มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 22 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์
    มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร

    สิกขา คือ
    อภิสมาจารเราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว

    สิกขา คือ
    อภิสมาจารเราบัญญัติแล้วแก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการใดๆ
    สาวกนั้นเป็นผู้มีปรกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง
    ไม่ให้พร้อย ย่อมสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้นๆ

    อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย
    เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์
    เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ
    สาวกนั้นเป็นผู้มีปรกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาดไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
    ทั้งหลายด้วย ประการนั้นๆ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแล้ว
    แก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลาย
    เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ
    ธรรมทั้งหมดนั้นอันสาวกพิจารณาด้วยปัญญา ด้วยประการนั้นๆ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างไร ธรรมทั้งหลาย เราแสดงแก่
    สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการ ทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเรา
    แสดงแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบโดยประการทั้งปวง ด้วยประการใดๆ ธรรมทั้งหมดนั้น
    เป็นธรรมอันวิมุตติถูกต้องแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างไร สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า
    เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือว่า จักอนุเคราะห์
    อภิสมาจาริกสิกขาอันบริบูรณ์แล้วไว้ ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้ว
    ในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญสิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
    หรือว่าจักอนุเคราะห์สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์แล้วไว้ ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ
    ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักพิจารณาธรรมที่เราไม่ได้พิจารณาแล้วด้วย
    ปัญญาในฐานะนั้นๆ หรือว่า จักอนุเคราะห์ธรรมที่เราพิจารณาแล้วได้ด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง
    สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูกต้องด้วยวิมุตติ
    หรือว่า จักอนุเคราะห์ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ ดังนี้บ้าง

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่เรากล่าวว่า เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
    อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย ดังนี้
    เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๓๐/๒๔๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...