หลวงพ่อตอบปัญหา...อานิสงส์ถวายสังฆทานและวิหารทาน

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 9 พฤษภาคม 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,049
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">ถ้าเราตั้งจิตจะถวายสังฆทาน แต่ว่าไม่ได้บอกเล่าคะ ?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ </TD><TD width="87%">ถ้าตั้งจิตแต่ไม่ได้บอกก็ไม่ได้ยิน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าพระนั่งฉันอยู่ตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปหนูเอาของไปถวายเอาน้ำไปถวายถ้วยเดียว ก็เป็นสังฆทานทันที ไม่ต้องบอก ถ้ามีพระตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไปนะ ถ้าองค์เดียวต้องบอก แล้วเขาจะเก็บไว้เป็นสังฆทานเลย จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างอื่นคนรับก็ไปนรกซิ ผู้ให้ไปสวรรค์เพราะว่าถวายทานเป็นส่วนบุคคลกับถวายเป็นสังฆทาน อานิสงส์มันต่างกันหลายแสนเท่า แล้วก็ยังมีอีกเวลาหนึ่ง ถ้าพระออกจากสมาบัติ นี่คูณหนักเข้าไปอีกไม่รู้เท่าไร การถวายสังฆทานนี้มีอานิสงส์มาก ความจริงถ้าจะพูดถึงอานิสงส์กันจริง ๆ ละก็ รู้สึกว่าจะมากกว่าจัดงานที่บ้านที่วัดตั้งเยอะแยะ ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าถวายสังฆทาน เราทำกันแบบเงียบ ๆ ไม่มีกังวลการบำเพ็ญกุศลแต่ละคราว ถ้ามีกังวลมากอานิสงส์มันก็น้อย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าจิตที่เราเข้าสู่กุศล มันห่วงงานอื่นมากกว่า ไม่ตั้งจิตโดยเฉพาะและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายสังฆทาน คำว่าสังฆทานก็หมายความว่า ถวายสงฆ์ในหมู่ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ตามพระวินัยท่านเรียกกันว่าคณะสงฆ์ ถ้าต่ำกว่านั้นเป็นคณะบุคคล ถ้าบุคคลเดียวเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ทานโดยเฉพาะ ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์เป็นหมู่นี้มีอานิสงส์มาก</TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">การที่เราทำบุญใส่บาตร ตามหน้าบ้านกับพระที่เรารู้จักตามวัด แล้วไปทำที่วัด อันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันเจ้าคะ.....?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ </TD><TD width="87%">คือว่าการใส่บาตรตามหน้าบ้าน ถือว่าเป็นสังฆทาน คือไม่เจาะจง ใช่ไหมล่ะ ทีนี้ไปใส่บาตรตามพระที่ชอบ ใช่ไหม......?</TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">ไม่ใช่ชอบคะ คือว่าศรัทธาค่ะ</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ </TD><TD width="87%">ชอบกับศรัทธาก็คือกันละ ถ้าศรัทธา ถ้าฉันตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป เป็นสังฆทานมีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าหากท่านฉันตั้งแต่ ๑ องค์ ถึง ๓ องค์ อย่างนี้เป็น"ปาฏิปุคคลิกทาน</TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">มีอานิสงส์มากไหมคะ......?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ </TD><TD width="87%">"มีโยม ถ้าเป็นปาฏิปุคคลิกทาน ถ้าวัดกันตามลำดับแย่นะ ไล่เบี้ยตั้งแต่ให้ทานกับ คนไม่มีศีล จนถึง พระอรหันต์ มีอานิสงส์ไม่เท่ากัน แต่จะพูดสรุปโดยย่อว่า ให้ทานกับพระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับ พระพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    ให้ทานกับพระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง
