เตือนเอเชียแผ่นดินไหวถี่จับตา13รอยเลื่อนอุตุฯเพิ่มสถานีวัด

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 พฤษภาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>เตือนเอเชียแผ่นดินไหวถี่จับตา13รอยเลื่อนอุตุฯเพิ่มสถานีวัด</TD></TR><TR><TD vAlign=top>18 พฤษภาคม 2550 00:54 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] "สมิทธ" ชี้แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จัน ที่มีปฏิกิริยาเคลื่อนตัวถี่ขึ้น คาดเกิดแผ่นดินไหวบริเวณเอเชียถี่ขึ้น เผยมีรอยเลื่อนอีก 13 แห่ง มีพลังให้เกิดแผ่นดินไหว กรมอุตุฯ เร่งติดตั้งสถานีวัดแผ่นดินไหวเพิ่มอีก 30 จุด เพิ่มรวดเร็วและแม่นยำ ประชาชนรู้ได้ใน 5 นาที


    จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาว ขนาดความรุนแรง 6.1 ริคเตอร์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ส่งแรงสั่นสะเทือนที่จังหวัดภาคเหนือตอนบนรวมถึงอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร ได้สร้างความตื่นตระหนักให้แก่ประชาชนนั้น นายสมิทธ ธรรมสโรช ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงและอยู่ใกล้ประเทศไทยมาก ส่งผลให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งต่ออาคารสถานที่ราชการ เอกชน บ้านเรือนประชาชน โบราณสถาน และทำให้เกิดความแตกตื่น หวาดกลัว เนื่องจากเป็นสิ่งที่ประชาชนแถบนั้นไม่เคยประสบมาก่อน ส่วนประชาชนใน กทม.รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนมาก เนื่องจาก กทม.ตั้งอยู่บนพื้นดินอ่อน ซึ่งจะขยายความสั่นสะเทือนได้มากถึง 2-3 เท่า แต่หากวัดความรุนแรงความสั่นสะเทือนใน กทม.จะอยู่ที่ 2-3 ริคเตอร์เท่านั้น
    ให้ปชช.ใกล้รอยเลื่อนหนีภัย
    นายสมิทธ กล่าวถึงสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่า เกิดขึ้นบนรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายรอยเลื่อนในประเทศไทยที่เริ่มมีปฏิกิริยาการเคลื่อนตัวถี่ขึ้น และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญหลายประเทศให้ข้อมูลว่าเป็นผลต่อเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ทำให้เกิดสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่เกาะสุมาตรา ทำให้รอยเลื่อนเล็กๆ หลายจุดในเอเชียเกิดการเคลื่อนตัวถี่ขึ้น โดยเฉพาะแถบมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก
    หวั่นตึกเก่ารับแผ่นดินไหวไม่ได้
    "หลังจากนี้ประชาชนโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนควรมีการเตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องการอพยพหนีภัย และการเตรียมอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ให้มีความแข็งแรงเพียงพอ ส่วนอาคารใหญ่ ตึกสูง เชื่อว่าวิศวกรอาจจะคำนวณความแข็งแรงของอาคารสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้บ้างแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2007
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ให้ปชช.ใกล้รอยเลื่อนหนีภัย
    นายสมิทธ กล่าวถึงสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่า เกิดขึ้นบนรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายรอยเลื่อนในประเทศไทยที่เริ่มมีปฏิกิริยาการเคลื่อนตัวถี่ขึ้น และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญหลายประเทศให้ข้อมูลว่าเป็นผลต่อเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ทำให้เกิดสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่เกาะสุมาตรา ทำให้รอยเลื่อนเล็กๆ หลายจุดในเอเชียเกิดการเคลื่อนตัวถี่ขึ้น โดยเฉพาะแถบมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก
    หวั่นตึกเก่ารับแผ่นดินไหวไม่ได้
    "หลังจากนี้ประชาชนโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนควรมีการเตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องการอพยพหนีภัย และการเตรียมอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ให้มีความแข็งแรงเพียงพอ ส่วนอาคารใหญ่ ตึกสูง เชื่อว่าวิศวกรอาจจะคำนวณความแข็งแรงของอาคารสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวไว้บ้างแล้ว ”นายสมิทธ กล่าวและว่า ไม่ห่วงอาคารใหม่ๆ แต่ห่วงบ้านเรือนและอาคารเก่า เพราะเมื่อก่อนไม่มีกฎหมายควบคุม อาจสร้างขึ้นมาโดยไม่มีมาตรฐานรองรับเรื่องแผ่นดินไหว
