เรื่องเด่น รวมหลวงพ่อตอบปัญหา/จากคำบอกเล่า

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 21 กรกฎาคม 2012.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    119
    ค่าพลัง:
    +225,741
    แก้โรคยาสั่ง


    นี่โรคใหม่ประเภทนี้ ถ้าคนโบราณเขามีทางแก้ แต่ทางแก้มันก็คล้ายคลึงกับแก้อะไรล่ะ โรคยาสั่ง
    สำหรับสมัยก่อนพระธุดงค์เขาแก้โรคยาสั่ง คือ 1. มีต้นรากไม้ชนิดหนึ่ง เขาเรียก "ต้นรางจืด" ต้นไม้รางจืด นี่ถ้ากินอะไรผิดที่เป็นโทษเข้าไป ถ้าฝนกินนะหายหมดนะ

    ประการที่ 2 สำหรับยาสั่งโดยเฉพาะ กันด้วยแก้ด้วย ให้ใช้ "กระดูกห่านขาว" ลงด้วย "นะโมพุทธายะ"
    ถ้ารู้ว่ามียาพิษก็กินให้หมดเลย อย่าไปฆ่าห่านนะบาป ใครฆ่าห่านตายแล้วเอากระดูก ต้องตายตามห่านเลย เยอะไป เจ๊กเขาทำตรุษจีนห่านขาวทั้งนั้น ใช่ไหม

    ทีนี้สำหรับโรคนี้มีท่านผู้ใหญ่ท่านมาบอก ที่ว่าบอกนี่ท่านมาบอกมาแล้ว อาตมาบอกไปก็อย่าเพิ่งเชื่อสนิท และก็อย่าเพิ่งไม่เชื่อ ลองใช้ก่อนนะ แต่บอกว่า ไอ้โรคที่เขาลือกัน ถ้ามันมีจริงให้เอา "ใบทับทิม" มาเสกด้วย "นะโมพุทธายะ" ให้มันหาย

    ถ้าหากว่าถ้าป้องกันไม่ให้เกิดในบ้านของตัว ก็เอาใบทับทิมนี่มาเสกด้วย "นะโมพุทธายะ" สักใบ 2 ใบ ใส่ไปในอาหาร คือใส่ไปในข้าวหรือว่าแกงนี่เวลาที่จะต้มจะแกงเท่านี้กินได้ ท่านว่าอย่างนั้นนะ อันนี้ฟังแล้วก็อย่าเพิ่งเชื่อสนิท แล้วก็อย่าเพิ่งไม่เชื่อ ลองทำดูก่อน ใช่ไหม

    นี่มีท่านผู้ใหญ่มาบอกไอ้นี่ก็แก้ได้ ว่า "นะโมพุทธายะ" นี่เขาแก้ของผิดสำแดง แก้ของสิ่งที่มีโทษ แก้หลายอย่าง แม้แต่คนป่วยที่มีทุกขเวทนาหนัก เขาเป่าด้วย "นะโมพุทธายะ" ยังหายป่วย ไอ้ร่างกายที่ปวดแน่น อะไรอย่างนี้นะ ใกล้จะตาย นี่มันปวดหนัก ใช้ "นะโมพุทธายะ" คาถา "นะโมพุทธายะ" นี่เป่าหาย หายป่วยนะ

    อ้อ หายปวด ไม่ใช่หายป่วย ก็ทุกขเวทนาดับลงไปได้ แต่ว่าหายโรคไม่ได้ ใช่ไหม
    นี่บ้านใครมี ต้นทับทิม ก็ระวังใบจะหายก็ลองดูก่อนนะ เพราะว่าตอนจะมานี่เห็นท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งท่านมาบอกว่า ไอ้โรคที่เขาลือกัน และมันเป็นจริง มันเป็นเข้าไปถึง มโนรมย์ และก็ ชัยนาท แล้วนะ โรงพยาบาลมโนรมย์ ก็มี ที่ใกล้ๆวัดและโรงพยาบาลชัยนาทก็มี นี่จะหาว่าเขาลือไม่จริงก็ไม่ได้ นี่ถ้าหากว่ามันเป็นแบบนี้ ท่านผู้ใหญ่ท่านบอกมาก็ลองใช้ดู ลองๆดูนะ

    บอกว่าถ้าจะกันไม่ให้เป็นล่ะก็ เอา "ใบทับทิม" มาสัก 2 ใบก็ได้ เสกด้วย "นะโมพุทธายะ" ให้ใจสบาย ใส่ไปในหม้อแกงหม้อต้มอะไรนี่ แกงต้มไปด้วยเลย อันนี้กินได้ทั้งบ้าน

    และถ้าเป็นขึ้นมาจริงๆ ท่านบอกให้เสก ใบทับทิม สักใบหรือ 2 ใบ กินครั้งละใบ หรือ 2 ใบก็พอ ท่านว่าอย่างนั้น หายไม่หายไม่รับรองนะ ใช่ไหม อ้าวเสร็จแล้ว ต่อไปญาติโยมตั้งใจอุทิศส่วนกุศล



    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 13 หน้า 215-216)


    ไม่ต้องสวดมนต์เลยได้ไหมครับ

    "ที่หลวงพ่อบอกว่าสวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ยังงั้นก็ไม่ต้องสวดมนต์เลยได้ไหมครับ...?"

    สวดมนต์ก็เป็นสรณะอันหนึ่ง การสวดมนต์นี่จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ เป็นเทวดาชั้นยามา ท่านกล่าวสวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน หมายความว่าสวดไม่ต้องมากนัก อิติปิ โส บทเดียวนั่นคุ้มแล้ว

    ห้องต้นสรรเสริฐคุณพระพุทธเจ้า ใช่ไหม ห้องกลางสรรเสริญคุณพระธรรม ห้องท้ายสรรเสริญคุณพระสงฆ์ หมดแค่นี้ ไอ้ว่าบทอื่นว่าไปก็ไปสรรเสริญ 3 อย่างนี่ ฉันเลยไม่เอาเปลือกเอาเนื้ออย่างเดียว ใช่ไหม แต่เดี๋ยวนี้สวดไม่ได้ พอเริ่มจะสวดเปิดเลย พอเริ่มจะสวดปุ๊บไปแล้ว พอเริ่มจะสวดหยุกกึ๊กแล้ว มันชิน

    ถ้าจะสวดให้ได้ทำไง ต้องเริ่มปล่อยให้ใจไปตั้งอยู่สักพักหนึ่งก่อน แล้วถอยหลังมาให้กำลังมันทรงตัวแล้วถอยหลังมานิด ก็ว่า แต่พอว่าไปก็อีกนั่นแหล่ะ ถ้าว่าถึงบทพุทธคุณ พอถึงอิติปิโส ท่านก็มาแล้ว แจ๋ว

    พอถึงสวากขาโต พระธรรม ธัมมานุสสตินี่ นิมิตเป็นดอกมะลิแก้ว เป็นดอกมะลิแก้วใส ไหลจากพระโอษฐ์ หลวงพ่อปานท่านเคยสอนยังงั้น แล้วเป็นยังงั้นจริงๆ พอขึ้นสวากขาโต เป็นดอกมะลิแก้วไหลลงหัว พอขึ้นสุปฏิปันโน พระอริยะมาเต็มพรึ่บ

    ต้องพยายาม ต้องไม่ปล่อยจิตให้มันลึกเกินไป ต้องพยายามดึงไว้แค่อุปจารสมาธิ พอจบเข้าไปเลย ออก พอสวดจบก็พึ้บออกไปแล้ว ไปหาท่าน นั่งคุยตามสบายๆ

    แต่ว่าวิธีการแบบประเภทฉับพลันรีบร้อนนี่ นึกพั้บให้อารมณ์จับทันทีนี่ ต้องฝึกให้คล่อง อย่าไปห่วงว่าภาวนานานดี จิตเข้าถึงฌานเร็วน่ะดี

    การฝึกเข้าฌานนี่เขาต้องฝึกให้ไม่เสียเวลาแม้แต่ 1 วินาที เริ่มจับพั้บนี่ต้องเริ่มไม่สนใจกับลมหายใจเข้าออกเลย ต้องฝึกตัวนี้ เริ่มพั้บจับอารมณ์จับภาพพระเลย ไม่สนใจกับลมหายใจเลย อันนี้ทำบ่อย ๆ จับพั้บเป็นฌาน 4 ทันที

    ไอ้ที่เราต้องเลี้ยงลมหายใจเพราะว่าจิตกำลังมันยังอ่อนอยู่ ใช่ไหม ต้องเลี้ยงลมหายใจให้จิตมันทรงตัว อันนี้ก็จำเป็นเหมือนกัน ก็ต้องฝึกอยู่ 2 อย่าง คือจับลมหายใจไว้ให้จิตมันทรงตัว กับ ไม่สนใจกับลมหายใจเลย

    ถ้าพอไม่สนใจกับลมหายใจเลย มันคล่องตัวแล้วไม่ต้องสนใจจับมันเลย มันจับพั้บให้ได้เลย จับพั้บให้ได้เลย พอจับพั้บอารมณ์เป็นฌาน 4 ทันที ก็เป็น 2 แบบ

    คือว่าถ้าอารมณ์ใจยังอ่อนก็ต้องคุมอารมณ์หายใจ แต่ว่าลมหายใจนี่ถ้าเราคุมไปๆ พอถึงฌาน 4 นี่มันจะไม่รู้สึกว่าเราหายใจ นี่การฝึกไม่สนใจกับลมหายใจมันฝึกตั้งฌาน 4 ทันทีนะ จับตัวปลาย เราลองซ้อมดู

    มันไปไม่ไหวก็มาจับลมหายใจ จับไปจับมาพั้บฉันไม่สนใจลมหายใจ จับภาพพระพุทธเจ้า ก็เราเห็นแล้วใช่ไหม จับตรงนี้เราไม่สนใจกับลมหายใจ และประเดี๋ยวมันจะตก ตกลงมาจับลมหายใจก็ช่างมัน จิตก็จับภาพพระพุทธรูปไว้ ภาพพระพุทธเจ้าอย่าให้เคลื่อน พอสบายดีฉันไม่สนใจแกอีก เล่นขึ้นๆล่องๆแบบนี้ ไม่ช้าอารมณ์จิตมันจะชิน

    พอจับพั้บไม่สนใจกับลมหายใจเลย ไอ้นั่นน่ะพอจับพั้บทีไรเป็นฌาน 4 ทุกที ตัวนี้แหละเราต้องการ ถ้าจิตเป็นแบบนั้น กำลังจิตมันก็เข้มข้นมันตัดกิเลสง่าย ฌาน 4 มันตัดกิเลสได้อย่างง่าย

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 149 กรกฏาคม 2536 หน้า 15-16)


    ความเป็นมาเกี่ยวกับวัดท่าซุง


    วัดท่าซุงนี้เท่าที่ทราบเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว 8 สมัย สมัยพระนารายณ์มหาราชและก็สมัยพระเจ้าอินทราชา

    "พระเจ้าอินทราชา สมัยอยุธยาใช่ไหมครับ"

    อยุธยารัชกาลที่ 3 ไม่เชื่อถามด๊อกเตอร์ซิ เคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว 2 สมัย แล้วเวลานั้นส่วนใหญ่ก็เป็นบ้านไม้ อาคารไม้ มีป่าไม้มาก ท่านมาแสดงตัวให้ปรากฏ รุ่นก่อน 70 องค์เศษ แล้วมารุ่นหลังนี่มาแสดงตัวอีก 1 องค์ ตามที่หลวงพ่อขนมจีนท่านบอกนะ

    ไปถึงวันแรกบอก วัดนี้สร้างก่อนอยุธยา 30 ปี นี่หลวงพ่อขนมจีนท่านเล่าให้ฟังนะ คืนนั้นมียี่เก ฉันไม่ได้ดูยี่เก ฉันคุยกับหลวงพ่อขนมจีน เสียงฟังเพราะดี เพราะเสียงเจ็ก

    "มาสภาพเดิมหรือครับ?"

    มาสภาพเดิม ไม่ใช่มาเป็นเงา เป็นตัวมานั่งคุยบนเตียงเลย เล่าประวัติตั้งแต่ต้นยันปลายเสร็จ พอลงท้ายบอกว่า ไอ้พระชุดนี้คุณอย่าไว้ใจมันนะ มันกินวัด มันขายวัดกิน

    "เป็นพระรุ่นพิเศษเลย"

    รุ่นพิเศษ พระอริยเจ้ารุ่นเทวทัต คือพระอริยเจ้าวัดนั้นมาหมดเมื่อสมัย หลวงพ่อเล่ง หลวงพ่อไล้

    "หลังจากหลวงพ่อขนมจีนมา"

    ก่อนหน้าฉันไปประมาณ 40 ปีก็มีพระองค์หนึ่ง

    เมื่อปีที่แล้วฉันกำลังป่วยอยู่ ท่านมานั่งที่เตียงประมาณสัก 2 ทุ่มนะ อายุประมาณ 10 พรรษา ถามว่า อายุกี่พรรษาแล้วครับ บอก 10 พรรษาครับ

    ถามว่า ท่านเป็นพระชั้นไหน บอก ผมเป็นพระอรหันต์ครับ

    ถาม สมัยไหน บอก สมัยหลวงพ่อเล่ง หลวงพ่อไล้

    ถามหลวงพ่อเล่ง หลวงพ่อไล้เป็นอะไร ท่านบอกตอนจะตายเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน หลังจากนั้นมาก็เป็นภิกขุพานิช

    "หลวงพ่อเล่ง หลวงพ่อไล้สุดท้ายหรือครับ"

    สุดท้าย ฉะนั้นที่นั่นจริงๆเจริญกรรมฐานง่ายนะ ที่ไหนถ้าเคยมีพระอรหันต์ ที่นั่นเจริญกรรมฐานง่าย อย่างที่นี่ (ซอยสายลม) ง่าย เพราะ หลวงพ่อแสง เป็นพระอรหันต์

    "ที่หลวงพ่อเคยบอกว่าสถานที่นี้อดีตเคยเป็นวัด"

    ใช่ๆๆ

    "ฉะนั้นเวลาเจริญกรรมฐามนี่เฉพาะเขตนี้ หลวงพ่อแสงก็มาสงเคราะห์"

    ใช่ๆๆ ไม่ใช่เฉพาะหลวงพ่อแสงนะ อาศัยที่ท่านเป็นอรหันต์ใช่ไหม พระทุกชั้นก็มาช่วยกัน

    "ทีนี้ตอนที่ก่อนที่หลวงพ่อจะไปนั่น สภาพก็โทรมที่สุด"

    ก็ตามที่สมเด็จวัดสามพระยาท่านว่าน่ะ เมื่อก่อนนี้ไม่มีอะไร เดี๋ยวนี้ไม่มีอะไรที่จะไม่มี

    "ตอนจะกลับท่านบอกว่า เออ คุณวีระฉันน่ะต้องขอขอบคุณป้ายวัดด้วยนะ หมายถึงป้ายที่บอกว่าพระเถระเข้าทางนี้น่ะ ท่านไม่เข้าทางนั้นนะ ก็ไม่รู้ความรู้สึกที่พูดวันนั้น ท่านบอกไม่รู้เอาจากไหนมา มาได้ความรู้จากป้ายอันนี้ ต้องขอบคุณป้าย พอเลี้ยวเข้าไปพอเจอะสถานที่ก็เกิดจินตนาการ...".

    "เกี่ยวกับภาพที่ถ่ายหลังปกหนังสือธัมมวิโมกข์ มีประโยชน์มาก คนที่เขาไม่เชื่อว่าเทวดามีจริง ผีสางเทวดามีจริงหรือไม่ พอเรามีหนังสือนี่หลายๆคนเห็นเป็นผลให้คนหลายๆคนเชื่อ"

    ฉันถามเขาแล้วนะ ชุดที่มารำน่ะคณะผ้าป่า ถามว่าเทวดากับนางฟ้าตามปกติไม่แก่ แต่นี่ทำไมจึงมีคนมีอายุมาก เกินกว่าหนุ่มสาว เขาบอกว่าเป็นภาพในสมัยนั้นที่เขามีชีวิตอยู่

    "ตกลงว่าคนพวกนี้อดีตเคยทำบุญแถวๆนั้น"

    ที่นั่น อยู่ที่นั่นน่ะ มาในภาพสมัยนั้น

    "แสดงว่าเป็นเทวดาก็ทำอะไรได้ทุกอย่าง"

    ก็ไม่แน่ อย่างอื่นพอได้ ให้หวยไม่แน่ (หัวเราะ)



    (จาก ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 123 พฤษภาคม 2534 หน้า 21-22)


    ทานบารมีเต็มได้ยังไง


    "ฆราวาสนี่มีทางทำให้ทานบารมีเต็มไหมครับ"

    มี ก็พระพุทธเจ้าท่านเคยเป็นฆราวาสมาก่อน ฆราวาสที่เขาฟังเทศน์จบเดียวเป็นอรหันต์น่ะ เขาเต็มทุกอย่างทั้ง 10 อย่างเต็มหมดแล้ว

    แต่ว่าคำว่าสาวก เขาแปลว่า ผู้รับฟัง ถ้าไม่รับฟังคำสอนนี่บรรลุอรหันต์ไม่ได้ เหมือนกับน้ำที่เต็มตุ่มแล้วแต่เจ้าของไม่รู้จักเปิดฝา

    "ฉะนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุได้อยู่ที่ว่าไม่ได้เปิด"

    ยังไม่ได้ฟัง สาวกภูมิ สาวกะ แปลว่า ฟัง ยังไงล่ะ

    "ทีนี้ว่าจะทำบุญแบบไหนถึงจะไปเจอพระที่เปิดฝาถูกใจและได้ผลเร็ว"

    ก็ทำบุญกับฉันชิ (หัวเราะ) เอาย่ามเปิดไว้เสมอ

    อย่างถามเมื่อกี้น่ะมันเหตุมีผล การรับฟังนี่ต้องเฉพาะบุคคลที่เคยเนื่องกันมา แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าท่านไม่ใช่จะโปรดคนได้ทุกคน สังเกตุไหมว่าเวลาที่จะตรวจอุปนิสัยของสัตว์ ตอนหัวค่ำน่ะตรวจไกลเข้ามาหาใกล้ ถ้าตอนเช้ามืดตรวจใกล้ไปหาไกล หมายความถึงว่าตรวจตั้งแต่ใกล้ที่กุฏิยาวไปทั่วจักรวาล ถ้าไกลเข้าหาใกล้หมายถึงว่าจากจักรวาลไปหากุฏิว่า วันนี้ใครจะบรรลุมรรคผลบ้าง ใครตกในข่ายพระญาณบ้าง ใช่ไหม

    ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรวจอุปนิสัยทุกวัน ต้องพบว่าคนนั้นคนนี้ต้องบรรลุมรรคผลอยู่ที่ไหน ชื่ออะไร บุญเก่าทำอะไรไว้ จะไปพูดว่ายังไงจึงบรรลุมรรคผลนี่ รู้หมด

