ไฟล์เสียงที่ยี่สิบสี่ อุปกิเลส-อรูปฌาณ (02 - กพ - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย paang, 26 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2123[/MUSIC]
     
  2. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    หนุกะลังทำเรื่องนี้อยุ่นะคะ

    บอกไว้จะได้ไม่ทำซ้ำกันค่ะ ^^
     
  3. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    ปัญญากับการพิจารณา ไปน้อมใจเชื่อเข้า ว่านั่นเป็นธรรมะแท้ นั่นเป็นมรรค นั่นเป็นผล นั่นเป็นที่สุดของการปฏิบัติ มันก็ จะกลายเป็นกิเลสทันที อุปกิเลสทั้งหมด มีอยู่ด้วยกัน 10ประการด้วยกัน

    ข้อที่หนึ่ง คือ โอภาส แปลว่า แสงสว่าง เมื่อท่านปฏิบัติไป ปฏิบัติไป จิตเริ่มเข้าถึงอุปจารสมาธิ จะเห็นเป็นแสงสว่างขึ้นมา สว่างมากๆ ถึงขนาดบางทีเราคิดว่ามีใครเอาไฟมาส่องหน้าก็มี หรือสว่างแต่น้อยๆก็มี แสงจะเป็นจุด เป็นแต้ม เป็นขีด เป็นดวงก็มี หลายรายคิดว่าพอเห็นแสงสว่างก็คือบรรลุแล้ว เข้าถึงจุดที่ตัวเองต้องการแล้ว จริงๆแล้วนั่นยังไม่ได้ขึ้นชั้นอนุบาลเลย เพราะฉะนั้น ถ้ามีแสงสว่างเกิดขึ้น อะไรเกิดขึ้นก็ให้ทำใจเฉยๆ สบายๆ อยู่กับมัน ให้เข้าใจว่านั่นเป็นเรื่องปรกติของการปฏิบัติ ถ้าเราไม่สนใจมัน สมาธิมันก็จะเจริญก้าวหน้ามากขึ้น <O:p
    <O:p</O:p
    ตัวที่สองคือ ปีติ ตัวปีติมีทั้ง<O:p</O:p
    ขณิกาปีติ ขนลุกซู่ซ่าเป็นพักๆ<O:p</O:p
    ขุททกาปีติ น้ำตาไหล<O:p</O:p
    โอกกันติกาปีติ ตัวโยกไปโยกมาหรือเกิดอาการดิ้นเหมือนอย่างกับการปลุกพระ หรือ ผีเจ้าเข้าสิงนั้น <O:p</O:p
    อุพเพคาปีติ ลอยขึ้นทั้งตัว ลอยไปรอบสถานที่ หรือว่าลอยไปไกลๆก็ได้ <O:p></O:p>
    ผรณาปีติ รู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวทะลุ มีสิ่งต่างๆหลั่งไหลจากร่างกายออกมามากมาย หรือบางรายก็รู้สึกว่า แตก ระเบิด ละเอียดไปเลยก็มี นี่ก็ยังไม่เป็นปฐมหนึ่งเลย แต่หลายรายพอเกิดอาการดังนี้ ก็คิดตัวเองบรรลุเสียแล้ว ยิ่งถ้าหากว่าลอยได้ ก็คิดว่าเราบรรลุมรรคผลแล้วถึงได้เหาะได้ บินได้อย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ยกเว้นว่าเราจะรู้เท่าทันมัน ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ใส่ใจในมัน ปล่อยให้มันเกิดขึ้นเต็มที่ ถึงวาระถึงเวลา มันก็จะก้าวข้ามไปเอง<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    ตัวที่สามเรียกว่า ปัสสัทธิ คือความสงบ ความสงบรำงับนี้ จะเกิดขึ้นเมื่ออย่างน้อยจิตก้าวเข้าสู่ภาวะของปฐมฌาน รัก โลภ โกรธ หลง ที่เป็นไฟใหญ่สี่กองจะโดนอำนาจของฌานกดดับสนิท แต่เป็นการดับเพียงชั่วคราว ยิ่งถ้าเป็นฌานสี่แล้ว ยิ่งจะนิ่งสนิทชนิดที่ไม่มีโอกาสที่รัก โลภ โกรธ หลง จะเกิดได้เลย ยกเว้น เราคลายสมาธิออกมา ทำให้คนเป็นจำนวนมากเข้าใจว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว เพราะไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง เหลืออยู่เลย อันนี้ก็จะทำให้ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อที่สี่เรียกว่า อธิโมกข์ คือประกอบไปด้วยศรัทธาน้อมใจเชื่อ พอกำลังใจเริ่มเป็นทาน เริ่มเป็นสมาธิ เริ่มเห็นคุณความดีของคำสอนพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเห็นคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จิตใจก็จะน้อมเชื่อ แบบปราศจากปัญญาประกอบ ถ้าหากว่าเป็นอธิโมกข์ในศรัทธา เชื่อโดยไม่มีปัญญาประกอบ บางทีก็อาจจะโดนพาหลงไปได้ง่าย ยิ่งถ้ามีทิพจักขุญาณอยู่ด้วย โดนชักนำโดยเทวกุตมาร ก็ดี โดยกิเลสทางมารก็ดี ก็จะคิดว่าตัวเองได้ดีแล้ว ได้มรรคได้ผลแล้ว ทั้งๆที่มันเป็นแค่ตัวศรัทธาเบื้องต้นเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อต่อไปเรียกว่า ปัคคาหะ ปัคคาหะแปลว่ามีความเพียรมาก บางทีเดินจงกรมกันข้ามวันข้ามคืน นั่งสมาธิกันข้ามวันข้ามคืน แล้วไปคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำได้มากนั้นคือมรรคผล อันนี้ก็เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง นั่นเป็นแค่ความการปรารภความเพียรของเรา ซึ่งบางทีก็ประกอบไปด้วยกำลังของฌานสมาบัติ อารมณ์ใจทรงตัว ทำให้ไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ไม่หน่ายในการปฏิบัติ บางรายประเภททุ่มเทไม่กินไม่นอนเลยเป็นเวลาหลายๆวันก็มี โอกาสที่ร่างกายจะทนไม่ไหว ประสาทร่างกายรับไม่ได้ ถึงเวลาจะเกิดอาการที่เรียกว่า สติแตก หรือกรรมฐานแตกก็มีมาก เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องคอยระมัดระวังให้ดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อที่หกเรียกว่า สุข คือ พอกำลังใจเริ่มเข้าสู่เขตของฌาน สุขกับเอกกัตคัตตารมณ์ ที่เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ต่างกันเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง ถ้าจิดไม่ละเอียดจริงๆแยกมันไม่ออกซะด้วยซ้ำไป คราวนี้ความสุขของกำลังที่จะเป็นฌานนั้นมันสุขเยือกเย็นอย่างบอกไม่ถูก อย่างที่กล่าวแล้วว่า รัก โลภ โกรธ หลงที่เป็นไฟเผาเราอยู่ โดนกดดับไป ความสุขเยือกเย็นนั้นอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้ ทำให้เราหลายคนเข้าใจว่าความสุขนี้คือมรรคผลที่เราต้องการ อันนั้นไม่ใช่ นี่เป็นแค่ความสุขในโลกียกามเฉยๆ