    และถ้า ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับ ถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง
    คือสร้างวิหาร มีการก่อสร้างเช่นสร้างส้วม ศาลา การเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
    การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และก็ถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวายเกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจน เข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้ว จะไม่เกิดในที่นั้นผลที่ให้ไปไกลมาก กล่าวว่า แม้แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทาน
    คำว่าไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทาน บำเพ็ญบารมีแล้ว แล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมด คำว่าอานิสงส์ ยังไม่หมดก็เพราะว่าถ้าบุคคลใดบูชาบุคคลผู้ควรบูชา นี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน
    ทีนี้การถวายสังฆทานแก่พระ มีผลไม่เสมอกันอยู่อย่างหนึ่งคือ หมายความว่าถวายทานแก่พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ ๕ ประการ อย่างนี้เราถวายกี่หมื่นกี่แสน อานิสงส์มันก็ไม่มาก ถ้าหากว่าถวายแก่ท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าหากเข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เรื่องบริสุทธิ์แค่ไหนก็ช่าง อย่างน้อยที่สุดก็มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ บางท่านก็เข้าถึงฌานสมาบัติ บางท่านที่เป็นพระอริยเจ้า ก็เข้าถึงผลสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้มีผลมาก"


    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">เห็นพระบางองค์ดูลักษณะไม่สำรวม ท่านวนเวียนคอยรับบาตรบ้านคนโน้นคนนี้แล้วก็ถ่ายใส่ถัง ถ้าเราไม่ใส่บาตรพระแบบนี้เราจะเป็นบาปไหมคะ......?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">"บาปเขาแปลว่าชั่ว บุญแปลว่าดี ถ้าเราไม่ใส่ก็ไม่ชั่วตรงไหนนี่ เพราะว่ามันเป็นทรัพย์สินของเรา ถ้าเราให้เขาเขาแสดงอาการ ไม่เป็นที่เลื่อมใส เราไม่ให้ก็ไม่เห็นจะแปลก เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า การให้ทานก็จะต้องเลือกให้เหมือนกัน เพราะผู้รับถือว่าเป็น"เนื้อนาบุญ" ถ้าหว่านพืชลงในนาลุ่มก็ท่วมตาย ถ้าดอนเกินไปน้ำไม่ถึงก็ตายต้องหว่านในเนื้อนาที่เหมาะ ถ้าเราเห็นนามันไม่ควรเราก็ไม่ให้ ทำไม่เหมาะไม่สม ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้าให้ก็เป็นการเลี้ยงโจร แต่ว่าถ้าพูดถึงทานการให้เจตนาเราจะตั้งอย่างไรก็ตาม ตัวนี้มันเป็นผล ตัดโลภะอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่จริง ๆ ที่มีอานิสงส์สูงสุดคือตัดโลภะ ความโลก เพราะคนที่มีความโลภนี้ให้ทานไม่ได้ เงินที่จะให้ทานได้นี่มันตัดความสุขของเจ้าของ หากว่าเจ้าของเขาไม่ให้ เขากินเขาใช้ก็มีความสุข เขาอุตส่าห์ตัดความสุขของเขาส่วนนี้ออกไป เป็นการตัดโลภะ ความโลกเป็นก้าวหนึ่งที่จะถึงพระนิพพาน อันนี้เขาไม่ต่ำ มันเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน
    จาคานุสสติกรรมฐาน นี่ไม่ต้องไปภาวนา จิตคิดว่าจะให้ทานทุกวัน ๆ นี่นะ จิตคิดว่าถึงเวลานั้นเราจะใส่บาตรมากหรือน้อยก็ตาม อันนี้เป็นจาคานุสสติกรรมฐาน และการใส่บาตรหน้าบ้าน เขาถือว่าเป็นสังฆทาน ถ้าพระองค์ไหนมีจริยาไม่สมควร เราไม่ให้มันก็๋ไม่แปลกการถวายสังฆทานมันก็มีผลสำหรับพระผู้รับ ถ้าผู้รับไม่ดีก็ลงอเวจีไปเอง"


    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">แล้วอย่างการใส่บาตรโดยเราลงมือใส่เองกับให้ลูกจ้าง คือเด็กของเราใส่แทน อย่างไหนจะได้บุญมากกว่าคะ..?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">เราไปไม่ได้แต่ให้คนอื่นไปได้บุญเท่ากัน แต่เราใส่เองเกิดความปลื้มใจอันนี้ได้กำไรอีกนิด แต่ผลของทานมันเสมอกัน</TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">เวลาเราใส่บาตรไปแล้ว ถ้าหากว่าพระไม่ได้ฉันอาหารของเรา เราจะได้บุญไหมคะ..?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">บุญมันเริ่มได้ตั้งแต่คิดว่าจะให้แล้วนะ พระจะฉันหรือไม่ฉันไม่ใช่ของแปลก คือการให้ทาน ตัวให้นี่มันตัดความโลภ และตัวให้นี่กันความจนในชาติหน้าอันดับรองลงมา"ทานัง สัคคโส ทานัง" "ทานเป็นบันไดให้เกิดในสวรรค์" ทีนี้พอเราเริ่มให้ปั๊บ มันเริ่มได้ตั้งแต่เราตั้งใจ การตั้งใจน่ะ มันตัดสินใจเด็ดขาดแล้วนะ เช่น คิดว่าพรุ่งนี้จะใส่บาตร ข้าวขันนี้เราไม่กินแน่นอนคิดว่าเราจะไม่กินเอง ตั้งแต่วันนี้ คิดว่าจะใส่บาตรนี่บุญมันเกิดตั้งแต่เวลานี้
    แต่พอถึงพรุ่งนี้ต้องใส่จริง ๆ นะ อย่านึกโกหกพระไม่ได้นะ ไม่ใช่แกล้งนึกทุกวัน ๆ คิดว่านึกได้บุญ เลยไม่ได้ใส่บาตรสักที นี่ดีไม่ดีฉันพูดไปพูดมาเสียท่าเขานะ
    แต่คิดว่าจะทำจริง ๆ นะ คือพรุ่งนี้จะใส่บาตรแน่ ๆ แต่ว่าวันนี้เกิดตายก่อน นี่ได้รับ ๑๐๐ % เลย ก็อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านบอกนั่นแหละ
    "เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าตัวตั้งใจเป็นตัวบุญ"
    พระพุทธเจ้าบอกว่ามันมีผลตั้งแต่การตั้งใจเริ่มสละออก พอคิดว่าเริ่มจะทำ อารมณ์มันตัดตั้งแต่ตรงนั้นแล้ว ถือว่าไม่ได้เป็นของเราแล้ว มันได้ตั้งแต่ตอนนั้น


    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">หลวงพ่อคะการใส่บาตรวิระทะโย มีอานิสงส์อย่างไรคะ....?</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lp011.jpg
      lp011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.6 KB
      เปิดดู:
      124
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2008
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,049
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ </TD><TD width="87%">อานิสงส์เท่ากับถวายสังฆทานธรรมดา ไม่ต่างกัน อานิสงส์เหมือนกันหมด แต่ว่าใช้วิระทะโย(คาถาภาวนากันจน) มันมีผลปัจจุบัน ชาตินี้ทำให้เงินไม่ขาดตัว ถ้าใส่บาตรทุกวัน สวดมนต์อยู่เสมอ ถ้าจะหมดก็มีมาต่อจนได้ ถ้าแบ่งเวลาทำสมาธิละก็ขลังมาก รวยมากหน่อย</TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">กระผมอยากทำบุญใส่บาตรเหมือนกันครับ แต่คิดว่าของที่จะใส่บาตรทำบุญมันไม่ดี ก็เลยอายไม่อยากใส่ กะไว้ว่าถ้ามีอาหารดีเมื่อไรจะใส่บาตร ผมคิดอย่างนี้ถูกไหมครับ....?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ </TD><TD width="87%">การทำบุญทำไมจะต้องอาย เคยมีนักเทศน์เขาถามกัน มียายกับตา ๒ คน แกหุงข้าวแฉะแล้วแฉะอีกไอ้แกงก็เปรี้ยวแล้วเปรี้ยวอีก แกกินไม่ลง ของมันกินไม่ได้ เวลาพระมาบิณฑบาตแกก็บอกใส่บาตรดีกว่า พระนักเทศน์เขาก็ถามกันว่า "อย่างนี้จะได้อานิสงส์ไหม....?" ก็ตอบว่า "ได้อานิสงส์" แต่ผลที่เขาจะได้รับก็เป็นทาสทาน คำว่าทาสทาน หมายความว่า ให้ของเลวกว่าที่เรากินหรือให้ของที่เลวกว่าที่เราใช้ ถ้าให้ของเสมอที่เรากินอยู่หรือที่เราใช้อยู่ เขาเรียกว่า สหายทาน ให้ของที่ดีกว่าที่เรากินที่เราใช้ เขาเรียกว่าสามีทาน สามีทานเขาไม่ได้ แปลว่า ผัวทานนะ สามีเขาแปลว่า นาย