    แต่ทว่าถ้าตรวจอีกครั้งอีกจุดว่าเราจะไปก่อนเองดีหรือให้ใครไปก่อน คนนี้เคยเนื่องกับเราหรือเปล่า ถ้าเคยเนื่องกับพระองค์ก็โปรดเอง ถ้าไม่เคยเนื่องกับพระองค์พระองค์ก็ทรงดูก่อนว่าพระอยู่กับท่าน มีใครบ้างไหมที่เคยทำบุญร่วมกับคนนี้มาก่อน ถ้ารู้ว่าองค์นั้นเคยทำบุญร่วมกันมาก่อน ใช้องค์นั้นไปก่อน เขาจะพูดกันรู้เรื่องง่าย

    ในเมื่อองค์นั้นไปแล้ว เรียกว่าทะเลาะกันก่อน ไม่ใช่ดีกันนะ โต้กันไปเถียงกันมา เถียงไปเถียงมา แพ้ แพ้พระใช่ไหม ทีนี้พระพุทธจ้าก็เสด็จเหาะไปเลย เหาะไปเดี๋ยวนั้นเลย เหาะไปแล้วก็ลงไปนั่งข้างๆ พระองค์นั้นก็เข้าไปกราบ ว่านี่คืออาจารย์ของเรา พราหมณ์นั้นเลยนึกว่าลูกศิษย์เก่งขนาดนี้ อาจารย์จะเก่งมากกว่านี้เลยรับฟังเทศน์ พอเทศน์จบก็เป็นพระอรหันต์

    ฉะนั้นการรับฟังการแนะนำก็เหมือนกัน เวลานี้เวลานั้นก็เหมือนกัน คนต้องเนื่องกันมาในชาติก่อน ถ้าไม่เนื่องกันมาไม่มีทางรู้เรื่อง

    "ยังงั้นก็แสดงว่าลูกหลานทั้งหมดที่นั่งกันประจ๋อประแจ๋นี่ ก็ทั้งเนื่องทั้งเกี่ยวกันมานะครับ"

    ก็ไม่แน่ประเภทลองมาดูก็มี รู้ทุกวันแหละ ใครนั่งตรงไหนก็รู้หมด

    "อยากจะขอคำแนะนำในการวางกำลังใจเวลาทำบุญทุกครั้งครับ"

    ก็ตั้งใจไว้ อั้ว...จะทำบุญๆ

    "นี่หลวงพ่อพูดพระไตรปิฏกฉบับจีน"

    ใช่ๆๆ มันใกล้ประเทศไทยประเทศจีนมันติดกัน

    "อ๋อ..ตั้งใจล่วงหน้าไว้ก่อนว่าจะทำๆๆ"

    ทำด้วยจิตบริสุทธิ์อานิสงส์มันสูง ทำ ทำด้วยความจำใจได้เหมือนกันแต่ผลมันต่างกัน บุญเท่ากันเป็นเทวดาได้เหมือนกัน เป็นนางฟ้าได้เหมือนกัน แต่หน้ายู่ ความเป็นทิพย์เศร้าหมอง ไม่เหมือนกัน มันอยู่ที่จิตนะ

    "หลวงพ่อคะ ที่หลวงพ่อบอกว่าที่สมเด็จฯบอกว่า จะเอาของทั้งหลายทั้งโลกทำให้บารมีเต็ม แสดงว่าการทำบารมีให้เต็มนี่ขึ้นอยู่กับของที่ถวายใช่ไหมคะ"

    ไม่ใช่ แต่ว่ามันขึ้นกับของเหมือนกัน แต่ของก็เนื่องด้วยกำลังใจ ถ้าไม่มีของให้ก็ไม่ถือว่าทานบารมี แต่ของไม่เต็มโลก

    ให้กำลังใจมันเต็ม จิตพร้อมที่จะให้อยู่เสมอ

    แต่จิตไม่คิดจะขโมยใคร ไม่อยากจะลักของใคร

    "คือว่าเวลาทำบุญ อย่างเราทำบุญด้วยปัญญาว่า ทำบุญให้ฉลาดให้บารมีเพิ่มพูนด้วย"

    คำว่าบุญ เขาแปลว่าดี ทำบุญคือทำความดี ใช่ไหม บาป เขาแปลว่าชั่ว ทำบาป คือทำความชั่ว

    "ทุกวันนี้คะ ศีลก็รักษา บุญก็ทำ แต่ทำไมยังไม่ก้าวหน้าเรื่องธรรมะเลย พอหลวงพ่อไม่อยู่ก็ฟุ้งซ่าน"

    ก็ก้าวหน้าทุกวันหมดเรื่องหมดราว ใครเขาถอยหลัง ไม่มีใครเขาเดินถอยหลัง บางครั้งบางคราวนานๆ จะเดินถอยหลังสักครั้งหนึ่ง มันก้าวหน้าทุกวันเรื่อยๆ มันแก่ทุกวัน

    "พอหลวงพ่อไม่อยู่ นิวรณ์ก็ครอบ เป็นคนขี้โมโห"

    ดี ไอ้นั่นดีมาก เป็นการพิสูจน์กำลังของตัว ต้องมีประสบการณ์ เขาทรายเมื่อคืนนี้ถ้าไม่ชกกันไม่รู้ว่าเก่ง เห็นไหม

    "อ้อ ถ้าไม่ขึ้นซ้อมก็ไม่รู้"

    ใช่ ขึ้นซ้อมก็ยังไม่แน่ต้องขึ้นชกจริง นี่กรรมเก่าเข้ามาสนองจริงๆ เราแพ้หรือชนะ มันก็ต้องชนะบ้างแพ้บ้างเป็นของธรรมดาเพราะยังไม่หมดกิเลส

    "แล้วประเภทแพ้ตลอดล่ะครับ"

    แพ้ตลอดน่ะดีมาก อ้าว..ไม่ต้องนับไงเล่า (หัวเราะ) พอขึ้นไปก็แพ้เลย ไม่ต้องเสียเวลาซ้อม

    "ข้อเท็จจริงก็มีอยู่ว่าการปฏิบัติยังขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง จะได้พัฒนาขึ้นบ้างคะ"

    เอายังงี้ก็แล้วกัน ขาดตกบกพร่องทั้งหมด ต้องใช้ค่าครูแพงหน่อย (หัวเราะ)

    "การปฏิบัตินี่บางทีแพ้ บางทีก็ชนะบ้างยังไม่เป็น"

    ก็เป็นของธรรมดา ถ้ายังไม่สิ้นกิเลสเพียงใด คำว่าแพ้ ยังปรากฏ ไอ้คำว่าสิ้นกิเลสนั่นหมายถึงว่า เอาสังโยชน์ 10 เข้ามาวัด ไม่ใช่เดาส่งเดชกัน

    การปฏิบัติถ้าไม่เข้าสังโยชน์ 10 ก็ไม่ไหว ทำยังไงก็ไม่ไปไหน นั่งสมาธิกันเฉื่อยไป กูเห็นนั่นกูเห็นนี่ กูเห็นนี่กูเห็นนั่น ไม่ได้เรื่อง

    "ที่เป็นอยู่ก็รักษาศีล สมาธิไม่ค่อยได้นั่ง ถ้าเกิดตายไป จะไปนิพพานได้ไหมคะ?

    ศีล สมาธิ ปัญญา แต่มันก็ไม่แน่ลูก การใช้ปัญญามันใช้ไม่มาก เราจะรู้ได้เมื่อเวลาเราจะตาย เราฟังเรื่องนิทานเป็นปกติ

    "ทำบุญทุกครั้งก็อธิษฐานว่า ขอไปนิพพานๆๆ"

    การทำบุญกับพระ การบูชาพระ ก็ขออธิษฐานว่า ไปนิพพานชาตินี้ ตายเมื่อไหร่ขอไปนิพพาน ทีนี้ถ้าเวลาเราจะตายจริงๆ มันเกิดเบื่อร่างกายขึ้นมา เวลานั้นจิตหวังนิพพาน มันก็ไปนิพพานทันที

    "อ๋อ...ทุกคนเวลาป่วยจัดๆใกล้จะตาย มันก็ไม่อยากได้อะไรอีก"


    ใช่ มันไม่มี จะได้มันป่วยแล้วอยากไปโอ๊ยๆๆๆ อยากรวยใหญ่น่ะ (หัวเราะ)


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 123 เดือน พฤษภาคม 2534 หน้า 23-25)



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2024
  2. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    119
    ค่าพลัง:
    +225,741
    ตั้งศาลพระภูมิผิดทิศ

    ท่านเจ้าคุณฯ ถามว่า เอ เดือนที่แล้วเล่าเรื่องปั๊มน้ำมันหรือยังนะ คือฉันกลับไปนครสวรรค์ ไปที่ข้างบ้าน คือว่าผ่านไปก็เป็นคนบ้านเดียวกันพวกกัน บอก เอ๊ะ ตั้งปั๊มน้ำมันมันเป็นยังไงวะ ปั๊มน้ำมันใหญ่นะ เห็นมันหมองๆมอมๆอยู่ ทำไมมันเป็นอย่างนั้น

    พอเห็นอย่างนั้นก็ถามเขา บอก เฮ้ย แกตั้งศาลพระภูมิไปทางไหนวะ บอก อย่าตั้งศาลพระภูมิไปทางทิศตะวันตกนะ ฉิบหายตายโหงนะ

    เราก็บอกอย่างนั้น ไอ้คนที่เป็นพวกๆกันก็บอก หลวงพี่ จริงๆเลย มันก็คิด ทิศไหนหนา มันก็นั่งไล่ทิศ โอ้โฮ ทิศตะวันตกจริงๆ พอรู้ว่าทิศตะวันตกจริงๆ มันก็บอก ที่หลวงพี่พูดนี่ตรงเลย
    เมื่อไม่กี่วันสักเดือนที่แล้วนี่ ไอ้เด็กปั๊มทะเลาะกับคนขับรถเป็ปซี่ เมาหรือไงไม่รู้ รถเป็ปซี่ชนปั๊มทะลุเลย พอชนปั๊มทะลุไอ้เด็กปั๊มก็ชักปืนมายิงเป้ง ยิง 2 ทีก็ทะลุผิวเลย เข้าไปในเนื้อ ตาย ฉิบหายตายโหงจริงๆ เลย และอีกไม่กี่วัน พวกในปั๊มขับรถไปชนคนตายอีก

    นี่จำไว้เรื่องตั้งศาลพระภูมิ ถ้าไม่จำเป็นระวัง ตั้งทางทิศตะวันตกน่ะนะ ตำราบอกว่าฉิบหายตายโหงนี่
    เราก็มาวิเคราะห์ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เคยได้ยินพระท่านบอกว่า บุญไม่พอกับเทวดารักษาจุดนี้ บุญไม่พอกัน

    ตั้งศาลนี่ไม่ใช่หันหน้าไปทางทิศทางไหนนะ บางคนบอกตั้งทิศไหนก็ได้แต่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ออกเฉียงเหนือ มันอย่างนั้นเสีย


    วางศาล (ตั้งเสา) อยู่ในทิศตะวันตกนี่ห้าม (ทิศตะวันตก)เป็นศาลของวัด สำหรับวัด


    (จากคอลัมภ์ "ท่านเจ้าคุณฯสนทนา" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 472 เดือนกรกฏาคม 2563 หน้า 10-11)


    บนอย่างไร ให้แก้อย่างนั้น


    ทุกครั้งที่ดิฉันได้พบเห็นหลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล ไม่ว่าจะอยู่ในวัดหรือที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม จ.นครราชสีมา ซึ่งท่านจะเดินทางมาสอนกรรมฐานและรับสังฆทานทุกๆ 2 เดือนก็ตาม จะมีลูกศิษย์พูดคุยสนทนาธรรมกับท่านเสมอ ท่านไม่ถือตัว พยายามพูดคุยกับลูกศิษย์ทุกกลุ่มทุกคนอย่างเป็นกันเอง

    แต่สำหรับตัวดิฉันเองแล้ว ไม่กล้าแม้แต่จะมองหน้าท่าน รู้สึกเกรงในบารมีของท่านเหลือเกิน เวลาถวายสังฆทานแต่ละคราว ก็ถวายแล้วรีบถอยออกมา

    มีอยู่คราวหนึ่ง ทางบ้านดิฉันประสบปัญหาติดขัดบางประการในด้านการค้าจึงปรึกษากัน บูชาพระแล้วขอบารมีหลวงพ่อ และตั้งโต๊ะบนต่อองค์กรมหลวงชุมพร ขอให้ท่านช่วย โดยบนจะถวายสังฆทานชุดละ 100 บาททุกๆครั้ง หากปัญหาที่มีอยู่คลี่คลายลงเรื่อยๆ
    ต่อมาไม่นานนัก การค้าก็ค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับขึ้นมา ดิฉันก็จดๆไว้ นับได้สังฆทานประมาณ 7-8 ถัง

    พอมาถึงโคราชก็ตั้งใจจะถวายแก้บนคราวนี้ล่ะ พอถึงเวลาจะถวายดิฉันก็เกิดแย้งกันกับคุณแม่ คืออยากถวายชุดใหญ่ 2,000 บาทดีกว่า อัพเกรดดี อย่างนี้องค์เสด็จเตี่ยท่านต้องทรงโปรดเป็นแน่

    แต่คุณแม่บอกไม่ได้ๆ แม่เคยอ่านเจอในธัมมวิโมกข์ เราจะเปลี่ยนรายการเองไม่ได้ ต้องถวายชุดละ 100 จำนวน 8 ชุด ดิฉันก็พยายามบอกคุณแม่ว่า ยังไงชุดละสองพันต้องดีกว่าแน่นอน นั่งถกกันอยู่ อึดอัดน่าดู จะถวายเล็กหรือใหญ่ดี

    ช่วงนั้นเอง หลวงพ่อท่านเจ้าคุณฯ ท่านว่างจากคนถามพอดี ดิฉันรวบรวมความกล้า เข้าไปกราบ

    ท่านมองหน้าแล้วตอบว่า

    "ถวายชุดใหญ่ไม่ได้นะ เทวดานี่ต้องตรงประเด็น ตอนบนบอกอย่าง สำเร็จจะถวายอีกอย่าง อย่างนี้ไม่ได้"

    แล้วท่านก็ได้ยกตัวอย่างหนึ่ง เล่าว่ามีโยมไปบนพระที่วัดไว้ว่า ถ้าสำเร็จจะบวชเณรให้ พอได้แล้ว โยมคนนั้นเข้าไปกราบเรียนถามหลวงพ่อเราว่า จะแก้บนเป็นบวชพระให้แทน ดีกว่า จะได้ไหม

    หลวงพ่อตอบว่า ไม่ได้ บนอย่างไร ให้แก้อย่างนั้น

    หลวงพ่อเจ้าคุณฯ จึงถามหลวงพ่อเรา ภายหลังจากโยมคนนั้นกลับแล้วว่า ทำไมจึงแก้บนในสิ่งที่ดีกว่าไม่ได้

    หลวงพ่อตอบว่า ขณะที่บน เทวดาท่านทราบว่าเราจะทำสิ่งนี้ให้ ท่านพอใจ และต้องการสิ่งๆนี้ ท่านจึงสงเคราะห์ เวลาสำเร็จแล้ว เราต้องถวายให้ตรงกับสิ่งที่ท่านต้องการ เพราะถ้าไม่ตรงกับที่องค์นี้ต้องการ ท่านก็ไม่ช่วย เป็นองค์อื่นมาช่วยแทน ฉะนั้น ต้องตรงประเด็น

    นับเป็นครั้งเดียวที่ดิฉันได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากหลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล เพราะดิฉันไม่มั่นใจถ้าจะถามจากคนอื่น ทำให้หลังจากนั้นมา จะทำอะไรจะขออะไรเมื่อสำเร็จแล้วต้องถวายตามที่บนตรงประเด็นตลอดค่ะ

    นับเป็นเมตตาที่ท่านสงเคราะห์ส่วนตัวโดยตรงจริงๆ สาธุ


    จากลูกจิ๋ว ศศิมา เปี่ยมคุณากร จ.ขอนแก่น


    (คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ ลูกศิษย์บันทึก พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล โดย ศศิมา เปี่ยมคุณากร หน้า 239)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2024
  3. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    119
    ค่าพลัง:
    +225,741
    สุกรมัทวะ คือ อะไร


    "พระพุทธเจ้าท่านฉันเนื้อ" ฉันทุกอย่าง "ตามมีตามเกิด" ก็ตามมีตามเกิดซิ

    แล้วอาหารมื้อสุดท้ายชื่อ "สุกรมัทวะ" คือ อะไรกันแน่ เห็นคนยังถกเถียงกันอยู่

    ก็ไอ้คนมันอยากเถียง เขาบอกว่าหมูก็หมูหมดเรื่อง เสือกอวดโง่ไปเอง ก็ดันเถียงกันอยู่นั่นแหละ ถ้าอยากจะรู้จริงๆก็ทำทิพจักขุญาณให้ได้ให้เกิดขึ้น ทำปุพเพนิวาสานุสสติญาณให้เกิดขึ้น ทำอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณให้เกิดขึ้น ก็หมดเรื่อง ไม่ใช่ไปนั่งเถียงกัน เถียงกันไปเมื่อไหร่จะจบ ไอ้คนถ้าไม่เคยมาวัดท่าซุง แล้วก็เถียงกันอยู่ที่บ้าน มันจะรู้หรือว่าวัดท่าซุงมีรูปร่างลักษณะเป็นยังไง ใช่ไหม

    "เขาว่าเป็นเห็ด"

    เปล่า ใครจะเถียงกันก็เถียงกันไป ฉันเนื้อสุกรธรรมดา ไม่ใช่เห็ดเหิดอะไรหรอก

    ฉันเคยอ่านหนังสือแล้ว ไอ้พวกนี้บ้าไม่จบ ของเขามีให้พิสูจน์ในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "อุทุมพริกสูตร"

    ถ้าหากว่า...เอางี้ง่ายๆ เราฝึกทิพจักขุญาณให้เกิดขึ้น มันก็จะได้จุตูปปาตญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ได้ตัวนี้ตัวเดียวมันก็ได้หมด

    เมื่อฝึกตัวนี้ให้เกิดขึ้น เราก็ไปดูที่พระพุทธเจ้าท่านฉันวันนั้นน่ะมันเห็ดหรือว่ามันหมูแท้ ใช่ไหม..นี่ ที่เราไม่รู้ว่าหมูแท้ คุณดันไปแก้กันเอง ดันเถียงกันเองเขาว่าหมูแท้กันมานานแล้ว เพิ่งจะมามีปัจจุบันนี่แหละ เมื่อไม่กี่ปีนี่ ดันเถียงกันได้

    ก็ที่เนื้อสุกรอ่อนที่ไม่เหมาะแก่พระทั้งหลายในกาลนั้น ก็เพราะว่าเทวดาเอาของทิพย์โปรยลงมา ไอ้ของทิพย์นี่ไฟธาตุของพระอื่นย่อยไม่ได้ ย่อยได้แต่พระพุทธเจ้า อาหารสองวาระมันมีค่าเท่ากัน อย่างอาหารวันที่จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณของนางสุชาดา กับอาหารวันนิพพานที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

    "อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ต่อไปภายหลังเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว คนจะจ้วงจาบกล่าววาจาบริภาษนายจุลณฑ์ หาว่าถวายอาหารแก่ตถาคต แล้วตถาคตตาย จงบอกเขา บอกว่าอาหารสองวาระนี่มีอานิสงส์เท่ากัน มีอานิสงส์เลิศคือ

    ประการที่หนึ่ง อาหารก่อนที่จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ คืออาหารอันนั้นเป็นเหตุให้บรรลุพระโพธิญาณ และ

    ประการที่สองอาหารวันที่จะนิพพาน เป็นอาหารที่มีอานิสงส์เลิศ ประเสริฐที่สุด อานิสงส์มาก"


    แต่ว่าเมื่อท่านบอกว่านายจุลณฑ์เอาอาหารผสมเนื้อสุกรอ่อนมาถวายตถาคตแต่ผู้เดียว ทั้งนี้เพราะว่าอาหารชุดนี้เขาทำดีเป็นพิเศษ แต่เทวดาเอาของทิพย์โปรยลงมาด้วย ถ้าพระอื่นฉันตายหมด เมื่อฉันเสร็จท่านก็สั่งฝัง ห้ามคนอื่นกินต่อไปอีก

    แต่ว่าก็ดีเหมือนกันนะ ถ้าพระฉันกับข้าวนายจุณฑ์ไปแล้ว ก็เป็นโรคขันธิกาพาธ ถ่ายเป็นเลือดสดๆ ไอ้ร่างกายมันจะพังซะอย่าง ก็หมดเรื่องกันไป


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 159 พฤษภาคม 2537 หน้า 20-21)


    คนถวายบุญสังฆทานถึงนิพพานได้ ผู้รับบุญนั้นถึงนิพพานได้เหมือนกัน


    ผู้ถาม : น้องชายประสบอุบัติเหตุรถชนตายเมื่อวันพุธ ฝากเพื่อนมาถวายสังฆทาน 1 ครั้ง คนนั่งทางในเขาบอกว่า "ดี ได้รับ" เลยมาถวายอีก 3 ครั้ง

    อยากจะทราบว่า 1 ครั้งแรกกับ 3 ครั้งหลังนี่เขาจะได้รับสมบูรณ์แบบหรือเปล่าเจ้าค่ะ?