    แจงเตือนภัยไม่ทันเทคนิคขัดข้อง
    ส่วนที่ไม่สามารถแจ้งเตือนทางสถานีโทรทัศน์เฉพาะกิจให้ประชาชนทราบเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น นายสมิทธ กล่าวว่า เกิดความขัดข้องทางเทคนิค และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เคยทำหน้าที่เชื่อมสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ซึ่งเป็นแม่ข่ายในการถ่ายทอดไปยังสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ทั้งที่เราได้ประสานการแจ้งเตือนภัยไปแล้ว แต่โชคดีที่เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไม่มีความรุนแรงมาก หรือมีการเกิดสึนามิ และวันนี้ทุกอย่างก็ได้รับการแก้ไขแล้ว ถ้าเกิดภัยพิบัติขึ้นอีกสามารถแจ้งให้ประชาชนทราบผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยได้ตามปกติ และจะมีการซักซ้อมในการเชื่อมต่อสัญญาณทุกวัน
    จัดอันดับรอยเลื่อนวัดความเสี่ยง
    ขณะที่ นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวนั้น ได้ตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหวมาก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 3-4 ครั้ง สามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.7-4.5 ริคเตอร์ จึงเกิดเมนช็อกตามมา หลังจากนั้นได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมารวมทั้งสิ้น 29 ครั้ง ซึ่งในบางพื้นที่อาจรู้สึกได้ ในส่วนของพื้นที่ กทม.ที่สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ทั้งที่อยู่ห่าง 750 กิโลเมตรนั้น เกิดจากการขยับตัวแบบเหลื่อมซ้ายของรอยเลื่อนน้ำมาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่ารอยเลื่อนแม่จัน เนื่องจากเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้ว มีรอยวิ่งลงมาจากรอยเลื่อนน้ำ กรมได้ให้นักวิชาการศึกษาและจัดลำดับความเสี่ยงของรอยเลื่อนทั้ง 13 รอยเลื่อนว่า รอยเลื่อนใดมีความเสี่ยงสูง มีพลังกว่ากัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันมากขึ้น
    อุตุฯตั้งสถานีวัดเพิ่มอีก30จุด
    นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงมาตรการแจ้งเตือนภัยพิบัติแผ่นดินไหวว่า กรมอุตุฯ จะติดตั้งสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวเพิ่มอีก 30 จุดภายในปีนี้จากที่มีอยู่ 15 จุด เพื่อรายงานตำแหน่งความลึกและช่วงเวลาของการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ขณะเดียวกัน จะส่งข้อมูลเตือนประชาชนภายใน 5 นาที โดยเฉพาะผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ ส่วนเอสเอ็มเอส ยอมรับยังไม่ทั่วถึง
    เผยยังมีรอยเลื่อนมีพลังอีก
    ทั้งนี้ ยังมีรอยเลื่อนในประเทศไทย 13 รอยเลื่อน ซึ่งบางส่วนยังมีพลังในการเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเร่งให้ความรู้ประชาชนกรณีการเกิดเหตุไม่ควรตื่นตระหนกให้อยู่ ณ จุดเดิมจะปลอดภัย อย่าอยู่ใกล้กระจกหรือโคมไฟ และไม่ควรวิ่งออกนอกอาคารขณะเกิดเหตุทันที เพราะอาจได้รับบาดเจ็บจนกว่าการสั่นสะเทือนยุติ จึงออกจากอาคาร ซึ่งแผนดังกล่าวถือเป็นการเตรียมพร้อมการอพยพ เนื่องจากภัยแผ่นดินไหวไม่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้
    ทุ่ม388ล้านซื้อหอเตือนภัย
    นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดซื้อหอเตือนภัย 1,000 แห่ง มูลค่า 388 ล้านบาท ซึ่งจะนำไปติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน รวมทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันซึ่งต้องการเพิ่มอีก 20 แห่ง ส่วนที่เหลือเน้นการติดตั้งในพื้นที่ภาคเหนือ โดยจะเตือนทั้งน้ำป่าและไฟป่า ซึ่งถือว่าได้ผลมากที่สุดหากเทียบกับภัยประเภทอื่น โดยตนจะลงพื้นที่ไปตรวจสอบในอีก 2 สัปดาห์ พร้อมกันนี้ อีก 2 เดือน จะตั้งผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติคนใหม่ จากข้าราชการกระทรวงไอซีทีเข้าไปดำรงในตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันนายสมิทธ ธรรมสโรช รักษาการอยู่