    มีต่อค่ะ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2005
  4. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    ข้อต่อไปก็คือ ญาณ มีเครื่องรู้ต่างๆเกิดขึ้น เครื่องรู้ต่างๆเกิดขึ้นจากอำนาจของทิพจักขุญาณ ถึงเวลาสามารถเห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ ไปคิดว่านั่นเป็นมรรค เป็นผลแล้ว ความจริง ญาณคือเครื่องรู้ที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องสำหรับยืนยันคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านนั้น ยืนยันว่านรกมี เปรตมี อสุรกายมี เทวดามี มารมี พรหมมี พระนิพพานมี แต่ว่าเราไปคิดว่า ได้มรรคผล ทำให้เราติดอยู่แค่นั้น ไม่สามารถจะก้าวข้ามไปสู้ความดีที่สุงกว่านั้นได้
    <O:p
    ข้อที่แปดเรียกว่า อุเบกขา แปลว่ากำลังใจปล่อยวาง ตั้งมั่น ไม่ยุ่งกับใครเลย รัก โลภ โกรธ หลง อะไรมากระทบก็ตาม เฉยอย่างเดียว ก็ทำให้คนเข้าใจผิดอีกเช่นกัน ว่านี่ได้มรรคได้ผลแล้ว ความจริงอุเบกขานั้นเป็นกำลังของโลกียเท่านั้น ถ้าหากว่าเป็นกำลังของโลกุตตรคือจะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าจริงๆ มันจะเป็นสังคะอุเบกขาญาณ คือการปล่อยวาง เพราะพิจารณาเห็นจริงแล้ว สภาพจิตยอมรับมัน ถ้าหากว่ากระทบอะไรก็เฉย กระทบอะไรก็เฉย อันนั้นให้ระวังเอาไว้ ต้องสังเกตอารมณ์ใจตัวเอง ว่ายังมีความหนักแน่นอยู่รึเปล่า ถ้าหากว่ามีความหนักแน่นอยู่นั่นเป็นกำลังของฌานเท่านั้น ถ้าหากว่าปล่อยวางได้แบบสบายๆไม่ต้องเสียเวลาไปกด ไม่ต้องเสียเวลาไปบังคับมัน อันนั้นถึงจะเป็นความดีที่แท้จริง แต่ว่าอาจจะเป็นความดีขั้นต้นๆก็ได้ ต้องระมัดระวังอยู่เสมอ
    <O:p
    ข้อต่อไปเรียกว่า อุปัฎฐาน แปลว่าจิตใจมีความตั้งมั่น คือมันทรงตัวแน่วแน่ ด้วยกำลังของสมาธิ ไม่ว่าจะยุงกิน ลิ้นกัด อะไรมากระทบ เสียงได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสอะไรก็ตาม จิตใจมันตั้งมั่น ทรงตัวไม่วอกแวก ไม่ไปปรุงไม่ไปแต่งกับมัน ก็ทำให้คนเข้าใจว่าได้มรรคได้ผลแล้วเช่นกัน ความจริงก็ไม่ใช่อีก<O:p
    <O:p
    ข้อสุดท้ายเรียกว่า นิกันติ แปลว่ามีความใคร่น้อย คือความอยากได้ใคร่ดีอะไรต่างๆมันไม่มี หรือมีน้อยมาก อะไรๆที่มากระทบ ที่มาเห็น ที่มาได้ยิน ที่ได้กลิ่น ที่ได้รส ที่ได้สัมผัส ก็ตาม มันไม่ได้อยากได้ใคร่ดีอะไรเลย ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะว่าตัวนี้มัน ก็คล้ายๆกับตัวความสงบเช่นกัน เพราะว่าจิตเป็นฌานเป็นสมาบัติ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เวลามากระทบ มันก็เลยสร้างความสะเทือนใจให้กับเราไม่ได้ ในเมื่อมันไม่สามารถ จะสร้างความหวั่นไหวให้กับเรา ก็ทำให้เราเข้าใจว่า เราได้มรรคได้ผลแล้ว <O:p></O:p>

    มีต่อค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2005
  5. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    เรื่องของ อุปกิเลส กล่าวแล้วว่า แปลว่าใกล้กิเลส คือควรจะเป็นกิเลสอื่น ถ้าเรามีสติ มีสัมปะชัญญะ มีปัญญาประกอบ เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เสมอ อุปกิเลสก็จะเป็นแค่อุปกิเลสเท่านั้น แต่ถ้าเราไปคล้อยตามมันคิดว่าตัวเองได้มรรคได้ผลแล้ว อันนั้นจะเป็นกิเลสทันที เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องระมัดระวังให้ดี เมื่อมันเกิดขึ้น ให้มีสติรู้เท่าทันว่ามันเป็นแค่อุปกิเลสเท่านั้น ไม่อย่างนั้น ถ้าโดนมันชักมันจูง น้อมใจตามไปคิดว่าตัวเองได้มรรคได้ผล ก็จะพาให้เสียการปฏิบัติ แล้วยิ่งถ้ากำลังใจลดลงกิเลสเกิดขึ้นมาใหม่ รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นมาใหม่ ก็จะเกิดอาการจิตตก กำลังใจตก สมาธิตก เพราะคิดว่าตัวเองชั่วเสียแล้ว

    สำหรับวันนี้จะกล่าวถึง กรรมฐาน 4กองสุดท้าย เราได้เรียนมาแล้วทั้งหมด 36กองด้วยกัน คือ อนุสสติ10 กสิน10 อสุภกรรมฐาน10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา1 จตุธาตววัตถาน1 และพรหมวิหาร4กอง รวมเป็น 36 กอง วันนี้จะกล่าวถึง 4กองสุดท้าย คืออรุปฌาน อรูปฌานทั้ง 4 นี้ จริงๆแล้วเป็นเรื่องยาก แต่ว่าควรจะศึกษาเอาไว้เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาที่กำลังมันเพียงพอ เราจะได้มีแนวทางปฏิบัติได้ง่าย เรื่องของอรูปฌานทั้ง 4 กองนี้ เราต้องมีพื้นฐานมาจากกสินทั้ง 10 เมื่อได้กสินทั้ง 10 กองแล้ว เอากสิน 9 กอง คือ ปฐวีกสิน เตโชกสิน วาโยกสิน อาโปกสิน โลหิตกสิน ปีตกสิน โอทาตกสิน นีลกสิน และ อาโลกกสิน ทั้ง9กองนี้ กองใดกองหนึ่ง ยกขึ้นมาเป็นนิมิตก่อน เว้นไว้เสียแต่ อากาสกสิน เพราะว่าอากาสกสินเป็นการจับความว่างอยู่แล้ว ลักษณะมันคล้ายคลึงกัน ถึงไม่สามารถนำมาใช้กับอรูปฌานทั้ง 4 ได้

    การปฏิบัติในอรูปฌานนั้น เราต้องทำกสินได้คล่องตัวแล้ว ตั้งนิมิตของกสินขึ้นมา พออารมณ์ใจทรงตัวเต็มที่แล้ว ผู้ที่ปฏิบัติในอรูปฌานจะมีอารมณ์คิดแทรกอยู่ว่า ความทุกข์ทั้งหลายก็ดี สิ่งต่างๆที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สร้างความทุกข์ให้แก่เราก็ดี มันมีพื้นฐานมาจากร่างกายนี้คือรูปนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะตั้งความปรารถนาไว้ว่า เราไม่ต้องการร่างกายนี้อีก เราไม่ต้องการมีรูปนี้อีก เพราะมีเมื่อไหร่ ก็ลำบากกับมันเมื่อนั้น

