ความหมายของอวิชชาและวิชชา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 25 เมษายน 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]
    ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาอวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นอย่างไร?และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดเหตุเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา...ไม่รู้ชัดซึ่งสัญญา...ไม่รู้ชัดซึ่งสังขาร...ไม่รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ.ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นอย่างไร?และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในโลกนี้ รู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งเวทนา... รู้ชัดซึ่งสัญญา... รู้ชัดซึ่งสังขาร...
    รู้ชัดซึ่งวิญญาณ...ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๑๕๖/๓๑๐หัวข้อที่ ๓๐๐ - ๓๐๑
    พระสูตรที่2
    ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาอวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นอย่างไร และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูปอันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งรูปอันมี
    ความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูปอันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ... ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสัญญา ...
    ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสังขาร ... ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ...
    ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นอย่างไร และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
    ไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา...ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสัญญา... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสังขาร...ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ...
    ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๑๖๕หัวข้อที่ ๓๒๐
    พระสูตรที่3
    ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา?
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ไม่รู้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับ
    ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชาๆ ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนและด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าถึงวิชชา? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าถึงวิชชา
    ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    หน้าที่ ๔๒๕หัวข้อที่ ๑๖๙๔-๑๖๙๕
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    กราบ โมทนา สาธุ ๆ
    ในพระธรรมคำสั่งสอนและการตรัสรู้ธรรม
    และทุกท่านได้นำมาเผยแผ่พระธรรมด้วยครับ
     
  3. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=QkzM3FffePw]อ.สมภพ ปฏิจจสมุปบาท2(วิสาขะ ปี36).wmv - YouTube[/ame]
     
  4. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    สาธุ สาธุ อนุโมทามิ จ้า
    ..........................
     

แชร์หน้านี้

Loading...