    ห่วง3พระธาตุองค์ใหญ่เก่าแก่ถล่ม
    ด้าน นายอารักษ์ สังหิตกุล อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า พระธาตุดอยสุเทพที่ชาวภาคเหนือเป็นห่วงว่าจะพังลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวนั้นยังไม่น่าห่วง เนื่องจากตั้งอยู่บนภูเขา ซึ่งเป็นหินแข็ง จึงมีความเสี่ยงไม่มากเท่ากับพระธาตุที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินอ่อน และได้เตรียมบูรณะพระธาตุดอยสุเทพ หลังจากวันวิสาขบูชาไปแล้ว นอกจากนี้ ยังเป็นห่วงพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นเจดีย์องค์ใหญ่มีอายุเก่าแก่ และตั้งอยู่บนดินอ่อน เกรงว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อองค์พระธาตุได้ ดังนั้น กรมจึงได้จัดตั้งคณะทำงานสำรวจโบราณสถานที่มีความเสี่ยงต่อไป
    ทำคู่มือรับภัยธรรมชาติทุกรูปแบบ
    นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จะหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลถึงเหตุแผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด ซึ่งเชื่อว่าแต่ละจังหวัดมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากนี้ เตรียมที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ให้จัดทำคู่มือให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันตัว และรับมือกับภัยธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินไหว ซึ่งเห็นว่าควรจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง
    ชี้ ป.ตรีไม่มีหลักสูตรต้านแผ่นดินไหว
    รศ.ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ คณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วศท.) ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหว จะมีเฉพาะการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) และมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น ส่วนในระดับปริญญาตรี จะเป็นเพียงวิชาเลือกหนึ่งในสาขาของวิศวกรรมโยธา ซึ่งการออกแบบต้านแผ่นดินไหวจะเป็นส่วนหนึ่งในวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง โดยจะเป็นการสอนการออกแบบโครงสร้างอาคารที่สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนของพื้นดินที่มีผลกระทบต่อตัวอาคาร อีกทั้งสอนให้รู้ถึงลักษณะของการเกิดแผ่นไหวที่ส่งผลต่อตึกและอาคารด้วย
    วศท.ออก ก.ม.คุ้มตึก กทม.-ปริมณฑล
    อย่างไรก็ตาม มีเพียง 9 จังหวัดทางภาคเหนือเท่านั้นที่มีกฎหมายคุ้มครองเกี่ยวกับการสร้างตึกและอาคารที่จะต้องต้านการเกิดแผ่นดินไหว แต่หลังจากที่ได้ความช่วยเหลือจากกรมอุตุนิยมวิทยาในเรื่องของทุนในการจัดการ และมีเครือข่ายที่ช่วยเฝ้าระวังและวัดแรงสั่นสะเทือนมากขึ้นนั้น วศท.ได้ดำเนินการขอกฎหมายคุ้มครองการสร้างตึกและอาคารในเขตของกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย เพราะในกรุงเทพฯ มีอาคารสูงๆ เป็นจำนวนมาก การออกแบบโครงสร้างอาคารจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นขอกฤษฎีกา คาดว่าน่าจะมีกฎหมายออกมาบังคับเร็วๆ นี้
    รศ.ดร.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องการออกแบบโครงสร้างเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว วศท.จะมีการจัดอบรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้จัดเป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจะจัดในปลายเดือนตุลาคม ที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อให้วิศวกรได้คำนึงถึงการสร้างตึกอาคารต้านแผ่นดินไหวได้ ส่วนเรื่องจะมีหลักสูตรเพื่อเปิดสอนเรื่องนี้โดยตรงหรือไม่นั้น วศท.เคยหารือเกี่ยวกับเรื่องการจัดหลักสูตรเรื่องนี้แล้ว คาดว่าจะทราบผลเร็วๆ นี้
    มธ.แจงไม่มีหลักสูตรสอนโดยตรง
