สวดมนต์แล้ว ร่างโยกไปโยกมา

ในห้อง 'ประสบการณ์ ผลของการสวด' ตั้งกระทู้โดย บ้านบาระแนะ1, 8 กรกฎาคม 2008.

  1. บ้านบาระแนะ1

    บ้านบาระแนะ1 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +11
    เวลาผมเริ่มสวดมนต์ไปใด้สักพักทําไมร่างกายรู้สึกอึดอัดและร่างกายต้องโยกไปโยกมาทุกครั้งบางครั้งเคยแข็งขืนเหมือนกันแต่ก็ไม่ใด้นานต้องเป็นอย่างเก่า ท่านใดเคยผ่านจุดนี้มาแล้ว รบกวนบอกเล่าเป็นทานด้วยครับ
     
  2. cartoony

    cartoony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +34
    ลองเข้าไปอ่านในกระทู้นี้นะคะ

    "ลักษณะที่เกิดเวลาสวดมนต์และนั่งสมาธิ": http://palungjit.org/showthread.php?t=130827


    มีหลายท่านมีอาการแบบคุณ และคุณสันโดษกับท่านผู้รู้ทั้งหลายได้ให้คำตอบและแนวทางปฏิบัติไว้ด้วยค่ะ ขออนุญาติเอาลิงค์มาไว้ที่นี่ด้วยอีกทีนะคะ เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกัน หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกคนมากขึ้นที่เข้ามาเจอกระทู้นี้ค่ะ

    ขอให้มีความสุขและสงบในจิตใจกันทุกคนนะคะ
     
  3. SaveMax

    SaveMax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +578
    จิตมันสงบนิ่งดี
     
  4. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    อุปจารสมาธิ
    โดย พระราชพรหมยาน


    อาการของอุปจารสมาธิคือ ปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม ไม่เคยพบความสุขอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ

    ๑. อาการขนลุกซู่ซ่า เมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์ใจเป็นสุข ขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจ เมื่อสมาธิสูงขึ้น หรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเอง อาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควรภูมิใจว่า เราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย

    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ ได้แก่อาการน้ำตาไหล

    ๓. อาการของปีติขั้นที่ ๓ คือร่างกายโยกโคลง โยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้างบางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น

    ๔. อาการของปีติขั้นที่ ๔ ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศ แต่ผลของการปฏิบัติ ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศ เมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง (อย่าตกใจ)
    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕ คือ มีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้น หน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกาย ในที่สุดก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว

    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้น นักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจเป็นสำคัญ อย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้น พอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัวไปเอง ปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุข คือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกันอุปจารสมาธิระดับสุดท้าย

    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้นไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมีความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไรอารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ


    ๑. รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่ มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน) หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌานที่หนึ่ง

    ------------

    การนั่งสมาธิ หรือการสวดมนต์ หรือการเดินจงกรม สามารถนำเราเข้าไปสู่อารมณ์สมาธิได้ทั้งนั้น เรียกว่า สวดมนต์จนเข้าณาน หรือเดินจนเข้าณาน เรื่องนี้นักปฏิบัติเจอกันมานักต่อนัก ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติน่าตกใจแต่ประการใด หากเป็นเรื่องดี เพราะถือว่าเริ่มทำสมาธิได้ในอิริยาบถ 4 ไม่ว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือทำกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่

    จะพูดถึงการสวดมนต์จนจิตเข้าณาน อันนี้ก็ทำมาแล้ว และทุกครั้งถ้าตั้งใจ ก็สามารถกำหนดให้การสวดมนต์แต่ละครั้ง เป็นการทำสมาธิได้ ซึ่งเมื่อจิตอยู่ในสมาธิขณะสวดมนต์ จะมีแต่เรากับบทสวดมนต์ บางคนเห็นตัวหนังสือจากบทสวดมนต์ไหลวนไปมาตามเสียงอ่าน บางคนก็มีจิตดิ่งสงัดเหลือแต่เรากับบทสวดมนต์ จนที่สุดไม่เหลือเรา นี่ก็เข้าสวดมนต์จนเป็นณาน จิตสงัด อารมณ์เป็นหนึ่ง ถ้าเป็นปฐมณาน ก็จะเป็นอย่างที่หลวงพ่อบอก เสียงอะไรจะเกิดขึ้นก็ไกลเหลือเกิน ไม่มีอาการสะดุ้งตกใจ จิตอยู่ในอารมณ์สมาธิ

    บางครั้งเสียงก็จะดังก้อง สะท้อนไปมา เพราะเป็นการพูดด้วยกำลังณาน อันนี้เป็นน้องๆอภิญญา ที่คนสมัยโบราณเรียกว่า สิงหนาท อันนี้ก็ไปลองดูกันก็ได้

