ผักและเห็ดที่เป็นพิษ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย piakgear24, 16 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    กระทู้นี้ขอเชิญท่านผู้รู้และเพื่อนๆสมาชิกมาเติมข้อมูลของเห็ดและผักที่มีพิษ
    เพื่อที่คนที่เข้าป่าหรือใช้ชีวิตประจำวันจะได้ระวังและแก้ไขพิษได้
    หากยามมีภัยพิบัติก็จะได้ช่วยเหลือตัวเองและคนอื่นๆได้ทันเวลา

    ข้อมูลอาจประกอบด้วย

    1.ชื่อของผักหรือเห็ดที่เป็นพิษ
    2.รูปภาพประกอบ
    3.ส่วนที่เป็นพิษ
    4.วิธีการแก้พิษ
     
  2. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD colSpan=2>
    เห็ดพิษ

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>- เห็ดพิษ มีลักษณะดังนี้
    1. สีเข้มจัด เช่น แดง ส้ม ดำ หรือมีสีฉูดฉาด
    2. มีแผ่นหรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด
    3. มีวงแหวนพันรอบบนก้านดอกเห็ด วงแหวนนี้จะเป็นตัวเชื่อมเนื้อเยื่อของหมวกเห็ด และก้านดอกให้ติดกันเมื่อดอกเห็ดบาน
    4. มีขนหรือหนามเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
    5. มีกลิ่น
    6. มีน้ำเมือก หรือมีน้ำยางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด
    7. ครีบที่อยู่ใต้หมวกมีสีขาว สปอร์ในครีบมีสีขาวเช่นกัน

    - เห็ดพิษ แบ่งได้เป็น 4 ชนิดดังนี้

    1. เห็ดพันธ์อะมานิตา มัสคาเรีย (Amanita muscaria)
    เห็ดชนิดนี้คล้ายกับเห็ดโคนทั้งเวลาตูมและบาน เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดเมื่อบานเต็มที่มีขนาด 2- เซนติเมตร สูง 10-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น ระหว่าง1-2 เซนติเมตร
    สารเป็นพิษที่สำคัญในเห็ดชนิดนี้คือ มัสคารีน(muscarine)
    เห็ดชนิดนี้มีพิษรุนแรง เมื่อรับประทานเข้าไป 15-30 นาที จะมีอาการตัวร้อน ใจสั่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดขยาย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเห็นภาพม่านตาหรี่ เหงื่อ น้ำลายและน้ำตาถูกขับออกมามาก ปวดบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจขัดและถึงตายในที่สุด

    2. เห็ดพันธ์อะมานิตา ฟัลลอยเดส(Amanita phalloides)
    เห็ดชนิดนี้มีวงแหวนบอบบาง ถ้วยเห็ดคล้ายเห็ดฟาง มีสปอร์สีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร ลำต้นกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร
    เห็ดชนิดนี้มีสารเป็นพิษฟัลโลท็อกซิน(phollotoxin)ซึ่งมีพิษต่อตับ และสารเป็นพิษอะมาโตท็อกซิน(amatotoxin)
    อาการเป็นพิษจะเห็นชัดภายใน 6-12 ชั่วโมง อย่างช้าไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะมีอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างแรง ท้องเดิน เป็นตะคริว ความดันเลือดต่ำ ตับบวม และถึงแก่ความตายในที่สุด หากรับประทานจำนวนมาก คนไข้จะตายภายใน 2-3 วัน

    3. เห็ดพันธุ์อีโนไซบ์(Inocybe)
    มีลักษณะของหมวกเห็ดเป็นรูปทรงกระบอก สปอร์สีน้ำตาลอ่อน ถ้ารับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพราะอาหารและลำไส้หดเกร็ง

    4. เห็ดพันธุ์โคปรีนัส อาทราเมนทาเรียส(Coprinus atramentarius)
    หรือเห็ดหมึก มีสารที่รวมตัวกับแอลกอฮอล์แล้วจะเกิดพิษ คนดื่มสุราพร้อมกับรับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการใจสั่น หายใจหอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
    เห็ดทั้ง 4 ชนิดนี้ จะมีขึ้นเป็นดงในป่าที่มีความชื้นสูง
    ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเห็ดพิษ