    หลวงพ่อ : ถ้าเขาถวายครั้งแรกเขาได้รับใช่ไหม ถ้าถวายครั้งหลังก็เพิ่มความดีซิหนักไปอีกตั้ง 2-3 เท่า หนักดี คนนี้ก็เลยต้องลืมนรกไปเลย

    ถ้าเผอิญพี่นิยมนิพพาน พยายามอุทิศส่วนกุศลให้แกเสมอๆนะ ถ้าพี่ไปถึงไหนได้ น้องที่ตายก็ไปถึงที่นั่นได้ เพราะเป็นปัตตานุโมทนามัย

    ถ้าพี่สาวมีกำลังไปนิพพานได้ น้องชายก็มีกำลังไปถึงนิพพานเหมือนกัน นี่หลายคนแล้วนะ ของฉันเจอมาเยอะเลย

    ไอ้ตกน้ำตายบ้าง อะไรอีก อีโล้งโต๊งแล้งอยู่นี่ บางทีมาเดินอีโล๊งโต๊งแล้งอยู่นะ สมัยหนุ่มๆ ถามว่าเป็นอะไรตาย บอกว่าเป็นไอ้นั่นตาย ไอ้นี่ตาย บอกเราก็อุทิศส่วนกุศลให้ เอ๊ะ...ไอ้เราถึงไหนหมอก็ถึงนั่น พอเราไปถึงไอ้จิตใจถึงนิพพานได้ ไอ้หมอนั่นเลยไปนั่งอยู่นิพพานเลยเสร็จ เดี๋ยวนี้มันไปปร๋ออยู่นิพพาน เราแย่ปวดท้องขี้ปวดท้องเยี่ยวอยู่นี่นะ หมอนั่นเลิกแล้ว

    ผู้ถาม : อย่างนี้ก็หมายความว่า จะตายโหงตายอะไรก็ได้

    หลวงพ่อ : เหมือนกัน ถ้าเขาโมทนาได้นะ

    ถ้าหากว่าผู้ให้มีกำลังถึงไหนพยายามให้เขาไปเรื่อยๆนะ ผู้รับจะมีกำลังถึงนั่นเหมือนกัน


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 145 เดือนมีนาคม 2536 หน้า 64-65)


    การปฏิบัติธรรมของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

    ในขณะที่สนทนาปราศรัยกันในด้านธรรมะจึงได้ถามว่า

    พระมหาบพิตรเอาเวลาที่ไหนมาเจริญพระกรรมฐาน วันทั้งวันไม่มีเวลาพัก กลางคืนก็ดึกอย่างนี้

    พระองค์ก็ตรัสว่า ปกติมันก็ดึกอย่างนี้เสมอแล้วก็เหนื่อยอย่างนี้ทุกวัน เวลาจะเซ็นหนังสือก็ใช้เวลา 6 ทุ่มเป็นเวลาเซ็นหนังสือ ถ้าเซ็นหนังสือเสร็จก็ใช้เวลาตีหนึ่งบ้าง ตีสองบ้างเจริญพระกรรมฐาน เป็นอันว่าการเจริญกรรมฐานของพระองค์ใช้เวลาดึกมาก และเป็นเวลาใกล้สว่างจึงได้เสด็จบรรทม

    การเจริญกรรมฐานของพระองค์เมื่อได้ทูลถามแล้วก็ตรัสว่า ผมใช้เวลาอย่างนี้ เวลาที่ต้องการจิตสงัดผมตั้งเวลาด้วยการฟังเสียงเทปปิด คือเทปที่เปิดไปไม่มีเสียงเปิดหนึ่งหน้าเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง เสียงเทปดังแกรกก็ทราบว่าเวลานี้ครึ่งชั่วโมงแล้ว
    ถ้าต้องการหนึ่งชั่วโมงก็ใช้เทปเส้นยาวให้ได้เวลาหนึ่งชั่วโมง หรือเวลาสองชั่วโมงก็ใช้เทป 2 หน้าบ้าง เทปเส้นยาวถึง 2 ชั่วโมงบ้าง เมื่อได้ยินเสียงเทปปิดดังแกร๊กก็ได้ทราบว่าเวลานี้ถึงเวลาที่จะพัก

    แต่ทว่าในเวลาที่พระองค์ทรงเจริญสมาธิก็ดี ใช้ปัญญาพิจารณาพระกรรมฐานในด้านวิปัสสนาหรือในด้านสมถะก็ดี พระองค์สามารถควบคุมกำลังจิตของพระองค์ได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการทำฌานมีความคล่องแคล่วมาก คือคล่องจนกระทั่งการตั้งเวลาไม่ต้องใช้สัญญาณ ตั้งใจว่าเข้าสมาธิเวลานี้จะออกสมาธิเวลาเท่าใด ก็สามารถออกได้ตรงเวลาตามพระราชประสงค์

    อันนี้เป็นจริยาวัตรอันหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความสนพระทัยในด้านเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าหากว่าบรรดาญาติโยมทั้งหลายจะถามว่าพระองค์ศึกษาจากใคร พระองค์ไหนเป็นอาจารย์ของพระองค์

    ตอนนี้พระองค์เคยตรัสให้ทราบตอนที่พบกันเมื่อปี พ.ศ. 2518 ที่ จ.สงขลา ตอนนั้นพระองค์ตรัสว่าการศึกษาของพระองค์เอาจากทุกๆด้านและอาจารย์ทุกองค์
    คือว่าอาจารย์แต่ละองค์ก็ตามที่ศึกษามาก็ต้องศึกษาจากความรู้ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเหมือนกัน

    การทำอย่างนี้บรรดาท่านทั้งหลายเป็นการถูกต้อง จงอย่าถือว่าอาจารย์ไหนดีเสียแต่ผู้เดียว จงเลือกสรรเอาแต่เพียงว่าอาจารย์ทุกอาจารย์มีความรู้ดีมีความสามารถดีเหมือนกัน แต่ทว่าความรู้ความสามารถ หรือวิชาวิทยาการที่ท่านให้เราส่วนไหนที่เราพอใจถูกอัธยาศัยของเราจุดไหน เราปฏิบัติตามนั้น นี่ประการหนึ่ง

    อีกประการหนึ่งพระองค์ตรัสว่าเวลาเดินที่เสด็จพระราชดำเนิน เรียกว่าเดินเล่นข้างๆบริเวณพระราชฐาน เวลาจะเดินไปพระองค์ก็ทรงเปิดเทปเจริญพระกรรมฐาน ฟังไปด้วย ถ้าต้องการจะเดินครึ่งชั่วโมงก็ฟังหน้าเดียว ต้องการเดินหนึ่งชั่วโมงก็ฟังสองหน้า ต้องการเดินสองชั่วโมงก็ฟังเทป 4 หน้าแล้วก็คิดตามไปด้วย

    ในยามว่างจากภารกิจพระองค์ใช้เทปธรรมะที่ได้ไปจากอาจารย์ต่างๆฟังอยู่เสมอไม่ยอมให้จิตว่างจากธรรม

    นี่เป็นปฏิปทาอันหนึ่งที่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจะมีความหวังในการเจริญพระกรรมฐานจะให้มีผล ถ้าหากว่านำเอาพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้

    อาตมาเห็นว่ามีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เสด็จบรรทมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระบรมราชินีนาถก็ดี
    ทั้ง 2 พระองค์นี้เวลายามว่างข้าราชบริพารบอกว่าจะเดินผ่านห้องของทั้ง 2 พระองค์แล้วจะได้ยินเสียงเทปธรรมะอยู่ตลอดวัน เว้นไว้แต่เวลานั้นไม่มียามว่างมีพระราชภารกิจอื่นก็ต้องงดการฟังเทป

    และอีกจุดหนึ่งเวลาที่จะเสด็จบรรทมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระบรมราชินีนาถก็ดี ทรงฟังเทปจนกว่าจะหลับไป สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า บางคราวผมปล่อยให้หลับไปตามเสียง แต่บางคราวผมก็บังคับไม่ให้หลับมันก็ไม่หลับ ตั้งใจว่าจะฟัง 2 หน้าจึงจะหลับ พอฟัง 2 หน้าครบก็หลับ

    บางคราวก็ตั้งใจว่าจะฟัง 4 หน้าก็บังคับไม่ให้มันหลับ ฟัง 4 หน้าจบแล้วก็หลับ บางคราวทดลองดูว่าฟังเพียงครึ่งหน้าหลับ ตั้งใจไว้อย่างนั้น พอฟังถึงครึ่งหน้าก็หลับทันที จริยาอย่างนี้ชื่อว่าน้ำพระทัยของพระองค์ตกอยู่ในกระแสของธรรมตลอดเวลา


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 112 เดือนมิถุนายน 2533 หน้า 30-32)

    ขาดอารมณ์ตัดสินใจ

    คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องปฏิบัติเลยอรหันต์ขึ้นมา อย่าลืมอรหันต์สาวกนี่ พระสาวกปกติบำเพ็ญบารมีอสงไขยกับแสนกัปเท่านั้นนะ ใช่ไหม

    พระอัครสาวกกับพระปัจเจกพุทธเจ้านี่ 2 อสงไขยกับแสนกัปเท่านั้น พระพุทธเจ้าปัญญาธิกะ 4 อสงไขยกับแสนกัป

    ถ้าจิตของเขาถึงปรมัตถบารมีเขาเลยอสงไขยสองอสงไขยมาแล้ว ใช่ไหม ต้องอสงไขยที่ 3 หรือที่ 4 จึงจะเป็นปรมัตถบารมี ต้องอสงไขยที่ 4

    อสงไขยที่ 4 นี่ก็ตีกินเข้าไปกว้างแล้วจึงจะเป็นปรมัตถบารมี ต้องเกิดอีก 10 ชาติ ใช่ไหม
    พระโพธิสัตว์ก็เหมือนพวกเรียนวิชาครู เรียนมาเพื่อเป็นครู จะต้องเข้มแข็ง ถ้าไปโดนศรัทธาธิกะต้องหวด 8 อสงไขย ถ้าวิริยาธิกะ 16 อสงไขย ฉันนี่วิริยาธิกะ ทำงานทุกอย่างสบายไม่มี

    สาวกภูมิก็พุ่งจริตอย่างเดียว แต่สาวกภูมิสำหรับพวกฉันนี่ เป็นวิริยาธิกะหมด พวกตามเป็นวิริยาธิกะ

    นี้พวกเราที่นั่งๆอยู่นี่ทั้งหมด ท่านถึงพูดได้ว่าไปหมด เพราะกำลังเลย กำลังนี่เลยแล้ว แต่ว่าจุดใดจุดหนึ่งที่จะเข้าถึงมันยังขาดอยู่นิดเดียว เพราะอารมณ์ไม่ถึง ทุกอย่างมันเลยหมด มันเต็มหมด

    แต่ไอ้คนที่ไม่ได้บวชน่ะขาดวันเดียว ใช่ไหม อายุตั้ง 50 ปี มันยังไม่ได้บวช เพราะอะไร ขาดวันบวชวันเดียว ฮึ..ไอ้ตัวตัดสินจะบวชนี่ (หัวเราะ) คุณถามว่าขาดกี่วัน เหลือกี่วัน บอกขาดอยู่วันเดียว วันไหน วันบวช (หัวเราะ) อยู่มาตั้ง 50 ปี เขาบวช 20 ใช่ไหม เออ..ขาดวันเดียว

    อย่างพวกเรานี่ขาดวันเดียว คือขาดอารมณ์ตัดสิน ทำไมจึงขาดอารมณ์ตัดสินใจ ขาดเพราะว่าอารมณ์เวลานั้นมันยังไม่ถึง เพราะที่ผ่านมานี่ การรบก็ดี การบริหารก็ดี บริหารครอบครัว มันก็กรรมบังอยู่ หนุนอยู่ บังอยู่

    พอถึงจุดนั้นพั๊บตัด 2 เดือนมันหลุดเลย ง่ายนิดเดียว นี้เป็นของยาก แต่ฉันรู้ว่ามันง่าย ฉันรู้แล้ว


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 156 กุมภาพันธ์ 2537 หน้า 13-14)


    กว่าจะเข้าถึงปรมัตถบารมี


    นี่เราต้องฉลาดมาเยอะ ชาตินี้ยอมโง่ชาติสุดท้าย มันเพิ่งโง่ชาตินี้ ทุกชาติฉลาดมาทุกชาติ รู้หมดนรกมีกี่ขุม ตายจากคนแล้วไปแสวงหาความสุขในนรกทุกขุม เราต้องเป็นคนฉลาด นายนิริยบาลนี่ไม่สามารถนอนหลับได้ กลัวเราหนี เราเก่งมาก แต่ขอเลิกเก่งละ ไม่เอาละ

    นี่กว่าจะเข้าถึงมุมนี่ได้ มันแสนยาก ถ้าจะถามว่าเคยพบพระพุทธเจ้ามากี่องค์ ก็ใช้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ถ้าใช้ของเราเองอาจจะผิด ถ้าขึ้นไปถึงนิพพานได้ไปถามพระพุทธเจ้า กราบท่านด้วยความเคารพ ถามว่า ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมาชาตินี้กว่าจะได้พบความดีได้ พบพระพุทธเจ้ามากี่องค์ ท่านจะบอก แล้วขอพบ เราจะพบได้ทันที อันนี้ก็ของไม่ยาก

    กว่าจะรู้ได้ใช้เวลามาก นรกมีกี่ขุมๆ รู้หมด มันร้อนขนาดไหน มันเจ็บขนาดไหนรู้หมด ฉลาดจริงๆมันต้องพิสูจน์ พระพุทธเจ้าบอกนรกมีทุกข์มันร้อน เราก็ไม่แน่ใจ มันต้องโดดไปดูก่อน โดดไปเดี๋ยวเดียว ไม่แน่ต้องอยู่นานๆ อาจจะไม่ร้อนก็ได้ ต้องอยู่จนจบเกณฑ์ของเขา มันต้องอย่างนั้น แต่ก็ยังโง่อยู่ 3 จุด ขุมที่ 7 ขุมที่ 8 กับโลกันต์ไม่ได้ไป แต่ไม่ขอฉลาดแล้วพอแล้ว คือว่าไม่ยอมฉลาด ไม่ขอศึกษาต่อไป

    เราก็ต้องภูมิใจในความดีของเรา พวกเรากว่าจะรู้สึกว่าการเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ กว่าจะรู้จริงๆใช้เวลาเท่าใด การสะสมความดี ความดีนี่มันไม่ได้ทิ้งจากตัวเรา คือเราทำบุญวันนี้ พรุ่งนี้เราไปทำบาป บุญไม่หาย บุญมันก็อยู่ส่วนบุญ บาปมันก็อยู่ส่วนบาป มันประจำอยู่ในอารมณ์ของใจ

    ทีนี้การทำทุกครั้งบุญก็สั่งสมตัวทุกๆครั้งที่เราทำ ก็สั่งสมมากขึ้น ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าบำเพ็ญบารมี คือต้องบารมีเต็ม คือชาติเดียวนี่มันเต็มไม่ได้ ต้องสั่งสมกับมาบุญเก่าสนอง คือเป็นเครื่องรองรับกันเรื่อยๆ แต่ว่าบังเอิญชาติไหนก่อนจะตายจิตใจเศร้าหมองก็โดดไปนรกก่อนแล้วค่อยขึ้นสวรรค์ ถ้าชาติไหนจิตใจผ่องใสเวลาจะตายจิตเป็นกุศลก็ไปสวรรค์ก่อน ก็วิ่งกันไปวิ่งกันมาและจนกว่าจะเข้าถึงจุด จุดจริงๆก็คือปรมัตถบารมีเข้มข้น

    ถ้าถึงปรมัตถบารมีเข้มข้น มันต้องหลายชาตินะ ถ้าเริ่มเข้าถึงปรมัตถบารมีชาตินั้นละไปนิพพานไม่ได้หรอก บารมีมี 10 ทุกอย่างต้องเข้มหมด ถ้าเข้าถึงปรมัตถบารมีเข้มข้น ถ้าเต็มจริงก็ไปนิพพานชาตินั้น เข้มข้นยังไม่เต็มเปี่ยมสะอาดยังไม่หมด ตอนสะอาดยังไม่หมดก็ยังสร้างความชั่วคือการทำบาป แต่ในจุดนี้ไม่ยอมลงนรกกันแล้ว ความชั่วก็มี ความดีก็ปรากฏ บาปก็ทำ บุญก็ทำ แต่จิตก็ยังมีความมั่นคงในบุญกุศลที่เราทำ เวลาจะตายจิตใจจับกุศลก่อนไปสวรรค์ ไปพรหมก่อน

    แล้วก็มีบารมีถึงขั้นปลาย พวกเทวดาก็ดี พรหมก็ดีพวกนี้จะไม่อยู่ครบอายุ ถ้าครบอายุการเป็นเทวดาหรือพรหม ถ้าหมดบุญจริงๆ ต้องพุ่งหลาวลงนรก พวกนี้จะไม่ประมาท ไม่ยอมให้หมดอายุ โดดลงมาก่อน ดูว่าอีกกี่ปีจึงจะหมดอายุขัย ก็นั่งมองตระกูล จะลงตระกูลไหนดี ตระกูลที่จะลงไม่ใช่เลือกลงที่ร่ำรวย เพราะเทวดากับพรหมเขาต้องเลือกลงมาต่อบารมีของเขาให้เข้มข้น

    ถ้าเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย เรามีอุปสรรคตลอดเราไม่ลง ถ้าไม่มีอุปสรรคเราลง ถ้าหากว่าตระกูลที่ยากจนแสนจน จะลำบากกี่ปีเขาจะรู้วิถีชีวิตมาเลย แล้วถึงปีที่เท่านั้นเท่าโน้นเราจะตาย พอถึงปีที่เท่านี้ก่อนตายกี่ปี จะได้มีโอกาสทำความดีตามต้องการ เขาจะลงจุดนั้น เห็นไหม...?