    ถ้าจะถามว่า ทาสทานมีอานิสงส์ไหม ก็ต้องดูตัวอย่างท่านอาฬวีเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐โกฏิ พระราชาตั้งเป็นมหาเศรษฐี แต่ว่าผ้าที่แกนุ่งนี่ ผ้าใหม่แกนุ่งไม่ได้ นุ่งผ้าช้ำแล้ว ใกล้จะขาดแกจึงนุ่งได้ ข้าวที่จะกินเม็ดสวย ๆ ก็กินไม่ได้ต้องเป็นข้าวหัก หรือปลายข้าวแกจึงจะกินได้ ของทุกอย่างที่แกใช้ต้องเป็นของเลว แต่อย่างลืมว่าเขาก็เป็นมหาเศรษฐีได้นะ
    การตั้งใจว่าจะใส่บาตรด้วยของดี ๆ น่ะดี แต่ว่าวันไหนมีอาหารที่เราคิดว่าไม่ดีก็ใส่บาตรได้
    การให้ทาน พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าให้เบียดเบียนตัวเอง ถ้าเบียดเบียนตัวเองเป็น อัตตกิลมถานุโยคเป็นการทรมานตัว
    และการให้ทานพระพุทธเจ้าให้ดูอีกว่าควรให้หรือไม่ควรให้ ถ้าให้ในเขตของคนเลวอานิสงส์ก็น้อย อาจจะไม่มีเลยรู้ว่าคนนี้ควรจะให้เราก็ให้ ถ้าไม่ควรให้เราก็ไม่ให้ ให้แล้วไปกินเหล้าเมายา ไปสร้างอันตรายกับคนอื่น เราไม่ให้ดีกว่า เป็นการต่อเท้าโจร ให้พลังแก่โจร เวลาจะให้ท่านวางกฏไว้ดังนี้
    ๑. ผู้ให้บริสุทธิ์
    ๒. ผู้รับบริสุทธิ์
    ๓. วัตถุทานบริสุทธิ์
    ของดีก็ตาม ของเลวก็ตามมีอานิสงส์มาก อานิสงส์คือความดี ความชื่นใจมาก
    ถ้าผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ วัตถุทานไม่บริสุทธิ์ ความดีก็ลดน้อยลง
    แต่ผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับไม่บริสุทธิ์ วัตถุทานไม่บริสุทธิ์ ให้บาทหนึ่ง จะได้สังสตางค์หรือเปล่าก็ไม่รู้
    รวมความว่าต้องบริสุทธิ์ ๓ อย่าง ถ้าลดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง อานิสงส์ก็ลดตัวลงมา ถ้าลดเสียหมดเลยก็ไม่มี
    แต่ว่าการให้ทาน พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อีกประเภทหนึ่งต้องให้ครบ ๓ กาล จึงจะมีอานิสงส์สูง
    มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านอนาถบิณฑกเศรษฐีจนลง เพราะเคราะห์กรรมบางอย่างทำลายท่าน เงินที่เขากู้ไปก็ถูกโกง ไอ้คนที่อยู่ภายในบ้านมันก็ขโมยของ ทรัพย์ที่ฝังไว้ชายทะเลชายแม่น้ำ แผ่นดินก็พังทรัพย์จมไปหมด ท่านจนขนาดข้าวเป็นเม็ดแทบไม่มีกิน ต้องกินปลายข้าว แต่ว่าศรัทธาท่านยังไม่ถอย ท่านนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมไปด้วยพระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน ท่านก็เอาปลายข้าวละเอียด เรียกว่าข้าวปลายเกวียนต้ม แล้วก็เอาน้ำผักดองเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ ทำเป็นกับมาถวายพระพุทธเจ้า ก็ฉันแบบนี้เหมือนกัน เวลาที่พระพุทธเจ้าฉันอยู่ท่านก็นั่งอยู่ใกล้ ๆ กราบทูลพระพุทธเจ้า
    "เวลานี้ทานของข้าพระพุทธเจ้าเศร้าหมอง พระพุทธเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้า ถามว่า"เธอมีเจตนายังไง ก่อนจะให้เธอมีความรู้สึกยังไง..?"
    ท่านจึงบอกว่า"ก่อนจะให้เต็มใจพร้อมเสมอ เตรียมใจไว้ก่อนแล้ว"
    พระพุทธเจ้าก็ถามว่า"ในขณะที่ให้เธอก็มีความรู้สึกยังไง...?"
