สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]




    " สละอารมณ์ "

    เมื่อสละอารมณ์ได้

    ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย


    ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร ......เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน
    ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่งบางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน


    รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง



    เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ
    เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่

    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา 3
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------











    [​IMG]



    สมณะหยุดแล้ว




    ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดานะ คำว่าหยุดนั่นแหละ เมื่อพระองค์เสด็จไปทรมานองคุลิมาล องคุลิมาลหมดพยศร้ายแล้ว แพ้จำนนพระบรมศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า สมณะหยุด ๆ พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์ สมณะหยุดแล้วท่านไม่หยุด คำว่าหยุดนี่ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดา
    องคุลิมาลพอรู้จักนัยที่พระบรมศาสดาให้เช่นนี้ ก็หมดพยศร้าย มิจฉาทิฏฐิหาย กลายเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นอ้ายตัวหยุดนี่แหละหนา เลิกเป็นมิจฉาทิฏฐิ กลับเป็นสัมมาทิฏฐิทีเดียว
    หยุดนี่แหละเป็นตัวถูกละ ก็เอาใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไม่หยุดไม่ยอมกัน แก้ไขจนกระทั่งใจหยุดกึ๊ก เมื่อใจหยุดแล้ว เข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลาง ๆ ไม่มีเขยื้อน ที่กลางของกลางทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน





    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๓๕
    เรื่อง ธชัคคสูตร
    ๒๐ มิถุนายน ๒๔๙๗
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    การอาศัยกสิณ10 มาช่วยให้เกิดปัญญา ตามวิธีดั้งเดิม

    วิธีตั้งมณฑลกสิณด้วยดวงธรรมในกายมนุษย์และกายทิพย์

    (กายโลกีย์คือ การมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ เรียกว่า ดวงทุติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม เรียกว่า ดวงตติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เรียกว่า ดวงจตุตถมรรค

    คราวนี้จะใช้เฉพาะกายโลกีย์ทั้ง ๘ (กายที่ไม่ใช่กายธรรม) เพื่อประกอบโลกียฌาน สับกาย ซ้อนกาย เฉพาะกายโลกีย์ สัก ๗ เที่ยว ให้กายใสทุกกาย

    เมื่อ กายใสดีแล้ว

    เข้าตั้งกสิณในดวงทุติยมรรคของกายทิพย์(หรือที่ดวงปฐมมรรคในกายมนุษย์ก็ได้) พอดวงทุติยมรรคใสใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นึกบริกรรมว่า ปฐวีกสิณัง ดินก็เกิดขึ้นในดวงนั้นเป็นปฐวีกสิณ น้อมจิตนิ่งแน่นเลยดินลงไป

    น้ำก็ผุดขึ้นเป็นอาโปกสิณ

    ไฟก็ซ้อนอยู่ในน้ำเป็นเตโชกสิณ

    ลมซ้อนอยู่ในไฟเป็นวาโยกสิณ

    สีเขียวอยู่ในลมเป็นนีลกสิณ

    สีเหลืองอยู่ในสีเขียวเป็นปีตกสิณ

    สีแดงอยู่ในสีเหลืองเป็นโลหิตกสิณ

    สีขาวอยู่ในสีแดงเป็นโอทาตกสิณ

    แสงสว่างอยู่ในสีขาวเป็นอาโลกกสิณ

    อากาศว่างอยู่ในแสงสว่างเป็นอากาสกสิณ


    แล้วเดินสมาบัติในกสิณนั้น

    หลวงปู่สดท่านเมตตาสอนวิธีการเดินสมาบัติในกสิณ เพื่อตรวจดูภพต่างๆไว้ ว่าเวลาจะเดินสมาบัติในกสิณเหล่านี้ ก็ต้องซ้อนดวงกสิณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามลำดับ แล้วจึงเดินสมาบัติ วิธีเดินสมาบัติต้องใช้ธรรมกายเดิน(ทีนี้ไม่ใช่โลกียฌานแล้ว)


    เวลาจะตรวจดูภพไหนให้เห็นชัด ก็ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายระดับนั้นๆ*เป็นสมาบัติ

