้ยค่ะ ช่วยดูให้ด้วยค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    จากภาพเบลอๆ ไม่อาจจะชี้ชัดได้ครับว่าแท้ใหม หรือไม่ต้องรอท่านที่แม่นจริงๆมาตอบครับผม
     
  17. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG]
     
  18. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG] [​IMG][​IMG]
     
  19. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,784
    ค่าพลัง:
    +53,129
    พระคาถา หลวงพ่อแดง

    หะอิอะปะ พุทธสังมิ นะชาลีติ เอหิมาเรติ นะโมพุทธายะ มะอะอุ เออะมะอุ
    [​IMG]
     
  20. pokin

    pokin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +332
    กราบนมัสการหลวงพ่อแดงครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...