เรื่องเด่น วิธีฝึกกรรมฐานหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 1 พฤศจิกายน 2017.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,372
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +772
    maxresdefault.jpg

    บทอาราธนากรรมฐาน

    ข้อพึงสังวรในเบื้องต้น

    บทอาราธนากรรมฐานและแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานที่เผยแพร่นี้
    หลวงปู่ดู่ท่านมิให้ใช้คำว่า “แบบปฏิบัติธรรมวัดสะแก ”

    ท่านว่าการเรียกเช่นนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ควรใช้คำว่าแบบปฏิบัติของวัดใดๆ
    มีแต่แบบปฏิบัติของพระพุทธเจ้า

    เพราะ...ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นมีความไพเราะงดงาม
    ทั้งในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด
    พระองค์ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ
    บริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยสิ้นเชิง ทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ นั่นเอง


    คำสมาทานพระกรรมฐาน



    บทบูชาพระ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )


    พุทธัง ชีวิตัง เม ปูเช มิ
    ธัมมัง ชีวิตัง เม ปูเช มิ
    สังฆัง ชีวิตัง เม ปูเช มิ


    กราบพระ ๖ ครั้ง

    ๑. พุทธัง วันทามิ

    ๒. ธัมมัง วันทามิ
    ๓. สังฆัง วันทามิ
    ๔. อุปัชฌาย์ อาจาริยะ คุณัง วันทามิ (สำหรับผู้ชาย) /
    คุณครูบาอาจารย์ วันทามิ (สำหรับผู้หญิง)
    ๕. มาตาปิตุคุณัง วันทามิ
    ๖. พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ


    สมาทาน ศีล ๕

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )


    • พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    • ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    • ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๕. สุราเมระยะ มัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


    อิมานิ ปัญจะ สิกขา ปะทานิ สะมาทิยามิ ( ๓ ครั้ง )

    สีเลนะ สุคะติงยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติงยันติ ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย


    คำอาราธนาพระ

    พุทธัง อาราธะนัง กะโรมิ

    ธัมมัง อาราธะนัง กะโรมิ
    สังฆัง อาราธะนัง กะโรมิ


    น้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวด แล้วว่า

    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)

    น้อมระลึกถึงหลวงปู่ดู่ โดยว่าคาถาดังนี้

    นะโม พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)

    คำอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นกระทำไว้ดีแล้ว

    สัทธา ทานัง อนุโมทามิ (๓ ครั้ง)



    คำขอขมาพระรัตนตรัย

    โยโทโส โมหะจิตเต นะ พุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา

    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
    โยโทโส โมหะจิตเต นะ ธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
    โยโทโส โมหะจิตเต นะ สังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ




    คำอธิษฐานแผ่เมตตา

    ให้ตั้งใจเจริญพรหมวิหาร ๔ แล้ววกล่าวคำอธิษฐานว่า

    “พุทธัง อะนันตัง

    ธัมมัง จักกะวาฬัง
    สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ ”


    คำอธิษฐานพระเข้าตัว

    (คำอธิษฐานขออัญเชิญคุณพระมาไว้ที่จิต

    เพื่อความสำรวมระวังและการภาวนาต่อ แม้จะออกจากการนั่งกรรมฐาน
    รวมทั้งขอคุณพระคุ้มครองรักษาในระหว่างวัน)


    สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพ สังฆา
    พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
    อะระหันตานัญ จะ เต เชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส
    พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ



    ตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้เริ่มต้น
    ๑. เริ่มต้นด้วยการกล่าวคำบูชาพระ สมาทานศีล (เปลี่ยนศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร เป็น อะพรัหมะจะริยาฯ เพื่อเตรียมจิตก่อนอธิษฐานบวชจิต) จากนั้น ก็กล่าวคำอาราธนากรรมฐาน ว่า “พุทธัง อาราธะนัง กะโรมิ, ธัมมัง อาราธะนัง กะโรมิ, สังฆัง อาราธะนัง กะโรมิ” เป็นต้น

    ๒. เบื้องต้น ยังไม่ต้องรีบร้อนบริกรรมภาวนา หรือนึกนิมิตใดๆ หากแต่ให้ปรับท่านั่งให้เข้าเป็นที่สบาย โดยตั้งกายให้ตรง ผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจลึกๆ สักสองสามครั้ง พร้อมกับทำจิตใจของเราให้ปลอดโปร่งโล่งว่าง สร้างฉันทะที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ระลึกว่าเรากำลังใช้เวลาที่มีคุณค่าแก่ชีวิต คือการพัฒนาจิตใจ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่ากว่าสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย หรือทรัพย์สมบัติ

    ๓. กล่าวอาราธนาขอให้พระพุทธเจ้า หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงปู่เกษม ได้โปรดมาเป็นผู้นำและอุปการะจิตในการปฏิบัติธรรมครั้งนี้ จากนั้น ก็น้อมจิตกราบพระว่า พุทธังวันทามิ ธัมมังวันทามิ สังฆังวันทามิ

    ๔. สำรวจอารมณ์ที่ค้างคาอยู่ในใจเรา แล้วชำระมันออกไป ทั้งเรื่องน่าสนุกเพลิดเพลิน หรือเรื่องชวนให้ขุ่นมัวต่าง ๆ ตลอดถึงความง่วงเหงาหาวนอน และความฟุ้งซ่านรำคาญใจต่าง ๆ รวมทั้งปล่อยวางความลังเลสงสัยเสียก่อน

    ๕. เมื่อชำระนิวรณ์อันเป็นอุปสรรคของการเจริญสมาธิออกไปในระดับหนึ่งแล้ว กระทั่งรู้สึกปลอดโปร่งโล่งว่างตามสมควร จึงค่อยบริกรรมภาวนาในใจว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”

