{O}การสละชีวิตเพื่อต่อชีวิต เลี้ยงชีวิตโดย ไม่เบียดเบียนชีวิต เหล่าสรรพสัตว์นั้นเป็นเลิศ{O}

ในห้อง 'เมนูอาหารและวิธีการทำอาหาร' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 25 ธันวาคม 2017.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    " เป็นเรื่องเข้าใจเฉพาะบุคคล "

    "ท่านสอนแก่ผู้ติดขัดในภาวะนั้น จึงให้ความกระจ่างในภาวะนั้น ยังผลให้ผุ้นั้นพ้นได้ แต่ไม่สามารถนำไปพิจารณาใช้กับ ผู้อื่นได้ทั้งหมดฯ เพราะสภาวะธรรม และฐานะธรรมแตกต่างกัน"

    ( หากไม่คิดพิจารณาให้กว้างขวาง และศึกษามามากจริงๆ ทั้ง ชาดก พระสูตรต่างๆ จะไม่มีทางรู้ตามเราได้ ให้เวลาตนเองหน่อย อย่าพึ่งรีบร้อน ค่อยๆพิจารณา )

    " ข้อคิดบางที ผู้ใหญ่ท่านอยากให้หายคลายสิ้นสงสัย ท่านก็วางหมากไว้ให้ลูกหลานที่เดินตามมา มาเดินเล่นต่อให้จบกระดาน "

    อุปมาเสมือนผู้มีปัญญารู้ทางเดินแล้ว ทำทางดีแล้ว เกรงผู้อื่นจะเดินตามทางไม่ทัน ก็หว่านโปรยเมล็ดกล้าพืชพันธุ์เอาไว้ เพียงพอให้รู้ แต่ถ้าตามมาช้ามาก ต้นไม้มันโตขวางทาง หญ้ารก ก็ถากถางฟันไปให้เป็นทาง จะได้เดินสะดวก

    เราพึงอธิบายแก้ไขตามหลักธรรมไว้ดังนี้ พอสมควรแก่เหตุ (ยังมีอีกมากในพระสูตรอื่นๆ)

    " ขณะกำลังจะลงมือฆ่า และลงมือฆ่าสัตว์แต่ละครั้ง รู้สึกอย่างไร? สัตว์ที่กำลังจะตายรู้สึกอย่างไร? และผลจากการกินเป็นอย่างไร? สัตว์อธิษฐาน สาปแช่ง หรือคิดอะไรก่อนตาย"

    "โปรดพิจารณา หากสงสัยก็ไปศึกษาเพิ่มเติม จนกว่าจะเกิดปัญญารอบรู้จริงๆ"

    การตอบปัญหาของเรา " เรื่อง การกินเจ มังสวิรัติ หรือไม่กิน อย่างไหนจะดีกว่า ที่ชัดเจน กว้างขวาง และหายคลายสงสัยที่สุดในกาลนี้ ( ไม่ขออวดว่ารู้ดีที่สุด เพราะยิ่งกว่านี้ก็มีแต่ยังไม่เอามาเปิดเผย หรือผู้มีปัญญาทำให้ปรากฎ )"

    "ตามสภาวะธรรม ของเรา" ผู้ไม่รู้จริง ไม่พึงแก้


    ความแตกต่างให้นำไปคิดพิจารณา เมื่อสัมผัส เมื่อล่วงรู้ เมื่อปัญญาธิคุณมาก ย่อมสอดส่องไปถึงเหล่าเวไนยสัตว์อย่างกว้างขวาง ล่วงรู้การเกิดและดับของสรรพสัตว์ การ เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสรรพสัตว์ทั้งมวล เมื่อมีผู้นำสัตว์มาฆ่าและปรุงถวาย พระผู้นั้นย่อมรู้ทุกๆลำดับขั้นตอนและอาการ จะฉันได้ไหม? สัตว์นั้น ถ้าท่านจะประสงค์ฉัน ภาวะจิตท่านย่อมโปรดแก่สัตว์นั้นโดยฐานะ เมื่อสัตว์นั้นล่วงรู้ว่าเนื้อตน เป็นประโยชน์แก่การเลี้ยงชีพของพระผู้นี้ สัตว์นั้นจะได้บุญหรือได้บาป สัตว์นั้นจะดีใจหรือเสียใจ นี่ฐานะคือพระผู้ทรงอภิญญาสมบูรณ์

    แต่หากเป็นพระผู้ไม่รู้ ไม่ทรงอภิญญา ก็จะสามารถฉันได้ตามปกติ เพราะตนก็ไม่รู้ ว่าใครทำ ใครตี ใครฆ่า เพื่อตน หรือเพื่อใครก็ไม่อาจทราบได้


    นี่คือ ความชัดเจน ชัดแจ้ง ที่เราอธิบาย

    เปรียบเทียบ แก้ไข ตักเตือน ชี้แจง ตามหลัก "อภิชาติบุตร" บุตรที่เกิดในธรรม

    "สัตว์ติรัจฉาน สำเร็จมรรคผลไม่ได้" อย่าไปเอา สัตว์ในน้ำ ในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพราหมณ์ อาบน้ำในแม่น้ำคงคา มารวมกันจะไขว้เขว มันคนละกรณี นั่นสอน ว่าพิธีกรรมนั้นแบบนั้นมันไม่ถูก ไม่งั้นกุ้งหอยปูปลาคงเอวังฯ หมด(คิดตาม)

    พึงแก้ เรื่อง ฐานะอันมิใช่ฐานะ ของสัตว์อย่างละเอียดอ่อน สัตว์ติรัจฉานย่อมไม่มีทางบรรลุมรรคผลได้