    มีต่อคะ^^
     
  6. ถิ่นกระถินแดง

    ถิ่นกระถินแดง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +33
    ต่อนะครับ ผิดพลาดประการใดต้องขอขมาต่อองค์พระรัตนตรัยที่มีความประมาท
    --------------------
    นั้นก็กำหนดกำลังใจให้คิดถึงความว่างของอากาศแทนในเมื่อจิตไม่ต้องการรูปอธิษฐานขอให้ภาพกสินนี้หายไป ให้ความว่างไร้ขอบเขตของอากาศปรากฎขึ้นแทน แล้วใช้คำภาวนาว่าอากาสาอนันตา อากาสาอนันตาว่าไปเรื่อย ๆ จนกำลังทรงเป็นฌานเต็มที่ คือฌานสี่ ถ้าหากว่าทรงเต็มที่แล้ว บางทีก็มีนิมิตปรากฎด้วย สำหรับอรูปฌานแรกนี้ คือนิมิตจะเป็นอากาศที่กว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด สามารถย่อให้เล็กได้ขยายให้ใหญ่ได้เช่นกัน ถ้าหากว่าทำได้ดังนี้แล้วก็ชื่อว่า ได้อรูปฌานที่ หนึ่ง อากาสานัญจายตนะฌาน
    เราก็ทำอรูปฌานที่ 2 ต่อไป เราตั้งภาพกสินขึ้นมา กำหนดถึงความไม่มีขอบเขตของอากาศ จนกระทั่งอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ก็ใช้อารมณ์คิดต่อไปว่า ถึงแม้ว่าอากาศนั้นมันจะกว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุดแต่ว่ามันยังมีวิญญาณเอกภาพจิตรับรู้ว่าของเรา ที่สามารถกำหนดมันได้อยู่ ดังนั้น แม้ว่าเราไม่มีกายแล้ว แต่ถ้ายังมีจิต คือวิญญาณในการรับรู้นี้ มันก็ยังสามารถรู้สุขรู้ทุกข์ได้ ดังนั้น ไม่ต้องการแม้แต่วิญญาณนี้ แล้วภาวนาว่า วิญญานัง อนันตัง วิญญานัง อนันตัง จับความไม่มีวิญญาณ คือความไม่ปรารถนาแม้แต่ร่างกายนี้ แม้แต่จิตนี้ไปเรื่อย พร้อมกับคำภาวนา จนมันทรงตัวเป็นฌานสี่เต็มที่ของมัน ก็ได้ชื่อว่าเราปฏิบัติในวิญญาณัญจายตนะฌาน เป็นอรูปฌานที่สองได้<O:p>>
    <O:p
    หลังจากนั้นก็ให้ปฏิบัติในอรูปฌานที่สามต่อไป คือพิจารณาต่อว่า การมีรูปนี้ก็ดี การมีจิตวิญญาณนี้ก็ดี มันก็ล้วนแต่เป็นตัวพาให้ทุกข์พาให้ลำบากทั้งสิ้น ความจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีอะไรทรงตัวอยู่ได้ แม้แต่ภาพกสินที่เราตั้งขึ้นมามันก็ทรงตัวไม่ได้ เพราะว่าเราต้องเพิกมันทิ้งเสีย ก็ไปจับความไม่มีอะไรทรงตัวเหลืออยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในที่สุดก็สลาย ก็ตาย ก็พัง ไปทั้งสิ้น คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของ บ้านเรือน โรง ภูเขา อะไรก็ตาม ในที่สุดมันก็ย่อยสลายลง ไม่มีแม้แต่นิดเดียวที่หลงเหลืออยู่ แล้วจับคำภาวนาว่า นัตถิ กิญจิ นัตถิ กิญจิ กำหนดใจว่าไม่มีอะไรเหลืออยู่แม้แต่น้อยหนึ่งเป็นเรื่องปกติ จนอารมณ์ใจทรงเป็นฌานสี่ เต็มที่ ก็ชื่อว่าเราทำอรูปฌาน 3 คือ อากิญจัญญายตนะฌานได้แล้ว เมื่อได้อรูปฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แล้ว<O:p>>
    <O:p
    ก็ให้ทำอรูปฌานที่ 4 ก็คือ เนวะสัญญานาสัญญายตนะฌาน อันนี้จะจับยากอยู่ซักนิดหนึ่ง เพราะว่ามีสัญญาคือรู้ได้หมายจำ ถ้าทำเป็นเหมือนคนไม่มีสัญญา เห็นก็ทำเป็นไม่เห็น ได้ยินก็ทำเป็นไม่ได้ยิน ได้กลิ่นก็ทำเป็นไม่ได้กลิ่น ได้รสก็ทำเป็นไม่ได้รส สัมผัสก็ทำเป็นไม่ได้สัมผัส มันร้อนถ้าหากว่าป้องกันได้ ก็ป้องกันให้มัน ถ้าป้องกันไม่ได้มันอยากร้อนก็เรื่องของมัน มันหนาวถ้าป้องกันได้ก็ป้องกันให้มัน ถ้ามันป้องกันไม่ได้ ก็เรื่องของมัน มันหิวถ้ามีให้มันกิน ก็กิน ถ้าไม่มีให้มันกินก็เรื่องของมัน มันกระหายถ้ามีให้มันดื่มก็หาให้มันดื่ม ถ้าไม่มีก็เรื่องของมัน ทำตัวเหมือนคนไม่มีสัญญา กระทบอะไรก็อยู่แต่ในกำลังของสมาธิ กำลังของฌานอย่างเดียว เมื่อตั้งภาพกสินขึ้นมาแล้ว เพิกภาพนั้นหายไป จับอยู่ในอารมณ์ของการมีสัญญา เหมือนกับไม่มีสัญญา จนกำลังใจทรงตัวเป็นฌานสี่เต็มที่ ก็ชื่อว่าเราทำอรูปฌานที่4 คือ เนวะสัญญา นาสัญญายตนะฌานได้แล้ว ก็ให้พยายามสลับฌานไปเป็นอรูปฌานที่ 1 อรูปฌานที่ 4 อรูปฌานที่ 2 อรูปฌานที่ 3 หรือว่า 1 2 3 4 4 3 2 1 สลับเข้าสลับออกอย่างนี้จนเคยชิน กำลังของอรูปฌานนี้มีอนุภาพมาก มีกำลังสูงมาก โดยเฉพาะมีอารมณ์ทิพย์ที่ใกล้เคียงวิปัสนาญาณมาก โบราณาจารย์จึงได้กล่าวว่า ถ้าใครได้อรูปฌานแล้ว เจริญวิปัสนาญาณต่อแค่ชั่วเคี้ยวหมากแหลกเดียวก็กลายเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว เราไม่สามารถทำให้เต็มที่ได้ ก็ลองฝึกลองซ้อมดู เพื่อจะได้เป็นแนวทางที่เราเข้าถึงไว้ก่อน เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาที่เราทรงฌานสมาบัติ ได้เต็มที่ เราก็มาฝึกปรือของเราต่อเพื่อให้เข้าถึงที่สุดของมันกำลังของอรูปฌานนี้เนื่องจากว่ามีพื้นฐานมาจากกสินแล้ว มีความคล่องตัวมาจากกสินแล้ว <O:p
