เรื่องเด่น เทฺวธาวิตักกสูตร ( ทรงอาศัยวิธีการปฏิบัตินี้ เพื่อให้จิตสงบ ก่อนตรัสรู้)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 9 กันยายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=4ee56dd1f58841940e297734ce2332e6.jpg


    #เทฺวธาวิตักกสูตร แปลว่า พระสูตรว่าด้วยวิตกหรือความตรึก ๒ ประเภท พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีดับอกุศลวิตกเพื่อให้จิตสงบจากประสบการณ์ตรงของพระองค์เอง เมื่อก่อนตรัสรู้ ทรงอาศัยวิธีการปฏิบัตินี้ เพื่อให้จิตสงบ

    เมื่อจิตสงบแล้ว พระองค์ทรงบรรลุฌาน ๑ บรรลุฌาน ๒ บรรลุฌาน ๓ และ บรรลุฌาน ๔

    เมื่อจิตเป็นสมาธิพร้อมเป็นฐานของวิปัสสนา จิตจะมีคุณสมบัติ ๘ ประการ คือ ๑.บริสุทธิ์ ๒. ผุดผ่อง ๓.ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ๔.ปราศจากความเศร้าหมอง ๕. อ่อน ๖. เหมาะแก่การใช้งาน ๗. ตั้งมั่น ๘. ไม่หวั่นไหว

    พระองค์จึงน้อมจิตไปเพื่อบรรลุวิชชา ๓ คือ
    - ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้,
    - จุตูปปาตญาณ ได้ตาทิพย์
    - อาสวักขยญาณ จิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง
    .........
    ดูรายละเอียดใน เทฺวธาวิตักกสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=19

    3lEc3tDr0qYn8xcdpCSC9nkpgmKuq-DpW7hapAwT-KE6&_nc_ohc=d3T3u9OgqUYAX8fAKR3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    https://m.facebook.com/TipitakaStudies/?tsid=0.5877168763101546&source=result
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 182811.jpg
      182811.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.7 KB
      เปิดดู:
      373
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    [​IMG]
    [​IMG]

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
    ว่าด้วยวิตก ๒ ประเภท
    [๒๐๖]@เชิงอรรถ :
    @๑ จัดวิตกออกเป็น ๒ ประเภท หมายถึงจัดวิตกฝ่ายอกุศลเป็นประเภทที่ ๑ จัดวิตกฝ่ายกุศลเป็นประเภท
    @ที่ ๒ (ม.มู.อ. ๑/๒๐๖/๔๐๖)
    @๒ กามวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องกาม
    @พยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องปองร้ายผู้อื่น
    @วิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องเบียดเบียนผู้อื่น
    @เนกขัมมวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องออกจากกิเลส
    @อพยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่ปองร้ายผู้อื่น
    @อวิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตั้งแต่มีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้นจนถึงปฐมฌาน
    @(ม.มู.อ. ๑/๒๐๖/๔๐๖)
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๑๘}
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    อกุศลวิตก ๓
    [๒๐๗]
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปในวิตก
    นั้นๆ ถ้าเธอยิ่งตรึกตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก กระทำแต่
    กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึง
    พยาบาทวิตกมาก ฯลฯ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้ง
    อวิหิงสาวิตก กระทำแต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก
    ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่มี
    ข้าวกล้าหนาแน่น เขาต้องตีต้อนโคทั้งหลายไปจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะคนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจองจำ การเสียทรัพย์
    การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ได้เห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย และเห็น
    อานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
    กุศลวิตก ๓
    [๒๐๙]
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ
    ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราปรารถนาไว้ว่า ‘จิตของเรา
    อย่าฟุ้งซ่านอีกเลย’
    [๒๑๐]
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคต้องคอยระวัง โคทั้งหลายในที่ใกล้บ้าน
    ทุกๆ ด้าน เมื่อเขาไปสู่โคนต้นไม้หรือที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘นั้นฝูงโค’
    แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘เหล่านี้เป็นธรรม๑- (คือกุศลวิตก)’
    [๒๑๑]@เชิงอรรถ :
    @๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมคือสมถะและวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๑/๒๑๐/๔๑๒)
    @๒ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้
    @๓ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑-๔๒ ในเล่มนี้
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๒๒}
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    [๒๑๓]@เชิงอรรถ :
    @๑ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๓ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๒ ในเล่มนี้
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๒๓}
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    ทรงชี้ทางผิดและทางถูก
    [๒๑๕]
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]


    ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร


    คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้ เป็นชื่อแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
    คำว่า นางเนื้อต่อ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา
    คำว่า ชายผู้ปรารถนาประโยชน์ ต้องการจะเกื้อกูล ประสงค์ความปลอดภัย
    นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    คำว่า ทางที่ปลอดภัย มีความสวัสดี ไปได้ตามชอบใจ นี้ เป็นชื่อของ
    อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
    ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
    ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
    ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
    ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนี้ เราได้เปิดทางที่ปลอดภัย
    มีความสวัสดีที่พวกเธอควรดำเนินไปได้ตามใจชอบให้แล้ว และปิดทางที่ไม่สะดวก
    ให้ด้วย กำจัดเนื้อต่อตัวผู้ให้แล้ว และทำลายนางเนื้อต่อให้แล้ว กิจใดที่ศาสดาผู้
    หวังประโยชน์เกื้อกูล เอื้อเฟื้อ อาศัยความอนุเคราะห์จะพึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย
    กิจนั้นตถาคตก็ได้กระทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย
    จงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอน
    ของตถาคตสำหรับเธอทั้งหลาย”
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
    ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
    เทฺวธาวิตักกสูตรที่ ๙ จบ
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    เมื่อพระผู้มีพระภาคยังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้คิดแล้วทรงแยกวิตกเป็น ๒ ส่วน คือ

    ส่วนที่ ๑ กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก
    ส่วนที่ ๒ เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก

    เมื่อทรงไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหังสาวิตก บังเกิดขึ้น แต่ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เมื่อทรงพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหังสาวิตกที่บังเกิดขึ้นก็ดับหายไป

    และเมื่อยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆมาก ใจจะน้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ คือ

    ถ้ายิ่งตรึกตรองถึงกามวิตกมาก ก็จะละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย มาอยู่แต่กามวิตกมาก จิตก็น้อมไปเพื่อกามวิตก
    ถ้ายิ่งตรึกตรองถึงพยาบาทวิตกมาก ก็จะละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มาอยู่แต่พยาบาทวิตกมาก จิตก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก
    ถ้ายิ่งตรึกตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็จะละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มาอยู่แต่วิหิงสาวิตกมาก จิตก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก

    เหมือนคนเลี้ยงโคที่ต้องคอยระวังโคทั้งหลายเมื่อเข้าไปในทุ่งนาข้าวที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายไม่ให้ไปกินข้าวของชาวนา เพราเห็นโทษ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียนเพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ เหมือนพระองค์ที่ได้ทรงเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นความผ่องแผ้วของกุศลธรรมทั้งหลาย

    ทรงไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก ก็บังเกิดขึ้น แต่ว่าเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

    ก็หากจะทรงตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน ก็ทรงยังไม่มองเห็นภัยที่จะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกได้เลย แต่ว่าเมื่อทรงตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

    จึงทรงดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี เพราะปรารถนาว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย

    ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก คือ

    ถ้ายิ่งตรึกยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็จะละกามวิตกเสียได้ ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก
    ถ้ายิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก ก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้ ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก
    ถ้ายิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก ก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตก็จะน้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

    เหมือนคนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลายในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่าฝูงโคนั้นอยู่ที่ไหน เช่นเดียวกับการทำสติอยู่เสมอว่ากุศลวิตกเหล่านี้เป็นธรรม

    เมื่อทรงได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว มีสติมั่นคง มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

    - ทรงบรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    - บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป
    - บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
    - บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    เมื่อทรงมีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ทรงโน้มน้อมจิตไปเพื่อ

    - ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก บรรลุวิชชาที่หนึ่งในปฐมยามแห่งราตรี
    - รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ด้วยจักษุอันบริสุทธิ์ บรรลุวิชชาที่สองในมัชฌิมยามแห่งราตรี
    - อาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี วิชชาที่สามนี้ ทรงบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี

    ทรงกำจัดอวิชชาแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะทรงไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสส่งตนไปอยู่