    ที่ตั้งของดวงธรรมนั้นเป็นกสิณ


    (ตรวจโลกมนุษย์ *ทวีปทั้ง ๔ ในจักรวาลนี้ ก็ใช้ดวงธรรมในกายมนุษย์ ตรวจภพเทวโลกใช้ดวงธรรมในกายทิพย์ ตรวจพรหมโลกใช้ดวงธรรมในกายรูปพรหม ตรวจอรูปพรหมใช้ดวงธรรมในกายอรูปพรหม)


    เดินสมาบัติในกสิณ ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ ตรวจดูให้รู้ตลอด เป็นอยู่กันอย่างไร ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]


    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------
    ที่จรดใจ

    ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น มนุษย์ผู้ฟังธรรม ต้องเอาใจไปจรดตรงนั้น ถ้าไม่จรดตรงนั้น ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา เมื่อเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้น แล้วทำใจให้หยุดนั่นแหละ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญทีเดียว
    นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง สุขอื่นนอกจากความหยุดความนิ่งไม่มี หยุดตรงนั้นแหละเป็นสุขละ ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว แล้วก็ถูกความสรรเสริญของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว นี่แหละถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาละ
    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๓๑
    เรื่อง รัตนสูตร
    ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๙๗
    ....
    เพจวิชชาธรรมกาย
    เพื่อการเผยแผ่วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งสอนและถ่ายทอดไว้
    www.facebook.com/pagedhammakaya
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มกราคม 2015
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องธุดงควัตร ในพระพุทธศาสนา



    จะได้ไม่นำมาใช้เพื่อเจตนาอื่น .................



    ****************************************************************
    ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ
    หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)
    1.) การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล = คลุกฝุ่น)
    2.) การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ(ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)
    หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต )
    3.) การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน
    4.) ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป
    5.) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
    6.) ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร
    7.) ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม
    หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ )
    8.) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
    9.) ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
    10.) ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
    11.) ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
    12.) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
    13.) ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน
    **************************************************

    สรุปย้ำ คือ .." เพื่อการขัดเกลากิเลส"...
     
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สงสัยข้อที่13 นอนคว่ำหน้าได้หรือป่าวครับ หลังก็ไม่ติดพื้น
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ทำแล้ว สะดวกและอำนวยต่อการภาวนาอย่าต่อเนื่องหรือไม่ ที่นอนคว่ำหน้า

    ไม่ว่าเหตุผลทางกายภาพ และ ทางจิตใจ ผู้มีเจตนาที่จะปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสจริงๆ ย่อมทราบได้ด้วยตนเอง


    เจตนาของข้อบัญญัติต่างๆ ถ้าจะคิดเอาแต่แง่มุมตัวอักษร แต่ไม่ทราบเจตนา เหตุผลของการบัญญัติต่างๆ ก็ยากจะเข้าถึงเหตุและผล ของการกระทำที่ต้องการไปถึง



    คล้ายนักภาษาศาสตร์ ที่ไม่อาจเข้าถึงแก่นวิชาฟิสิกซ์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ ถ้าไม่เรียนจากสัมผัสจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มกราคม 2015
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันสุดท้ายของโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติฯแล้ว เวลาผ่านไปเร็วมากขอแจ้งข่าวดีให้ท่านผู้ร่วมทำบุญและเป็นเจ้าภาพบวชพระทราบตอนนี้มีพระที่บวชในโครงการแจ้งลาสิขาตามกำหนดโครงการมาแค่ 2 รูป ส่วนอีก 9 รูปที่เหลือจะไปอยู่ที่วัดหลวงพ่อสดฯ
    ขอบคุณพระวิทยากรทุกรูปและเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน งานนี้เราเหนื่อยกันมากแต่ก็มีความสุขเพราะเป็นบุญใหญ่กุศลใหญ่


    ขออนุโมธนาบุญกับทุกๆท่าน

    https://www.facebook.com/pages/สำนักปฏิบัติธรรมป่ามงคลธรรม-ศิษย์หลวงปู่สด/826074327453292?fref=photo


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มกราคม 2015
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    สัมมาปฏิบัติไตรสิกขา ตอนที่ 1

    สนทนาธรรม โดย พระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี มงคลธรรม


    http://youtu.be/u86do2NPwnc
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ม.1.JPG
      ม.1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      85 KB
      เปิดดู:
      336
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    " ไม่รักตัว "