    ดังนั้นถ้าหากว่า ก้าวเข้าถึงความเป็นอริยะเจ้า ตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป ก็จะเกิดปฏิสัมภิทาญาณขึ้น คือมีความสามารถครอบคลุม ทั้งสุขวิปัสโก วิชาสาม อภิญญาหก ผู้ที่ได้ฤทธิ์ ได้อภิญญาทำอะไรได้ ผู้ได้ปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้ และมีความคล่องตัวกว่า และยังมีความสามารถพิเศษก็คือ อัตตะ อัทถปฏิสัมภิทา ธรรมาปฏิสัมภิทา คือรู้แจ้งในเหตุในผลทุกอย่าง รู้ว่าธรรมะนี้ เกิดขึ้นมาจากเหตุอะไร เหตุนี้ทำให้เกิดผลอะไร สามารถชี้แจงแสดงเหตุได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา มีความคล่องแคล่ว สามารถอภิปรายเรื่องราวทุกอย่างได้ โดยย่อก็ดี โดยพิศดารก็ดี อย่างละเอียดลึกซึ้งก็ดี หรือว่าโดยตั้ง หรือว่าโดยสั้น ๆ ก็ดี อธิบายได้ถูกต้องแจ่มแจ้งโดยไม่เสียใจความ และไม่เยิ่นเย้อ มีนิรุตติปฏิสัมภิทา คือสามารถรู้ทุกภาษาไม่ว่าจะภาษาคน ภาษาสัตว์ ภาษาดวงดาวไหน ภาษาของภพไหน ภูมิไหน จะมีความเข้าใจทั้งหมด แต่อย่าลืมว่าอนุภาพของ ปฏิสัมภิทาญาณสี่นั้นกว้างขวางกว่ามาก สูงมากดังนั้น ถึงแม้ท่านทำอรูปฌานได้คล่องแล้ว ถ้ายังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าตั้งแต่อนาคามีขึ้นไป ปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ ก็จะไม่ปรากฎเช่นกัน ดังนั้นจึงให้เราศึกษาแนวทางเอาไว้ ถึงวาระถึงเวลาจะได้ ลองกระทำดู จะได้ปฏิบัติดู ที่กล่าวมานี้เพราะว่าจริตนิสัย ของคนแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน บางทีพื้นฐานอาจจะมีของเก่ามาแล้ว ในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ถึงได้ต้องกล่าวถึงอานาปานุสติกรรมฐานขึ้นมา จนกระทั่งอรูปฌานทั้งสี่ รวมแล้ว 40 กองครบถ้วน เพื่อที่เราชอบใจกองใหนจะได้ใช้ กองนั้นแต่อย่าลืมว่า ถ้าเราทำกรรมฐานกองไหนได้แล้ว ถึงวาระถึงเวลาเราจะก้าวขึ้นกองต่อไป ต้องทบทวนของเก่าให้มีความคล่องตัวอยู่เสมอ ให้ได้เต็มที่เท่าที่เราทำได้ แล้วค่อยขยับไปกองต่อไป หรือว่าถ้าเราถนัดกองใดกองหนึ่ง จับเฉพาะกองใดกองหนึ่ง ทำให้ได้มรรค ให้ได้ผลไปเลย ก็จะเป็นเรื่องที่วิเศษยิ่ง ความจริงในการปฏิบัตินั้นถ้าเรามีความคล่องตัวแล้ว เราสามารถประยุกต์กรรมฐานหลายๆ กองเข้ามา เป็นระบบการปฏิบัติเฉพาะตัว เราเองอย่างที่ผมสอนพวกท่านไป ตอนแรกๆ ถ้ารู้จักพิจารณาแยกแยะ จะเห็นว่ากรรมฐานเกือบทั้ง 40 กอง จะรวมอยู่ในนั้นทั้งหมดแล้ว เพียงแต่ท่านจะแยกมันออกหรือไม่ ความจริงแล้วกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เมื่อเราทำจริงๆ ก็เข้าถึงที่สุดได้ทั้งสิ้น แต่เนื่องจากว่าสายของ ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่ปานก็ดี หลวงพ่อฤาษีลิงดำก็ดี ท่านศึกษามาในกรรมฐาน 40 และทำได้คล่องตัวทุกกอง เมื่อตกทอดมาถึงยุคของพวกเรา เราก็ควรที่จะ เรียนแบบปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไว้ ด้วยการศึกษากรรมฐาน 40 เอาให้ได้มากกองที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อว่าถึงวาระ ถึงเวลา ไปพบกับหลักการปฏิบัติแนวอื่น เราจะได้รู้ว่ามาจากกรรมฐานกองไหน จะได้ไม่ต้องไปปฏิเสธเขาว่าอันนี้ใช้ไม่ได้ เพราะว่าหลักการปฏิบัติทั้งหมด ล้วนแล้วแต่อยู่ในกรรมฐาน 40 และมหาสติปฐานสูตรทั้งสิ้น เพียงแต่จะยกจุดไหนขึ้นมาเท่านั้น ธรรมะเฉพาะของแต่ละสายไม่มี ธรรมะเฉพาะของแต่ละครูบาอาจารย์ไม่มี ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่ เป็นของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระองค์ท่านรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ถึงได้นำมาสั่งสอนสืบต่อ ๆ กันมา เพียงแต่ว่าครูบาอาจารย์ท่านได้ ถนัดแบบไหน ท่านก็นำแบบนั้นมาสอน แล้วทำให้ลูกศิษย์ไปเที่ยวแยกว่า เป็นสายนั้น เป็นสายนี้ ความจริงก็สายพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นเอง เราทำไม่ได้คล่องตัวทั้ง 40 กอง เอากองใดกองหนึ่งเป็นหลัก แล้วพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงของร่างกายนี้ว่ามันเกิดขึ้นในเบื่องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ก็มีแต่ ความทุกข์เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องทุกข์อย่างนี้อีก ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราให้ยึดถือมั่นหมายได้ ตัวเราก็ดีคนที่เรารักก็ดี ของที่เรารักก็ดี ทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ดี ในที่สุดก็เสื่อมสลายตายธรรม ไปทั้งสิ้น <O:p>>
    <O:p
    ดังนั้นเราควรที่จะ เอาจิตเกาะพระ เกาะนิพพานให้เป็นปกติ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาเราตายแล้วไปนิพพานจะได้พ้นจากการเกิดมาทุกข์แบบนี้ กำลังใจทุกวันของเราให้ทรงตัวอย่างนี้ เมื่อทำกรรมฐานกองใดกองหนึ่งแล้ว พิจารณาวิปัสนาญาณต่อเนื่อง ให้เข้าถึงมรรคเข้าถึงผลจึงชื่อว่า เป็นนักปฏิบัติที่แท้จริง ตั้งแต่กล่าวมาข้างต้นจนบัดนี้ ที่เป็นกรรมฐานทั้ง 40 กอง สมัยที่ผมเองทำอยู่ครูบาอาจารย์ไม่ได้มาจี้มาสอนลักษณะอย่างนี้ ท่านบอกว่าเทปมีหนังสือมี ไปศึกษาเอาไปทำเอา ติดขัดตรงไหนแล้วค่อยมาถาม แต่เนื่องจากว่าบางทีบางวาระพวกท่านทั้งหมดอาจจะ ต้องการในลักษณะที่มีผู้ชักนำบ้าง เพื่อความทรงตัวได้ง่าย ของอารมณ์ และอีกอย่าง คือ จะกล่าวเอาไว้เพื่อเป็นแบบแผน ให้กับคนที่ได้ฝึกปฏิบัติต่อไป จะได้มีแนวทางไว้ ได้นำกรรมฐานทั้ง 40 กองมา กล่าวโดยครบถ้วน ก็คิดว่านี่จะเป็นครั้งสุดท้ายในการที่จะมานำการปฏิบัติกัน ต่อไปท่านก็นำเอาแบบนี้ไปฝึกไปซ้อมไปปฏิบัติติดขัดตรงไหนก็มาสอบถาม ผมจะชี้แจงให้ฟังว่า ขั้นต่อไปของมันเป็นอย่างไรสำหรับตอนนี้ก็ให้รักษากำลังใจของเราให้ทรงตัวเอาไว้ เพื่อที่จะได้ทำวัตร สวดมนต์ของเราต่อไป