    บางครั้งเกิดอตีตังสญาณ ตัวตนในอดีต ขึ้นมาสวดมนต์นั้น อันนี้ก็เกิดได้ เพราะเมื่ออยู่ในณาน จิตจะทำงานได้อย่างเต็มที่ ข้อมูลที่จิตเก็บไว้ก็จะเปิดผนึกออกมา ให้เห็นกันจะจะ

    ข้อควรระวัง ในการทำสมาธิ ของเหล่านักปฏิบัติคือ : หากมีแต่สมาธิ ไม่มีตัวสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม จะทำให้ไม่สามารถรักษาณานที่ได้นั้นไว้ได้ จิตจะคลายตัวแล้วเริ่มไหล เกิดอาการเหมือนตกอยู่ในภวังค์ เมื่อภาวะนั้นเกิดขึ้น มีเสียงมากระทบ จะมีอาการสะดุ้ง สะเทือน มากกว่าปกติ เพราะกำลังเคลิบเคลิ้มขาดสติสัมปชัญญะ เมื่อเจอบททดสอบของเทวดา เลยสมาธิหาย คว้านหากันไม่ทันเจอแต่อกอีแป้น และหงุดหงิดทันที ทั้งที่เมื่อสักครู่พึ่งอยู่ในอารมณ์สมาธิจิตใจผ่องใสอยู่ แป๊บเดียวอารมณ์ขุ่นมัวเสียแล้ว น่าเสียดายนัก

    ทางแก้ไข ต้องฝึกสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมไว้เป็นอาวุธที่ดี เมื่อเจริญสมาธิกำลังวังชาดีแล้ว สติสัมปชัญญะพร้อมบริบูรณ์ อย่าปล่อยให้ไหลไปกับสมาธิ หรือปิติ หรือนิมิต ด้วยความเพลินเคลิบเคลิ้ม เมื่อเจอเทวดาทดสอบอีก ย่อมสามารถประคับประคองสภาวะจิตให้ทรงอยู่ในอารมณ์สมาธิ รักษาอารมณ์ณานนั้นไว้ได้
     
  5. บ้านบาระแนะ1

    บ้านบาระแนะ1 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +11
    ขอบคุณมากๆเลยครับคุณKhunkik คําแนะนําของคุณตรงกับวิธีที่ผมปฏิบัติเลยครับ....ขอบคุณครับ
     
  6. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    พยายามต่อไปนะคะ แต่ก่อนกิ๊กก็บื้อๆบ้าๆขี้เกียจสุดๆ พอเจออะไรก็ตกใจเลิกแล้วไม่เอาดีกว่า 5555

    หลวงพ่อดุว่า "คนมันกลัวจะดี"

    เลยต้องสู้กับความกลัว และเรื่องแปลกๆสาระพัด โดยเฉพาะอาการที่เกิดทางกาย และจิต สำหรับนักอ่านก็คงไม่ค่อยเป็นนัก แต่เมื่อลงมือปฏิบัติแน่นอน อาการเวทนาของร่างกายตามมาเป็นเหมือนเงาอารมณ์ของนักปฏิบัติ

    ปฏิบัติคนเดียวอาจจะเหงาไปหน่อย กิ๊กก็เป็นมาก่อนหมุนไปหมุนมาเกิดอะไรไม่รู้จะถามใคร ไม่รู้จะปรึกษาใคร ทำให้มีความฟุ้งซ่าน ย้ำคิดย้ำทำ หาทางออกไม่ได้ นักปฏิบัติจึงจำเป็นต้องมีกัลยาณมิตรทางธรรม ไว้ปะชะดะ เรื่องปฏิบัติโดยเฉพาะ ถ้ามีอะไรก็มาคุยกันได้จ้า

    สุขสันต์วันศุข
     
  7. บ้านบาระแนะ1

    บ้านบาระแนะ1 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +11
    อนุโมทนา...ทุกๆท่านนะครับ สําหรับคําแนะนําที่ดีๆ ก็ใด้ศึกษา แบบอย่างตามกัลยาณิมิตรทุกท่านในเวฟนี้แหละ มีสิ่งใดจะแนะนําก็ยินดีน้อมรับนะครับ
     
  8. dhammashare

    dhammashare เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    432
    ค่าพลัง:
    +189
    <object width="425" height="344"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/dIrZRoi4yqc&hl=en&fs=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/dIrZRoi4yqc&hl=en&fs=1" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="425" height="344"></embed></object>
    <object width="425" height="344"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/bmQnEoxuQwU&hl=en&fs=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/bmQnEoxuQwU&hl=en&fs=1" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="425" height="344"></embed></object>
     

แชร์หน้านี้

Loading...