ฆ้องส่งวิญญาณ

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 22 ธันวาคม 2005.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    สุดาวดี" เล่าเรื่องขนหัวลุกของพิธีส่งวิญญาณที่สุรินทร์

    ดิฉันเป็นคนสุรินทร์ค่ะ มีประวัติว่าเป็นเมืองเก่าแก่ตั้ง 2,000 ปีมาแล้ว สมัยที่ขอมยังมีอำนาจ ต่อมาขอมเสื่อมอำนาจลงก็กลายเป็นเมืองร้างมาช้านาน จนถึงสมัยอยุธยา ได้มีการย้าย "เมืองที" มาอยู่ที่ "คูปทาย" หรือ "คูประทาย" ซึ่งก็คือจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันนี่แหละค่ะ

    ต่อมาจึงยกฐานะจากบ้านคูประทาย เป็นเมือง "ประทายสมันต์" มีเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์เป็นเจ้าเมือง

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานชื่อเมืองจากประทายสมันต์ เป็นตามชื่อของเจ้าเมือง คือ "สุรินทร์" เมื่อพ.ศ. 2329

    สุร-แปลว่ากล้าหาญ, เข้มแข็ง หรือเทวดา อินทร์ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่

    บ้านดิฉันมีประเพณีที่แตกต่างกว่าจังหวัดอื่นๆ หลายอย่าง ส่วนมากมักจะมีดนตรีประกอบ "เรือมอันเร" หรือ "ลู้ดอันเร" ที่คนส่วนมากรู้จักกันดี คล้ายๆลาวกระทบไม้ ขอเรียก "รำสาก" แล้วกันนะคะ

    ประเพณี หรือวัฒนธรรมน่าสนใจคือ "รักษาไข้ด้วยเสียงดนตรี"

    สมัยเด็กๆ ดิฉันเคยเห็น "มะม็วด" (แม่มด) เป็นดนตรีรักษาคนเจ็บไข้ มีกลองกันตรึม 1-2 ใบ ปี่อ้อ 1 เลา ซออู้ 1 คัน บางทีมี "ปี่จะรวง" หรือปี่ไม้อ้อแต่ลิ้นเป็นโลหะเป่าในวงด้วย มีคนร้องเพลง 1 คน

    เชื่อกันว่า เสียงดนตรีพื้นเมืองเป็นสิ่งโปรดปรานของเทพเจ้า หรือไม่ก็เป็นสุรเสียงของเทพเจ้าเองที่จะช่วยเหลือมนุษย์ ทำให้หายเจ็บหายไข้ พ้นทุกข์พ้นร้อนได้

    แต่ต้องยอมรับว่าฟังแล้วขนหัวลุกค่ะ!

    เสียงปี่เสียงซอจะดังเยือกเย็นจับใจ ฟังน่ากลัวบอกไม่ถูก เสียงกลองก็ดังมาก ไหนจะเสียงคนขับร้องจะร้องด้วยเสียงโหยหวน เคล้าคลอไปกับเสียงดนตรี เชื่อว่า อย่างน้อยๆ ก็ทำให้คนป่วยหนักเคลิบเคลิ้มไปกับเสียงนั้น ถึงจะไม่หายขาดทันตาเห็น แต่ช่วยให้ลืมความเจ็บปวดไปได้บ้างก็ยังดี

    แต่บางครั้งน่ะ เสียงกลองดังตุ้มๆ เล่นเอาคนเจ็บสะดุ้งโหยงไปเลยนะคะ

    โชคดีก็อาการทุเลาขึ้น โชคร้ายก็หนีความตายไม่พ้นหรอกค่ะ!

    คราวนี้ก็มีดนตรีมาเกี่ยวข้องตามเคย

    นั่นคือ บ้านไหนมีคนเจ็บหนัก อาการเข้าขั้นตรีทูต ญาติสนิทเห็นว่าคงไม่รอดแน่แล้ว ก็จะรีบไปวัดใกล้ๆบ้านเพื่อขอยืมฆ้องหุ่ย (บางจังหวัดเรียกฆ้องหมุ่ย) เอามาแขวนไว้ใต้ถุนบ้าน หรือไม่ก็ขนขึ้นบนนอกชาน เป็นการตระเตรียมตีฆ้องส่งวิญญาณกันอย่างเต็มที่

    พอคนเจ็บสิ้นใจปุ๊บก็ตีฆ้องปั๊บ!

    การตีฆ้องหุ่ยก็เพื่อบอกกล่าว หรือป่าวประกาศให้เพื่อนบ้านรู้ว่าคนเจ็บหนักบ้านนั้นบ้านนี้ถึงแก่ความตายไปแล้ว


    อีกนัยหนึ่ง ก็คือให้เสียงเยือกเย็นชวนวังเวงใจของฆ้องหุ่ย เป็นพาหนะนำวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์

    สิ้นเสียงฆ้อง เสียงร้องห่มร้องไห้ก็จะดังระงมคละเคล้าขึ้นมาด้วย การตีฆ้องก็ไม่ได้ตีถี่ๆ กันนะคะ แต่เว้นระยะนานพอสมควร...เสียงฆ้องที่ดังไปตามหมู่บ้านทำให้คนที่ได้ยินหลายๆ คนเกิดอาการขนลุกขนพองไปตามๆ กัน