    ร่วมโมทนากับทุกท่านด้วยนะครับ(bb-flower
     
  7. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ไฟล์เสียงที่ยี่สิบสี่ อุปกิเลส-อรูปฌาณ (02 - กพ - 47)

    ปัญญากับการพิจารณา ไปน้อมใจเชื่อเข้า ว่านั่นเป็นธรรมะแท้ นั่นเป็นมรรค นั่นเป็นผล นั่นเป็นที่สุดของการปฏิบัติ มันก็จะกลายเป็นกิเลสทันทีอุปกิเลสทั้งหมด มีอยู่ด้วยกัน 10 ประการด้วยกัน

    *ข้อที่หนึ่ง คือ
    โอภาส แปลว่า แสงสว่าง เมื่อท่านปฏิบัติไป ปฏิบัติไป จิตเริ่มเข้าถึงอุปจารสมาธิ จะเห็นเป็นแสงสว่างขึ้นมา สว่างมากๆ ถึงขนาดบางทีเราคิดว่ามีใครเอาไฟมาส่องหน้าก็มี หรือสว่างแต่น้อยๆก็มี แสงจะเป็นจุด เป็นแต้ม เป็นขีด เป็นดวงก็มี หลายรายคิดว่าพอเห็นแสงสว่างก็คือบรรลุแล้ว เข้าถึงจุดที่ตัวเองต้องการแล้ว จริงๆแล้วนั่นยังไม่ได้ขึ้นชั้นอนุบาลเลย เพราะฉะนั้น ถ้ามีแสงสว่างเกิดขึ้น อะไรเกิดขึ้นก็ให้ทำใจเฉยๆ สบายๆ อยู่กับมัน ให้เข้าใจว่านั่นเป็นเรื่องปรกติของการปฏิบัติ ถ้าเราไม่สนใจมัน สมาธิมันก็จะเจริญก้าวหน้ามากขึ้น
    <o =""></o>
    *ตัวที่สองคือ ปีติ ตัวปีติมีทั้ง<o =""></o>
    ขณิกาปีติ ขนลุกซู่ซ่าเป็นพักๆ<o =""></o>
    ขุททกาปีติ น้ำตาไหล<o =""></o>
    โอกกันติกาปีติ ตัวโยกไปโยกมาหรือเกิดอาการดิ้นเหมือนอย่างกับการปลุกพระ หรือ ผีเจ้าเข้าสิงนั้น <o =""></o>
    อุพเพคาปีติ ลอยขึ้นทั้งตัว ลอยไปรอบสถานที่ หรือว่าลอยไปไกลๆก็ได้ <o =""></o>
    ผรณาปีติ รู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวทะลุ มีสิ่งต่างๆหลั่งไหลจากร่างกายออกมามากมาย หรือบางรายก็รู้สึกว่า แตก ระเบิด ละเอียดไปเลยก็มี นี่ก็ยังไม่เป็นปฐมหนึ่งเลย แต่หลายรายพอเกิดอาการดังนี้ ก็คิดตัวเองบรรลุเสียแล้ว ยิ่งถ้าหากว่าลอยได้ ก็คิดว่าเราบรรลุมรรคผลแล้วถึงได้เหาะได้ บินได้อย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ยกเว้นว่าเราจะรู้เท่าทันมัน ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ใส่ใจในมัน ปล่อยให้มันเกิดขึ้นเต็มที่ ถึงวาระถึงเวลา มันก็จะก้าวข้ามไปเอง<o =""></o>
    <o =""></o>
    *ตัวที่สามเรียกว่า
    ปัสสัทธิ คือความสงบ ความสงบระงับนี้ จะเกิดขึ้นเมื่ออย่างน้อยจิตก้าวเข้าสู่ภาวะของปฐมฌาน รัก โลภ โกรธ หลง ที่เป็นไฟใหญ่สี่กองจะโดนอำนาจของฌานกดดับสนิท แต่เป็นการดับเพียงชั่วคราว ยิ่งถ้าเป็นฌานสี่แล้ว ยิ่งจะนิ่งสนิทชนิดที่ไม่มีโอกาสที่รัก โลภ โกรธ หลง จะเกิดได้เลย ยกเว้น เราคลายสมาธิออกมา ทำให้คนเป็นจำนวนมากเข้าใจว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว เพราะไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง เหลืออยู่เลย อันนี้ก็จะทำให้ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ<o =""></o>
    <o =""></o>
    *ข้อที่สี่เรียกว่า
    อธิโมกข์ คือประกอบไปด้วยศรัทธาน้อมใจเชื่อ พอกำลังใจเริ่มเป็นทาน เริ่มเป็นสมาธิ เริ่มเห็นคุณความดีของคำสอนพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเห็นคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จิตใจก็จะน้อมเชื่อ แบบปราศจากปัญญาประกอบ ถ้าหากว่าเป็นอธิโมกข์ในศรัทธา เชื่อโดยไม่มีปัญญาประกอบ บางทีก็อาจจะโดนพาหลงไปได้ง่าย ยิ่งถ้ามีทิพจักขุญาณอยู่ด้วย โดนชักนำโดยเทวกุตมาร ก็ดี โดยกิเลสทางมารก็ดี ก็จะคิดว่าตัวเองได้ดีแล้ว ได้มรรคได้ผลแล้ว ทั้งๆที่มันเป็นแค่ตัวศรัทธาเบื้องต้นเท่านั้น<o =""></o>
    <o =""></o>
    *ข้อต่อไปเรียกว่า
    ปัคคาหะ ปัคคาหะแปลว่ามีความเพียรมาก บางทีเดินจงกรมกันข้ามวันข้ามคืน นั่งสมาธิกันข้ามวันข้ามคืน แล้วไปคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำได้มากนั้นคือมรรคผล อันนี้ก็เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง นั่นเป็นแค่ความการปรารภความเพียรของเรา ซึ่งบางทีก็ประกอบไปด้วยกำลังของฌานสมาบัติ อารมณ์ใจทรงตัว ทำให้ไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ไม่หน่ายในการปฏิบัติ บางรายประเภททุ่มเทไม่กินไม่นอนเลยเป็นเวลาหลายๆวันก็มี โอกาสที่ร่างกายจะทนไม่ไหว ประสาทร่างกายรับไม่ได้ ถึงเวลาจะเกิดอาการที่เรียกว่า สติแตก หรือกรรมฐานแตกก็มีมาก เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องคอยระมัดระวังให้ดี<o =""></o>
    <o =""></o>
    *ข้อที่หกเรียกว่า
    สุขคือ พอกำลังใจเริ่มเข้าสู่เขตของฌานสุขกับเอกกัตคัตตารมณ์ ที่เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ต่างกันเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง ถ้าจิดไม่ละเอียดจริงๆแยกมันไม่ออกซะด้วยซ้ำไป คราวนี้ความสุขของกำลังที่จะเป็นฌานนั้นมันสุขเยือกเย็นอย่างบอกไม่ถูก อย่างที่กล่าวแล้วว่า รัก โลภ โกรธ หลงที่เป็นไฟเผาเราอยู่ โดนกดดับไป ความสุขเยือกเย็นนั้นอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้ ทำให้เราหลายคนเข้าใจว่าความสุขนี้คือมรรคผลที่เราต้องการ อันนั้นไม่ใช่ นี่เป็นแค่ความสุขในโลกียกามเฉยๆ