    แล้วทรงอุปมาว่า มีหมู่เนื้อจำนวนมากอาศัยบึงใหญ่ในป่าดง มีบุรุษผู้มุ่งร้ายต่อหมู่เนื้อนั้นปิดทางที่ปลอดภัยของหมู่เนื้อนั้นเสีย และเปิดทางที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อต่อและนางเนื้อต่อไว้ล่อหมู่เนื้อ ทำให้หมู่เนื้อพากันมาตายจำนวนมาก แต่ยังมีบุรุษอีกผู้หนึ่งมุ่งประโยชน์และความปลอดภัยแก่หมู่เนื้อ เขาได้เปิดทางที่สะดวกปลอดภัย และปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย กำจัดเนื้อต่อทั้งสอง หมู่เนื้อได้เจริญคับคั่งล้นหลาม

    โดยอุปมานั้น มีความหมายดังนี้

    บึงใหญ่ คือ กามคุณทั้งหลาย
    หมู่เนื้อ คือ หมู่สัตว์ทั้งหลาย
    บุรุษผู้มุ่งร้าย คือ ตัวมารผู้มีบาป
    เนื้อต่อตัวผู้ คือ นันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน]
    นางเนื้อต่อ คือ อวิชชา
    ทางที่ไม่สะดวก เป็นชื่อของทางผิด ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑
    บุรุษผู้มุ่งประโยชน์และความปลอดภัย คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทางที่ปลอดภัย สะดวก คือ ทางที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.

    พระองค์ได้ทรงสั่งสอนแสดงธรรมทางอันปลอดภัย เป็นทางที่ควรไป และปิดทางที่ไม่สะดวก กำจัดนันทิราคะ และสังหารอวิชชา ให้สาวกทั้งหลายปฏิบัติ เพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ไม่ควรข่มเหง ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความโกรธ และความแค้น ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ ไปยังสรรพสัตว์ ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต ฉะนั้น
    ********
    ข้อความบางตอนใน เมตตสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=9
    #เมตตา
    ?temp_hash=cf8b1f68d2c3cf5aa6f2dc14e8afaa9b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=78a498ff559d0d57ead2b629e4216bb5.jpg




    ไม่ควรข่มเหง ไม่ควรดูหมิ่นกันและกันในทุกโอกาส ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความโกรธ และความแค้น ควรแผ่เมตตาจิตอย่างไม่มีประมาณ ไปยังสรรพสัตว์ ดุจมารดาเฝ้าถนอมบุตรคนเดียวด้วยชีวิต ฉะนั้น
    ********
    ข้อความบางตอนใน เมตตสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=9
    #เมตตา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนการเจริญเมตตา
    (การเจริญพรหมวิหาร) ดังนี้...

    เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

    จิตของเราจักตั้งมั่น
    ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน
    และอกุศลธรรมอันเป็นบาป
    ที่เกิดขึ้นแล้ว
    จักไม่ครอบงำจิตได้

    เมื่อใด จิตของเธอ
    เป็นจิตตั้งมั่น
    ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน
    และอกุศลธรรม
    อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    ไม่ครอบงำจิตได้

    เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

    เราจักเจริญ
    กระทำให้มากซึ่ง
    เมตตาเจโตวิมุตติ
    กรุณาเจโตวิมุตติ
    มุทิตาเจโตวิมุตติ
    อุเบกขาเจโตวิมุตติ
    ทำให้เป็นดุจยาน
    ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง
    สั่งสมปรารภดีแล้ว

    เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์
    พ้นแล้วจากอกุศลธรรม
    อันเป็นบาปที่เกิดขึ้น
    ปราโมทย์ก็เกิด

    เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว
    ปีติก็เกิด

    เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว
    กายก็สงบรำงับ
    ผู้มีกายสงบรำงับ
    ย่อมเสวยสุข
    จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
    และเธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา
    อันกว้างขวาง
    เป็นส่วนใหญ่
    หาประมาณมิได้
    ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
    แผ่ไปทั้งเบื้องบน
    เบื้องต่ำ
    เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง
    เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    มีจิตประกอบด้วยกรุณา
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น

    และเธอมีจิตประกอบ
    ด้วยกรุณา
    อันกว้างขวาง
    เป็นส่วนใหญ่
    หาประมาณมิได้
    ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
    แผ่ไปทั้งเบื้องบน
    เบื้องต่ำ
    เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง
    เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    มีจิตประกอบด้วยมุทิตา
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
    และเธอมีจิตประกอบด้วยมุทิตา
    อันกว้างขวาง
    เป็นส่วนใหญ่
    หาประมาณมิได้
    ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
    แผ่ไปทั้งเบื้องบน
    เบื้องต่ำ
    เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง
    เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น

    และเธอมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
    อันกว้างขวาง
    เป็นส่วนใหญ่
    หาประมาณมิได้
    ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท
    แผ่ไปทั้งเบื้องบน
    เบื้องต่ำ
    เบื้องขวางทั่วทุกทาง
    เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    สระโบกขรณี มีน้ำ ใสจืด
    เย็น สะอาด
    มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์

    ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก
    ทิศตะวันตก
    ทิศเหนือ
    ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ
    อันความร้อนแผดเผา
    เร่าร้อน ลำบาก
    กระหาย อยากดื่มน้ำ
    เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว
    ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ

    และความกระวนกระวาย
    เพราะความร้อนเสียได้
    แม้ฉันใด

    เธอมาถึงธรรมวินัย
    ที่ตถาคตประกาศแล้ว
    เจริญเมตตา กรุณา
    มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น

    ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    เรากล่าวว่า

    เป็นผู้ปฏิบัติ
    ข้อปฏิบัติอันดียิ่ง
    เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์
    ผู้มีกำลัง
    ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้
    ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด

    ในเมตตาเจโตวิมุตติ
    (กรุณาเจโตวิมุตติ...,
    มุทิตาเจโตวิมุตติ...,
    อุเบกขาเจโตวิมุตติ...,)
    ที่เจริญแล้วอย่างนี้
    กรรมชนิดที่ทำอย่างมี
    ขีดจำกัดย่อมไม่มีเหลืออยู่
    ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น

    เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้
    เจริญดีแล้ว

    เมื่อนั้นเธอจักเดินไปในทางใดๆ
    ก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ
    ยืนอยู่ในที่ใดๆ
    ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ
    นั่งอยู่ในที่ใดๆ
    ก็จักนั่งเป็นสุขในที่นั้นๆ
    นอนอยู่ที่ใดๆ
    ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ

    เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ
    อันบุคคลเสพมาแต่แรก
    ทำให้เจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว
    ทำให้เป็นดุจยาน
    ที่เทียมดีแล้ว
    ทำให้เป็นที่ตั้ง
    ประพฤติสั่งสมเนืองๆ
    ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
    พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

    หลับเป็นสุข ๑
    ตื่นเป็นสุข ๑
    ไม่ฝันร้าย ๑
    เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑
    เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑
    เทพยดารักษา ๑
    ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี
    ศัสตราก็ดีไม่ต้องบุคคลนั้น ๑
    จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑
    สีหน้าผุดผ่อง ๑
    ไม่หลงทำกาละ ๑
    เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป
    ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑

    เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ
    อันบุคคลเสพมาแต่แรก
    ทำให้เจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว
    ทำให้เป็นดุจยาน
    ที่เทียมดีแล้ว
    ทำให้เป็นที่ตั้ง
    ประพฤติสั่งสมเนืองๆ
    ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
    พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล

    สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐
    มู. ม. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒
    เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒
    สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓-๔


    temp_hash-dde5542cad0de2150d2d786d8412aa6c-jpg.jpg

    https://www.facebook.com/amatatum1/
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=31de702a65ccc4b358bcf35c70395a96.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    43do3zgmTwhHDlLj1ZbiH7ImNKjGGZFt5WQsu4Se9bC1&_nc_ohc=P44eSmLVcwMAX-8TQ19&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,789
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,141
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
    ว่าด้วยอาการแห่งวิตก

    [๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
    *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
    [๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
    อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
    เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
    นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
    โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
    นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เหมือนช่าง
    ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
    เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด
    ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ
    เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
    เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    นั้นแล.
    [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน
    ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
    ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก
    เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน
    แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป
    อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง
    อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
    รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน]
    แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
    วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้
    อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้
    ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
    บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
    นั้นแล
    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
    อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก
    เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย
    ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ
    จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก
    เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ
    เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
    [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น
    อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
    ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ
    เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
    ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก
    อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
    นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ
    ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
    เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน
    ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
    ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ
    หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า
    เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
    ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
    [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
    วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
    ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ
    กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
    ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว
    บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ
    มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
    ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย
    ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
    บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
    ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง
    อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
    ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
    [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน
    เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ
    นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
    บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
    นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
    ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่
    ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
    อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม
    ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
    วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
    เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
    ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน
    ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
    โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
    บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
    ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
    สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
    ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของผู้มีพระภาค แล้วแล.


    จบ. วิตักกสัณฐานสูตร ที่ ๑๐
    จบ สีหนาทวรรค ที่ ๒
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...