    ด้าน รศ.ดร.อุรุยา วีสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า มธ.จะมีหลักสูตรการออกแบบสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหวในหลักสูตรของปริญญาโท ซึ่งจะเป็นสาชาวิชาสัมมนาพิเศษเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธา ส่วนในระดับปริญญาตรีจะเป็นวิชาเลือกในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง โดยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างตึกเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แต่ถ้าเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนเรื่องนี้โดยตรงไม่มี
    แผ่นดินไหวกทม.สุดอันตราย
    คณบดีคณะวิศวะ มธ.กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วการเกิดแผ่นดินไหวจะขึ้นอยู่กับจุดศูนย์กลางที่เกิด และความแข็งแรงของดิน อย่างกรุงเทพฯ ถือว่าค่อนข้างอันตราย เพราะพื้นดินค่อนข้างจะเป็นดินอ่อนเสี่ยงต่อตัวตึกและอาคารจะทรุดได้ง่าย แต่ที่ได้รับผลกระทบน้อยเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลาง ซึ่งถ้าเกิดแผ่นดินไหวที่ จ.เชียงราย หรือใกล้ๆ กรุงเทพฯ ก็ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก ส่วนแนวทางในการป้องกันเรื่องนี้ควรจะมีการติดป้ายประกาศและวิธีป้องกันการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว อาทิ อยู่ใต้โต๊ะ เพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ศีรษะ หรือมีการซ้อมป้องกันปีละครั้ง แต่ถ้าจะป้องกันในระยะยาวจะต้องมีกฎหมายออกมากำหนดในการออกแบบสร้างอาคาร เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
    ศ.ดร.ดิเรก คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในระดับการเรียนการสอนปริญญาตรีจะไม่มีหลักสูตรที่จัดสอนเรื่องการออกแบบสร้างอาคารต้านหรือป้องกันแผ่นดินไหวโดยตรง แต่จะเป็นวิชาเลือกในหลักสูตรการออกแบบอาคารทั่วไป สาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งจะมีการสอนถึงการออกแบบปลูกเหล็กต้านแผ่นดินไหวรวมอยู่ด้วย ชื่อว่าหลักสูตรการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว จะเลือกลงเรียนหรือไม่ก็ได้ ส่วนในระดับปริญญาโทจะมีการเปิดสอนสาขาการออกแบบต้านอาคารแผ่นดินไหว
    จุฬาฯ เตรียมสำรวจความเสียหาย
    คณบดีคณะวิศวะ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า การจะสร้างตึกหรืออาคารเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวจะต้องคำนึงสองอย่าง คือ 1.จุดกำเนิดของการเกิดแผ่นดินไหว และ 2.ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง อย่างในกรุงเทพฯ นั้นเป็นเพียงการสั่นสะเทือนเล็กน้อย เมื่อเทียบกับภาคเหนือ เพราะอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางมาก ทำให้การสร้างอาคารในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่มีการบังคับให้ต้านแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตาม การออกแบบสร้างอาคารควรจะต้องมีการออกแบบต้านอาคารแผ่นดินไหวทุกอาคาร โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เพราะมีอาคารสูงจำนวนมาก และถ้าอาคารเหล่านั้นพังลง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะขยายจำนวนมาก
    ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทีมอาจารย์ของจุฬาฯ จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขึ้นไปสำรวจความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว เพื่อหาข้อมูล และแนวทางแก้ปัญหาต่อไป เช่น ยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติ จ.เชียงราย ต้องดูรายละเอียดว่าโครงสร้างเสียหายมากน้อยอย่างไร
    บรรจุหลักสูตร ป.ตรีอบรมวิศวกร
    อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคเหนือ นักธรณีวิทยาเคยศึกษาว่ามีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริคเตอร์ขึ้นไป สิ่งสำคัญคือ การออกแบบอาคารให้เหมาะสมกับการเกิดแผ่นดินไหว และมีหลักสูตรให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชน เพื่อป้องกันรับมือกับภัยธรรมชาติ เนื่องจากขณะนี้เกิดบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว ภาวะโลกร้อน ดินโคลนถล่ม หรือพายุฝน ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีการสอนระดับปริญญาตรีความรู้ด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับการออกแบบอาคารรองรับแผ่นดินไหว ซึ่งเร็วๆ นี้ภาควิชาวิศวกรรมโยธาทั่วประเทศ จะเร่งบรรจุไว้ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี รวมทั้งควรจัดอบรมให้วิศวกรปัจจุบันความรู้ด้านนี้ด้วย