    เพราะฉะนั้นจะถือว่าคนที่มีบารมีเต็มจะต้องเกิดในฐานะร่ำรวยไม่ใช่ เขาจะต้องเพ่งดูก่อนว่า ไอ้จุดนั้นเราจะสั่งสมบารมีได้ไหม ครบถ้วนไหม


    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 45 หน้า 129-130)


    กว่าจะเริ่มต้นบำเพ็ญบารมี

    เออ..นึกถึงชีวิตของพวกเรา พวกเรานี่กว่าจะรู้สึกว่าการเกิดมันเป็นทุกข์ ไม่รู้ว่าเกิดมากี่อสงไขยกัป สบายมาก ชาติก่อนๆ เราฉลาดทุกชาติ กูจะเกิดใหม่ทุกชาติ ไอ้คนที่ไม่ต้องการเกิดมันโง่ เกิดใหม่ขึ้นมา กูจะต้องรวยกว่านี้ ดีไม่ดีซวยไปกว่านี้ คิดอย่างนั้น

    ไอ้ที่กว่าจะมีอารมณ์ได้ถึงขนาดนี้นะ ถ้าใช้ปุพเพนิวาสานุสติญาณถอยหลัง อย่างคนอื่นฉันไม่รู้ว่าเท่าไร แต่ตัวเองกว่าจะรู้สึกว่าเริ่มทำความดี จะรู้สึกว่าบาปบุญคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ก็ 16 อสงไขยกับแสนกัป และที่อารมณ์ยังเลวอยู่มันยังมากกว่าอารมณ์ที่รู้บาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มิใช่จะรู้เรื่องการทำบุญอย่างเดียวนะ สั่งสมบารมีมาเยอะ ฆ่าคน ฆ่าสัตว์มาเยอะ รู้แล้วยังทำ ขึ้นชื่อว่าบุญยังพอรู้อยู่บ้าง เริ่มต้นทีเดียวมันต้องชั่วมากกว่าดี ไอ้ความดีเรายังมีโอกาสทำ แต่ว่าก่อนนั้นจริงๆ เราไม่มีโอกาสทำ

    ก่อนจะเข้าถึงมุมต้น มุมต้นที่เข้าถึงจริงก็ต้องพบพระพุทธเจ้า คือถ้าไม่พบพระพุทธเจ้าจริงๆ อารมณ์มันก็เกาะจริงๆไม่ได้

    ถ้าถามว่า "คนที่ไม่เคยพบพระพุทธเจ้า ไม่เคยทำความดีเลยใช่ไหม...?"

    ก็ต้องขอตอบว่า เคยทำความดีมา แต่ว่าสถานเบา มันเป็นความดีเล็กๆน้อยๆ กำลังมันไม่สูง

    อย่างอังกุระเทพบุตร นี่ท่านอุตส่าห์ตั้งโรงทาน 80 โรง 1 โยชน์ตั้ง 1 โรง เลี้ยงคนกำพร้า คนเดินทาง ทั้งกลางวันและกลางคืน และใช้เวลาถึง 20,000 ปี แต่ว่าเวลานั้นคนไร้ศีลไร้ธรรมตายแล้ว ไปเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุด

    แต่ว่าท่านอินทกะเทพบุตร เป็นคนยากจนถวายสังฆทานครั้งเดียวในชีวิต ไม่มีการเตรียมตัว พระท่านเดินมาครบ 4 รูปขึ้นไปก็นิมนต์ ในชีวิตของท่านได้ทำบุญครั้งนั้นครั้งเดียว เกิดเป็นเทวดาที่มีอานุภาพมากที่สุดนอกจากพระอินทร์ นี่การทำความดีนอกเขตพระพุทธศาสนา

    ความดีเราอาจจะทำแต่ผลเบามาก มันก็ไม่สามารถจะเกื้อกูล ไม่เข้าดุลกับอบายภูมิ

    ทีนี้ตอนหลังจะปักใจได้จริงๆ พวกเราต้องพบพระพุทธเจ้าก่อน ชาติใดชาติหนึ่งพบพระพุทธเจ้า แล้วความมั่นใจเกิดขึ้น ยอมรับนับถือ

    อันดับแรกที่เรายอมรับนับถือ บารมีต้นมันยังไม่เต็ม คลานด๊อกแด๊กๆ เดินไปข้างหน้า 2 ก้าว ถอยหลังไป 5 ก้าว ก็ยังดีกว่าสมัยก่อนๆ ถอยหลังไม่มีเดินหน้า กว่าจะเข้าเขตถึงจุดความดีได้มันก็แสนลำบาก


    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 45 หน้า 128)

    โมทนาบาปตายไปเป็นนายนิริยบาล

    ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าคะ อย่างนายนิริยบาล เวลาทำโทษสัตว์นรกนะคะ บาปไหม?

    หลวงพ่อ : ไม่บาป นั่นเขาเป็นตัวสนองบาป เขาทำตามบาปสั่ง นายนิริยบาลนี่ซิ เขาโมทนาเหมือนกันนะ คนที่จะเกิดเป็นนายนิริยบาลได้นี่โดยมากนะ ต้องโมทนาเหมือนกัน


    ใครเขาฆ่าควาย เออ...ดีๆๆ ฆ่าวัว เออ...ดีๆๆ ฆ่าจระเข้ เออ...ดีๆๆ ดีมากๆๆ ยินดีด้วย

    ไม่ทำเองแต่โมทนาด้วย ยินดีด้วยนะ ตายไปอยู่นรกแต่ว่าไม่ใช่สัตว์นรก เป็นนายนิริยบาลลงโทษสัตว์นรก

    ผู้ถาม : ไม่ใช่เทวดาใช่ไหมครับ?

    หลวงพ่อ : ไม่ใช่เทวดา

    ผู้ถาม : แต่เขาไม่ใช่สัตว์นรก

    หลวงพ่อ : ใช่ จะว่าสบายเขาก็เหนื่อยเหมือนกัน เหนื่อยทำงานไม่หยุด



    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 136 เดือนมิถุนายน 2535 หน้า 69-70)




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2024
  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    119
    ค่าพลัง:
    +225,741
    อานิสงส์คูณด้วยแสน

    พอเริ่มอุทิศส่วนกุศล ท่านบอกว่ามีบางส่วนที่ยังต้องเกิดอีก อาจจะท่านที่มากันใหม่ บอกท่านอย่าเพิ่งบอกนะ ผมไม่จดนะ มีบางส่วนนะและก็อาจจะเพิ่มมาใหม่ๆ มาใหม่อาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่พร้อม ไม่อบายภูมิ แต่ส่วนใหญ่ท่านบอกตกล่ะ ไอ้พวกนี้ตกก็ดี ขี้เกียจนั่นล่ะดี ใช่ไหม ถ้าขี้เกียจตกเสียได้เราสบายใจ เพราะอะไร ก็เพราะว่า ทุกคนที่ทำเนืองๆมันเป็นการทำบุญที่มีความบริสุทธิ์มาก อย่างตอนกลางคืนก็เหมือนกัน ต่างคนต่างมาก็มีศีล

    อย่างกลางคืนนี่มีความหมายเหมือนกัน เพราะว่าก่อนจะทำบุญทุกคนตั้งใจมาด้วยดี มาถึงก็สมาทานศีล นี่เป็นเริ่มต้นแห่งความบริสุทธิ์ ต่อมาก็เจริญสมาธิวิปัสสนาญาณ และก็หลังจากนั้นเราก็ทำบุญ เราให้ทานกัน ทำบุญกันตอนนี้แหละ เพราะว่าการทำบุญระยะนี้กับระยะต้นที่เราไม่มีอะไร ผลมันต่างกันมาก ต้องคูณด้วยแสนนะ ฉันไม่รู้จะเอากี่แสนคูณมันไม่ได้คูณด้วย 1 หรือ 2 ต้องใช้จำนวนแสนๆ คูณให้สมศักดิ์ศรีนะ ให้สมกับเวลาที่ออกจากสมาบัติ

    แต่พระออกจากสมาบัติอย่างเดียวฝ่ายเดียว และก็ญาติโยมไม่ได้ออกจากสมาบัติ ก็พระองค์เดียวกันนั่นแหละ ทำบุญมีผลต่างกันตั้งเยอะ เวลายามปกติ ถึงแม้ท่านจะดีขนาดไหนก็ตามท่านดี
    สมมุติว่าถวายทานกับพระอรหันต์นะ แต่พระอรหันต์ยังไม่ได้ออกจากสมาบัติ อานิสงส์สูงมาก พอท่านออกจากสมาบัติต้องคูณด้วยแสน ของชิ้นเดียวกัน เท่ากัน บาทเดียวน่ะ ราคาไม่เท่ากัน ไอ้บาทต้นน่ะดีหนึ่ง บาทหลังนี่เป็นทองคำประดับเพชร ค่าต่างกันเยอะ ทีนี้ถ้าจะถวายทานกับพระบอกแกนั่งเข้าสมาบัติสัก 2 นาทีก่อนถึงจะให้นะ (หัวเราะ) แต่ก็ไม่แน่

    แต่ท่านที่มีฌานสมาบัติหรือท่านที่เป็นพระอริยะ ส่วนใหญ่ตอนเช้ามืดท่านหวดเต็มที่เลยใช่ไหม ตื่นขึ้นมาแล้วโดยมากเขาจะเข้าสมาบัติกันเต็มอัตรา เพื่อสงเคราะห์ญาติโยมตลอดวัน นี่แสดงว่าไม่ต้อง เพราะเขาเข้าสมาบัติกันแล้วใช่ไหม มันก็คลุมเต็มๆวัน

    อย่างญาติโยมทำกันเมื่อกี้นี้ พระออกจากสมาบัติ ออกหรือไม่ออกไม่สำคัญแต่เมื่อกี้นี้ถวายสังฆทาน สังฆทานนี่ถ้าพระไม่ดีก็รับได้ ถ้ารับแล้วโยมไปสวรรค์ พระดันไปนรก สังฆทานนี่ใช้ดีๆ เขาไม่ลงนรกหรอก ใช้ผิดระเบียบก็ลงนรก สังฆทาน นี่อาตมารับแต่ผู้เดียว เขาถือว่าเป็นผู้แทนสงฆ์ ไม่มีสิทธิ์ใช้ของพวกนี้แต่ผู้เดียว ถ้าไปกันไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งใช้แต่ผู้เดียว พระยายมท่านบอกว่าอเวจีว่าง ท่านเปิดห้องไว้เลย เรียบร้อยจัดให้เสร็จ และไม่ต้องสอบสวน เวลาตายปั๊บนำลงดิ่งสบายเรียบร้อยดีมาก นี่พระอยู่ในเกณฑ์ลำบากไม่สบายนะ

    และเมื่อกี้นี้ญาติโยมออกจากสมาบัติด้วย สมาธิของญาติโยมจะดีหรือไม่ดีขนาดไหนก็ตาม คำว่า "สมาธิ" นี่ต้องถือว่าดี บางคนนั่งไปใจวอกแว่กๆ ใช่ไหม บางทีก็นั่งหลับ แทนที่จะนึกถึงคู่รัก ดันไปนึกถึงเจ้าหนี้เข้าให้ (หัวเราะ) นึกถึงคู่รักจิตใจมันชุ่มชื่นนะ นึกไปนึกมาไปชนเอาเจ้าหนี้ถอยหลังกรูดเลย
    คือว่าอารมณ์ไม่แน่นอน บางทีจิตใจก็ภาวนาไปบ้าง พิจารณาไปบ้าง จิตเผลอ คิดเรื่องอื่นบ้าง แต่ก็อย่าลืมนะ ที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า "ดูก่อน สารีบุตร บุคคลใดทำจิตว่างจากกิเลส วันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว เรากล่าวว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีจิตไม่ว่างจากฌาน"

    เห็นไหม วันหนึ่ง 24 ชั่วโมง แต่ว่าจิตมันสะอาดจริงๆ ไม่น้อมถึงกิเลสเป็นปกติชั่วขณะจิตเดียว ขณะจิตเดียวนี่ได้หนึ่งนาทีหรือเปล่า นี่เป็นอันว่าผลของจิตที่ว่างจากกิเลสมีค่าเหมือนเพชรน้ำหนึ่ง ราคาสูงมาก
    พอจิตว่างจากกิเลสจริงๆ นานสัก 2 นาที ถ้า 10 วันมัน 20 นาทีนะ 100 วัน 200 นาที แล้วความดีประเภทนี้มันไม่ได้สลายตัว มันสะสม

    ที่พระพุทธเจ้าบอกการบำเพ็ญบารมีมาจนกว่าจะเต็ม คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะการบำเพ็ญบารมี 4 อสงไขยกับแสนกัป ถ้าศรัทธาธิกะต้องบำเพ็ญ 8 อสงไขยกับแสนกัป วิริยาธิกะต้องบำเพ็ญบารมี 16 อสงไขยกับแสนกัป

    เราจะเห็นว่าการทำบุญทุกครั้ง บุญนี่ไม่ได้สลายตัวไป มันสะสมตัวจนกว่าจะเต็ม ถูกไหม คิดว่าไม่ถูกจะค้าน ค้านก็อธิบายไปเลย ถูกเหรอๆ (หัวเราะ) นี่ต้องปัญญาครูนะ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการยอมรับนะ (หัวเราะ) กลัวเหรอ ไปกลัวอะไรไม่มีกรรมการ เออ..ดีๆมาก นุ่งขาวห่มขาวนี่ ทีหลังได้บุญตอนหลับ


    (จากจุลสาร "สารธรรม" ฉบับที่ 7 เดือนตุลาคม 2547 หน้า 33-35)


    เรื่อง การจัดบายศรีปากชามในพิธีบวงสรวง

    มีคนสงสัยเสมอ คือเรื่องการจัดบายศรีปากชามในพิธีบวงสรวงควรทำอย่างไร หลวงพ่อตอบว่า
    การจัดบายศรีปากชาม

    1. ถ้าบริษัท ห้างร้าน วัด คนร่ำรวยต้องใช้ตามนี้ หมู 3 หัว ไก่ 1 ตัว บายศรีขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวปากหม้อ ไข่ลูกยอด แล้วก็กลัวยน้ำว้า มะพร้าวอ่อน ถั่วราชมาส รู้จักไหม
    ถั่วราชมาสก็คือถั่วเขียวคั่ว ถ้าเป็นบ้านก็ควรจะมีปลาแป๊ะซะอีกตัวหนึ่ง เพื่อพระภูมิเจ้าที่

    2. บายศรีปากชามต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชั้น สำหรับไก่ต้องวางไว้ทิศเหนือนะ ถ้าวางหมูไว้ทิศเหนือมีเรื่องแน่ หมู 3 หัววางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ อย่าวางผิดทิศนะ ถ้าวางผิดทิศต้องมีเรื่องแน่

    3. ถ้าชาวบ้านธรรมดา ก็ใช้หมูชิ้นหนึ่งไม่ต้องหัวหมู ถ้าฐานะพอสมควรตั้งแต่ จน ถึง ปานกลาง นะ ใช้หมูชิ้นหนึ่ง แต่ชิ้นหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าครึ่งกิโล


    เออนี่ อย่าลืมนะ ต้องมีปลาแป๊ะซะอีกตัวนะ เพื่อพระภูมิเจ้าที่ เพราะพิธีตั้งเป็นเรื่องของท่านท้าวมหาราชท่าน


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 97 มีนาคม 2532 หน้า 19)

    ยอดพระไตรปิฎก

    "การสวดมนต์ยอดพระไตรปิฎก ถ้าสวดทุกวันจะเป็นยังไงคะ...?"