    ๖. มีหลักอยู่ว่าต้องบริกรรมภาวนาด้วยใจที่สบายๆ (ยิ้มน้อยๆ ในดวงใจ) ไม่เคร่งเครียด หรือจี้จ้องบังคับใจจนเกินไป

    ๗. ทำความรู้สึกว่าร่างกายของเราโปร่ง กระทั่งว่าลมที่พัดผ่านร่างกายเรา คล้ายๆ กับว่าจะทะลุผ่านร่างของเราออกไปได้

    ๘. ให้มีจิตยินดีในทุกๆ คำบริกรรมภาวนา ว่าทุกๆ คำบริกรรมภาวนา จะกลั่นจิตของเราให้ใสสว่างขึ้นๆ

    ๙. เอาจิตที่เป็นสมาธิพอประมาณนี้มาพิจารณาร่างกายว่ามันเป็นก้อนทุกข์ ยามจะแก่ จะเจ็บ จะตาย เราก็ไม่อาจบังคับบัญชา หรือห้ามปรามมันได้ ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมันดีอย่างไร มันก็จะทรยศเรา มันจะไม่เชื่อฟังเรา ให้พิจารณาให้ละเอียดลงไปซ้ำๆ จนกว่าจิตจะเห็นและยอมรับความจริง เมื่อจิตยอมรับจิตก็จะคลายจากความยึดมั่นถือมั่นว่ากายนี้เป็นเราหรือเป็นของเรา (การปฏิบัติกรรมฐานครั้งต่อไป ก็อาจเปลี่ยนเป็นการพิจารณาอย่างอื่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น หรือพิจารณาโดยรวมว่าร่างกายเราหรือคนอื่นก็สักแต่ว่าเป็นโครงกระดูก แม้ภายนอกจะดูแตกต่าง มีทั้งที่ผิวพรรณงาม หรือทรามอย่างไร แต่เบื้องลึกภายในก็ไม่แตกต่างกันในความเป็นกระดูก ที่ไม่น่าดูน่าชม เสมอกันหมด ให้พิจารณาให้จิตยอมรับความจริง เพื่อให้คลายความหลงยึดในร่างกาย ฯลฯ)

    ๑๐. เมื่อรู้สึกว่าจิตเริ่มขาดกำลังหรือความแจ่มชัด ก็ให้หันกลับมาบริกรรมภาวนาเพื่อสร้างสมาธิขึ้นอีก

    ๑๑. ในบางครั้งที่จิตขาดกำลัง หรือขาดศรัทธา ก็ให้นึกนิมิต (นอกเหนือจากคำบริกรรมภาวนา) เช่น นึกนิมิตหลวงปู่ดู่ อยู่เบื้องหน้าเรา นึกง่ายๆ สบายๆ ให้คำบริกรรมดังก้องกังวานมาจากองค์นิมิตนั้น ทำไปเรื่อยๆ เวลาเผลอสติไปคิดนึกเรื่องอื่น ก็พยายามมีสติระลึกรู้เท่าทัน ดึงจิตกลับมาอยู่ในองค์บริกรรมภาวนาดังเดิม

    ๑๒. เมื่อจิตมีกำลัง หรือรู้สึกถึงปีติและความสว่าง ก็ให้พิจารณาทบทวนในเรื่องกาย หรือเรื่องความตาย หรือเรื่องความพลัดพราก ฯลฯ หรือเรื่องอื่นใด โดยมีหลักว่าต้องอยู่ในกรอบของเรื่องความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่เที่ยงแท้แน่นอน (อนัตตา)

    ๑๓. ก่อนจะเลิก (หากจิตยังไม่รวม หรือไม่โปร่งเบา หรือไม่สว่าง ก็ควรเพียรรวมจิตอีกครั้ง โดยให้เลิกตอนที่จิตดีที่สุด) จากนั้นให้อาราธนาพระเข้าตัวว่า สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง อะระหัน ตานัญ จะเต เชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมังอธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ (นึกอาราธนาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาไว้ที่จิตเรา หรืออาจจะนึกเป็นนิมิตองค์พระมาตั้งไว้ในตัวเรา

    ๑๔. สุดท้าย ให้นึกแผ่เมตตา โดยนึกเป็นแสงสว่างออกจากใจเรา พร้อมๆ กับว่า พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ป?จจะโยโหตุ โดยน้อมนึกถึงบุญอันมากมายไม่มีประมาณของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย อีกทั้งบุญกุศลที่เราสั่งสมมาดีแล้ว รวมทั้งบุญจากการภาวนาในครั้งนี้ ไปให้กับเทพผู้ปกปักรักษาเรา ให้กับเจ้ากรรมนายเวร ให้กับบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผีเหย้าผีเรือน พระภูมิเจ้าที่ เทพ พรหม ทั้งหลาย แลสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ท่านทั้งหลายที่ยังทุกข์ ขอจงพ้นทุกข์ ท่านทั้งหลายที่มีความสุขอยู่แล้ว ขอจงมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป

    หมายเหตุ การอาราธนาพระเข้าตัว (บทสัพเพฯ) ก็เพื่อว่าเมื่อเวลาเลิกนั่งสมาธิไปแล้ว จะได้ระมัดระวังรักษาองค์พระในตัว โดยการสำรวมระวังรักษากาย วาจา ใจ ตลอดวัน ซึ่งการสำรวมระวัง หรือที่เรียกว่าอินทรียสังวรนี้ จะช่วยให้การปฏิบัติกรรมฐานครั้งต่อๆ ไป จิตจะเข้าถึงความสงบได้โดยง่าย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 พฤศจิกายน 2017
  2. madeaw23

    madeaw23 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +188
    น้อมกราบสาธุครับ
     
  3. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,667
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,216
    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...