    “ความเสียหายของอาคารจากแผ่นดินไหวขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เพียงไร มีส่วนประกอบความถี่อย่างไร สั่นไหวนานแค่ไหน จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับลึกหรือตื้น ใกล้กับที่ตั้งอาคารเพียงใด สภาพดินเป็นอย่างไร อาคารมีระบบโครงสร้างที่ดีหรือไม่ ซึ่งความเสียหายจะแยกระหว่างโครงสร้างคือ เสา คาน ผนัง กับสิ่งที่ไม่ใช่โครงสร้างคือ ผนังอิฐก่อ ในไทยอาคารส่วนที่เป็นโครงสร้างเคยเสียหายครั้งเดียวเมื่อปี 2537 ที่ อ.พาน จ.เชียงราย” ศ.ดร.ปณิธาน กล่าว
    ค่าออกแบบต้านแผ่นดินไหวเพิ่ม 5%
    ศ.ดร.ปณิธาน กล่าวด้วยว่า กฎกระทรวงที่บังคับใช้ใน 10 จังหวัดที่เป็นเขตเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวระดับปานกลาง อาคารที่จะต้องได้รับการออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว ได้แก่ อาคารสาธารณะ เช่น โรงมหรสพ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน อาคารที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและการบรรเทาภัย เช่น โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง อาคารเก็บวัตถุอันตรายและอาคารอื่นๆ ที่มีความสูงเกิน 15 เมตร อาคารเหล่านี้ต้องต้านทานการสั่นไหวของผิวดินสูงสุดได้ร้อยละ 15 ของอัตราเร่งจากความโน้มถ่วงของโลก ซึ่งการออกแบบอาคารให้ต้านทานแผ่นดินไหวมีค่าใช้จ่ายเพิ่มประมาณร้อยละ 5-10 ของค่าก่อสร้างส่วนโครงสร้าง
    หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญย้ำถึงหลักปฏิบัติเมื่ออยู่ในเหตุแผ่นดินไหวว่า การวิ่งหนีลงจากอาคารสูงเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง แต่ให้หลบอยู่ใต้โต๊ะหรือวัตถุที่มั่นคงแข็งแรง ป้องกันไม่ให้สิ่งของหล่นลงมาเกิดอันตราย และห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด หลังแผ่นดินไหวสงบแล้วต้องอพยพผู้คนออกจากอาคารอย่างมีสติ และตรวจดูถังแก๊สว่าวาล์วหลุดชำรุดเสียหายหรือไม่ เพราะเคยเกิดระเบิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ
    ซื้อประกันเสี่ยงภัยคิดเบี้ยน้อย
    ด้าน นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย กล่าวแนะนำเจ้าของตึกและอาคารควรทำประกันภัยเพื่อลดความเสี่ยงว่า ประกันภัยมี 2 รูปแบบ คือ กรมธรรม์ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ซึ่งครอบคลุมการเกิดอุบัติเหตุทุกกรณี เช่น อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ ส่วนอีกรูปแบบคือ กรมธรรม์อัคคีภัย ซึ่งผู้ซื้อกรมธรรม์สามารถซื้อระบุแนบท้ายกรณีเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไหวระเบิด คลื่นใต้น้ำ ปัญหาน้ำท่วม แต่ในกรมธรรม์ดังกล่าวจะต้องเกิดเหตุจากภัยธรรมชาติเท่านั้น
    นางจันทรา กล่าวอีกว่า กรมพร้อมร่วมหารือกับสมาคมสถาปนิกหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนกำหนดอัตราการซื้อประกันความเสี่ยงภัยทางธรรมชาติ แม้ว่าอัตราเบี้ยประกันภัยดังกล่าวจะสูง ซึ่งหากทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและหันมาทำประกันภัยธรรมชาติจำนวนมากน่าจะต่อรองกับบริษัทประกันในการคิดเบี้ยประกันในอัตราที่ต่ำลงได้
    กฟผ.รับประกัน"ภูมิพล-ศรีนครินทร์"ไร้ปัญหา ด้านนายโรจน์ คำพาที ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ไม่ส่งผลกระทบต่อเขื่อนและโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ โดยในส่วนของเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ไม่ได้อยู่ในแนวของแผ่นดินไหว ส่วนที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างออกไปมาก แรงสั่นสะเทือนไม่ถึงตัวเขื่อน