    ตาย

    "อานิสงส์เป็นยังไงคะ"

    อานิสงส์ก็ดี ดี สวดได้ก็ดี ไอ้ยอดพระไตรปิฎกนี่มันอยู่ไหนหนอ... ยอดพระไตรปิฎกจริงๆ มันสวดไม่มากหรอก

    อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ เท่านี้

    "ต้องหมดสิคะ"

    เฮ้ย...ไอ้นั่นโคนพระไตรปิฎก ยอดพระไตรปิฎกเราต้องดูอย่างนี้ซิ ตอนวันที่พระพุทธเจ้าจะนิพพาน ใช่ไหม วันนั้นพระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า

    "อานันทะ ดูก่อน อานนท์ พระธรรมวินัยที่ตถาคตสอนมาสิ้นเวลา 45 ปี ย่อมรวมอยู่ในความไม่ประมาท"

    จึงตรัสว่า "อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ แปลว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม"

    นี่ยอดพระไตรปิฎกแล้ว ยอดมันก็ต้องเล็กนิดเดียว โตเบ้อเริ่มเป็นยอดได้ไง ไอ้ที่เขาบอกว่ายอด ฉันไปดูแล้วมันโคนพระไตรปิฎก

    เอ้า...จริง ๆ ท่านบอกว่า คำสอนทั้งหมดรวมอยู่ในคำว่าไม่ประมาทคำเดียว ใช่ไหม พออ่านๆดูแล้วไม่รู้ว่าเป็นยอดแบบไหน ที่เขาพิมพ์ขายน่ะ ไม่รู้แกไปคัดเอาอะไรมาบ้าง

    "ที่วัดหนูก็มียอดพระไตรปิฎก"

    มีโคนพระไตรปิฎก ก็บอกแล้วยอดมันมีแค่ อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ นี่ยอด คือรวมหมด ท่านตรัสวันนิพพาน คือว่าคำสอนทั้งหมดรวมอยู่ในคำนี้คำเดียว นี่ยอด ใช่ไหม

    นี่ฉันมันมีความเห็นไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเขา เพราะอะไร เพราะฉันถือเอากฎความเป็นจริงมาใช้เท่านั้น แต่ที่เขาบอกยอดพระไตรปิฎก ฉันก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมถึงเรียกยอดพระไตรปิฎก ยอดมันต้องเล็กใช่ไหม ยอดต้องจิดจิ๋ว ยอดใหญ่มันต้องโคน เดี๋ยวหล่นหักมา

    เราไม่ประมาท คือ 1. ไม่ประมาทในชีวิต เราคิดว่าชีวิตนี้มันไม่สามารถจะทรงตัวต่อไปได้ มันต้องตาย

    ไม่ประมาทที่จิตเราจะไปคิดจับในขันธ์ 5 ว่ามันเป็นเราเป็นของเรา ใช่ไหม นี่เราไม่ประมาทเราคิดว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา ไม่ช้าก็เจ๊ง เดี๋ยวมันก็พัง ถ้ามันเป็นเราเป็นของเราจริง มันก็ต้องไม่ตาย ถ้าเราต้องการขันธ์ 5 แบบนี้ มันก็มีแต่ความทุกข์ มันหาความสุขไม่ได้ ก็แค่นั้น จบ


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 149 กรกฏาคม 2536 หน้า 16)



    แนะนำให้ภาวนาก่อนตาย


    ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าขา คนที่ใกล้จะตายมีหลายคน ควรจะแนะนำให้วางอารมณ์แบบจับนิมิตแบบใด จึงจะเหมาะสมและเข้านิพพานได้ดีเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : ถ้าคนป่วย ถ้าป่วยมากมีทุกขเวทนามากไม่ควรแนะนำอย่างอื่น ควรแนะนำสั้นๆ ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าหรืออย่างใดอย่างหนึ่งดีกว่านะ

    ถ้าไปแนะนำยาวๆ จะเกิดอาการกลุ้ม กลุ้มแทนที่จะไปนิพพาานก็จะดันไปนรกไป

    ถ้าเราต้องการให้เขาไปนิพพานมันก็ยากอยู่นะ ให้นึภาวนาว่า "นิพพานสุขขัง"

    บอกสั้นๆ อย่าบอกยาวนะ ถ้าคิดว่าป้องกันไม่ให้ลงนรกให้ภาวนา "พุทโธ"

    ถ้าเขาภาวนาไม่ไหว ให้นึกถึงพระพุทรรูปองค์หนึ่งองค์ใดก็ได้ นึกถึงพระไว้ นึกถึงพระสงฆ์ก็ได้ อย่างนี้ใช้ได้ อย่าไปแนะนำยาวๆ

    คือว่าเวลานั้นทุกขเวทนามากจะกลุ้ม แนะนำให้ดีนะ ถ้าแนะไม่ดีจะลงนรกไป ดีไม่ดีจิตใจเขาดีอยู่แล้วเราพูดมากไป เขากลุ้มจะลงนรกไป

    ผู้ถาม : ก็ต้องดูตาม้าตาเรือ

    หลวงพ่อ : ดูตาคน ถ้าตาลอยๆ ตาปรือๆ อย่าไปพูดมาก


    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 160 มิถุนายน 2537 หน้า 63)


    การปฏิบัติธรรมต้องทำจิตสบายๆ


    นี่การปฏิบัติให้เข้าถึงฌานสมาบัติก็ดี จะทิพพจักขุญาณก็ดี มโนมยิทธิก็ดี จะถึงพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีก็ดี เราก็ต้องทำจิตสบายๆ คืออย่าให้มันเครียดเกินไป อย่าทรมาน

    เห็นท่ามันจะง่วง มันจะปวด มันจะเมื่อย ถ้าปวดเมื่อยก็นั่งก็นอนซิ นอนไม่ชอบใจเราก็ยืน ยืนไม่ชอบใจเราก็เดิน นั่งขัดสมาธิไม่ชอบใจก็นั่งพับเพียบ นั่งพับเพียบไม่ชอบใจก็นั่งยองๆจะได้ขี้ง่ายหน่อย ฮึ! หรือไม่อย่างนั้นก็ไปนั่งเอน นั่งห้อยขา มันยังไงก็ได้ทั้งนั้น มันไม่จำเป็นต้องนั่งปึ๋ง!

    ฉันได้มาฉันไม่ได้ท่านั่งขัดสมาธิ ไอ้ได้ท่านั่งขัดสมาธิมันมีเท่าไรไม่รู้นะ นึกไม่ออก ไอ้นั่งถ้าได้ในลักษณะขัดสมาธินี่ เข้าใจว่าจะได้ตั้งแต่พื้นฐานต้นจนกระทั่งถึง ผรณาปีติ ปีติตัวสุดท้าย ตอนนั้นไม่ใช่ท่านั่งเลย ท่านอนกับท่าเดินนี่มากที่สุด

    ถ้าพูดถึงส่วนที่ได้มาน่ะ นี่เวลาทำก็ทำ ถ้าจะนั่งก็ต้องนั่งแบบสบายๆ ก็ไอ้จะไปเที่ยวนรกคราวแรกแล้วก็เที่ยว เอาเที่ยวเองครั้งแรก นั่นจะไปที่ จังหวัดสมุทรสาคร

    ไอ้คนเขามาคุยด้วย โอ้ย! มันก็คุยเรื่องตีไก่ กัดปลา กัดอะไร โอ้ย! คุยกันเพียบหมด ไม่รู้อะไร ลักกันบ้าง ขโมยกันบ้าง ว้า! เราก็นั่งฟัง เอ๊ะ! มันจะคุย ไอ้เราก็เป็นพระมันเสือกมาคุยเรื่องนี้ โยม! ก็ฟังไม่ไหว พอดีบ้านเขามีชานหลัง มีระเบียงบันไดข้างหลัง

    เดี๋ยวก็บอกโยมอากาศมันร้อน ขอไปนั่งเล่นหลังบ้านหน่อย แล้วก็นั่งเล่นหลังบ้าน นั่งห้อยขา ลมพัดมาเย็นสบาย มันเหมือนคล้ายๆกับนั่งพิงตุ่ม ฮึ! (หัวเราะ) ก็หากินท่านั้นอยู่เรื่อย นั่งลมพัดเย็นสบาย

    เออ..จิตสบายดี ก็ดี เดี๋ยวทรงอานาปาสักนิด จับฌานสักหน่อยให้จิตเป็นสุข ไอ้พวกนั้นมันคุยเสียงดังเดี๋ยวก็ไม่ได้ยินเสียงมันขี้เกียจฟัง ฟังแล้วฟังทีไร มันพูดทีไรประตูนรกเปิดทุกที ไอ้เราก็เพลิน พอสบายๆ พอจับอารมณ์สบายๆ ก็ไม่ตั้งใจจะไปไหน ตอนนั้นจับ "อานาปานุสสติ" และ "พุทธานุสสติ" ควบสองปื้ดเท่านั้นเอง มันปื้ด..อ้าว! ดิ่งลงไปปื้ดหนึ่งถึงเลย พอถึงอะไรนี่อะไรหว่า..มันเหมือนกับผืนแผ่นดิน ไอ้ความรู้สึกว่านี่ "อเวจีมหานรก" ตามความรู้สึกน่ะ มันบอกเลยเพราะอารมณ์มันเป็นทิพย์

    อเวจีนี่เดินๆไป เออ..อเวจีมันก็เหมือนผืนแผ่นดินธรรมดา

    เอ๊ะ! มันเป็นอเวจีได้อย่างไร พอเดินๆไปมันมีปล่องแค่นี้ มันมีสภาพเหมือนปล่องเราก็ เอ๊ะ! ไอ้อเวจีมันมีเท่านี้ ทำไมไม่เห็นมีคน ลองไปดูลงปล่อง นั่นมันไปแบบละเอียด ถ้าไปจริงๆ มันปื้ดเข้าไปเลย ไอ้นี่มันไม่ตั้งใจลงไปนรก โอ้โฮ! นี่มันใหญ่กว่าโลกมนุษย์ไม่รู้เท่าไหร่น่ะ ไอ้โลกมนุษย์นี่ ปัทโธ่ ไปวางมุมไหนก็ได้มองไม่เห็นหรอก ใหญ่มาก..

    ไอ้สถานที่ต้อนรับคนทำความชั่วนี่ แหม..พระยายม ท่านจัดไว้รโหฐานกว้างขวางใหญ่โตนะโยมนะ! ไม่ต้องวิตกกังวลนะ (หัวเราะ) ถ้าไม่มีที่อยู่ไม่เป็นไร เขาจัดสรรไว้เสร็จเรียบร้อย

    พอลงไปไอ้จิตมันคล่องกับการเรียนบาลีก็เลยอยากจะดูเทวทัต ก็ไปถึงเทวทัต ไอ้นี่แหละ โอ้โฮ! แดงแหงแก๋ กระดูกก็แดงฉาน! ไฟมันเหมือนแสงนี่ไม่มีเปลวมันละเอียดมันพุ่งมาทั้ง 6 ทิศ ทิศไหนบ้าง ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศล่าง ทิศบน มันเหมือนกับเอาสี่เหลี่ยมขัง หอกก็เสียบซะไม่มีล่ะ

    โอ้โฮ! เล่าตามบาลีบอก "คนที่ลงอเวจีมัน อจลัง"

    ไอ้คำว่า "อจลัง" แปลว่า ไม่มีการเคลื่อนหวั่นไหว ไม่มีการดิ้นรน ไม่มีการขยับเนื้อขยับตัว ไอ้เราก็นึกว่า เอ๊ะ! อเวจีมันหนักที่สุด ทำไมมันนั่งสบายๆ ที่ไหนได้ หัวหอกเสียบก้นหมด ไอ้หอกไม่เสียบเฉยๆ ฝานี้พุ่งมาจากฝานี้ มาติดฝานี้ ทะลุมาติดฝานี้ ไอ้ล่างติดข้างบน ไอ้บนติดข้างล่าง ว้า! มันขยับไม่ได้เลย

    เห็นท่านเทวทัต ก็เลยเป็นห่วงเพื่อนอีกคน ท่านโกกาลิกะ คู่หูกัน กลัวใครจัดแกนั่งเหยียดขาชันเข่า นึกว่าซวยจัด ไอ้หอกก็เสียบหมด ดูกระดูกก็แดงฉาน! ดูไปดูมา เอ๊ะ! เผลอไปก็ไม่ได้ตั้งเวลา ไม่ตั้งใจจะไปนี่

    เดี๋ยวลุงอิน ลุงอินไม่ใช่ พระอินทร์ นะ นี่ตาเทวดาอิน ชื่อ "หลวงตาอิน" แกเป็น "เทวดาชั้นจาตุมหาราช" อยู่ปากทางช่วงระหว่างทางสวรรค์ พรหมโลก โลกมนุษย์ แกยืนอยู่ตรงนั้น แกก็ไปเรียกท่านๆ กลับเถอะ! อ้าว! กลับไปไหนล่ะ มาเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวอะไรล่ะ สางแล้วพระอาทิตย์จะขึ้นแล้ว ทำไมพระอาทิตย์ต้องขึ้นเร็วจริงว่ะ! (หัวเราะ) ไปดูเดี๋ยวเดียวพระอาทิตย์จะขึ้นเสียแล้ว ดูเวลาก็ไม่เยอะ

    อย่างอเวจีนี่มีอายุ 1 กัป มันก็แย่เดี๋ยวเดียวเท่านั้นเอง เราไปอยู่นั่น 2 นาทีได้หรือเปล่า ใช่ไหม มันคงไม่ถึง 2 นาทีแล้วก็กลับ

    พอกลับมาก็ปรากฏว่าไอ้หมอนั่น (ร่างกาย) นั่งพิงเสา ดีไม่หล่นใต้ถุนนะ นั่งห้อยขาพิงเสา ห้อยขาพิงเสาอยู่ข้างๆ เอาตัวแตะๆ นิดหนึ่ง เวลานั่งๆ อย่างนั้นนะ พิงเสาอยู่ ใช่ไหม ก็ไปแตะมันหน่อย ก็ยังดี ก็ปรากฏว่าพอมาพวกที่มาไปหมดแล้ว มันจะดันถึงสว่างได้อย่างไร

    ท่านเจ้าของบ้านก็บอก "เอ๊ะ! ท่านเห็นหลับสนิทจังเลย เรียกเท่าไหร่ก็ไม่ตื่น"

    เราก็บอก แหม..มันง่วงนี่ว่าอย่างไร เพลียมาก เห็นคุยอยู่กับตีไก่และขโมยกัน ก็ไม่รู้จะคุยว่าอย่างไร ไปด้วยก็ไม่ได้ ไอ้เราก็นั่งพิงเสาสบายๆ นี่อารมณ์ที่มันจะไปได้ ถ้าเราตั้งใจไว้ก่อนแล้วก็ทำ เวลาหลับแล้วก็ทำไป ถ้าจิตมันเข้าถึงจุดนั้นปั๊บมันจะไปตามจุดที่เราต้องการ

    อย่างพวกที่ฝึก มโนมยิทธิ อยู่นี่ ตั้งใจไว้จุดเดียวคือ พระจุฬามณี เวลาเดินไปเดินมาก็ภาวนาคาถาเรื่อยไป ก็นั่งๆถ้านั่งนึกได้ก็ว่าไป บูชาพระนอนๆนึกได้ก็ว่าไปเท่านี้ พอจิตเข้ามุมปั๊บ! ปื้ด..ไปจุดนั้นทันที

    นี่ก็เหมือนๆกับอย่างพวกนี้ อย่าง รัชนี ก็ดี จิตรลดาพวกที่ได้แล้ว ถ้าใครเขามาคุยเรื่องอะไรตั้งแต่ตอนเช้า เราก็สงสัยจริงหรือไม่จริงนะ เวลาไปเจริญกรรมฐานใครถามอะไรก็ตอบไป ทั้งๆที่เราก็ไม่สนใจอะไร พอถึงสมเด็จฯ ท่านจะพูดทันที ท่านจะได้ดีมีประโยชน์


    (จากธัมมวิโมกข์ เล่มที่ 241 เดือนเมษายน2544 หน้า 10-12)

    รักษาศีลอย่าให้เลยพระพุทธเจ้าสอน


    ที่วัดนี่เวลาให้สมาทานศีล 8 ความจริงมีความประสงค์เฉพาะเวลาที่ใช้กรรมฐาน แล้วถ้าเลิกแล้วเรารักษาศีล 5 ได้ แต่ถือ อพรัหมจริยาเวฯ อีกตัวหนึ่งเมื่ออยู่ข้างในวัดเท่านั้นเองนะ

    ทีนี้พูดถึงรักษาศีล 8 จริงๆ ครบถ้วนที่วัดก็ดี ที่บ้านก็ดี ไม่ใช่อุ้มลูกไม่ได้ล่ะ ถือหนักไปแล้ว "อย่างนี้เขาเรียกว่าเคร่งกว่าพระ" ใช้ไม่ได้หรอก มันเกินไปแล้ว หรือถูกตัวไม่ได้ ถูกแขนได้ ถูกหนังได้ ถูกหัวได้ หรือไง นั่นมันเกินไป

    ถ้านางภิกษุณีซิไม่ได้ ภิกษุณีนี่จับเพียงเด็กผู้ชาย แม้แต่เกิดในวันนั้นก็ทรงปรับเป็นอาบัติปาราชิก นี่เราไม่ใช่ภิกษุณี ใช่ไหม

    "อพรัหมจริยาเวฯ" นี่เขาห้ามร่วมรัก แต่ถูกตัว จะถูกด้านกามารมณ์ มีความปรารถนาในกามารมณ์แต่ไม่ถึงกับร่วมรัก นั่นมันศีลด่างศีลพร้อย ยังไม่ถึงขาดหรอก ขาดต้องเป็นร่วมรักร่วมประเวณี เข้าใจไหม

    ศีลนี่ตรงไปตรงมา ไม่ได้โค้งไปโค้งมา นี่โดยมากมักจะถือเคร่งเกินไป เลยลงนรกไปเลย เพราะอะไร เพราะกลุ้ม มันไม่ถูก หรือว่ามันไม่เสีย ถ้าไม่เสียหายศีลไม่ขาดไม่บกพร่อง เข้าใจว่าบกพร่องก็เกิดกลุ้ม ไอ้ตัวกลุ้มนี่ละลงนรก" ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า

    "จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาติกังขา"
    ถ้าอารมณ์จิตเศร้าหมองลงอบายภูมิ

    อันนี้ร้ายกาจ คือลงนรกเพราะไม่มีความผิด

    "จำให้ดีนะ รักษาศีลรักษาแค่พอดี อย่าให้มันเลยพระพุทธเจ้าไป ใครรักษาเลยพระพุทธเจ้าน่ะลงนรกทุกรายแหละ เอาแค่พระพุทธเจ้าสอนพอนะ.."