    สัตว์สูงก็ตามต่ำก็ตาม ย่อมเกิดโดยกรรม มาเพื่อเสวยผลกรรมของตนเองที่ทำไว้ และเพื่อบำเพ็ญภาวะของตนเอง สามารถบำเพ็ญตนให้มีโพธิจิตเป็นพระโพธิสัตว์ได้ ได้ แต่ไม่สามารถบรรคุณธรรมอันสูงได้ หากไปพิจารณาตามกัน ว่าช้างม้าวัวควาย มันกินแต่ผักแต่หญ้า มันคงสำเร็จธรรมก่อน นั่นไม่ถูก เพราะไม่ ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมดให้ถ่องแท้ มีผลเสียแก่ผู้รับฟังและปฎิบัติตามในภายหลัง ทำให้หลุดออกจากกระแสธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2017
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ให้ความรู้เรื่อง การกินเนื้อสัตว์

    ชาติหนึ่ง พระเตมีย์ สละตนออกจากราชสมบัติ กินแต่ใบไม้ มันยิ่งกว่ากินเจ เรื่องนี้ ตราบใดก็ตาม ที่ยังไม่เข้าใจคำว่า * มหาวัฎรปฏิบัติ * ก็ย่อมยากที่จะเข้าใจ ถึงการบำเพ็ญบารมี ที่เราไม่ได้เฝ้าด้วยสายตา หรือกล้องวงจรปิด ก่อนที่พระมหาบุรุษจะสำเร็จธรรม ท่านทำกิจใดบ้าง และทำยังไง ทำขนาดไหน มันยิ่งกว่านักวิจัย

    เห็นพูดเรื่องไม่ทานเนื้อสัตว์ เรื่องการถือศีล จากการทานเนื้อ ผู้เยาว์ จึงอยากอธิบายพอสังเขป อย่างเป็นกลางๆ โดยไม่ประสงค์ให้ขัดทรรศนะคติของผู้ใด มันเป็นเรื่องของผลของการอธิษฐานจิต ด้วยสัจจะอันตั้งมั่นว่าจะไม่เบียดเบียน สังหารฆ่าชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงด้วยตนเอง หรือวานให้คนอื่นกระทำเพื่อตน หรือส่งเสริมให้มีการฆ่าเพื่อมาตน พึงได้มาซึ่งอาหารเลี้ยงชีพ อย่างตามมีตามได้ แต่ไม่ใช่ว่าได้รับอะไรมา ก็กินหมดทุกๆอย่างๆ เหมือนกับการที่ไม่ต้องกังวลว่า อาหารใดๆที่ได้ใส่บาตรไปแล้ว ซึ่งประเคนแล้ว เพื่อกุศล ผลบุญก็พึงได้ตั้งแต่คิดจะให้แล้ว(ก่อน ,ขณะ หลัง) จะประสาอะไรกับตอนท่านฉันแล้ว หรือไม่ฉันบิณฑบาตรนั้น

    ตอนที่ท่านฉันหรือจะฉันหรือหลังฉันท่านก็มีการพิจารณา ซึ่งธาตุอยู่ อะไรๆก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ และถ้าต้องอิ่มอย่างฝืนทนต้องฉันไป หรืออิ่มอย่างไม่ตั้งใจจะฉัน ท่านผู้เจริญแล้ว ท่านก็จะพิจารณาอันบิณฑบาตรนั่นเอง ว่าจะฉันหรือไม่ฉันดี หรือ ฉันไปเพื่ออะไรหรือไม่เพื่ออะไร มันเป็น มรรคผลของท่านเอง เมื่ออาหารนั้นได้ประกอบมาซึ่ง อาชีวะบริสุทธิ์ อันผู้มีปกติขอดังนี้แล้วซึ่งด้วยฐานะ ก็ไม่ใช่หน้าที่เราไปพิจารณาแทนท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผลของการฉันหรือทาน หรือการถือศีลอดมีอยู่ ไม่ว่าบรรพชิต นักบวชใดๆ ตลอดจนฆราวาส มีอยู่ แต่ผลของมัน อาจแตกต่างกันไป ตามแนวทางของบารมีธรรม บุคคลผู้หนึ่ง ในชาติหนึ่งๆ อาจสามารถ บำเพ็ญบารมีตนได้หลายอย่าง ในคราเดียวกัน หรือ อย่างสองอย่าง หรือไม่ก็อย่างเดียว ในปัจจุบันกาลสมัยนี้ ยิ่งมีสิ่งล่อใจมาก หากหลุดออกจากวงอโคจรนั้นได้ สำหรับผู้ปฏิบัติแล้ว ย่อมมีผลดีมาก ไม่ว่าจะทำกิจใด ไม่ใช่แค่ เรื่องอาหารการกินเพียงเท่านั้น การกิน การอยู่ การหลับ การนอน การเดิน ทุกๆอย่างที่ เคลื่อนไหวก็ดี อยู่กับที่นิ่งๆก็ดี ไม่ว่าในอริยาบทใดๆ จะเป็นกรรมที่ให้ดำ ให้ขาว หรือไม่ให้ดำ ไม่ให้ขาวก็ดี ล้วนมีผลอยู่ ด้วยกันทั้งนั้น อากัปกิริยาใดๆ อันจะไม่ให้บังเกิดอะไร มาทดแทน หรือ ว่างเลย เพราะก่อนจะมีอะไรสักอย่าง หรือไม่มีอะไรสักอย่าง มันต้องมีอะไรอยู่ จึงเรียกความว่าง หรือไม่ว่าง ( ที่เหลือจากนี้ ก็ไปหาความเข้าใจกันเอง ถึงสัจธรรมที่มีอยู่ )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผลของการไม่ทานเนื้อสัตว์ ก็ง่ายสำหรับวิญญานธาตุต่างๆ สัตว์บางชนิด บ้างก็อธิษฐานยอมที่จะเกิด เป็นสัตว์ที่ต้องมีอายุสั้น ตายเร็วๆ เพื่อการพ้นชาติได้อย่างรวดเร็วในผลกรรม จะได้ไปเกิด คือสิ้นผลกรรม นั้นแล้ว เพื่อไปเกิดในภพภูมิอื่น เราท่านเองไม่ว่าใครๆ ล้วนย่อมต้องเวียนว่ายในสังสารวัฎร ต้องพานพบประสบพบเจอกันมากมาย บ้างก็คิดดี บางก็คิดไม่ดี ก่อกรรมเวียนกรรม ต่อกันและกันซึ่งแล้วซึ่งเล่า หลายภพหลายชาติ ไม่รู้จบจนกว่าจะได้อมตะธรรม เหมือนความตั้งใจก่อน ขณะปฏิบัติและหลังปฏิบัติ ซึ่งด้วยเจตนา ๓ ต้องเป็นไปในทางเดียวกันจึงจะเกิดผล นั้นคือ ความรู้สึกตัว ความมีสติ จะทำการใดๆ ก็ตามหากนำ เจตนา๓ มาจับ ในกิจทุกอย่างที่จะพึงทำ ไม่ว่าอะไร ที่จะทำ มันผูกพัน ต่อเนื่องกันไปหมด