    ที่มา: คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/05/18/a001_117415.php?news_id=117415
     
  3. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ดีเหมือนกันครับ แผ่นดินไหวคราวนี้ ทำให้ภาครัฐฯตื่นตัวมากขึ้น หาทางรับมือเอาไว้..แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนพวกเราที่รู้กันอยู่แล้ว

    คืนวันนั้น เขื่อนร่มเกล้าที่อุทัยฯแตกด้วยครับ จากน้ำป่าและแผ่นดินไหว
    ..แต่เป็นข่าวตัววิ่งเล็กๆเองครับ เห็นหน่วยกู้ภัยเอาเสื้อชูชีพหลายตัวลงพื้นที่กันทั้งคืน โชคดีว่าแถวนั้นส่วนใหญ๋เป็นไร่นา..ไม่กระทบชาวบ้านเท่าไหร่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2007
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    เมื่อคืนก็มีข่าว เขื่อนที่เชียงรายแตก แต่ตอนนี้หาไม่เจอแระ
     
  5. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    กรมชลฯสั่งเฝ้าระวังเขื่อนทั่วประเทศ

    อธิบดีกรมชลประทาน เผย ยังไม่ได้รับรายงานเขื่อนร้าว หลังเกิดแผนดินไหววานนี้ แต่สั่งเจ้าหน้าที่ติดตามการทรุดตัว ด้าน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะวิธีรับมือแผ่นดินไหว ชี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.1 ริคเตอร์วานนี้ ขณะที่ อธิบดีกรมอุตุ เผย เกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมาถึง 11 ครั้ง


    นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานการพบรอยแตกร้าวเสียหายหรือมีน้ำไหลออกมาจากเขื่อนใด ๆ ภายหลังได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศลาว ขนาดความรุนแรง 6.1 ริกเตอร์ ห่างจาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย 61 กิโลเมตร เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. วานนี้ (16 พ.ค.) ซึ่งความสั่นสะเทือนรู้สึกได้ไกลถึงกรุงเทพมหานคร แต่ขณะนี้ได้สั่งการไปยังผู้รับผิดชอบดูแลเขื่อนทุกแห่งทั่วประเทศแล้ว ให้ตรวจสอบความเสียหายโดยละเอียด และเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง หากเกิดอาฟเตอร์ช็อกหรือ แผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือขนาดกลางตามมา

    นายสามารถกล่าวว่า ได้สั่งการให้ทุกเขื่อนตรวจสอบตามกรรมวิธีการตรวจสอบความปลอดภัยของเขื่อนอีกครั้ง เช่น การตรวจสอบที่หมุดหลักฐานที่ตัวเขื่อน โดยส่องจากแนวสันเขื่อนว่าหมุดเคลื่อนไปจากจุดเดิมหรือไม่ ทรุดไปจากเดิมหรือไม่ ตรวจสอบความผิดปกติจากบ่อวัดความดันของน้ำในเขื่อน รวมทั้งใช้เครื่องตรวจสอบพฤติกรรมเขื่อนที่มีทั้งหมด แล้วรายงานกลับมาภายในวันนี้

    “ที่จังหวัดเชียงรายไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่ มีแต่ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ก็ได้สั่งการให้ตรวจสอบด้วย สำหรับเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นเขื่อนใหญ่ที่อยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวนั้น คงไม่น่าวิตกเท่าใดนัก เพราะเป็นเขื่อนดินที่รับแรงแผ่นดินไหวได้ดี และจากที่ได้สอบถามไปที่ผู้อำนวยการเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบความเสียหาย รวมทั้งเขื่อนภูมิพล ซึ่งมีสถานีวัดแผ่นดินไหว ก็ไม่พบว่ามีแรงสั่นสะเทือนมาถึงตัวเขื่อน ส่วนเขื่อนขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง คือ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง เขื่อนแม่งัดฯ เขื่อนแม่กวงฯ จ.เชียงใหม่ ก็ได้ให้ทำการตรวจสอบโดยละเอียดแล้ว” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

    อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า ในการออกแบบเขื่อนนั้นได้เผื่อให้ทนแรงสั่นสะเทือนได้ประมาณ 7.0-8.0 ริกเตอร์ นอกจากนั้นสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ยังเพิ่มค่าความปลอดภัยให้มากกว่าปกติ 1.5-2 เท่า ทั้งนี้ จะเร่งตรวจสอบ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ประชาชนวิตกมาก เพราะหากเกิดเหตุการณ์เขื่อนแตกนั้นจะสร้างความเสียหายมาก แต่ในเขื่อนที่มีความวิตกกังวลเพราะอยู่ใกล้รอยเลื่อนแผ่นดินไหว เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ก็มีการซ้อมอพยพประชาชนอยู่เสมอ