    ต่อจากนั้นญาติผู้ตายก็จะรีบแยกย้ายกันไปนิมนต์พระมาสวดศพบ้าง จัดหาเครื่องดนตรีมาประโคมศพบ้าง

    ดนตรีวงนี้ประกอบด้วย ฆ้องหุ่ย 1 ใบ กลองเพล (ที่ขอยืมจากวัด) 1 ใบ ปี่เล็กที่เรียกว่าปี่ใน 1 เลา และฆ้องราวจำนวน 9 ใบ

    บางคนเรียกดนตรีนี้ว่า "วงตุ้มโหมง"

    สาเหตุเพราะเสียงดังสุดๆ ขนาดแก้วหูลั่นก็แล้วกันค่ะ แถมดังไปไกลทั่วตำบล แทบทั่วอำเภอด้วยซ้ำ ยิ่งตอนกลางคืนด้วยแล้ว มีเสียงกลองดังตุ้ม...ตามด้วยเสียงฆ้องดังโหม่ง...หมูหมาหอนกันระงมไปหมด

    ท่านผู้ใหญ่เล่าว่า การเล่นดนตรีส่งวิญญาณผู้ตายนั้น ไม่ใช่ว่าเล่นส่งเดชนะคะ แต่เป็นของ "มีครู" เช่นกัน

    อาจจะไม่ถึงกับ "สาธุการ" แต่ขอเรียกว่า "โหมโรง" แล้วกัน

    "สวายจุมเวือด" คือชื่อเพลงโหมโรงค่ะ แปลว่า "ต้นมะม่วงรอบวัด" ถือว่าเป็นเพลงครูค่ะ

    นอกจากนั้นก็มีชื่อเพลงแปลกๆ อีกพอสมควร ขอบันทึกไว้แบบเล่าสู่กันฟังนะคะ

    1. "เพลงเสก ยุม" แปลว่า "นกแสกร้อง" หรือ "ซะแรก ยุม" แปลว่าร้องไห้คร่ำครวญ เพลงนี้ฟังโหยหวนเยือกเย็น คล้ายๆ กับเสียงนกแสกร้องนั่นเอง

    2. "เพลงกำเปราะ" แปลว่า เสียงนกการเวก

    3. "เพลงโอสะเลย์" มีความหมายโอละเห่ โหยหาอาวรณ์

    4. "เพลงพะนอง" หมายถึงเพลงกล่อมขวัญ เรียกขวัญญาติๆ ผู้เศร้าโศก

    นอกจากนั้นยังมี เพลงจันดี, เพลงจองนารี และเพลงฮวงจำปา เป็นต้น แต่ดิฉันลืมเสียแล้วว่าแปลว่าอะไรบ้าง?

    เมื่อความเจริญตามยุคสมัยมาถึง สุรินทร์ก็คล้ายๆ กับจังหวัดอื่นๆ ที่รับวัฒนธรรมใหม่มาใช้ ประเพณีหรือธรรมเนียมเก่าๆ นับวันก็จะเลือนหายไปตามกาลเวลา

    ปัจจุบันนี้มาอยู่กรุงเทพฯ หลายสิบปีแล้ว นานๆ ถึงมีโอกาสกลับไปหาญาติที่สุรินทร์สักครั้ง แต่นึกถึงเสียงฆ้องหุ่ยกับวงดนตรีตุ้มโหม่งแล้ว บอกตรงๆ ว่ายังรู้สึกขนหัวลุกอยู่เลยค่ะ!

     
  2. Samy

    Samy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +2,719
    เรื่องดนตรีไทยนี่ รายละเอียดมากนะครับ

    ผมเล่นดนตรีไทยมา 13 ปีแล้วบางอย่างยังเพิ่งมารู้ วัน2วันนี่เอง
    เพลง สาธุการ ผมต่อฆ้องวงใหญ่เป็นชิ้นแรกเพลงแรกเพลงครูเลย ต่อมาก็ระนาดเอก บอกเลยว่าเครื่องดนตรีครูแรงมากครับ ผมเองเคยได้ยินเสียงระนาดดังขึ้นเองเป็นเพลง โหมโรง เจอมาเองกับตัวครั้งนึงตอนตี 2 นะครับในบ้านไม่มีใครได้ยินเลย เล่นเอาผมวิ่งไปครอบครูแทบไม่ทันเลย รายละเอียดบางอย่าง เดี๋ยวนี้มักจะไม่ได้ถ่ายทอดจากครูอาจารย์รุ่นเก่า บางอย่างก็หายไปตายไปพร้อมกับครูก็มี แต่หนับหนุนนะครับใครที่อยากเล่นดนตรีไทยหละก็สุดยอดครับ มันมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด:cool:
     
  3. Samy

    Samy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,294
    ค่าพลัง:
    +2,719
    เรื่องระนาดดังเอง

    เดี๋ยวโพสให้อ่านครับน่ากลัว ขนลุกเลย(ถ้าคนที่เล่นดนตรีไทยจะทราบดีครับ)
    (bb-flower
     
  4. misstanee

    misstanee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +57
    เราก็เป็นนักดนตรีไทยค่ะ ก็เคยเจอบ้างแต่ก็ไม่บ่อยมากเดี๋ยวโพสให้อ่านเช่นกันค่ะ แต่ไม่น่ากลัวเท่าไหร่ค่ะ ให้อ่านพอรู้
     
  5. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    ขออนุโมทนา ทุกๆๆข้อความเลยค่ะ
    ....
    มานั่งรอ อ่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...