    ซึ่งในธรรมทั้งหลายฯ เป็นขั้นเป็นตอน เหมือนเดินขึ้นลงบันใด หรือเปิดประตูที่ซ้อนกันหลายบาน ด้วยการไขลูกบิด แม่กุญแจ ฯลฯ แล้วแต่บุญใคร สั่งสมมาดี มันก็ไปเร็ว มาช้าก็ไปช้า จะไปลัดหน้าลัดหลังกันไม่ได้ คือใครทำบุญมาอย่างไร แต่กาลก่อน ประสงค์อย่างใดจะต้องได้อย่างนั้น แสวงหาอะไร ย่อมได้อย่างนั้น ในสักวัน ไม่ชาติภพใดก็ตาม แม้ไม่อยากจะได้ ไม่มีปัญญาจะได้ก็ต้องได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    การไม่ทานหรือทานซึ่งเนื้อสัตว์ ก็ควรเป็นไปตามกำลังศรัทธา ตามบารมีธรรม ตามอุปนิสัยรสนิยม ของตน พระเทวทัตเองท่านก็ไม่ใช่ต้นบัญญัติแรกในโลกธาตุนี้ หรือโลกธาตุไหนๆ ที่ห้ามโดยปราถนา ห้ามไม่ให้ทานเนื้อสัตว์ การที่ท่านทำไป เจตนาท่านก็เพื่อหวังจะข่มบารมีธรรมของพระพุทธองค์(อนันตริยกรรม)

    เพื่อแสดงตนหวังจะเอาชนะ ด้วยการที่ว่าเคร่งครัดกว่า หลายต่อหลายวิธีการ เพื่อ ลาภ สักการะ สรรเสริญ เพื่อความเป็นใหญ่ ฯลฯ(หาข้อมูลหรือภูมิรู้เอาเอง) ด้วยเป็นบุพกรรมที่ตามกันมาหลายภพหลายชาติ ไม่ใช่ว่า พระเทวทัต จะเกิดมาเพื่อ เสนอข้อบัญญัติ ๕ ประการ เพียงเท่านั้น สรุป ก็ถูกปกิเสธไป ไม่ทรงอนุญาติ อ้างข้ออ้าง จนทำให้เกิด สังฆเภท ก็ไม่ใช่ครั้งแรก ในพระพุทธศาสนา เพียงแต่ว่า เรายังไม่มีญานที่หยั่งรู้ได้ถึง ใน ภัทรกัปป์ ก่อน ๆ
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สรุป เดี๋ยวค่อยว่าต่อ ใครอยากกินอะไร แบบไหน เลือกได้ก็เลือก เลือกไม่ได้ ก็ไม่ต้องเลือก หรือเลือกจะอด ครึ่งๆ กลางๆ ข้างๆ คูๆ อย่างไรก็แล้วแต่ อาหารที่ปราณีตกว่านี้ ก็ยังมีอยู่ หรืออาหารทิพย์ ทั้งหลาย ฯ พวกเทพ พรหม เทวา ไงล่ะ ! ไม่เคยกิน ไม่เคยเห็น หรือยังระลึกชาติ เห็นตามไม่ได้ ก็ไม่ใช่ ปัญหาอะไร ที่จะมาถกเถียงกัน เพียงแต่ว่า เราอยากรู้จากผู้ที่มีบุญสัมพันธ์กัน จนได้มาพบมาเจอ มาพูดคุย มาเจอะเจอกัน

    ซึ่งสามารถเจอได้ทั้งในทุกๆที่ ทุกๆเวลา ทุกๆสถานที่ ทั้งในพยัญชนะ อรรถ ฯลฯ ในสภาวะทั้งหลาย ซึ่งคงอยู่ในอย่างว่าแต่ ในองค์กัลยาณมิตรเลย แม้แต่เจ้ากรรม นายเวรที่มีความอาฆาตแค้นต่อกันและกัน มันยังมารวมสุมหัวกัน คอยแทะคอยแกะเกา รบกวนซึ่งบาทากันและกันแม้แต่ในสารพัดเว็บสารพัดบอร์ด กระทู้ คอมเม้น สื่อสารสนเทศ ฯลฯ