    ท่านก็บอกว่า"ในขณะที่ให้ก็ปลื้มใจ พระพุทธเจ้า ข้า"
    พระพุทธเจ้า ก็ถามว่า"เมื่อให้แล้ว เป็นยังไง..?"
    ท่านก็บอกว่า"ให้แล้วเกิดความเลื่อมใส ดีใจว่าให้แล้ว"
    พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสว่า"ดูก่อนมหาเศรษฐี ลูขังวา ปะณีตัง วา"
    ลูขัง แปลว่าเลว, ปะณีตัง แปลว่าดี หรือประณีต
    ท่านตรัสว่า ถ้าคนให้ทานมีเจตนาพร้อมเพรียงทั้ง ๓ กาล คือ
    ๑. ก่อนจะให้ก็ตั้งใจว่าจะให้
    ๒. ขณะที่ให้ก็ดีใจ
    ๓. เมื่อให้แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส
    อย่างนี้ ของดีก็ตามของเลวก็ตาม ย่อมมีอานิสงส์เลิศมีอานิสงส์สูง
    แต่ที่ท่านอนาถบิณฑกเศรษฐีท่านทำนั้น ท่านถวายพระพุทธเจ้า และพระที่ฉันก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด นับเป็นยอดของทาน
    ถ้าหากว่าเราไม่รู้จะเลือกยังไง องค์นี้จะเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์หรือเปล่า หรือเป็นพระโปเก พระเชียงกง ถ้าเราไม่รู้ก็ถวายเป็นสังฆทาน เลย เพราะสังฆทานมีอานิสงส์สูงมาก รองจากวิหารทาน
    พระพุทธเจ้า ท่านว่าไว้ตอนหนึ่งบอกว่า สมัยพระพุทธกัสสปท่านเทศน์อย่างนี้ คือ
    "บุคคลใดทำบุญด้วยตนเอง ไม่ชักชวนคนอื่น ถ้าเกิดในชาติต่อไปจะร่ำรวยโภคสมบัติ แต่ขาดเพื่อนขาดบริวารสมบัติ"
    "ถ้าดีแต่ชักขวนเขา ไม่ทำเอง ชาติต่อไป มีเพื่อนมาก แต่ตัวเองจน"
    "ถ้าทำบุญด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นด้วย รวยด้วย มีพรรคพวกมากด้วย"
    นี่ท่านเทศน์แบบนี้นะ ถ้าเราทำคนเดียวได้ก็ทำ ทีนี้ถ้าเราชวนเขาด้วย แต่ว่าการชวนนี้ก็ลำบากนะ ถ้าชวนเขาทำบุญด้วยก็อย่าหวังว่าเขาจะให้เรานะ คิดว่าเขาให้หรือไม่ให้ก็เป็นเรื่องเขา คือแนะนำเขาว่า เวลานี้เราทำโน่นทำนี่ จะทำบุญร่วมด้วยไหม.....ถ้าบังเอิญเขาไม่ทำร่วมด้วยก็อย่าไปโกรธ เราถือว่าเราชวนเขาทำความดี ถ้าเราโกรธเขาเข้า บุญเราจะด้อยลงไปเพราะตัวโกรธเข้ามาตัด

    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">ดิฉันเคยอ่านเจอในหนังสือที่หลวงพ่อเขียนบอกว่า การถวายสังฆทาน ควรมีพระพุทธรูป ผ้าไตร จีวรและอาหาร อันนี้จำเป็นจะต้องครบตามนี้ไหมคะ.........?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">ความจริงเราไม่ทำถึงขนาดนี้ก็ได้ การถวายสังฆทานที่ใช้เครื่อง ๕ เครื่อง ๘ นี่เป็นการสร้างขึ้น เรามีข้าวเพียงช้อนหนึ่ง แกงเพียงช้อนหนึ่ง น้ำเพียงช้อนหนึ่ง แล้วถวายไป บอกว่าเป็นสังฆทานเพียงเท่านี้ก็ ใช้ได้อย่าไปเชื่อเขาเลยนะ ทำบุญเบียดเบียนตัวเอง แต่ว่าที่เขียนไว้ในหนังสือว่าควรทำแบบนี้เพราะว่าผีกี่ร้อยกี่พันรายก็ตามมาขอกันแบบนี้เรื่อย คือขอเหมือนกัน ที่ฉันแนะนำเขาตามที่ผีเขาขอนะ ถามเขาว่าพระพุทธรูป ให้ไปแล้วมีอานิสงส์อย่างไรเขาก็บอกว่า ถ้าเป็นเทวดาเป็นเหตุให้มี รัศมีกายสว่างมาก
    นี่ตามพระบาลีว่า"พุทธบูชา มหาเตชะ วัณโต" การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชอำนาจมาก
    เทวดานี่เขาไม่ได้วัดที่เครื่องแต่งตัว เขาวัดแสงสว่างจากกาย องค์ไหนมีแสงสว่างมาก องค์นั้นมีบุญบารมี ส่วนผ้าไตรจีวร เขาบอกว่าทำให้มี เครื่องประดับเป็นทิพย์ สำหรับอาหาร เป็นเหตุให้กายเป็นทิพย์

    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">ถ้าเห็นเขาถวายสังฆทานนี่ เราโมทนาแล้ว จะเป็นบุญไหมครับ แล้วก็ส่วนบุญจะได้เท่ากับคนทำบุญไหมครับ..?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">ดี ไม่ต้องลงทุนมาก ได้แน่ แต่อย่าทำเป็นเล่นไปนะเขาเป็นเทวดาได้ เราก็เป็นเทวดาได้ แต่เขาเป็นเทวดาดีกว่า ทำไปเรื่อย ๆ อย่างนี้แหละ เขาได้ ๑ บาท เราขอ ๑๐ สตางค์ เขาทำอีก ๑ บาท เราขอ ๑๐ สตางค์ขอ ๓๐ คนก็ได้ ๓ บาท ใช่ไหม.....นี่ละเขาเรียกว่า"ปัตตานุโมทนามัย" การโมทนา เขาแปลว่ายินดีด้วย ต้องยินดีด้วยความจริงใจนะ เช่นเขามาบอกว่า เอ้า...ฉันไปทำบุญทอดกฐินนะ เรายกมือ "สาธุ สาธุ สาธุ" สักแต่ว่าสาธุมันไม่ได้อะไร และการแสดงความยินดีมันก็คือมุทิตา เป็นตัวหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ นี่บุญตัวใหญ่
    ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า"จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา" ถ้าเกิดก่อนตายจิตเศร้าหมอง ก็ไปอบายภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น
    "จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา"
    "ถ้าก่อนตายจิตผ่องใส ก็ไปสู่สุขคติ"
    สุคตินี้หมายถึงสวรรค์ ก็ได้ พรหมก็ได้ นิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่กำลังใจของเรา
    และการโมทนานี่ทำให้ชุ่มชื่นใจ ใช่ไหม....เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขา ไม่ช้าเราก็ดีตามเขาเพราะเราเห็นเขาดีเราก็ชอบดีใช่ไหม...... แต่อย่าไปชอบดีเฉย ๆ นะ ต้องทำดีด้วยนะ ทำบุญด้วยตัวเองบ้าง

    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">หลวงพ่อครับปัตตานุโมทนามัย กับ ไวยาวัจจมัย นี่เหมือนกันไหมครับ....?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">ไวยาวัจจมัย เขาแปลว่าขวนขวายในกิจการงาน เช่น เขาส่งสตางค์มาทำบุญ เราช่วยส่งต่อ ก็พลอยได้บุญไปด้วย มีอานิสงส์ต่ำกว่าบวชเณร ไม่เบานะ แต่ปัตตานุโมทนามัย ไม่ต้องลงทุน แต่พวกถือมานี่ยังต้องออกแรงนะ พวกโมทนานี่ไม่ต้องออกแรงเลย ก็เป็นปัตตานุโมทนามัย แต่อย่าลืมนะ เอาแต่โมทนาอย่างเดียวไม่ดีนะต้องอาศัยคนต้นตลอด ถ้าไม่ได้อาศัยคนต้นจริง ๆ จะสำเร็จมรรคผลไม่ได้ เช่นเดียวกับพระนางพิมพาต้องอาศัยพระพุทธเจ้า</TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">หลวงพ่อคะการทำบุญวันเกิด เราจะต้องทำหลังวันเกิดดี หรือก่อนวันก่อนดีคะ.....?