    **กรมป้องกันแนะวิธีรับมือแผ่นดินไหว**

    นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหว ขนาด 6.1 ริกเตอร์ บริเวณพรมแดนลาว-พม่า ส่งผลให้หลายจังหวัดทางภาคเหนือและบนอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานครได้รับแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสัญญาณเตือนอันตรายจากภัยแผ่นดินไหวอาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทยแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากภัยแผ่นดินไหว ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือผู้ที่อยู่ในอาคารสูง ควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปิดไฟและแก๊ส การใช้อุปกรณ์ดับเพลิง เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ยา อาหารแห้ง เครื่องดื่ม ไฟฉาย ไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน วางแผนการอพยพหนีภัย และควรยึดของที่มีน้ำหนักมากให้แน่น หากต้องอยู่ในสถานการณ์ขณะเกิดเหตุ ควรหาจุดหลบที่ปลอดภัยที่มีโครงสร้างอาคารแข็งแรง ห่างจากประตู หน้าต่าง เสาไฟฟ้า หรือบริเวณที่มีกระจก เพราะอาจแตกร้าวกระเด็นใส่ได้ และหากอยู่ในภาวะอันตรายให้มุดลงใต้โต๊ะ รอให้การสั่นหยุดลง แล้วจึงรีบออกจากตัวอาคารทันที หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์อย่างเด็ดขาด อย่าตื่นตระหนก ติดตามรับฟังสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด หากขับรถอยู่ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ให้จอดรถในที่ปลอดภัยและอยู่ภายในรถจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง สำหรับผู้ที่อยู่บริเวณชายทะเล ให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งได้

    นายอนุชา กล่าวว่า เพื่อเตรียมพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแผ่นดินไหว กรมป้องกันฯ ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพื้นที่ใดสถานการณ์รุนแรง ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ เครื่องจักรกล ไปสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหา พร้อมให้แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ระมัดระวังอันตรายจากภัยธรรมชาติในระยะนี้ สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงควรติดตามข่าวแจ้งเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด หากได้รับการแจ้งเตือน จะได้อพยพหนีภัยได้อย่างทันท่วงที

    **อุตุเผย เกิดอาฟเตอร์ช็อคตามมา อีก 11 ครั้ง**

    นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องตลอดคืนที่ผ่านมา พบว่าได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 11 ครั้ง ขนาดความแรงประมาณ 4 ริกเตอร์ แต่ไม่มีผลกระทบ หรือเกิดความเสียหายใด ๆ และทางกรมฯ ก็จะเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเหตุแผ่นดินไหวไม่สามารถพยากรณ์ให้ทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนอย่าได้ตระหนกกับเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมากเกินไป เพราะจากการตรวจความเสียหายถือว่ายังไม่ถึงขั้นร้ายแรง

    http://www.posttoday.com/topstories.php?id=166662
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    น้ำอ่างเก็บน้ำแม่พริกทะลักอพยพเด็ก-คนชรา50หลังคาเรือน

    (หาเจอหัวข่าวที่บอกเพื่อนๆ ม่ะคืน ในเอ็ม แต่หารายละเอียดไม่เจอแระ)
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    <TABLE height=350 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=209 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom background=/images2006/pt_02.jpg height=20></TD><TD vAlign=bottom></TD></TR><TR><TD vAlign=top background=/images2006/pt_04.jpg></TD><TD vAlign=top background=/images2006/pt_05.jpg><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=186 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=186>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=8>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top>อ่างแตก
    สภาพอ่างเก็บน้ำห้วยป่าข่อย เก็บกักน้ำปริมาณกว่า 2 แสนลูกบาศก์เมตร ถูกกระแสน้ำป่าจากยอดเขาแม่เชียงราย อุทยานแห่งชาติแม่วะ กัดเซาะจนขาด และน้ำที่ล้นอ่างเก็บน้ำอีก 2 แห่งในบริเวณใกล้เคียง ไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้านแม่เชียงรายบน หมู่ 8,4 ต.พระบาทวังตวง อ.แม่พริก จ.ลำปาง ถนนและสะพานหลายแห่งชำรุด </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top background=/images2006/pt_06.jpg>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top background=/images2006/pt_08.jpg height=14></TD><TD vAlign=top>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]
     
  8. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    เก่งจังครับ นักข่าวหัวเห็ดของเรา หาข่าวเจอแล้ว+
    น้ำป่าไหลแรงจริงๆครับ กัดเซาะเขื่อนดินจนขาด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...