    สำหรับผู้มีภูมิรู้ เรื่องธาตุ (เหล็กไหล) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นของทิพย์วิเศษ เคยเห็นเหล็กไหลกิน อาหารคาวไหม? หรือ เรื่องกลิ่นตัวมนุษย์ที่เหม็นสาปดั่งหมาเน่าก็มิปาน นั่นแหละที่ทำให้ห่างไกลชาวทิพย์ คนบางคนหลายคนทั้งชาติ วาสนาที่จะได้พานพบ แทบไม่มีเลย ที่จะสัมผัสเรื่องราวเหล่านี้ ได้เจอเจอ พวกสัมภเวสี ผีน้อยต่างๆนานา คือเจอแต่ของธรรมดา ไม่เจอของวิเศษ คนที่สัมผัสกลิ่นอยู่เป็นนิจ มีชิวหาคานะวิญญานฯ บริบูรณ์ เขาจะได้กลิ่นสาป แม้ตนเอง

    อย่าว่าแต่ ผู้อื่น หรือบุคคลอื่นเลย ด้วย ทิพยโสตต่างๆ ที่ได้มาจาก สามัญผลของการปฏิบัติ ที่สั่งสมมาหลายภพหลายชาติ คนบางคนเดินยังไม่ทันเข้าถึงตลาดสด เจอกลิ่นเนื้อ กลิ่นเลือด ของสัตว์เข้า ก็เหมือนเจอกำแพงกั้น ให้เดินต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะกายเขา รับไม่ได้ บางท่านกินเนื้อสัตว์แล้วป่วยก็มี เพราะกรรม และบารมีสร้างมาแตกต่างกัน ผิวพรรณ กลิ่นตัว ฯลฯ ที่ยืนยัน สำหรับผู้ได้ครอบครอง ธาตุกายสิทธิ์ อันแท้จริง จะไม่สามารถ อดทนหรือกินเนื้อสัตว์ได้ หากฝืนกิน จะเป็นฝีหัวฝีต่างๆหัวฝีระลอกเป็นต้น ฯ

    ฉนั้นผู้ที่ คิดว่าได้ฝังธาตุ มีธาตุกายสิทธิ์ในครอบครอง แล้วยังฝืนกินของคาวอยู่ ก็ต้องเผชิญเหตุนี้ โดยไม่มีทางหนีพ้น ยกเว้น จะมีกลิ่นของการบำเพ็ญศีลอันบริสุทธิ์ ครอบคลุมอยู่ คนบางคนเกิดมาไม่รู้ว่าตนเอง ไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้ ก็เลยตามเลยปล่อยจนหน้าตา ผิวพรรณเละเทะ ดำเมี่ยง ฝ้าขึ้นเต็มหน้า ถ้าอยากเลิก อยากหยุด ไม่ใช่ว่าเราจักกินให้สวยให้งาม แต่กินให้โรคาพยาธิรังควาญน้อย นี่สำหรับผู้ยังสติ ส่วนผู้ไม่มีสติ กินทะลุโลกต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2017
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าเจตนาก่อนกิน ได้นึกถึงเลือดถึงเนื้อเขาบ้าง ว่าเราได้อุทิศ ผลบุญฯต่างๆให้ด้วยใจบริสุทธิ์ โดยหวังให้พ้นทุกข์ ก็อนุโมทนาบุญฯให้เขาไป อธิษฐานก็ได้ว่า ขอให้เลือดและเนื้อเหล่านั้น ของเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย จงส่งผลเฉพาะแก่การเจริญในธรรม ไม่ใช่กินเพื่อมีเรี่ยวแรงเพื่อไปทำบาป สร้างกรรมต่อ นี่ผลบุญฯก็มากแล้ว ว่าด้วยพิจารณา เขาคงไม่ยินดีนักหรอกที่ตอนขณะ ถูกเชือด ถูกทุบด้วยของแข็ง ถูกฆ่าอย่างเหี้ยมโหด ด้วยน้ำมือ ผู้ค้าชีวิตผู้อื่น (ค้าไม่เป็นธรรม)

    ยิ่งรวมกันมาก เหมือน กับภาพสัตว์นรก ถูกต้อนให้เดินเรียงคิว ไปทรมานตามกรรมตามเวรที่ได้สร้างไว้ เสียงร้องโหยหวน ความเจ็บปวดทุกข์ทนทรมาน ตายทีละตัวหรือหลายตัว เรียงร้องขอชีวิต สาปแช่ง ความแค้น การสาปแช่ง หลั่งสารโน้นนี้ที่เป็นพิษออกมา ของสรรพสัตว์ ที่ถูกกระทำ ทั้ง สับ ต้ม ย่าง ปิ๊ง อร่อยนักแลฯ ไม่ต้องทำหรอก แค่คิด หรือมีจิตยินดี สนุกสนานตามที่ผู้อื่นลงมือกระทำการเบียดเบียด ก็เป็นผลเสีย ซึ่งให้แก่ผลกรรมแล้ว คือ ความเบาบางของจิต จะมากน้อย ก็เป็นไปตามขันธ์ของสรรพสิ่งนั้นๆ ตามสัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ ไม่ใช่ว่า ปรสิต ไส้เดือน เจ็บปวดแบบไหน ช้างหรือ ได้โนเสาร์ตัวใหญ่ๆมันจะเจ็บแบบนั้นด้วย บางตัวคลั่งสนุก ชื่นชอบความเจ็บปวดเสียด้วยซ้ำไป