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>
    ขี้หนอน

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2> เป็นไม้ไม่ผลัดใบ สูงราว 3-6 เมตร พบทั่วไปในป่าดงดิบที่แล้งและในป่าไม้ผลัดใบผสม ใบของมันมีลักษณะคล้ายผักหวาน แต่แผ่นใบหนากว่า ผิวใบไม่มัน สีเขียวอมเทา มีหนามแหลมยาวประปรายตามกิ่ง ลำต้นและใบ ดอกอ่อนเป็นพิษ เมื่อกินเข้าไปทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียนและอาจทำให้ถึงตายได้
    วิธีการรักษา ควรล้างท้องทันที และให้น้ำเกลือถ้าจำเป็น ในกรณีที่อาเจียนมากๆ ควรปล่อยให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อน


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>กลอย
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2> เป็นพืชไม้ล้มลุก ลักษณะเป็นเถาเลื้อยไปตามดินหรือพาดพันต้นไม้ใหญ่ มีกิ่งก้านออกตามเถา มีใบย่อย 3 ใบ คล้ายพืชตระกูลถั่ว เส้นใบถี่และต้นมีหนามแหลมสั้นๆ ขึ้นตามป่ารกร้างและไหล่เขาทั่วไปในป่าผสม ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ กลอยมีหัวอยู่ใต้ดินลึกประมาณ10-15 เซนติเมตร ลักษณะกลมแบนข้างๆเป็นกลีบเล็กน้อย เปลือกบางมีขนแข็งขึ้นอยู่ขรุขระ รูปร่างคล้ายมันมือเสือ หัวกลอยเจริญและแตกเถาออกจากเหง้าในฤดูฝน และเจริญเติบโตเต็มที่ในฤดูแล้ง หัวจะโตและโผล่ขึ้นมาพ้นดิน ส่วนเถาจะแห้งตายไป ถ้าหัวยังอยู่ในดินจะเริ่มเน่าเหลือแต่เหง้า ซึ่งเมื่อถึงฤดูฝนจะแตกหน่อและงอกหัวเล็กๆ ต่อไปอีกเรื่อยๆ
    ชาวบ้านนิยมเก็บหัวกลอยในฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม หัวโผล่พ้นดินเก็บง่าย เชื่อกันว่ายังมีพิษน้อยกว่ากลอยที่เก็บในฤดูอื่น ได้มีการทดลองเปรียบเทียบพิษของกลอยที่ขุดมาแต่ละฤดู พบว่าในเดือนสิงหาคมมีสารเป็นพิษสูงที่สุด หัวกลอยมีแป้งมาก มีสารเป็นพิษประเภทอัลคาลอยด์ ชื่อ ไดออสซิน (dioscin) ซึ่งมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาคล้ายกับพิโครท็อกซิน (picrotoxic) มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
    อาการเป็นพิษเนื่องจากรับประทานกลอยคือ คันปาก ลิ้น คอ ม่านตาขยาย และระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้น คลื่นไส้ อาเจียน มึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด เป็นลม และตัวเย็น นอกจากนั้นบางรายมีอาการประสาทหลอนคล้ายกับอาการของคนบ้าลำโพง และอาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อด้วย แต่ยังไม่พบรายงานว่าถึงตาย การรักษาพิษจะรักษาไปตามอาการและโดยการล้างท้อง


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>ลูกเนียง, ชะเนียง
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2> เป็นพืชตระกูลถั่ว พันธ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลเป็นฝักใหญ่ ในหนึ่งฝักอาจมี 10-14 เมล็ดเนื้อในเมล็ดใช้บริโภค เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองนวล มีรสมันกรอบ กลิ่นฉุน ธาตุและสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ในลูกเนียงประกอบด้วยแป้งร้อยละ 70 โปรตีนร้อยละ 15 นอกจากนี้ประกอบด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 บี 12 วิตามินซี ฟอสฟอรัส กำมะถัน กรดโฟลิค กรดอะมิโน 12 ชนิด และกรดแจงโคลิค(djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก และเป็นพิษต่อร่างกาย สารเป็นพิษชนิดนี้จะทำลายระบบประสาทของไตให้เสื่อมลง ถ้ารับประทานลูกเนียงดิบเป็นจำนวนมาก จะทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะขุ่นขาวเป็นสีน้ำนม อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าอาการมากระบบไตจะล้มเหลว และถึงตายในที่สุด