    ตัวของตัวเองรักความบริสุทธิ์ ก็ทำความบริสุทธิ์ของตัวเองได้

    ตัวเองรักความบริสุทธิ์
    แต่ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัว ก็บริสุทธิ์ไม่ได้

    ไม่ทำบริสุทธิ์ใส่ตัวก็ชื่อว่าไม่รักตัว ลงโทษตัวอย่างขนาดหนัก

    เมื่อทำความบริสุทธิ์ให้แก่ตัวแล้ว ช่วยตัวเองอย่างขนาดหนัก ทำความไม่บริสุทธิ์ใส่ตัว

    เหมือนเรามีผ้าที่สะอาด
    เอาของโสโครกมาประพรมเสีย
    ผ้านั้นเป็นอย่างไรบ้าง ผ้าที่สะอาดนั้นก็ดูไม่ได้ กลายเป็นของเลวไป

    คนที่สะอาด คนที่ดีๆ แท้ๆ คนที่บริสุทธิ์แท้ๆ ไปประพฤติชั่วเข้าเป็นอย่างไร ก็เหมือนผ้าเปื้อนสกปรกนั่นแหละ
    ใช้ไม่ได้ดุจเดียวกัน
    ต้องรักษาความสะอาดนั้นไว้


    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)
    จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]


    1.ทุกข์

    เห็นดวงทุกข์ที่หยาบที่สุด ที่กลางกายมนุษย์ มีดวงธรรมที่แสดงความมีอยู่เป็นอยู่ของสภาวธรรม ที่เป็นอกุศลสังขารปรุงแต่งคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สี่ดวงซ้อนกันอยู่ ในดวงทุกข์นั้น

    2. พิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีผ่านศูนย์กลางดวงทุกข์ ทั้งหมด จึงพบ เหตุแห่งทุกข์

    คือ ดวงธรรมที่เป็นดวงแสดงถึงความมีอยุ่เป็นอยู่ของเหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา


    พิสดาร ซ้อน สับ ทับทวี ผ่านศุนย์กลางดวงทั้งสาม


    3. เมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับ ดวงทุกข์ก็ดับตาม จะพบสภาวะนิโรธ(ทุกข์ดับ-ยังไม่ใช่นิโรธสมาบัติ)เป็นดวงขาว ใส สว่างมาก
    ขนาดประมาณ5วา

    *****พิจารณาอารมณ์สุขขณะนี้ ไม่ใช่สุขเวทนาทางโลกที่เคยมี เพราะ ไม่ใช่สุขเวทนาจากการสนองตัณหา****


    4.หยุดในหยุด กลางของหยุด ท่ามกลางดวงนิโรธ จะพบดวงธรรมที่แสดงสภาวธรรมที่เป็นเหตุของนิโรธคือดวงมรรค ซึ่งมีดวงธรรมสามดวงคือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ซ้อนกันโดยมีศูนย์กลางดวงตรงกัน


    อริยมรรคมีองค์แปด สารถแจกแจงในนัยยะของศีล สมาธิ ปัญญา ได้คือ

    ๑. สัมมา วาจา วาจา ชอบ
    ๒. สัมมา กัมมันตะ การงาน ชอบ
    ๓. สัมมา อาชีวะ เลี้ยงชีพ ชอบ

    สามข้อนี้เป็น ศีล


    ๔. สัมมา วายามะ ความเพียร ชอบ
    ๕. สัมมาสติ ระลึก ชอบ
    ๖. สัมมา สมาธิ ตั้งใจ ชอบ

    สามข้อนี้เป็น สมาธิ



    ๗. สัมมา ทิฏฐิ ความเห็น ชอบ
    ๘. สัมมา สังกัปปะ ดำริ ชอบ

    สองอย่างนี้เป็น ปัญญา



    เมื่อพิสดารกาย ซ้อน สับ ทับทวี เดินสมาบัติผ่านศูนย์กลางเห็น-พิจารณาสภาวธรรมทั้งสี่แล้ว กายธรรมก็จะตกศูนย์เข้าสุ่สภาวะใหม่ เมื่อตัดสังโยชน์เบื้องต้นทั้งสามได้มากถูกส่วนแล้ว กายธรรมพระโสดา หน้าตัก5วาจะปรากฏผ่องใส ไม่มีเล็กไม่มีเลือนลางอีกต่อไป