    มนุษย์ บ้างก็เรียก ว่าโรคจิต ประเภทซาดิส อะไรนั่น บางโลกก็มี บางโลกธาตุก็ไม่มี อะไรที่เรายังไม่เคยเห็นก็อย่าไปคิดว่าไม่มี หรือมี สรุปแต่เหตุ อวิชชาและตัณหาทั้งหลาย มันจึงทำให้ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เรา ท่าน ฉัน เธอ ฯลฯ หลงอยู่เนี่ย จึงได้ผุดได้เกิดอยู่เสมอๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 115.jpg
      3333 115.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.7 KB
      เปิดดู:
      248
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถึงคราวจำเป็น ต้องกิน หรือถึงคราวสละ ไม่ต้องกิน ก็กินให้มีแนวทาง ไม่ใช่กินอิ่มแต่ท้อง กินเพราะแค่อยากกิน ลิ้นกับลำไส้ น้ำย่อย มันเหม็นคาว ต่อให้กินของหอมหวานมากขนาดไหนไป จะอ๊วกออกมาทางปาก หรือจะผ่าออกกลางท้อง หรือจะโผล่ออกมาทางทวารใด ก็กลายเป็นของเน่าเสีย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ( ยกเว้นอาหารอันเป็นทิพย์)

    ผู้เยาว์มีอยู่สี่ทางเพื่อให้ปฏิบัติ 1. กินหรือไม่กินเพื่อดำรงชีพเพื่อการโปรดเวไนยสัตว์ 2.กินหรือไม่กินเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อตนเอง 3.กินหรือไม่กินเพื่อตนเองและผู้อื่น 4.กินหรือไม่กินเพื่อยังประโยชน์เพื่อตนเองและผู้อื่น อย่างที่ 4 นี้ประเสริฐที่สุด โปรดจง ไตร่ตรองตาม ให้เห็นจริง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 191.jpg
      3333 191.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.6 KB
      เปิดดู:
      353
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "สัตว์ติรัจฉาน สำเร็จมรรคผลไม่ได้" อย่าไปเอา สัตว์ในน้ำ ในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพราหมณ์ อาบน้ำในแม่น้ำคงคา มารวมกันจะไขว้เขว มันคนละกรณี นั่นสอน ว่าพิธีกรรมนั้นแบบนั้นมันไม่ถูก ไม่งั้นกุ้งหอยปูปลาคงเอวังฯ หมด(คิดตาม)

    พึงแก้ เรื่อง ฐานะอันมิใช่ฐานะ ของสัตว์อย่างละเอียดอ่อน สัตว์ติรัจฉานย่อมไม่มีทางบรรลุมรรคผลได้

    สัตว์สูงก็ตามต่ำก็ตาม ย่อมเกิดโดยกรรม มาเพื่อเสวยผลกรรมของตนเองที่ทำไว้ และเพื่อบำเพ็ญภาวะของตนเอง สามารถบำเพ็ญตนให้มีโพธิจิตเป็นพระโพธิสัตว์ได้ ได้ แต่ไม่สามารถบรรคุณธรรมอันสูงได้ หากไปพิจารณาตามกัน ว่าช้างม้าวัวควาย มันกินแต่ผักแต่หญ้า มันคงสำเร็จธรรมก่อน นั่นไม่ถูก เพราะไม่ ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมดให้ถ่องแท้ มีผลเสียแก่ผู้รับฟังและปฎิบัติตามในภายหลัง ทำให้หลุดออกจากกระแสธรรมให้ความรู้เรื่อง การกินเนื้อสัตว์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 252.jpg
      3333 252.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.6 KB
      เปิดดู:
      390
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในประเทศ เขต หรือพื้นที่ใดๆ ที่ประชาชน ไปแล้ว(คโต) เพื่อถึง ซึ่ง พุทโธ ธัมโม สังโฆ ว่าเป็นสรณะ. ในย่านนั้นๆ จะไม่มีการซื้อขายสัตว์เป็นๆ (สตฺตวณิชฺชา) จะไม่มีการซื้อขายเนื้อสัตว์ (มํสวณิชฺชา) จะไม่มีการซื้อขายเหล้า (มชฺชวณิชฺชา).
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มีความเห็นแบบนี้ปรากฎเหมือนกัน "มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช (Herbivore)
    ลำไส้มนุษย์ยาว คล้ายของสัตว์กินพืชมากกว่า
    และฟันเป็นแบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง มากกว่าสัตว์กินเนื้อ ที่มีฟันคม มีเคี้ยวไว้ฉีกตัด

     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    (Herbivore)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปฐมเหตุการบัญญัติสิกขาบท ห้ามเรื่องการฉันเนื้อสัตว์

    อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขา
    [๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์
    แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครพาราณสี เสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ
    ถึงพระนครพาราณสีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ อิสิปตนมฤคทายวันเขตพระนคร
    พาราณสีนั้น สมัยนั้น อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา ๒ คน เป็นผู้เลื่อมใส เป็นทายก
    กัปปิยการก บำรุงพระสงฆ์อยู่ในพระนครพาราณสี วันหนึ่ง อุบาสิกาสุปปิยาไปสู่อาราม เที่ยว
    เยี่ยมวิหารและบริเวณทั่วทุกแห่ง แล้วเรียนถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุรูปไรอาพาธ ภิกษุรูปไร
    โปรดให้ดิฉันนำอะไรมาถวาย เจ้าข้า.
    ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาถ่ายและได้บอกอุบาสิกาสุปปิยาว่า ดูกรน้องหญิง อาตมา
    ดื่มยาถ่าย อาตมาต้องการน้ำเนื้อต้ม
    อุบาสิกาสุปปิยารับคำว่า ดิฉันจักนำมาถวายเป็นพิเศษ เจ้าข้า แล้วไปเรือนสั่งชายคน
    รับใช้ว่า เจ้าจงไปหาซื้อเนื้อสัตว์ที่เขาขายมา
    ชายคนรับใช้รับคำอุบาสิกาสุปปิยาว่า ขอรับกระผม แล้วเที่ยวหาซื้อทั่วพระนครพาราณสี
    ก็มิได้พบเนื้อสัตว์ที่เขาขาย จึงได้กลับไปหาอุบาสิกาสุปปิยาแล้วเรียนว่า เนื้อสัตว์ที่เขาขายไม่มี
    ขอรับ เพราะวันนี้ห้ามฆ่าสัตว์
    จึงอุบาสิกาสุปปิยาได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุอาพาธรูปนั้นแล เมื่อไม่ได้ฉันน้ำเนื้อต้ม
    อาพาธจักมากขึ้นหรือจักถึงมรณภาพ การที่เรารับคำแล้วไม่จัดหาไปถวายนั้น เป็นการไม่สมควร
    แก่เราเลย ดังนี้ แล้วได้หยิบมีดหั่นเนื้อมาเชือดเนื้อขาส่งให้หญิงคนรับใช้สั่งว่า แม่สาวใช้
    ผิฉะนั้น แม่จงต้มเนื้อนี้แล้วนำไปถวายภิกษุรูปที่อาพาธอยู่ในวิหารหลังโน้น อนึ่ง ผู้ใดถามถึงฉัน
    จงบอกว่าป่วย แล้วเอาผ้าห่มพันขา เข้าห้องนอนบนเตียง.
    ครั้งนั้น อุบาสกสุปปิยะไปเรือนแล้วถามหญิงคนรับใช้ว่า แม่สุปปิยาไปไหน?
    หญิงคนรับใช้ตอบว่า คุณนายนอนในห้อง เจ้าข้า.
    จึงอุบาสกสุปปิยะเข้าไปหาอุบาสิกาสุปปิยาถึงในห้องนอน แล้วได้ถามว่า เธอนอนทำไม
    อุบาสิกา.
    ดิฉันไม่สบายค่ะ อุบาสก.
    เธอป่วยเป็นอะไร.
    ทีนั้น อุบาสิกาสุปปิยาจึงเล่าเรื่องนั้นให้อุบาสกสุปปิยะทราบ
    ขณะนั้น อุบาสกสุปปิยะร่าเริงดีใจว่า อัศจรรย์นักชาวเราไม่เคยมีเลยชาวเรา แม่สุปปิยา
    นี้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงแก่สละเนื้อของตนเอง สิ่งไรอื่นทำไมนางจักให้ไม่ได้เล่า แล้วเข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาค. ถวายบังคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกสุปปิยะนั่งเรียบร้อยแล้ว
    ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์
    จงทรงกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าในวันพรุ่งนี้เพื่อเจริญมหากุศล และปิติปราโมทย์
    แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นอุบาสกสุปปิยะ
    ทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
    แล้วกลับไป และสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไป
    กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
    ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเสด็จไปสู่
    นิเวศน์ของอุบาสกสุปปิยะ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วย
    พระสงฆ์ จึงอุบาสกสุปปิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอุบาสกสุปปิยะผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า อุบาสิกา
    สุปปิยาไปไหน?
    อุ. นางป่วย พระพุทธเจ้าข้า
    พ. ถ้าเช่นนั้น เชิญอุบาสิกาสุปปิยามา
    อุ. นางไม่สามารถ พระพุทธเจ้าข้า
    พ. ถ้าเช่นนั้น พวกเธอช่วยกันพยุงพามา
    ขณะนั้น อุบาสกสุปปิยะได้พยุงอุบาสิกาสุปปิยามาเฝ้า พร้อมกันนางได้เห็นพระผู้มี
    พระภาค แผลใหญ่เพียงนั้นได้งอกเต็ม มีผิวพรรณเรียบสนิท เกิดโลมชาติทันที จึงอุบาสกสุปปิยะ
    และอุบาสิกาสุปปิยา พากันร่าเริงยินดีว่า อัศจรรย์นักชาวเรา ไม่เคยมีเลยชาวเรา พระตถาคต
    ทรงมีฤทธิ์มาก ทรงมีพระอานุภาพมาก เพราะพอเห็นพระองค์เท่านั้น แผลใหญ่โตยังงอกขึ้น
    เต็มทันที มีผิวพรรณเรียบสนิท เกิดโลมชาติ แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
    ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสด็จแล้ว ทรงนำ
    พระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    พระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา เห็นแจ้ง สมาทาน
    อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
    ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
    [๕๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
    ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปไหน
    ขอเนื้อต่ออุบาสิกาสุปปิยา.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ทูลรับต่อพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระ-
    *พุทธเจ้า ได้ขอเนื้อต่ออุบาสิกาสุปปิยา พระพุทธเจ้าข้า
    พ. เขานำมาถวายแล้วหรือ ภิกษุ
    ภิ. เขานำมาถวายแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
    พ. เธอฉันแล้วหรือ ภิกษุ
    ภิ. ฉันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
    พ. เธอพิจารณาหรือเปล่า ภิกษุ
    ภิ. มิได้พิจารณา พระพุทธเจ้าข้า
    ทรงติเตียน
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงไม่ได้พิจารณา แล้วฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อของเขาถวายก็ได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้
    พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง
    [๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก สมัยอัตคัดอาหาร ประชาชน
    พากันบริโภคเนื้อช้าง และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อช้าง
    ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉัน
    เนื้อช้างเล่า เพราะช้างเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบคงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า
    สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก สมัยอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อม้า และ
    ถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อม้าเล่า เพราะม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่เลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข
    สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อสุนัข และถวายแก่พวก
    ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อสุนัข ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
    ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อสุนัขเล่า เพราะสุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียด น่าชังภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้องู
    สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้องู และถวายแก่พวกภิกษุ
    ผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้องู ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
    พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้องูเล่า เพราะงูเป็นสัตว์น่าเกลียดน่าชัง แม้พระยานาคชื่อสุปัสสะก็เข้าไปในพุทธสำนักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่งได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า บรรดาที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีอยู่มันคงเบียดเบียนพวกภิกษุจำนวนน้อยบ้าง ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดกรุณาอย่าฉันเนื้องู ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระยานาคสุปัสสะเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นพระยานาคสุปัสสะอันพระผู้มีพระภาคทรงให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำ
    ประทักษิณกลับไป
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
    แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู รูปใดฉัน
    ต้องอาบัติทุกกฏ.