    *ข้อต่อไปก็คือ
    ญาณ มีเครื่องรู้ต่างๆเกิดขึ้น เครื่องรู้ต่างๆเกิดขึ้นจากอำนาจของทิพจักขุญาณ ถึงเวลาสามารถเห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ ไปคิดว่านั่นเป็นมรรค เป็นผลแล้ว ความจริง ญาณคือเครื่องรู้ที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องสำหรับยืนยันคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านนั้น ยืนยันว่านรกมี เปรตมี อสุรกายมี เทวดามี มารมี พรหมมี พระนิพพานมี แต่ว่าเราไปคิดว่า ได้มรรคผล ทำให้เราติดอยู่แค่นั้น ไม่สามารถจะก้าวข้ามไปสู้ความดีที่สุงกว่านั้นได้

    *ข้อที่แปดเรียกว่า
    อุเบกขาแปลว่ากำลังใจปล่อยวาง ตั้งมั่น ไม่ยุ่งกับใครเลย รัก โลภ โกรธ หลง อะไรมากระทบก็ตาม เฉยอย่างเดียว ก็ทำให้คนเข้าใจผิดอีกเช่นกัน ว่านี่ได้มรรคได้ผลแล้ว ความจริงอุเบกขานั้นเป็นกำลังของโลกียเท่านั้น ถ้าหากว่าเป็นกำลังของโลกุตตรคือจะเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าจริงๆ มันจะเป็นสังคะอุเบกขาญาณ คือการปล่อยวาง เพราะพิจารณาเห็นจริงแล้วสภาพจิตยอมรับมัน ถ้าหากว่ากระทบอะไรก็เฉย กระทบอะไรก็เฉย อันนั้นให้ระวังเอาไว้ ต้องสังเกตอารมณ์ใจตัวเอง ว่ายังมีความหนักแน่นอยู่รึเปล่า ถ้าหากว่ามีความหนักแน่นอยู่นั่นเป็นกำลังของฌานเท่านั้น ถ้าหากว่าปล่อยวางได้แบบสบายๆไม่ต้องเสียเวลาไปกด ไม่ต้องเสียเวลาไปบังคับมัน อันนั้นถึงจะเป็นความดีที่แท้จริง แต่ว่าอาจจะเป็นความดีขั้นต้นๆก็ได้ ต้องระมัดระวังอยู่เสมอ

    *ข้อต่อไปเรียกว่า
    อุปัฎฐาน แปลว่าจิตใจมีความตั้งมั่น คือมันทรงตัวแน่วแน่ ด้วยกำลังของสมาธิ ไม่ว่าจะยุงกิน ลิ้นกัด อะไรมากระทบ เสียงได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสอะไรก็ตาม จิตใจมันตั้งมั่น ทรงตัวไม่วอกแวก ไม่ไปปรุงไม่ไปแต่งกับมัน ก็ทำให้คนเข้าใจว่าได้มรรคได้ผลแล้วเช่นกัน ความจริงก็ไม่ใช่อีก

    *ข้อสุดท้ายเรียกว่า
    นิกันติ แปลว่ามีความใคร่น้อย คือความอยากได้ใคร่ดีอะไรต่างๆมันไม่มี หรือมีน้อยมาก อะไรๆที่มากระทบ ที่มาเห็น ที่มาได้ยิน ที่ได้กลิ่น ที่ได้รส ที่ได้สัมผัส ก็ตาม มันไม่ได้อยากได้ใคร่ดีอะไรเลย ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะว่าตัวนี้มัน ก็คล้ายๆกับตัวความสงบเช่นกัน เพราะว่าจิตเป็นฌานเป็นสมาบัติ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เวลามากระทบ มันก็เลยสร้างความสะเทือนใจให้กับเราไม่ได้ ในเมื่อมันไม่สามารถ จะสร้างความหวั่นไหวให้กับเรา ก็ทำให้เราเข้าใจว่า เราได้มรรคได้ผลแล้ว <o =""></o>

    เรื่องของ
    อุปกิเลส กล่าวแล้วว่า แปลว่าใกล้กิเลส คือควรจะเป็นกิเลสอื่น ถ้าเรามีสติ มีสัมปะชัญญะ มีปัญญาประกอบ เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เสมอ อุปกิเลสก็จะเป็นแค่อุปกิเลสเท่านั้น แต่ถ้าเราไปคล้อยตามมันคิดว่าตัวเองได้มรรคได้ผลแล้ว อันนั้นจะเป็นกิเลสทันที เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องระมัดระวังให้ดี เมื่อมันเกิดขึ้น ให้มีสติรู้เท่าทันว่ามันเป็นแค่อุปกิเลสเท่านั้น ไม่อย่างนั้น ถ้าโดนมันชักมันจูง น้อมใจตามไปคิดว่าตัวเองได้มรรคได้ผล ก็จะพาให้เสียการปฏิบัติ แล้วยิ่งถ้ากำลังใจลดลงกิเลสเกิดขึ้นมาใหม่ รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นมาใหม่ ก็จะเกิดอาการจิตตก กำลังใจตก สมาธิตก เพราะคิดว่าตัวเองชั่วเสียแล้ว

    สำหรับวันนี้จะกล่าวถึง กรรมฐาน 4 กองสุดท้าย เราได้เรียนมาแล้วทั้งหมด 36กองด้วยกัน คือ อนุสสติ10 กสิน10 อสุภกรรมฐาน10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา1 จตุธาตววัตถาน1 และพรหมวิหาร4กอง รวมเป็น 36 กอง วันนี้จะกล่าวถึง 4กองสุดท้าย คืออรุปฌาน อรูปฌานทั้ง 4 นี้ จริงๆแล้วเป็นเรื่องยาก แต่ว่าควรจะศึกษาเอาไว้เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาที่กำลังมันเพียงพอ เราจะได้มีแนวทางปฏิบัติได้ง่าย เรื่องของอรูปฌานทั้ง 4 กองนี้ เราต้องมีพื้นฐานมาจากกสินทั้ง 10 เมื่อได้กสินทั้ง 10 กองแล้ว เอากสิน 9 กอง คือ ปฐวีกสิน เตโชกสิน วาโยกสิน อาโปกสิน โลหิตกสิน ปีตกสิน โอทาตกสิน นีลกสิน และ อาโลกกสิน ทั้ง9กองนี้ กองใดกองหนึ่ง ยกขึ้นมาเป็นนิมิตก่อน เว้นไว้เสียแต่ อากาสกสิน เพราะว่าอากาสกสินเป็นการจับความว่างอยู่แล้ว ลักษณะมันคล้ายคลึงกัน ถึงไม่สามารถนำมาใช้กับอรูปฌานทั้ง 4 ได้

    การปฏิบัติในอรูปฌานนั้น เราต้องทำกสินได้คล่องตัวแล้ว ตั้งนิมิตของกสินขึ้นมา พออารมณ์ใจทรงตัวเต็มที่แล้ว ผู้ที่ปฏิบัติในอรูปฌานจะมีอารมณ์คิดแทรกอยู่ว่า ความทุกข์ทั้งหลายก็ดี สิ่งต่างๆที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สร้างความทุกข์ให้แก่เราก็ดี มันมีพื้นฐานมาจากร่างกายนี้คือรูปนี้ทั้งสิ้น ดังนั้นท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะตั้งความปรารถนาไว้ว่า เราไม่ต้องการร่างกายนี้อีก เราไม่ต้องการมีรูปนี้อีก เพราะมีเมื่อไหร่ ก็ลำบากกับมันเมื่อนั้น
    นั้นก็กำหนดกำลังใจให้คิดถึงความว่างของอากาศแทนในเมื่อจิตไม่ต้องการรูปอธิษฐานขอให้ภาพกสินนี้หายไป ให้ความว่างไร้ขอบเขตของอากาศปรากฎขึ้นแทน แล้วใช้คำภาวนาว่า อากาสาอนันตาว่าไปเรื่อย ๆ จนกำลังทรงเป็นฌานเต็มที่ คือฌานสี่ ถ้าหากว่าทรงเต็มที่แล้ว บางทีก็มีนิมิตปรากฎด้วย สำหรับอรูปฌานแรกนี้ คือนิมิตจะเป็นอากาศที่กว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด สามารถย่อให้เล็กได้ขยายให้ใหญ่ได้เช่นกัน ถ้าหากว่าทำได้ดังนี้แล้วก็ชื่อว่า อากาสาอนันตา *ได้อรูปฌานที่ หนึ่ง อากาสานัญจายตนะฌาน