    (จากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 179 หน้า 88-89)


    ความเข้าใจเรื่องศีล 8

    ลูกศิษย์ : อย่างคนถือศีล 8 จะไปเต้นรำได้ไหมคะ

    หลวงพ่อ : เออ ไม่เป็นไร ถือให้แน่นนะ ไม่หลุดหรอก เต้นรำ ไปรำ รำข้าวใช่ไหม เต้นรำ ถ้าฟ้อนรำฉันจะไม่ให้เลย เสือกเต้นจนศีลหายหมด มันอย่างไร เต้นรำทำอย่างไร เต้นด้วยรำด้วย เต้นรำให้ดูสิ กลัวว่าศีลมันจะไม่อยู่นะซิ ต้องดูจังหวะการเต้นเขานะ อย่างนี้ถึงจะพยากรณ์ได้ เอ้ามีอะไรคุยบ้าง เดี๋ยววันที่ 3 ไม่คุยกลับนะ

    ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ เวลาจะสมาทานศีล 8 ทุกคืนอย่างที่ทำมานะคะ วันพระก็ตั้งแต่ 4 ทุ่มถึงเวลาเที่ยง สองเวลานี้ยังไม่ได้ทานอะไรเลย แล้วทานอาหารกลางวันถึงบ่าย 2 ทานอิ่ม 2 ทุ่ม 3 ทุ่ม เป็นการผิดศีลที่สมาทานหรือเปล่าคะ

    หลวงพ่อ : กินกี่เวลาล่ะ

    ลูกศิษย์ : สองเวลาค่ะ

    หลวงพ่อ : สองเวลาก็ดีเหมือนกันนะ เอาอย่างนี้ดีกว่านะ กินเช้าเวลา เย็นเวลาหนึ่ง ดีไหม

    ลูกศิษย์ : บางทีวันหนึ่งทานครั้งเดียว ก็เลยไม่ทราบจะทำอย่างไร

    หลวงพ่อ : ถ้ามันมีงานอยู่ เราก็ตั้งไว้ซิ เวลาจะกินเวลาไหนให้แน่นอนนะ เครื่องบินเห็นไหม ถึงเวลาต้องทาน ถ้าไปจากที่นี่ 9 โมงเช้าไปตามทาง ไอ้นั่นเขา 6 โมงเย็นก็ช่างเขา ถือเวลาเดิมๆนาฬิกาเดิมนะ ถ้าไม่เกินเที่ยงของเวลาเดิมนะ จะฉันได้ ใช่ไหม

    ศีล 8 ก็เหมือนกัน หิวเวลาไหนก็ฉะเวลานั้น ก็หมดเรื่องเลย แต่ความจริงเขาตั้งเวลาไว้หมดแล้ว แต่งานมันบังคับเรา ใช่ไหม เขาตั้งใจไว้เฉพาะสองเวลาก็ไม่เป็นไร

    คือว่าศีลข้อนี้ ถ้าหากว่าเราพลาดมันก็ไม่เสียหาย คือไม่มีโทษลงนรก มันเป็นธรรมะ

    ก็สมมุติว่าเรากินข้าว ไอ้กินข้าวไปแล้วมันเหลือตัว เวลาสมาทานนี่ 9 ตัว สมาทานศีล 8 ใช่ไหม กินได้ นัจจคีฯ กับ มาลาฯ ถ้าบวชพระกับบวชเณรนี่ เขาแค่ นัจจคีฯ ตัว มาลาฯ ตัว

    เวลารับศีล 8 รับ นัจจะคีฯ กับ มาลาฯ รวม ใช่ไหม เราก็แยกเสียก็เหลือ 8 พอดี

    แต่ความจริงไม่เป็นไรนะ ไอ้พลาดข้อนี้ข้อเดียวไม่มีโทษ ข้ออื่นที่มีความสำคัญกว่าเรารักษาได้ใช่ไหม แต่เขาก็ถือเกี่ยวกับเวลา คือเวลาที่มันไม่เหมาะสมนี่ อย่างปรกติเรากินข้าวไม่เลยเที่ยงได้ ใช่ไหม ทีนี้ทำงานมันบังคับ จะต้องกินหลังเที่ยง เราไปกินเย็น อันนี้ก็ได้ไม่เป็นไร ต้องตัดกังวลเท่านั้นเอง

    ต้องตัดกังวลเรื่องอาหารเสียหน่อยจะได้สะดวก ไม่อย่างนั้นความวุ่นวายมันมี อย่างรักษาศีล 8 ก็ต้องหุงข้าวเย็นกิน ไอ้ศีล 8 มันศีลพรหมจรรย์ จะไม่มีเวลาเจริญกรรมฐานทำสมาธิ คือว่าถ้าหากว่าเราไม่กินข้าวเย็น จิตใจเราจะดีละเอียดอารมณ์สบายๆ

    ตั้งตี 4 ถ้าไม่กินข้าวเย็น อารมณ์จะสบาย ประมาณ 24 น. อาหารย่อยหมด ใช่ไหม มันเป็นอย่างนั้นมันก็ไม่เป็นไร

    ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ เวลาเราสมาทานศีล 8 แล้วนี่ เราก็นั่งสมาธิเรียบร้อยแล้วพอออกแล้วไปทานข้าวจะผิดไหมคะ

    หลวงพ่อ : ก็ไม่ผิด ชนศีลพังไปข้อหนึ่งก็ไม่เป็นไร สมาทานศีล 8 เพราะว่าศีล 8 นี่เป็นศีลพรหมจรรย์ เวลาเราเจริญกรรมฐาน สมาทานศีล 8 เลิกแล้วก็ทรงศีล 5 ไว้ใช่ไหม พอเลิกแล้วตั้งใจรักษาศีล 5 ไว้แค่นี้พอ ก็ได้ไม่เดือดร้อน ก็ศีล 8 มันคุมอารมณ์ มันเกี่ยวกับกามฉันทะ ก็เท่านั้นไม่มีอะไรมาก

    ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ อย่างหนูอยากรักษาศีล 8 นี่ แต่หนูถือ 1 อาทิตย์ต่อ 1 วันนี่ ได้ไหมคะ

    หลวงพ่อ : ได้ ดีกว่าอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ถ้าเรายังไม่ได้ก็ได้ ตามปรกติพระพุทธเจ้าท่านบอกฆราวาสท่านให้รักษาวันพระนะ ก็ศีล 8 นี่ฆราวาสมันไม่ค่อยถนัด ใช่ไหม ก็มีงาน ท่านกำหนดให้ว่าวันพระถือเป็นวันรักษาอุโบสถ แล้วการรักษาอุโบสถก็มี 3 อย่าง ศีล 8 กับอุโบสถก็เหมือนกัน สิกขาบทเท่ากันนะ แต่เวลาอุโบสถนี่จำกัดเวลา ศีล 8 จะไม่จำกัดเวลา

    ถ้า "ปกติอุโบสถ" รักษาเฉพาะวันพระคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง

    ถ้า "ถ้าปฏิชาครอุโบสถ" ก็รักษา 7 วัน ก่อนวันพระ 3 วัน หลังวันพระ 3 วัน วันพระอีก 1 วัน

    ถ้าเกินกว่า 7 วันเรียก "ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ"

    เขาให้เลือกรักษาเองตามความเหมาะสม


    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 10 หน้า 420-422)


    บวชชี

    "แล้วบวชชีล่ะคะ"

    บวชชีก็ต้องดูก่อนลูก ถ้าไฟดีๆนะ กะทิมันๆนะ (หัวเราะ) ใช่ไหม ถ้าบวชชีต้องในเพลนะ จะมีอานิสงส์มาก ถ้าบวชเพลแล้วมีอานิสงส์น้อย พระกินไม่ได้ (หัวเราะ)

    "บวชชีคนค่ะ"

    "อ๋อ...ชีคนกินยากว่ะ กินต่ำไอ้เท้ามาเล่นปากพระเข้าให้ (หัวเราะ)

    ความจริงบวชชีนี่ที่แท้จริงก็คือ คนรักษาศีล 5 หรือศีล 8 นั่นเอง ใช่ไหมไม่มีอะไรพิเศษจากคนธรรมดา

    "ทำไมต้องโกนหัวด้วยคะ"

    ไม่จำเป็น ไอ้ที่โกนหัวเป็นการตัดภาระ เขาไม่ต้องการความสวยงาม ก็เหมือนกันนะ ถ้าเราไม่ต้องโกนหัวก็ได้ ที่เวลานี่ท่านบัญญัติบวชชีพราหมณ์

    แต่ความจริงพราหมณ์เขาบวชแบบนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ใช้ได้ ถ้าคิดว่าภาระเขามีอยู่ เราจะบวชน้อยวันใช่ไหม ก็ไม่ต้องโกนหัว เพราะว่าชีมีสองประเภท รักษาศีล 5 กับรักษาศีล 8

    ก็ฆราวาสนั่นเองเพียงแต่หลีกไปอยู่ที่สงัด แต่ว่าก็ไม่แน่นักที่ไปอยู่ที่สงัดก็ทะเลาะกันใช่ไหม

    ถามถึงอานิสงส์ก็เท่าๆกับที่พวกเรารักษาศีล 5 หรือศีล 8 ครบ เท่ากันไม่แตกต่างกัน

    เขายังไม่ถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ปูชนียบุคคลคือบุคคลที่ชาวบ้านเขาต้องบูชา อย่างพระกับเณรนี่ลำบาก ถ้ายังนุ่งกางเกงอยู่ต้องไหว้พ่อ ไหว้แม่ ไหว้พี่ ไหว้น้า ไหว้ปู่ย่าตายายใช่ไหม พอห่มผ้าเหลืองปั๊บเดียว ผู้ใหญ่มาไหว้เลย อันนี้หนักใช่ไหม ฉะนั้นทำอะไรพลาดไป โทษจึงมาก

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกปูชนียบุคคลถ้าพลาด เขามักจะไปเก็บไว้ในอเวจี ที่อยู่ประจำ คนอื่นแย่งไม่ได้

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 136 เดือนมิถุนายน 2535 หน้า 62-63)

    ยานัตถุ์หลวงพ่อ

    สัญลักษณ์หลวงพ่อ คือกลิ่นยานัตถุ์ ก็แปลกจริงๆนะ กลิ่นยานัตถุ์นี่เคยเจอ กลิ่นมาจริง หลายคนนี่ก็เคย

    วันนั้นมีงานวันเกิดหลวงปู่บุดดา เราก็ เอ๋ พรุ่งนี้จะไปทำบุญวันเกิดหลวงปู่บุดดาเอาเงินไปถวายท่านดีไหม เราตัดสินใจถูกหรือเปล่านะ ตัดสินใจถูกหรือเปล่านะนี่ จะเอาเงินไปถวายหมื่นหนึ่ง ตัดสินใจถูกหรือเปล่านะเนี่ย เอ ยังสองอกสองใจ

    สักประเดี๋ยวได้กลิ่นยานัตถุ์ ฉุย โอเค แน่นอนเลย พอกลิ่นยานัตถุ์มาไม่ลังเลเลยไม่ต้องสงสัย

    ก็ห้องเราปกติไม่มีกลิ่นยานัตถุ์นี่แล้วก็หายไป แค่นี้เองมั่นใจ ก็ทำไปตามนั้น

    (จากคอลัมน์ "ท่านเจ้าคุณสนทนา" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 446 เดือนพฤษภาคม 2561 หน้า 24)


    ปล่อยไก่สะเดาะเคราะห์

    ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง หลังจากน้ำท่วมภาคใต้แล้ว ลูกได้มีโอกาสไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ ในโอกาสนี้ผมก็ถือโอกาสปล่อยไก่ไปด้วย

    ทีนี้ทางวัดเขาบอกว่า คนมาปล่อยไก่ ไก่มันออกลูกออกหลานมาก แล้วก็ทำความยุ่งยากให้แก่พระสงฆ์องค์เณร พระก็เลยแนะนำว่าเอาอย่างนี้ชิโยม เอาคะนอร์ซุบไก่ถวายสังฆทาน เอาปลากระป้องปุ้มปุ้ยถวายสังฆทานแทนปล่อยปลาปล่อยไก่ อาตมาว่าอย่างนี้ดี ไม่เชื่อโยมไปถามหลวงพ่อดูก็ได้

    หลวงพ่อ : แหม... พระจะหม่ำไก่ในขวดน่ะซี กินไก่ในขวด กินปลาในกระป๋อง

    แต่ไม่ได้นะ เพราะว่าวันนั้น วันเป่ายันต์เกราะเพชร คือว่าลุงท่านมาบอกว่ามีคนอยู่ 4 คน จะขอร้องให้ท่านช่วยอุทิศส่วนกุศลให้ท่านเป็นพยานใช่ไหม ท่านบอกว่า 4 คนนี่ ผมช่วยไม่ได้ครับ ต้องแก้ให้คนวันเสาร์ปล่อยปลา ให้คนวันศุกร์ปล่อยไก่ ท่านว่าอย่างนี้นะ

    ก็เลยบอกว่าการแก้อย่างนี้เป็นของดี บอกทุกคนก็แล้วกันนะ ทั้งๆที่เขาไม่มีเคราะห์ตามนั้น แต่ทำให้เขาลอยตัวง่าย ช่วยง่ายขึ้น

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 96 เดือนกุมภาพันธ์ 2532 หน้า 18)

    การสวดภาณยักษ์

    การสวดภาณยักษ์ คำว่าภาณยักษ์จำไว้ก่อนนะบทนี้เขาเรียกว่า "ภาณยักษ์" ตอนหนึ่ง "ภาณพระ" ตอนหนึ่ง มี 2 ตอน

    ตามหัวข้อเรื่องเขาให้ชื่อว่า "ภาณยักษ์" ภาณแปลว่าพูด ภาณยักษ์ แปลว่า ยักษ์พูด

    ภาณพระ แปลว่า พระพูด เรื่องนี้ยาวหน่อย คือว่าภาณยักษ์หรือภาณพระ เรื่องราวเป็นอย่างนี้

    คือว่าในสมัย เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เวลานั้นคนที่นับถือพระพุทธเจ้า ฟังเทศน์แล้วก็ไปเจริญสมณธรรม คำว่า สมณธรรม คือกรรมฐาน ตั้งใจจะเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ อย่างที่พวกเราทำกัน ในขณะเดียวกันพวกผีและเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่เคารพพระพุทธเจ้านะ ก็แกล้งเขาไปล้อเลียน พวกนักปฏิบัติบ้าง ล้อเล่นบ้าง แหย่เล่นบ้าง ก็ทำให้การปฏิบัติไม่มีผล อย่างเดียวนี้ก็เหมือนกันยังมีอยู่บางคนทำแล้วนั่งเห็นนั่นนั่งเห็นนี่ บอกนั่นแบบนี้ อย่างนี้แหละเชื่อไม่ได้เด็ดขาด อย่าไปรับฟัง

    ต่อมาท้าวเวสสุวรรณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ 4 องค์ด้วยการเป็นท้าวมหาราช ถือว่าเป็นแม่ทัพใหญ่ของพระอินทร์ มีบริวารด้านละหลายๆแสนองค์ ก็เข้าไปประชุมกันที่ฏานาฎิยนคร คือวิมานของท่านท้าวเวสสุวรรณ ก็เรียกบรรดาบริษัททั้งหมดเข้าที่ประชุมพร้อมกัน แล้วท่านก็ร่างคาถาบทนี้ขึ้นมา คือ "บทวิปัสสิส" พรรณนาถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์

    เมื่อร่างบทบัญญัติเสร็จแล้วก็ประกาศกับบรรดาเทวดาทั้งหมดว่า เทวดาก็ดี ผีก็ดี คนก็ดี ถ้าบุคคลใดเขาเจริญสวดมนต์บทนี้อยู่ ไม่ต้องนั่งสวดทั้งวันนะ สวดแค่จบเดียวก็ใช้ได้ด้วยความเคารพ ถ้าพวกเธอไปนั่งใกล้ก็ดี ล้อเลียนก็ดี หลอกหลอนก็ดี ฉันจะกลับโทษเธอฐานกบฏ ลงโทษหนัก ตอนนี้เขาเรียกว่าภาณยักษ์

    เมื่อประกาศกับบรรดาบริษัททราบหมดแล้ว ทั้ง 4 ท่านก็มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง 3 ท่านก็มอบหน้าที่ให้ท่านท้าวเวสสุวรรณกราบทูลพระพุทธเจ้า ว่าบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย จะเป็นเณรก็ดี เถรก็ดี ชีก็ดี ภิกษุ ภิกษุณี หรือสามเณรรีก็ตาม อุบาสก อุบาสิกา ก็ตาม ที่เจริญสมณธรรมอยู่ ผีและเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิมีมาก ย่อมเข้าไปล้อเลียน ขอองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรด เอามนต์บทนี้มอบแก่ทุกคน ถ้าบุคคลใดนั่งที่ลับ กลัวก็ให้สวดมนต์บทนี้ก่อน ผีและเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฐิจะไม่รบกวน ตอนนี้เรียกว่า ภาณยักษ์

    ต่อมาเมื่อเทวดาทั้ง 4 องค์กลับแล้ว พระพุทธเจ้าก็เรียกพระสงฆ์ประชุม มอบมนต์บทนี้ให้สวดให้ท่องกัน เรียกว่า ภาณพระ อานิสงส์ก็คือ

    1. กันผีและเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิได้

    2. การสวดมนต์บทนี้เป็นการระลึกถึง พระคุณความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ถ้าสวดมนต์ไว้เป็นปกติ สมาธิไปสูงกว่านั้น ตายจากความเป็นคนจะเป็นเทวดาชั้นยามา

    เพราะฉะนั้น ถ้าใครกลัวผีทำร้ายแล้วก็ ควรสวดมนต์บทนี้ไว้เสมอๆ

    (จาก ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 73 เดือนมีนาคม 2530 หน้า 23-24)


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2024
  5. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    119
    ค่าพลัง:
    +225,741
    จะตาย เงินช่วยไม่ได้แต่อานาปาฯช่วยได้


    ท่านเจ้าคุณฯบอกว่า อย่างคนที่ตายที่เครื่องบินตก (ขอสงวนชื่อ) ตายที่สูงซะด้วย ตายบนยอดไม้โน่น มีเงินเป็นหมื่นๆล้านนี่ เรามองดูแล้ว โอ ไม่มีอะไรเลย หมด มีเงินมากๆก็ยังช่วยไม่ได้

    ก็ถือว่าอีตอนเราไม่มีเงิน ตอนนั้นอยากจะมี มันอยาก นึกว่าเงินช่วยได้ทุกอย่าง อันที่จริงช่วยไม่ได้ทุกอย่างหรอก ตอนจะตายนี่นะ เงินกองๆ อยู่ข้างตัว เงินก็ช่วยไม่ได้ หมออยู่ข้างตัวก็ช่วยไม่ได้

    แต่อานาปาฯนี่ช่วยได้ ช่วยบรรเทาทุกขเวทนา คือหลบเลี่ยงได้ ตัวนี้อยากให้ทำกัน ได้ตัวนี้แล้วจะทรงอย่างอื่นได้หมด ง่าย ส่วนมากเราทิ้งอานาปาฯกันเสียเยอะ ไม่ต้องเสียสะตุ้งสตางค์เลย

    ตัวนี้คือบรรเทาทุกขเวทนาได้ จิตมันแยกออกจากกาย หลบแค่นี้นะ จิตมันแยกในสมาธิ มันจะบรรเทาทุกขเวทนาตัวนี้

    พูดถึงสมาธิเฉยๆ สมาธิดีแล้ว ปัญญาไม่ต้องไปนั่นหรอก มันเกิดง่าย ปัญญาของลูกศิษย์หลวงพ่อส่วนมากจะง่าย เพราะท่านสอนวิปัสสนาญาณควบไปเยอะ พอจิตเป็นสมาธิปุ๊บ มันจะเห็นอะไรก็ง่ายไปหมด เพราะท่านแทรกซึมเคล้าไปหมดแล้วนี่

    บางคนเห็นหลวงพ่อสอนมโนมยิทธิ นี่บอก มันฌานโลกีย์นี่ มโนมยิทธิคือฌานโลกีย์จริง แต่ว่าท่านไม่ได้สอนอย่างเดียวนี่ มีวิปัสสนาญาณ ต้องตัดขันธ์ 5 เห็นร่างกายเป็นทุกข์ อะไรอย่างนี้ ใช่ไหม เป็นวิปัสสนาญาณไปแล้วนี่ ผสมผสานกลมกลืนไปหมด