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าราชสีห์แล้วบริโภคเนื้อราชสีห์ และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยว
    บิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อราชสีห์แล้วอยู่ในป่า ฝูงราชสีห์ฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อ
    ราชสีห์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือโคร่งแล้วบริโภคเนื้อเสือโคร่งและถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือโคร่งแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือโคร่งฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อเสือโคร่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือโคร่ง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือเหลือง แล้วบริโภคเนื้อเสือเหลืองและถวายแก่พวกภิกษุ
    ผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือเหลืองแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือเหลืองฆ่าพวกภิกษุเสีย
    เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือเหลือง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือเหลือง รูปใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ.

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อหมี
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าหมีแล้วบริโภคเนื้อหมี และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตพวกภิกษุฉันเนื้อหมีแล้วอยู่ในป่า เหล่าหมีฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อหมี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงฉันเนื้อหมี รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

    พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือดาว
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือดาวแล้วบริโภคเนื้อเสือดาว และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อเสือดาวแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือดาวฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือดาว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือดาว รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
    สุปปิยภาณวาร ที่ ๒ จบ.

    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=05&A=1372&Z=1508
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    น้ำพระทัยในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีมากมายเหลือคณานับ กับการยอมอด แต่ไม่ยอม เบียดเบียดชีวิตของสรรพสัตว์โดยเด็ดขาด

    แม้แต่กับสุนัขก็ยังไม่ทรงแย่งอาหาร

    ในที่ใด สุนัขได้รับการเลี้ยงดูว่า เราจักได้ก้อนข้าว เราไม่รับภิกษาที่เขาไม่ให้แก่สุนัขในที่นั้นแล้วนำมา เพราะเหตุไร. เพราะว่า สุนัขนั้นจะมีอันตรายจากก้อนข้าว.

    แม้แต่กับแมลงวันยังทรงเห็นใจมีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักให้ภิกษาแก่
    อเจลกนี้ เข้าไปสู่โรงครัว ก็ครั้นพวกเขาเข้าโรงครัว แมลงวันทั้งหลายที่จับอยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้น ก็จะบินไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ เราไม่รับภิกษาที่เขานำมาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า แมลงวันทั้งหลายจะมีอันตรายจากอาหาร เพราะอาศัยเรา แม้เราก็ได้ทำอย่างนั้นแล้ว

    ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้งหลาย เราประพฤติเศร้าหมองและเป็นเยี่ยมกว่าผู้พระพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย
    เราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัดและเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บุพกรรมอดีตกรรมเก่า ของพระพุทธเจ้าเรื่อง เด็กเล็กเห็นปลาถูกฆ่า แล้ว แค่ดีใจในการเห็นการล่าการฆ่าเพียงเท่านั้น ก็ต้องทำให้พระองค์ประสพกับการทรมานพระเศียร อย่ากล่าวถึงการฆ่าและเบียดเบียนเพื่อสิ่งอื่นเลย
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๐ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นเด็กเล็กลูกของชาวประมง อาศัยอยู่ในเกวัฏฏคาม เห็นชาวประมงฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส ด้วยเจตนาที่เป็นอกุศลกรรมนั้น จึงทำให้ไปเสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ ด้วยเศษแห่งผลบาปกรรมนั้น เราจึงปวดศีรษะ เมื่อพวกเจ้าศากยะถูกที่พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าตายเป็นจำนวนมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3333 365.jpg
      3333 365.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.1 KB
      เปิดดู:
      345
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ท่านเอย! คนในโลกนี้ส่วนใหญ่พอใจแต่ในความวิบัติล่มจมของผู้อื่นถือเป็นอาหารปากอันโอชะ เพื่อจะได้ไว้เคี้ยวเล่นในวงสมาคมเวลาว่าง แม้เขาจะไม่ต้องการภาวะเช่นนั้น ถ้าเกิดกับตัวของเขาเอง"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เป็นผู้มีแต่ให้ เป็นผู้ไม่ขอ เป็นผู้มีแต่ความปรารถนาดี