    เราก็ทำอรูปฌานที่ 2 ต่อไป เราตั้งภาพกสินขึ้นมา กำหนดถึงความไม่มีขอบเขตของอากาศ จนกระทั่งอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว ก็ใช้อารมณ์คิดต่อไปว่า ถึงแม้ว่าอากาศนั้นมันจะกว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุดแต่ว่ามันยังมีวิญญาณเอกภาพจิตรับรู้ว่าของเรา ที่สามารถกำหนดมันได้อยู่ ดังนั้น แม้ว่าเราไม่มีกายแล้ว แต่ถ้ายังมีจิต คือวิญญาณในการรับรู้นี้ มันก็ยังสามารถรู้สุขรู้ทุกข์ได้ ดังนั้น ไม่ต้องการแม้แต่วิญญาณนี้ แล้วภาวนาว่า วิญญานัง อนันตัง วิญญานัง อนันตัง จับความไม่มีวิญญาณ คือความไม่ปรารถนาแม้แต่ร่างกายนี้ แม้แต่จิตนี้ไปเรื่อย พร้อมกับคำภาวนา จนมันทรงตัวเป็นฌานสี่เต็มที่ของมัน ก็ได้ชื่อว่าเราปฏิบัติใน *วิญญาณัญจายตนะฌาน เป็นอรูปฌานที่สองได้<o =""></o>
    <o =""></o>
    หลังจากนั้นก็ให้ปฏิบัติในอรูปฌานที่สามต่อไป คือพิจารณาต่อว่า การมีรูปนี้ก็ดี การมีจิตวิญญาณนี้ก็ดี มันก็ล้วนแต่เป็นตัวพาให้ทุกข์พาให้ลำบากทั้งสิ้นนัตถิ กิญจิ นัตถิ กิญจิความจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีอะไรทรงตัวอยู่ได้ แม้แต่ภาพกสินที่เราตั้งขึ้นมามันก็ทรงตัวไม่ได้ เพราะว่าเราต้องเพิกมันทิ้งเสีย ก็ไปจับความไม่มีอะไรทรงตัวเหลืออยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในที่สุดก็สลาย ก็ตาย ก็พัง ไปทั้งสิ้น คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของ บ้านเรือน โรง ภูเขา อะไรก็ตาม ในที่สุดมันก็ย่อยสลายลง ไม่มีแม้แต่นิดเดียวที่หลงเหลืออยู่ แล้วจับคำภาวนาว่า นัตถิ กิญจิ นัตถิ กิญจิ กำหนดใจว่าไม่มีอะไรเหลืออยู่แม้แต่น้อยหนึ่งเป็นเรื่องปกติ จนอารมณ์ใจทรงเป็นฌานสี่ เต็มที่ ก็ชื่อว่าเราทำอรูปฌาน 3 คือ*ากิญจัญญายตนะฌานได้แล้ว เมื่อได้อรูปฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แล้ว<o =""></o>
    <o =""></o>
    ก็ให้ทำอรูปฌานที่ 4 ก็คือ เนวะสัญญานาสัญญายตนะฌาน อันนี้จะจับยากอยู่ซักนิดหนึ่ง เพราะว่ามีสัญญาคือรู้ได้หมายจำ ถ้าทำเป็นเหมือนคนไม่มีสัญญา เห็นก็ทำเป็นไม่เห็น ได้ยินก็ทำเป็นไม่ได้ยิน ได้กลิ่นก็ทำเป็นไม่ได้กลิ่น ได้รสก็ทำเป็นไม่ได้รส สัมผัสก็ทำเป็นไม่ได้สัมผัส มันร้อนถ้าหากว่าป้องกันได้ ก็ป้องกันให้มัน ถ้าป้องกันไม่ได้มันอยากร้อนก็เรื่องของมัน มันหนาวถ้าป้องกันได้ก็ป้องกันให้มัน ถ้ามันป้องกันไม่ได้ ก็เรื่องของมัน มันหิวถ้ามีให้มันกิน ก็กิน ถ้าไม่มีให้มันกินก็เรื่องของมัน มันกระหายถ้ามีให้มันดื่มก็หาให้มันดื่ม ถ้าไม่มีก็เรื่องของมัน ทำตัวเหมือนคนไม่มีสัญญา กระทบอะไรก็อยู่แต่ในกำลังของสมาธิ กำลังของฌานอย่างเดียว เมื่อตั้งภาพกสินขึ้นมาแล้ว เพิกภาพนั้นหายไป จับอยู่ในอารมณ์ของการมีสัญญา เหมือนกับไม่มีสัญญา จนกำลังใจทรงตัวเป็นฌานสี่เต็มที่ ก็ชื่อว่าเราทำอรูปฌานที่4 คือ*เนวะสัญญา นาสัญญายตนะฌาน ได้แล้ว ก็ให้พยายามสลับฌานไปเป็น อรูปฌานที่ 1 อรูปฌานที่ 4 อรูปฌานที่ 2 อรูปฌานที่ 3 หรือว่า 1 2 3 4 4 3 2 1 สลับเข้าสลับออกอย่างนี้จนเคยชิน กำลังของอรูปฌานนี้มีอนุภาพมาก มีกำลังสูงมาก โดยเฉพาะมีอารมณ์ทิพย์ที่ใกล้เคียงวิปัสนาญาณมาก โบราณาจารย์จึงได้กล่าวว่า ถ้าใครได้อรูปฌานแล้ว เจริญวิปัสนาญาณต่อแค่ชั่วเคี้ยวหมากแหลกเดียวก็กลายเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว เราไม่สามารถทำให้เต็มที่ได้ ก็ลองฝึกลองซ้อมดู เพื่อจะได้เป็นแนวทางที่เราเข้าถึงไว้ก่อน เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาที่เราทรงฌานสมาบัติ ได้เต็มที่ เราก็มาฝึกปรือของเราต่อเพื่อให้เข้าถึงที่สุดของมันกำลังของอรูปฌานนี้เนื่องจากว่ามีพื้นฐานมาจากกสินแล้ว มีความคล่องตัวมาจากกสินแล้ว <o =""></o>
    <o =""></o>
    ดังนั้น ถ้าหากว่าก้าวเข้าถึงความเป็นอริยะเจ้า ตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป ก็จะเกิดปฏิสัมภิทาญาณขึ้น คือมีความสามารถครอบคลุม ทั้งสุขวิปัสโก วิชาสาม อภิญญาหก ผู้ที่ได้ฤทธิ์ ได้อภิญญาทำอะไรได้ ผู้ได้ปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้ และมีความคล่องตัวกว่า และยังมีความสามารถพิเศษก็คือ อัตตะ อัทถปฏิสัมภิทา ธรรมาปฏิสัมภิทา คือรู้แจ้งในเหตุในผลทุกอย่าง รู้ว่าธรรมะนี้ เกิดขึ้นมาจากเหตุอะไร เหตุนี้ทำให้เกิดผลอะไร สามารถชี้แจงแสดงเหตุได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา มีความคล่องแคล่ว สามารถอภิปรายเรื่องราวทุกอย่างได้ โดยย่อก็ดี โดยพิศดารก็ดี อย่างละเอียดลึกซึ้งก็ดี หรือว่าโดยตั้ง หรือว่าโดยสั้น ๆ ก็ดี อธิบายได้ถูกต้องแจ่มแจ้งโดยไม่เสียใจความ และไม่เยิ่นเย้อ มีนิรุตติปฏิสัมภิทา คือสามารถรู้ทุกภาษาไม่ว่าจะภาษาคน ภาษาสัตว์ ภาษาดวงดาวไหน ภาษาของภพไหน ภูมิไหน จะมีความเข้าใจทั้งหมด แต่อย่าลืมว่าอนุภาพของ ปฏิสัมภิทาญาณสี่นั้นกว้างขวางกว่ามาก สูงมากดังนั้น ถึงแม้ท่านทำอรูปฌานได้คล่องแล้ว ถ้ายังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าตั้งแต่อนาคามีขึ้นไป ปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ก็จะไม่ปรากฎเช่นกัน