    -------------------------------------------------------


    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก
    เท่าไข่แดงของไก่

    -ดวงเกิด มีสีขาวใส
    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า
    ใหญ่ก็แก่มาก
    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด
    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที
    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า
    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์
    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ
    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย
    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที

    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง
    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย
    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด

    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง
    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ
    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม
    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา

    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ
    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง
    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย
    ไปฉะนั้น

    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล
    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด
    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก

    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่
    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์
    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง
    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร
    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด
    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้
    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน
    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ
    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่
    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ
    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน

    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง
    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ
    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น
    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ
    (4x3=12)
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    ทุกข์ ไม่ว่าปกิณกะทุกข์ในชีวิตประจำวัน และ สิ่งละเอียดทั้งหลายที่มองข้ามว่าเป็นทุกข์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้กำหนดรู้



    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ทรงสอนให้ละ



    นิโรธ(สภาพที่ทุกข์ดับ) ทรงสอนให้เข้าถึง


    อริยมรรคมีองค์แปด(ทางพ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล) ทรงสอนทรงแนะให้เดินตามทางนั้น






    ..รวมเรียกอริยสัจจ์สี่ เป็นความจริงครบกระบวน ครอบงำทุกข์ และนำทางสรรพชีิวิตพ้นจากกองทุกข์นั้น





    [​IMG]

    -------------------------------------------------------------------




    เหตุเกิด ผลเกิด
    เหตุดับ ผลดับ


    เมื่อไม่ดับทุกข์ด้วยการดับที่เหตุ คือ ตัณหาสามประการ ที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจง

    แต่ด้วยความไม่รู้ หรือรู้ไม่จริงครบถ้วน (อวิชชา ความหลง )ชีวิตจำนวนมาก จึงหลงก่อเหตุแห่งทุกข์ ซ้ำเข้าไปอีก ไม่ว่าจะทำลายสิ่งเร้าภายนอก ทำลายชีวิตตนเอง ทำลายอายตนะรับรู้ วิ่งหนีสิ่งกระทบเร้าจากภายนอกตลอดเวลา ฯลฯ เป็นต้น





    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    เพียงสมาธิ ในระดับขนิกกะ อุปจาระ ก็เห็นได้ ในระดับหนึ่งในชีวิตประจำวัน
    ก็เพียรพิจารณาไป ทั้งเห็น คิด ตรึก นึก ตรอง ในแนวทาง "รู้-เห็น เพื่อปลงวาง คลายความยึดติดด้วยตัณหาและทิฐิ"

    ทั้งที่เกิดกับกาย และ ใจ ของตน และ ภายนอกที่เกิดกับสรรพสิ่ง



    ..หากมีสัมมาทิฐิ คือ ตั้งความเห็นไว้ชอบตั้งแต่แรก ตามพระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า

    “... อาวุโส ในร่างกายซึ่งมีประมาณวาหนึ่ง มีพร้อมทั้งสัญญา พร้อมทั้งใจนี้แล เราบัญญัติโลกไว้ บัญญัติเหตุเกิดโลกไว้ บัญญัติความดับโลกไว้ และบัญญัติทางอันจะให้ถึงความดับโลกไว้ ”

    โลก ที่ใกล้ตัวที่สุด ก็คือกายและใจของตนนี้




    .......และ ต่อไป ก็พัฒนาระดับ สมาธิให้เป็นสัมมาสมาธิ ในอริยมรรคมีองค์แปด คือ

    สมาธิตั้งแต่ปฐมฌาณ ถึง ฌาณสี่ ฯลฯ (ศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฏก และหาเทคนิคที่นำมาใช้ได้เหมาะกับตน โดยไม่ทิ้งหลักเดิม )




    ***************


    แต่ ผู้มีมิจฉาสมาธิ แม้มีสมาธิมาก แต่ไม่ได้ตั้งทิศทางการใช้สมาธิ ไว้ถูกต้องตามหลักอริยมรรคมีองค์แปดแล้ว ก็พลาด ได้
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    [​IMG]



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ม1.JPG
      ม1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72.2 KB
      เปิดดู:
      370
    • ม.1.JPG
      ม.1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      61.9 KB
      เปิดดู:
      356
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...