    "พระอานนท์กล่าวไปว่า ดูก่อนผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งอริยะ! ข้าพเจ้าขอย้อนกล่าวถึงพุทธานุภาพอีกสักเล็กน้อย เพื่อบรรเทาความสงสัยของท่าน ท่านจะเห็นว่าอานุภาพของคนนั้นมักจะเป็น ผลแห่งบารมีธรรมหรือคุณความดีที่สั่งสมอบรมมา ก็พระศาสดาของเรานั้นเคยสละชีวิตเลือดเนื้อมามากมาย จุดมุ่งหมายก็เพื่อพระโพธิญาณอันประเสริฐ พระพุทธานุภาพหรือลาภสักการะที่หลั่งไหลนั้นเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นเอง พระองค์เคยสละชีพไม่เพียงแก่แต่มนุษย์เท่านั้น ทรงสละให้สัตว์ผู้หิวโหยก็เคยทรงกระทำ

    ครั้งหนึ่งพระองค์เป็นหัวหน้าดาบสบำเพ็ญตบะอยู่บนภูเขา เวลาเย็นวันหนึ่งพระองค์ประทับรับลมเย็นอยู่ ณ ชะง่อยผา มองลงมาเบื้องล่างเห็นแม่เสือตัวหนึ่งเพิ่งคลอดลูกใหม่ยังออกจับเนื้อกินไม่ได้ มันจึงหิวโหยสุดประมาณ กำลังงุ่มง่ามจะกินเนื้อลูกของมัน ดาบสเห็นดังนั้นจึงให้ดาบสผู้บริวารรีบไปเที่ยวแสวงหาสัตว์ที่ตายแล้วมาเพื่อโยนให้แม่เสือตัวนั้นกิน แต่เมื่อเห็นแม่เสืองุ่มง่านมากขึ้นทุกที ดาบสบริวารคงหาเนื้อมาไม่ทันเป็นแน่ เนื้อสัตว์ที่ตายเองในป่ามิใช่หาได้ง่าย พระดาบสโพธิสัตว์จึงตัดสินใจช่วยชีวิตลูกเสือไว้ โดยกระโดดจากเชิงผาลงตรงหน้าแม่เสือพอดี พระดาบสตาย เป็นการสละชีพเพื่อช่วยเหลือสัตว์อื่น และข้อมุ่งหมายสูงสุดก็คือพระโพธิญาณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ช่องว่างของผู้ไม่รู้เลยอร่อยเหาะ ฟาดเรียบ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    “ดูก่อนชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระองค์ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเจาะจงเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าว แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
    ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือเนื้อที่ตนเห็น ๑ เนื้อที่ตนได้ยิน ๑ เนื้อที่ตนรังเกียจ ๑
    ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้
    ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น ๑ เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน ๑ เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ ๑
    ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้”

    ๐ ความแตกต่างให้นำไปคิดพิจารณา เมื่อผู้เจริญในธรรม ผู้รู้ด้วยญานมีโสตทิพย์อันสัมผัสได้ โดยล่วงรู้ ด้วยเป็นผู้มีปัญญาธิคุณมาก ย่อมสอดส่องไปถึงเหล่าเวไนยสัตว์อย่างกว้างขวาง ล่วงรู้การเกิดและดับของสรรพสัตว์ การ เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสรรพสัตว์ทั้งมวล เมื่อมีผู้นำสัตว์มาฆ่าและปรุงถวาย พระผู้นั้นย่อมรู้ทุกๆลำดับขั้นตอนและอาการ จะฉันได้ไหม? สัตว์นั้น ถ้าท่านจะประสงค์ฉัน ภาวะจิตท่านย่อมโปรดแก่สัตว์นั้นโดยฐานะ เมื่อสัตว์นั้นล่วงรู้ว่าเนื้อตน เป็นประโยชน์แก่การเลี้ยงชีพของพระผู้นี้ สัตว์นั้นจะได้บุญหรือได้บาป สัตว์นั้นจะดีใจหรือเสียใจ นี่ฐานะคือพระผู้ทรงอภิญญาสมบูรณ์ ๐

    แต่หากเป็นพระผู้ไม่รู้ ไม่ทรงอภิญญา ก็จะสามารถฉันได้ตามปกติ เพราะตนก็ไม่รู้ ว่าใครทำ ใครตี ใครฆ่า เพื่อตน หรือเพื่อใครก็ไม่อาจทราบได้ ก็ไม่รู้ก็จะไม่ใส่ใจเรื่องนี้อย่างแยบคายมากนัก นี่คือ ความชัดเจน ชัดแจ้ง ที่เราอธิบาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ที่สุดในกระทู้คือ พระสูตรที่ตรัสสอนเอาไว้ว่า "ต่อให้ฆ่าบุตรและภรรยา นำเนื้อนั้นมาถวาย ผู้พิจารณาแล้วฉันไม่บาป" หาให้เจอนะครับ ขอให้พิจารณาก่อนฉัน แม้กระทั่งยาพิษ สุกรมัทวะ ทรงรู้ว่ามีพิษ ก็ยังทรงฉันและทรงตรัสว่าเป็นทานอันเลิศ แม้ฉันแล้วล้มป่วยถึงแก่พระปรินิพพานก็ทรงฉัน นี่คือ ความลึกซึ้งในพระพุทธศาสนาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (5).jpg
      images (5).jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.6 KB
      เปิดดู:
      237

แชร์หน้านี้

Loading...