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">ตอนไหนก็ได้การทำบุญวันเกิด เราถือว่าปีหนึ่งเรามีโอกาสทำบุญครั้งหนึ่ง ที่เราทำบุญวันเกิดนี่เป็นนโยบายของพระ ท่านให้เรามีจิตเป็นกุศลไว้ ถ้าถึงวันเกิดเราตั้งใจจะทำบุญ เราจะทำอะไรบ้าง มีการเตรียมการไว้ในใจ ถ้าจิตมันนึกอย่างนี้เวลาจะตายอานิสงส์ได้ทันที อย่างสาตกีเทพธิดา เขาถือว่าเป็นอนุสสติ ถ้าเรานึกจะถวายเป็นสิ่งของ ก็เป็นจาคานุสสติ คิดว่าเราจะทำบุญกับพระองค์นั้นองค์นี้ นึกถึงพระสงฆ์ ก็เป็นสังฆานุสสติ ถ้าเราคิดจะทำบุญกับพระสงค์ แต่ให้มีพระพุทธรูปตั้งอยู่ด้วย นึกถึงพระพุทธก็เป็นพุทธานุสสติ ถือว่าเป็นการเจริญพระกรรมฐาน ไปในตัวแต่พระท่านไม่ได้บอกตรง ๆ เท่านั้นเอง

    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">หลวงพ่อคะ แล้วอย่างทำบุญแค่เพียงเล็กน้อย เช่นการสร้างโบสถ์ นี่นะคะ คือไม่ได้ทำทั้งหลังค่ะ ทำเฉพาะประตูไม้ เขามาเรี่ยไรก็ร่วมทำบุญไปกับเขาค่ะ อย่างนี้บุญคงน้อยกว่าการทำบุญทั้งหลังใช่ไหมคะ?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">ถ้าเราทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างวิหารสร้างกุฏิ สร้างศาลา ทั้งหมดนี่เราไม่ได้ทำเต็มหลัง คือราคาไม่เต็มหลัง แต่ว่าไม่ใช่เราได้นิดเดียวนะ เราก็ได้เต็มหลัง วิมานจะปรากฏเลย ถ้าเราได้มโนมยิทธิจะสามารถไปเที่ยวได้</TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">รู้สึกว่าสมบัติที่เราทำไปมันน้อย ก็คิดว่าบุญคงได้น้อย</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">สมบัติมันเล็กน้อยก็จริง แต่ว่าอานิสงส์มันไม่เล็กน้อย ก็แบบซื้อล๊อตเตอรี่ใบเดียว ถูกรางวัลที่หนึ่งนะ อย่างทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างศาลา สร้างอาคาร สร้างส้วม เขาเรียกว่าวิหารทาน อันนี้จัดเป็นบุญสูงสุด ตัวอย่างตอนที่พระพุทธเจ้าเป็นมาฆมานพ ท่านกับเพื่อนอีก ๓๒ คน ช่วยกันทำศาลาหนึ่งหลัง มีช้างสำหรับลากไม้หนึ่งเชือก มีนายช่างหนึ่งคน
    เวลาตายไปแล้ว ท่านมาฆมานพก็ไปเป็นพระอินทร์เพื่อนอีก ๓๒ คน ก็ไปเป็นเทวดา มีวิมานคนละหลัง นายช่างไปเป็นวิษณุกรรมเทพบุตร ช้างที่ลากไม้เป็นเอราวัณเทพบุตร มีวิมานคนละหลังเหมือนกัน
    เห็นไหม.....สร้างศาลาหลังเดียวก็มีวิมานคนละหลัง นี่เป็นเรื่องของอานิสงส์นะ

    </TD></TR><TR><TD width="13%">ผู้ถาม</TD><TD width="87%">หลวงพ่อครับ กุศลชนิดใดที่มีอานิสงส์มากกว่าวิหารทานบ้างครับ......?</TD></TR><TR><TD width="13%">หลวงพ่อ</TD><TD width="87%">สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ให้ธรรมทานซิคุณ..</TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากหนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม 1
     
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    ธมฺโม หเว รกฺขติธมฺมจารี<O:p</O:p


    พระธรรมนี่แหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    บุญสำเร็จได้ด้วยการ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    ขอให้ทุกท่านมีความเจริญยิ่งขึ้นในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...