    ยกทรงถามว่า ปกติภาวนาเบื่อนี่ก็สลับกับวิปัสสนาได้ ใช่ไหมครับ

    ท่านเจ้าคุณฯ ตอบว่า ใช่ จิตบางคนมันเบื่อภาวนา บางทีมันไม่เอา ภาวนามันเบื่อ ก็ต้องมาพิจารณา พิจารณาเบื่อ มันฟุ้งน่ะ มันฟุ้งก็ต้องปล่อยมัน ตามมัน ตามดูฟุ้งไปถึงไหน ตามดูมัน บางทีจับอานาปาฯไม่อยู่ อารมณ์ยังคิดนี่ เราก็ต้องรู้จิตเรา มันคิดก็ต้องคิด คิดแล้วดูมันคิดเรื่องอะไรต้องตามดู

    (จากคอลัมภ์ "ท่านเจ้าคุณฯสนทนา" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 475 เดือนตุลาคม 2563 หน้า 13)

    เรื่องบวชตลอดชีวิต

    มีคนปรารภเรื่องตั้งใจบวชตลอดชีวิต พระครูปลัดอนันต์ แนะนำว่า

    การบวชตลอดชีวิตมารมันเอาเราเหมือนกัน มารก็คือกิเลสของตัวเราเองนี่แหละ ก็มี
    พวกกันตั้งหลายคน รุ่นนายทหาร รุ่นท่านอาจินต์นี่แหละ บวชหลายองค์ ตอนหลังสึก
    หมด อย่างยกทรงพวกกันน่ะรู้ดี

    "เพื่อนของผมหนักกว่านั่นหน่อย ไปที่โคนโพธิ์ที่อินเดีย อธิษฐานข้าพระพุทธเจ้า
    ขอเป็นพระพุทธเจ้าในเร็วๆนี้เถิด กลับมาอยู่กุฏิไม่ได้เลย ต้องวิ่งแอบไปอยู่วัดโพธิ์ ใครนิมนต์เทศน์ ด่ามันแหลกเลย อยู่ได้แค่ 7 วัน เตสังวูปะสะโม สุโข นี่พุทธภูมิ"

    พุทธภูมิต้องสึก ต้องไปหาสาวกนี่

    "โอ..ใช่ๆ ต้องมีสาวก"

    คือว่าพ่อแม่ต้องการให้ลูกบวช ลูกบวชแล้วสบายใจ คือไม่มีกังวล เพราะอยู่ในขอบวัด หลวงพ่อบอกว่าแม้นว่าพระเป็นคนเลว บวชแล้วก็ยังทำตัวเลวอยู่ พ่อแม่เขาก็ไม่รู้ แต่พ่อแม่รู้ว่าลูกชายบวชในพระพุทธศาสนา มีความชื่นใจ เท่านี้พ่อแม่ตายแล้วไปสวรรค์ อย่างน้อยนะ

    เมื่อเราบวชแล้ว มันไม่มีอะไรหนักหรอก มันรบกับนิวรณ์ เรื่องที่อยู่อาศัย ยศถาบรรดาศักดิ์ เกียรติยศ ชื่อเสียง เสื้อผ้าอาภรณ์ ไมได้คิดจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ความกังวลเรื่องนั้นไม่มี มันกังวลอยู่กับนิวรณ์ ความฟุ้งช่านของจิตเท่านั้นเอง ปัญหาอยู่ตรงนี้เท่านั้นเอง จะตั้งใจแข็งเกินไป ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็เอาเรื่อง

    คือว่า "มัชณิมาปฏิปทา" มันต้องมีผ่อนสั้นผ่อนยาว บางทีอกุศลกรรมมันให้ผลทำให้เร่าร้อนใจ เราก็ต้องรู้เท่าทัน เมื่อมันให้ผลจะเอาบารมีตัวใดมาใช้ อย่างฉันนี่เป็น 10 ปี ฟังเทปไม่ได้ฟังหูซ้ายทะลุหูขวาก็ยังดี มันไม่เข้าหูเลย คือมันไม่เข้าไปในที่จิตเราเลย พอได้ยินเสียงมันเบื่อขึ้นมาเลย ตัวเองนะ โอ้ย..ทำยังไงโว้ย กลุ้มเหลือเกิน ภาวนามันก็ไม่ภาวนา ไม่มีกำลังใจภาวนา

    "ที่ว่านี่บวชหรือยังนี่"

    ยังบวชอยู่ซิ

    "ถึงขนาดนี้เชียวเหรอ"

    แต่ไม่คิดสึกเท่านั้นเอง เอาขันติบารมีมาใช้ได้ 1 ตัว ตัวอื่นใช้ไม่ได้แล้ว มันไม่มีกำลัง
    สู้กับมัน นี่ทนๆๆ แต่ไม่ได้ทำความชั่วอะไร พอมันคลายปุ๊บก็ภาวนา พอสู้กับมันได้ ถ้ามันเหนือกว่าเรา เราก็สู้ไม่ไหว เดี๋ยวประสาทเครียดไปใหญ่เลย ฉะนั้นถ้าพระมีปัญหาหนักใจจะต้องคุยกัน อย่าไปเก็บความร้อนไว้ในใจ

    พวกที่เคร่งมีอะไรเก็บไว้เงียบๆ ระเบิดตูม ถอดผ้าเหลืองออกไปเลย อย่างนี้ทุกคน ฉะนั้นเรื่องบวช จะไม่ชวนใครบวชตลอดชีวิต ไอ้ความพอดีของคนไปบอกกันไม่ได้ มัชฌิมาปฏิปทานะ มันกลางของเราซิ ไม่กลางของคนอื่น ถ้าใครจะบวชตลอดชีวิตมันต้องมีลูกยืดหยุ่นเยอะ ยืดหยุ่นกับไอ้กิเลสนี่นะ แรงเกินไปก็ไปแล้วอยู่ไม่ได้ หย่อนเกินไปก็ไม่ไหวอีก ต้องใช้ปัญญาประกอบไปตลอดเลย

    "เพื่อนกันมีอยู่องค์หนึ่ง พอผู้หญิงมาปั๊บแกไม่มองเลย ก้มเลย พูดคำตอบคำ ได้สัก
    20 กว่าวันไปตัดกางเกงเสียแล้ว สึกเลย"

    อันที่จริงถ้าบวชได้อยากให้บวชกัน เพราะว่าความสุขมีมากจริงๆนะ ความสุขจาก
    ความไม่กังวลน่ะ คิดดูก็แล้วกันมีกินไม่มีกินไม่ต้องกังวล การแต่งตัวไม่กังวล ที่อยู่อาศัยไม่กังวล ยศถาบรรดาศักดิ์ไม่กังวล ศักดิ์ศรีไม่กังวล แต่ฆราวาสตรงข้ามกันเลย จะต้องหาให้ได้มากเพื่อตัวเอง แล้วต้องเผื่อพี่น้องเพื่อนพ้องอีก ถ้าแต่งงานมีลูกมีเต้าก็ต้องเผื่อลูกหลานเหลนอีก ต้องเตรียมหมดทุกอย่าง

    ไม่ใช่คิดเฉพาะวันนี้ พรุ่งนี้ทั้งชีวิตต้องคิดล่วงหน้าไว้เลย พระพรุ่งนี้ยังไม่คิดเลย ความกังวลเหล่านี้มันไม่มี มันจึงเบาจิต จิตไม่มีทุกข์เรื่องพวกนี้ คนเราไม่ใช่ทำวันเดียวบรรลุเลยหรอก มันเหมือนเราตัวเท่านี้ กินข้าวมา 20 กระสอบ ไม่ได้กินวันเดียวนี่ กินทีละหน่อยๆ มันถึงตัวเท่านี้ได้

    หลวงพ่อเคยสอนว่า เรารักษาศีลเจริญภาวนานั่งกรรมฐาน บางครั้งมันก็มีความโกรธความโลภความหลงมันก็มีอยู่ แต่ท่านบอกให้ไปวัดกำลังใจก่อนที่เรามาปฏิบัติธรรม เขาด่าเรามาคำหนึ่งเราไปสิบ แถมให้ดอกไปเลยแต่เมื่อเรามาปฏิบัติธรรมแล้ว เขาด่าเรามาคำเราไปคำ แสดงว่าลดไปตั้ง 9 แล้ว บางทีเขาด่าเรามาคำเราไปครึ่ง บางทีเขาด่ามาคำเราอดได้ หลวงพ่อบอกให้ดูความดีตรงนี้ ดูจิตของเราตรงนี้ ความดีมันจะสะสม ให้ดูตัวเองไม่ต้องให้ใครเขามายอเราหรอก

    สมัยก่อนหลวงพ่อบอกให้ดูความผิดของตัวเราเองอยู่เสมอ ก็เหมือนเก็บของ ถ้าไปเก็บแต่ความดีออกความชั่วมันก็พอกพูน ถ้าเก็บความชั่วออก มันก็เหลือแต่ความดี

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 158 เมษายน 2537 หน้า 93-94)


    ผีตากิ่ม

    ก่อนหลวงพ่อจะมรณภาพ ท่านรับแขกแล้วกลับไปเล่าให้ฟัง ก่อนมรณภาพสัก 20 วันได้ มีคนมาต่อว่า ว่าทำสังฆทานผีไม่ได้รับ ผีคงจะไปเข้าฝันอีก หลวงพ่อก็เล่าให้ฟังว่าคนนี้ทำบุญแล้วไม่เจาะจง ถ้าสัมภเวสีจริงๆต้องเจาะจง ห้ามให้คนอื่นเลย ท่านก็บอกว่าเวลาทำบุญให้สัมภเวสีหรือคนที่ตายไปแล้วขอให้เจาะจง บอกว่าบุญจะมีแก่ข้าพเจ้าเพียงใดออกชื่อคนนั้นให้มาโมทนา

    มีอยู่คราวหนึ่ง หลวงพ่อเล่าเรื่องผีตากิ่ม หลวงพ่อไปเทศน์ที่วัดท่าซุง ตอนนั่งกรรมฐานท่านบอกว่าสมัยอยู่จังหวัดชัยนาท อยู่วัดศีรษะเมือง สรรคบุรี ท่านไปอยู่ที่นั่น ก็มีคนชื่อตากิ่ม แต่ก่อนจะชั่วจะดีก็ไม่ทราบ แต่เช้าเอาปิ่นโตมาให้ เพลก็เอาปิ่นโตมาให้ มานอนอยู่ที่กุฏิ

    ตอนหลังหลวงพ่อมาอยู่ที่วัดท่าซุง ตากิ่มตาย ลูกสาวก็มานิมนต์ บอกหลวงน้าจะทำศพคุณพ่อ ขอให้หลวงน้าเป็นประธาน หลวงพ่อบอก อีหนู ถ้าจะให้หลวงน้าเป็นประธานละก็แม้แต่ไข่ใบเดียวก็ห้ามทุบนะ ลูกสาวก็รับปาก แล้วหลวงพ่อก็บอกอีกว่า อีหนู เวลาจัดงานไม่ต้องห่วงแขกเลยนะ ให้จัดเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะไปเลย เจ้าภาพไม่ต้องไปรับแขก ให้อยู่จุดธูปเทียน อาราธนาศีลฟังพระสวด การรับแขกเป็นหน้าที่ของคนอื่น

    พอถึงเวลาจัดงานศพ พระหลานชายก็บวช เลี้ยงพระทั้งวัดเรียกว่าเป็นสังฆทานอย่างใหญ่ มีพระเทศน์ 2 ธรรรมาสน์ มีหลวงพ่อเทศน์กับพระองค์หนึ่งชื่ออะไรจำไม่ได้

    พอหลวงพ่อเริ่มเทศน์ อีกองค์ก็กล่าวอารัมภกถา หลวงพ่อก็เข้าสมาธิ ขณะนั่งสมาธิก็ควานหาตากิ่ม ตากิ่มอยู่ที่ไหนขอให้มา หาเท่าไรตากิ่มก็ไม่มา ตากิ่มไม่มี ท่านก็คิดได้ว่าตากิ่มคงได้รับเคราะห์หนักแล้ว หลวงพ่อก็บอกว่า เออ..ถ้าใครคุมตากิ่มอยู่ละก็ขออนุญาตสักครู่นะ ขอให้นำตากิ่มมาด้วย พออธิษฐานอย่างนั้นตากิ่มก็ปรากฏเลย โซ่ล่ามคอ ล่ามขา เดินหัวตกมาเลย

    พอตากิ่มมา หลวงพ่อถามอะไรก็ยังพูดไม่ได้อีก หลวงพ่อก็ถามคนคุม เป็นไง ลูกสาวทำบุญอย่างใหญ่โตรับบุญไม่ได้เหรอ บอกว่าไม่มีผลครับ กรรมหนักมากครับ แล้วทำยังไงถึงจะรับได้ล่ะ บุญของท่านน่ะครับ จะช่วยให้พ้นเคราะห์ได้

    พอหลวงพ่ออธิษฐาน บอกว่าตั้งแต่เริ่มปรารถนาพระโพธิญาณมาถึงบัดนี้จะมีบุญมากเพียงใด ขอตากิ่มจงโมทนา เท่านั้นเองโซ่ที่คอหลุด ตากิ่มกราบ พอกราบ 3 ครั้ง ร่างกายก็สว่าง ตากิ่มสบายแล้ว

    ทีนี้คนคุมก็ต้องการบ้าง บอก ท่านครับขอผมบ้าง หลวงพ่อก็บอกว่าแกไม่หนีงานเขาเหรอ เขาก็บอกว่าท่านครับ ถ้าใครมีบุญต่อเขาก็ปล่อยให้ไปได้ครับ หลวงพ่อก็อธิษฐานอย่างเดิม คนคุมมาก็มีร่างกายสว่างไสว

    จึงขอสรุปว่า บุญจากกรรมฐานนี่มีอานิสงส์มาก สามารถจะช่วยสงเคราะห์คนได้ ทำทานธรรมดาบางอย่างยังไปไม่ได้ ของเรานี่ทั้งสังฆทาน ทั้งกรรมฐานด้วย ยิ่งมีอานิสงส์มาก

    "หลวงพ่อท่านเคยพูดหรือเปล่าว่า ตากิ่มทำกรรมอะไรครับ"

    ท่านไม่ได้เล่า คงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวัดนี่แหละ

    "อย่างนี้ถ้าหากไม่เจอหลวงพ่อ หลวงพ่อไม่สงเคราะห์น่ากลัว....."

    เอวัง กิ่ม

    (จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 149 กรกฏาคม 2536 หน้า 98-99)


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2024
  6. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    119
    ค่าพลัง:
    +225,741
    ผลการรักษาศืลข้อ 6

    ศีลข้อ 6 องค์สมเด็จพระภัควันด์ ให้ลองฝึกจิต ลองฝึกกายว่า วันพระหนึ่งรักษาอุโบสถครั้งหนึ่ง ลองอดข้าวตอนเย็นดู ตอนนี้องค์สมเด็จพระบรมครูจะแสดงให้เห็นว่า ไอ้ความวุ่นวายของเรื่องการบริโภคอาหารมันสร้างปัจจัยให้เกิดความทุกข์ เราอดอาหารเสียสักมื้อ ๆ หนึ่ง จิตใจก็มีความสุข

    แต่เรื่องนี้เป็นของแปลก บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเราไม่สมาทานศีล อุโบสถ หรือศีล 8 เวลาเย็นมันหิว แต่ว่าเราสมาทาน อุโบสถศีล หรือศีล 8 ถ้าศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์ตอนเย็นไม่หิว ดูพระเป็นตัวอย่าง เมื่ออาตมาบวชใหม่ๆก็เกรงว่าจะเกิดความหิวในตอนเย็น เตรียมเภสัชทุกอย่าง ที่พอจะกระตุ้นร่างกายให้เว้นไว้จากความหิวเสียได้ แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า นับตั้งแต่บวชมาถึงวันนี้ ไม่เคยหิวอาหารเย็นเลย

    ก็มีบางท่าน ถ้าวันใดศีลของบรรดาภิกษุ สามเณร องค์ใดบกพร่อง วันนั้นจะเกิดความหิว ข้อนี้เป็นอัศจรรย์ และการอดข้าวเย็นนี้นั้น องค์สมเด็จพระภัควันต์กล่าวว่า เป็นปัจจัยให้มีความแนบสนิท มีลมละเอียดได้เร็ว นี่พึ่งเวลาล่วงไปสักสองสามทุ่ม ยี่สิบหรือยี่สิบเอ็ดนาฬิกา จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า เวลาที่เจริญสมาธิจิตใจสงบสงัดดี นี่องค์สมเด็จพระชินศรีเห็นประโยชน์เช่นนี้ จึงแนะนำให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพากันระงับอาหารตอนเย็นสักวันพระละหนึ่งครั้ง เป็นกายฝึกกายฝึกใจ ได้เป็นปัจจัยให้ทรงสมาธิได้ดี


    (จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 8 หน้า 41)


    ไม่ได้ตั้งใจบวช

    ท่านเจ้าคุณฯ : มันก็มีที่เด่นๆก็มีพระอยู่องค์หนึ่ง บวชใหม่ ก็ไม่เชื่ออะไร ไม่ค่อยเคารพพระรัตนตรัย ไม่ค่อยเชื่ออะไรหรอก แต่แม่ให้บวช บวชเอาใจแม่ พอจะออกจากบ้านมาก็กินเหล้ามากรึ๊บหนึ่งก่อน กินเหล้ามากั๊กหนึ่งก่อนแล้วจะมาเป็นนาคที่วัด เพราะไม่เคารพ พระรัตนตรัย ไม่เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์นี่ ก็ไม่เชื่อ

    ออกจากบ้านก็กินเหล้ามาแล้ว กินเหล้ามากั๊กหนึ่งแล้ว บอกขับรถไม่ได้ต้องให้พี่เขยขับรถมาส่ง พอมาถึงวัดก็มันยังกรึ่มๆอยู่นี่ มานั่งกรรมฐานก็ไปไม่ได้ รุ่งขึ้นอีกวันก็แบบต้องผ่าน (การฝึก) ก่อนจะบวช วันสองก็พอแค่นไปได้พอผ่านพอให้บวชได้

    พอฝึกเต็มกำลังวันแรก ไปนั่งบนอาสนสงฆ์ ก็กลัวมันจะล้มไปทับคนอื่น จะหกคะเมนลงมา วันที่สองใจมันก็เต้นพั่บๆๆ แกก็ไม่เคยฝึกใช่ไหม ใจมันเต้นรัวพรึ่บๆๆ สั่นไปหมดเลย เอ มันสั่นมันก็ยังไม่ไป เห็นแสงสว่างมาแล้วแกก็บอก เฮ้ย มึงจะสั่นให้ตายโหงตายห่าหรือยังไงวะนี่ เอาให้มันตายไปสักที

    พอคิดอย่างนี้ มันด่าตัวเองอย่างนี้ คิดในใจอย่างนี้ พออีกสักพักก็พุ่งตามแสงไปเลย บอก เออ แกก็ไปเห็นครั้งแรก ไปเห็นอะไรล่ะ กระทะทองแดงใหญ่กว่า 12 ไร่อีก บอก โอ้โฮ นี่กูกินเหล้ามาก่อนบวชนี่หว่านี่ ถ้ากูมานี่ละก็ โห กูโดนแน่เลย นี่กูถ้าต้องมาลงในนี้ แกกินเหล้ามาก่อนบวชโน่นน่ะ