    ดังนั้นจึงให้เราศึกษาแนวทางเอาไว้ ถึงวาระถึงเวลาจะได้ ลองกระทำดู จะได้ปฏิบัติดู ที่กล่าวมานี้เพราะว่าจริตนิสัย ของคนแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน บางทีพื้นฐานอาจจะมีของเก่ามาแล้ว ในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ถึงได้ต้องกล่าวถึงอานาปานุสติกรรมฐานขึ้นมา จนกระทั่งอรูปฌานทั้งสี่ รวมแล้ว 40 กองครบถ้วน เพื่อที่เราชอบใจกองใหนจะได้ใช้ กองนั้นแต่อย่าลืมว่า ถ้าเราทำกรรมฐานกองไหนได้แล้ว ถึงวาระถึงเวลาเราจะก้าวขึ้นกองต่อไป ต้องทบทวนของเก่าให้มีความคล่องตัวอยู่เสมอ ให้ได้เต็มที่เท่าที่เราทำได้ แล้วค่อยขยับไปกองต่อไป หรือว่าถ้าเราถนัดกองใดกองหนึ่ง จับเฉพาะกองใดกองหนึ่ง ทำให้ได้มรรค ให้ได้ผลไปเลย ก็จะเป็นเรื่องที่วิเศษยิ่ง

    ความจริงในการปฏิบัตินั้นถ้าเรามีความคล่องตัวแล้ว เราสามารถประยุกต์กรรมฐานหลายๆ กองเข้ามา เป็นระบบการปฏิบัติเฉพาะตัว เราเองอย่างที่ผมสอนพวกท่านไป ตอนแรกๆ ถ้ารู้จักพิจารณาแยกแยะ จะเห็นว่ากรรมฐานเกือบทั้ง 40 กอง จะรวมอยู่ในนั้นทั้งหมดแล้ว เพียงแต่ท่านจะแยกมันออกหรือไม่ ความจริงแล้วกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เมื่อเราทำจริงๆ ก็เข้าถึงที่สุดได้ทั้งสิ้น แต่เนื่องจากว่าสายของ ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่ปานก็ดี หลวงพ่อฤาษีลิงดำก็ดี ท่านศึกษามาในกรรมฐาน 40 และทำได้คล่องตัวทุกกอง เมื่อตกทอดมาถึงยุคของพวกเรา เราก็ควรที่จะ เรียนแบบปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไว้ ด้วยการศึกษากรรมฐาน 40 เอาให้ได้มากกองที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อว่าถึงวาระ ถึงเวลา ไปพบกับหลักการปฏิบัติแนวอื่น เราจะได้รู้ว่ามาจากกรรมฐานกองไหน จะได้ไม่ต้องไปปฏิเสธเขาว่าอันนี้ใช้ไม่ได้ เพราะว่าหลักการปฏิบัติทั้งหมด ล้วนแล้วแต่อยู่ในกรรมฐาน 40 และมหาสติปฐานสูตรทั้งสิ้น เพียงแต่จะยกจุดไหนขึ้นมาเท่านั้น

    ธรรมะเฉพาะของแต่ละสายไม่มี ธรรมะเฉพาะของแต่ละครูบาอาจารย์ไม่มี ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่ เป็นของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระองค์ท่านรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ถึงได้นำมาสั่งสอนสืบต่อ ๆ กันมา เพียงแต่ว่าครูบาอาจารย์ท่านได้ ถนัดแบบไหน ท่านก็นำแบบนั้นมาสอน แล้วทำให้ลูกศิษย์ไปเที่ยวแยกว่า เป็นสายนั้น เป็นสายนี้ ความจริงก็สายพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นเอง เราทำไม่ได้คล่องตัวทั้ง 40 กอง เอากองใดกองหนึ่งเป็นหลัก แล้วพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงของร่างกายนี้ว่ามันเกิดขึ้นในเบื่องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ก็มีแต่ ความทุกข์เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องทุกข์อย่างนี้อีก ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราให้ยึดถือมั่นหมายได้ ตัวเราก็ดีคนที่เรารักก็ดี ของที่เรารักก็ดี ทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ดี ในที่สุดก็เสื่อมสลายตายธรรม ไปทั้งสิ้น <o =""></o>
    <o =""></o>
    ดังนั้นเราควรที่จะ เอาจิตเกาะพระ เกาะนิพพานให้เป็นปกติ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาเราตายแล้วไปนิพพานจะได้พ้นจากการเกิดมาทุกข์แบบนี้ กำลังใจทุกวันของเราให้ทรงตัวอย่างนี้ เมื่อทำกรรมฐานกองใดกองหนึ่งแล้ว พิจารณาวิปัสนาญาณต่อเนื่อง ให้เข้าถึงมรรคเข้าถึงผลจึงชื่อว่า เป็นนักปฏิบัติที่แท้จริง

    ตั้งแต่กล่าวมาข้างต้นจนบัดนี้ ที่เป็นกรรมฐานทั้ง 40 กอง สมัยที่ผมเองทำอยู่ครูบาอาจารย์ไม่ได้มาจี้มาสอนลักษณะอย่างนี้ ท่านบอกว่าเทปมีหนังสือมี ไปศึกษาเอาไปทำเอา ติดขัดตรงไหนแล้วค่อยมาถาม แต่เนื่องจากว่าบางทีบางวาระพวกท่านทั้งหมดอาจจะ ต้องการในลักษณะที่มีผู้ชักนำบ้าง เพื่อความทรงตัวได้ง่าย ของอารมณ์ และอีกอย่าง คือ จะกล่าวเอาไว้เพื่อเป็นแบบแผน ให้กับคนที่ได้ฝึกปฏิบัติต่อไป จะได้มีแนวทางไว้ ได้นำกรรมฐานทั้ง 40 กองมา กล่าวโดยครบถ้วน ก็คิดว่านี่จะเป็นครั้งสุดท้ายในการที่จะมานำการปฏิบัติกัน ต่อไปท่านก็นำเอาแบบนี้ไปฝึกไปซ้อมไปปฏิบัติติดขัดตรงไหนก็มาสอบถาม ผมจะชี้แจงให้ฟังว่า ขั้นต่อไปของมันเป็นอย่างไรสำหรับตอนนี้ก็ให้รักษากำลังใจของเราให้ทรงตัวเอาไว้ เพื่อที่จะได้ทำวัตร สวดมนต์ของเราต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...