    โอ้โฮ อีตานี้เองเริ่มกลัวแล้ว เริ่มกลัว กลัวการกินเหล้าขนาดข้อเดียวมันยังเห็นกระทะใหญ่เท่า 12 ไร่นั่นน่ะ จับคนกรอกอยู่นี่ แกก็กลัว กลัวก็ไปบอกเทวดา มีพ่อตายไปแล้วไปอยู่ที่ไหน อะไรอย่างนี้ พ่อเดินยิ้มมาเลย พ่อยิ้ม เห็นพ่อเป็นเทวดาแพรว แกก็เกิดดีใจ ดีใจว่าพ่อเป็นเทวดาอย่างนั้นอย่างนี้

    นี่ก็เกิดกลัวว่าตายจะต้องตกนรกแน่เพราะศีล 5 ไม่เคยเหลือเลยนี่ ขนาดคนไม่เชื่อเลยนะ ไม่เชื่ออะไรเลย ตอนหลังแกก็มาสรุปตัวแกเอง บอกว่า ถ้าชาตินี้ถ้ารักษาปิดอบายภูมิไม่ได้ต้องลงนรกแน่ แกก็ไปจดอารมณ์พระโสดาบันมา มาใช้ ไปจดมาเลย บอกว่าถ้าไม่ได้ตัวนี้กลับไปรับรองต้องลงแน่ชาตินี้ ไม่รอดหรอก เพราะไม่เคยเหลือสักข้อเลยศีล 5

    เออ ก็ได้บุคคลนี้ที่ดี ทีนี้มันก็ได้เรื่อยซิ มันฝึกในพงในป่ามันก็ได้เรื่อย ทีนี้ก็เกิดไปเห็นเทวดามายืนอยู่ แกก็บอกว่า นี่เพื่อนกันอยู่ข้างๆนี่ฝึกไม่ได้ทำอย่างไร ถามเทวดา เทวดาบอก ก็มันอยากเกินไปนี่ แกก็นึกในใจ เอ๊ะ เทวดาพูดกับพระพูดว่ามันได้หรือวะนี่

    นี่เรารู้ว่าตัวเราวิเศษเหมือนกัน ที่แท้สมัยหลวงพ่อ หลวงพ่ออยู่วัดสะพานนี่ มีนายทหารหรือไงไปบวชอยู่ด้วย ก็นึกในใจ เอ เราเป็นพระนี่ดีเว้ย เทวดาไหว้

    หลวงพ่อเล่าให้ฟัง รุ่งขึ้นอีกวันบอก ยกนี่ส้นตีนนี่แน่ะ เทวดาว่ายกตีนมาแถม โอ้โฮ มาบวชกับหลวงพ่อบอก เทวดาให้ส้นตีน ถ้าทำใจดีจิตดีถึงจะไหว้ได้ แต่ถ้ายังมั่วด้วยกิเลสไหว้ยาก

    ก็ตรงกับคนนี้องค์นี้ที่มาเล่านี่ คนนี้ไม่รู้เรื่องเลย ไม่เคยอ่านหนังสือ ไม่เคยทำอะไรทั้งนั้น บอกขันธ์ 5 ขันธ์ 6 อะไรไม่รู้ตัวอะไรบ้าง ไม่รู้เรื่องเลย มันว่าตัดขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่รู้เรื่องอะไร นึกว่า เออ เอาคนดิบมาบวช คนนี้บอกกลับไปจะต้องศีล 5 ต้องบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ลงแน่ อะไรของแกก็เล่าให้ฟังนี่

    คำสอนพระพุทธเจ้าต้องนึกถึงความตายก็ไปย่อ คนไม่ค่อยรู้เรื่องเลยนะ แต่มันฟังเสียงออกลำโพงมันจดย่อของมันไว้ ต้องเอาไปทำให้ได้ ถ้าไม่ได้ตกนรกแน่ ก็เออ ได้คนนี้ที่เป็นไม่เคยรู้เรื่องได้มานี่เราก็ชื่นใจ

    ยกทรง : หายเหนื่อยเลยนะ

    ท่านเจ้าคุณฯ : หายเหนื่อย แต่พระส่วนมากไม่ค่อยพูดกันหลายองค์ เห็นพระจ่าปัญญาบวชด้วยกันนี่ บอก พระเขาได้ดีๆกันหลายองค์ ฆราวาสผู้ชายก็ดีหลายคน ไม่ค่อยพูด

    มีอยู่คนอยู่หัวหิน อยู่ประจวบฯ เอ้ย อยู่เพชรบุรี มาลากลับ มาถึงจับมือ โอ้โฮ
    นั่นสั่นเลย บอกผมจะรักษาศีลตลอดชีวิต ผม โห มั่นใจ คงจะไปเจออะไรพิเศษ สั่นไปหมดเลยน่ะ ผมมั่นใจผมจะรักษาศีลตลอดชีวิต

    ก็ถือว่าได้บุญใหญ่นะ ตั้งแต่เริ่มทำบุญมาก็มีบวชพระ ถวายสังฆทาน ใส่บาตร รักษาศีล ภาวนา มันครบไปหมดทุกอย่าง

    (จากคอลัมภ์ "ท่านเจ้าคุณฯสนทนา" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 480 เดือนมีนาคม 2564 หน้า 17-18)


    นิพพาน แปลว่า ดับ

    ผู้ถาม : ขอหลวงพ่อโปรดอธิบายเรื่องนิพพาน ให้ผมเข้าใจด้วยครับ

    หลวงพ่อ : คำว่า "นิพพาน" หรอ... คุณต้องการรู้เรื่องนิพพานไปทำไม ?

    ผู้ถาม : (หัวเราะ) "เอาไว้เป็นความรู้ครับ"

    หลวงพ่อ : เอาไว้ประดับความรู้... ดี คำว่า "นิพพาน" เป็นของง่าย เป็นของไม่ยาก

    นิพพานนี่เขาแปลว่า "ดับ" นะ

    ถ้าจะถามว่า ดับอะไร ก็ขอตอบว่า ดับความชั่ว คนที่จะถึงนิพพานได้ต้องไม่มีความชั่ว 3 อย่าง คือ.-

    1. ไม่ชั่วทางกาย
    2. ไม่ชั่วทางวาจา
    3. ไม่ชั่วทางใจ

    ถ้าทุกคนดับความชั่วได้หมด บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

    ผู้ถาม : แต่ผมเคยได้ยินมาว่า นิพพาน แปลว่า ดับไปเลย ไม่เหลืออะไรเลยนี่ครับ

    หลวงพ่อ : ความจริงคุณจะต้องรู้ว่า...อะไรดับ คำว่า นิพพาน แปลว่า ดับ

    ดับทีแรก คือ "ดับกิเลส" ดับที่สอง คือ "ดับขันธ์ 5"

    แต่ว่าตามพระบาลีไม่ได้บอกว่า จิตดับ

    ปัญหาของคุณที่ถามนี่เหมือนกับปัญหาของพระที่ถามพระพุทธเจ้าเคยถามมาแล้ว คือท่านผู้นี้มีนามว่า "พระโมกขราช"

    พระโมกขราชถาม พระพุทธเจ้าว่า

    "นิพพานมีสภาพสูญ...ใช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า" หมายความว่า เมื่อถึงนิพพานแล้วก็ดับสูญ มีสภาพคล้ายกับควันไปที่ลอยไปในอากาศไม่มีที่เกาะ ไม่มีที่อยู่ อย่างนั้น

    องค์สมเด็จพระบรมครูทรงตรัสว่า "โมกขราช เรากล่าวว่านิพพานนั้น หมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ 5 ดับ"

    พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ

    ทีนี้ถ้าหากว่าคุณจะศึกษาเรื่องนิพพาน ถ้าเราจะพูดกันไปกี่ร้อยปีมันก็ไม่จบ ฉะนั้น ถ้าต้องการจะรู้เรื่องพระนิพพานจริง ๆ คุณจะต้อง

    - เป็นคนมีศีลบริสุทธิ์ เป็นอันดับแรก
    - เป็นผู้ทรงฌานสมาบัติ
    - ในขณะที่ทรงฌานสมาบัติแล้ว คุณจะต้องทำจิตของตนให้เข้าถึงซึ่งทิพยจักขุญาณ
    - เมื่อได้ทิพยจักขุญาณแล้ว...จะต้องทำจิตของตนให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ที่เรียกกันว่า สังขารุเบกขาญาณ

    - เมื่อจิตเข้าถึงสังขารุเบกขาญาณแล้ว ก็ต้องชำระกิเลสด้วย การตัดสังโยชน์ 3 เบื้องต้น คือ

    1. ทำลายสักกายทิฐิ
    2. ทำลายวิจิกิจฉา คือความสงสัยให้หมดไป
    3. สีลัพพตปรามาส ทรงศีลให้บริสุทธิ์
    4. มีอารมณ์จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ที่เราเรียกกันว่า โคตรภูญาณ

    ถ้ากำลังใจของคุณทำได้อย่างนี้ เมื่อจิตเข้าถึงโคตรภูญาณ คุณจะทราบว่า คำว่าดับของนิพพานนั้นก็คือ

    1. ดับกิเลส ในขณะที่มีชีวิตอยู่
    2. ดับขันธ์ 5 หรือขันธ์ 5 ดับ
    3. อารมณ์จิตที่บริสุทธิ์ไม่ได้ดับไปด้วย

    คำว่า "พระนิพพาน" ยังมีจุดที่เป็นที่อยู่อันหนึ่ง ที่เขาเรียกว่าเป็นทิพย์พิเศษ พ้นจากอำนาจของวัฏฏะ คุณทำได้ไหมล่ะ ?

    ผู้ถาม : ทำไม่ได้ครับ

    หลวงพ่อ : ทำไม่ได้ แล้วถามทำไม...

    ผู้ถาม : (หัวเราะ) ถามไว้เพื่อเป็นการศึกษาครับ

    หลวงพ่อ : ดี...ถามไว้เพื่อเป็นการศึกษา แต่ว่าคุณอย่าลืมนะ เพราะว่า คำว่า นิพพานสมัยนี้เป็นของไม่ยากสำหรับประชาชนแล้วนะ บรรดาบุคคลทั้งหลายที่อยู่ในวัยเรียนชั้นเล็ก คือชั้นประถมก็ดี ชั้นมัธยมก็ดี และนิสิตนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยก็ดี เขาได้ญาณประเภทนี้กันเยอะแล้ว และเข้าใจเรื่องพระนิพพานดี


    (จากธรรมวิโมกข์ ฉบับที่ 6 หน้า 51-53)

    นิพพานมีกี่ประเภท

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ นิพพานมีกี่ประเภทคะ

    หลวงพ่อ : มีประเภทเดียว คือใช้ พ.พาน ไม่ใช่ ภ.สำเภา

    ผู้ถาม : (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ : พูดถึงนิพพานมีกี่ประเภท ตอนฉันเขียนหนังสือหลวงพ่อปานออกปีแรก มีคนคณะหนึ่งเขาคุยกันถึงเรื่องพระนิพพาน เขาบอกว่านิพพานของเขามึ 20 ชั้น ฉันเลยบอกเขาว่า ฉันยอมแพ้


    เขาถามว่าทำไม ก็เลยบอกเขาว่าพระพุทธเจ้าบอกนิพพานมีชั้นดียว ของคุณมื 20 ชั้น พระพุทธเจ้ายังสู้คุณไม่ได้ นี่มาเจอกี่ประเภทอีกแล้ว ช้กจะยุ่ง เจอะเป็นรายที่สอง อันนี้ไม่ใช่นะ

    ผู้ถาม : แต่เคยอ่านเจอในหนังสือเขาบอกว่า มึ 2 ประเภทค่ะ

    หลวงพ่อ : ที่เขาเขียนแบบนั้น เขาหมายถึงอารมณ์ความเป็นพระอรหันต์ เป็นอรหันต์แล้วถือว่าเป็นนิพพาน

    คือว่าพระอรหันต์นี่จิตดับกิเลส แล้วก็ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือร่างกายยังอยู่ แต่ว่าจะมีเบญจขันธ์เหลือก็ดี แต่จิตพระอรหันต์ไม่มีทุกข์ จริงๆร่างกายท่านทุกข์ แต่ใจท่านไม่ได้ทุกข์ ร่างกายท่านเจ็บท่านก็รู้ว่าร่างกายเจ็บ ร่างกายหนาวร่างกายร้อนท่านรู้ ร่างกายป่วยไข้ไม่สบายท่านรู้ แต่ว่าจิตท่านไม่กังวล ท่านก็รักษาพยาบาล ท่านหิวท่านก็กิน ท่านร้อนท่านก็หาเครื่องเย็น ท่านหนาวท่านก็หาเครื่องอุ่น หาได้แค่ไหนพอใจแค่นั้น ถ้าหาไม่ได้ก็แค่นั้นแหละ แค่นี้เอง

    และที่เรียกนิพพานอึกจุดหนึ่งคือว่าดับกิเลสด้วย แล้วก็ดับเบญจขันธ์ด้วย คือกิเลสหมดไปแล้ว เมื่อถึงเวลาตายก็ดับเบญจขันธ์ด้วย


    มันก็ประเภทเดียวนั้นแหละ แต่มันสองระยะ ไม่ใช่ 2 ประเภทนะ นั่นเขาพูดถึงอารมณ์ อารมณ์มันดับตัวเดียว

    ผู้ถาม : ดับกับสูญ นี่ตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ

    หลวงพ่อ : ตัวเดียวกันโยม นิพพานัง ปรมัง สูญญัง แปลว่า นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง หมายถึงกิเลสทั้งหมดมันดับไปหมด ว่างจากกิเลส

    ผู้ถาม : หมายความว่า นิพพานนี่ไม่สูญ ใช่ใหมครับ

    พลวงพ่อ : นิพพานนี่ไม่สูญ แต่คนที่จะไปนิพพานได้ กิเลสต้องสูญ

    เขาไม่ได้บอกนิพพานสูญ เขาแปลหนังสือเขาแปลไม่หมดทุกตัว


    คำว่าสูญ เขาแปลว่า ว่าง นิพพานเบ็นธรรมว่างอย่างยิ่ง หมายความว่า คนที่จิตว่างจากความชั่วทั้งหมดจึงจะเห็นนิพพานได้ในเวลานั้นนะ แต่คนที่จะไปอยู่นิพพานได้ ต้องไม่มีความชั่วอยู่ในจิตเลยที่เขาเรียกว่ากิเลสนั่นแหละ กิเลสคือความชั่ว โยมเข้าใจถูกแล้วนี่ มันตัวเดียวกัน

    ผู้กาม : อาจารย์บางคนเขาว่า นิพพานสูญ หมายถึงไม่มีแม้แต่สวรรค์ก็ไม่มี นรกก็ไม่มี

    หลวงพ่อ : ไอ้นั่นของเขาว่า เราไปตามทางของพระพุทธเจ้าดีกว่า เราจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เขาจะเป็นจานเป็นกาละมัง ก็ช่างเขาเถอะ ใช่ไหม



    ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีคำว่านิพพานสูญ บทพิสูจน์มีก็ไม่เรียนกันนี่


    (จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 หน้า 51-53)



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2024
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    119
    ค่าพลัง:
    +225,741
    ((((((((((1225519.jpg

    ตาบอดคลำช้าง


    คือ มีพระอยู่องค์หนึ่ง

    "เป็นยังไงครับ"


    ก็เทศน์ด่าหลวงพ่อออกทีวีอยู่เรื่อย เรื่องมโนมยิทธิบ้าง อะไรอย่างนี้นะ ลูกศิษย์ลูกหาไปหาก็พูด พูดว่า ไอ้มโนมยิทธินี่มันเพ้อฝันไป แล้วก็ เป่ายันต์เกราะเพชรก็..นั่นไป อะไรก็ว่าไปเรื่อย


    เราก็เอ๊ะ..เป็นพระผู้ใหญ่ พูดไปแสดงว่า ตาบอดคลำช้างแล้ว ทุกคนน่ะ กรรมฐานกองใดกองหนึ่งมันก็จบกิจได้นี่ เพียงแต่ท่านอาจจะเข้าใจของท่าน แต่ของคนอื่นผิด


    "หรือไม่ก็ถนัดมาทางสุกขวิปัสสโกละมั้ง"


    ท่านก็มีทิพจักขุญาณเหมือนกัน


    "มีแต่ไม่จริง แล้วเป็นฌานโลกีย์"


    ใช่ๆๆ


    "ฌานโลกีย์นี่เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้เลยหรือครับ"


    (ดร.ปริญญา พูดเสริมว่า) "แน่นอนไม่ได้ แต่ว่าเนื่องจากว่าเป็นพระผู้ใหญ่ เป็นเจ้าคุณ แล้วก็บวชอีกสายหนึ่งเสียอีก ตัวมานะก็เลยเยอะ ใครๆก็ว่าฉันเเน่ แต่ลุงพุฒบอกว่า อย่างนี้ต้องไปอยู่ขุมที่ 4"


    มีอยู่คราวหนึ่ง เขาไปถ่ายแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เอ๊..คนมันคอยจะว่าฝึกมโนมยิทธิเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ คนไม่เท่าไรหรอก พระซิ พระเป็นยังงั้น เอ๊..กำลังจะเขียนบทจะพูด แวะไปเสียหน่อย ไ ม่ได้ๆ เดี๊ยวมันจะเตะเราเข้า ไม่กล้า เดี๋ยวจะยุ่ง


    "ถ้าเผื่อว่าคนก็ไม่เท่าไหร่หรอก แหม...หลวงพี่เหลืองนี่ เหลือร้าย"


    คือจริงๆนี่ มโนมยิทธินี่ในพระไตรปิฎกมีอยู่เลย เคยอ่านเจอ ท่านก็บอกว่าเหมือนถอดหญ้าปล้อง ถอดหญ้าปล้องออกมา มันอยู่ในหนึ่งในอภิญญา หนึ่งในอภิญญา 5


    หลวงพ่อท่านเกาะแบบตลอดมาเลย ไม่ว่าจะเทศน์ที่ไหนต้องอ้างตลอด ทีนี้คนไม่เคยทำนี่ก็ยุ่งเหมือนกัน


    แต่สมเด็จวัดสามพระยา ท่านคลังตำรา ท่านยังยอมรับ ใช่ไหม บอกหลวงพ่อ ที่คุณเขียนนี่ถือว่าเป็นตำราปฏิบัติได้เลยนะ เป็นตำราใหญ่


    ถ้าเราพูดกันเองภายในก็ถือว่ายกย่องครูบาอาจารย์ แต่ว่าจริงๆเป็นอย่างนั้นจริงๆ หนังสือทุกเล่มอ่านง่าย



    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 163 เดือนตุลาคม 2537 หน้า 91)
     

แชร์หน้านี้

Loading...