    - การป้องกันพิษของลูกเนียง ก่อนที่จะนำมารับประทาน
    1. ให้นำลูกเนียงมาเพาะในทรายให้หน่องอกแล้วตัดหน่อทิ้งเสีย พิษของลูกเนียงจะลดน้อยลง
    2. หั่นลูกเนียงเป็นแผ่นบางๆ ตากแดดให้มาดก่อนจะนำมารับประทาน พิษของมันจะลดลง
    3. ต้มลูกเนียงในน้ำที่ผสมด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตนาน 10 นาที จะทำให้กรดแจงโคลิคลดลงครึ่งหนึ่ง
    วิธีรักษาผู้ป่วยที่แพ้พิษลูกเนียง ปัจจุบันให้ผู้ป่วยรับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต ดื่มน้ำมากๆ หากปัสสาวะออกน้อย หรือปัสสาวะไม่ออก ใช้สายยางสวนปัสสาวะ
    พืชอื่นที่มีลักษณะและรสใกล้เคียงกัน ซึ่งนิยมรับประทานได้แก่ สะตอ ลูกเหรียง ชะเนียงนก แต่การเกิดพิษยังไม่ค่อยมี


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>มันสำปะหลัง และมันสำโรง
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2> มันทั้งสองชนิดนี้ มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>ตารางแสดงลักษณะที่แตกต่างของมันสำประหลัง และมันสำโรง</TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD align=middle>ส่วนประกอบ</TD><TD align=middle>มันสำประหลังแดง</TD><TD align=middle>มันสำโรง</TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#f3f3f3><TD>ก้านใบ</TD><TD>สีแดง</TD><TD>สีเขียว</TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#f3f3f3><TD>ยอดอ่อน</TD><TD>สีเขียวอ่อน,สีน้ำตาลแดง</TD><TD>สีน้ำตาลแก่อมเขียวเล็กน้อย</TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#f3f3f3><TD>จำนวนหัว</TD><TD>น้อย</TD><TD>มาก</TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#f3f3f3><TD>กรดไฮโดรไซยานิค</TD><TD>ปริมาณน้อยกว่า</TD><TD>ปริมาณมากกว่า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2> </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2> มันทั้ง 2 ชนิดนี้ ถ้านำมาบริโภคดิบๆ จะมีพิษถึงตายได้ ส่วนที่มีพิษมากที่สุดคือเปลือกและหัว พบว่าเปลือกแห้งมีกรดไฮโดรไซยานิคอยู่ราวร้อยละ 0.035 ในหัวแห้งมีร้อยละ 0.009 เปลือกสดมีอยู่ 5-10 เท่าของเนื้อในหัว ในน้ำคั้นหัวสดมีร้อยละ 1.66 ดังนั้นถ้าเด็กที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม รับประทานหัวมันดิบ 20-40 กรัม ก็อาจทำให้ตายได้
    อาการเป็นพิษเนื่องจากมันทั้ง 2 ชนิดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชัก หอบ มึนงง หายใจขัด หมดสติ อาจตายภายใน 2-4 ชั่วโมง
    วิธีการรักษา ให้สูดดมเอมิลไนไตรท์(amyl nitrite) ประมาณ 0.2 มิลลิลิตร นาน 3 นาที ทุกๆ 5 นาที ทำให้อาเจียน โดยใช้นิ้วล้วงคอ แล้วรีบนำส่งแพทย์ทันที


    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2>ลำโพงหรือมะเขือบ้า
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2> เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่ง พบตามที่โล่งๆ หรือตามสวนมีอยู่ทั่วไปเรียกชื่อต่างๆ กัน เช่น มะเขือบ้า เพราะลักษณะใบและผลคล้ายมะเขือ ผลเป็นหนามขรุขระ ขนาดโต 4-5 เซนติเมตร มีเมล็ดเล็กๆ ขนาด 2-3 มิลลิเมตรอยู่ข้างในจำนวนมาก ส่วนที่เป็นพิษมากที่สุดคือ เมล็ดและใบซึ่งมีสารเป็นพิษประเภทอัลคาลอยด์ คือ สโคโปลามีน (scopolamine) ไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) และอะโทรปีน (atropine)
    อาการพิษ ถ้ากินเข้าไปจะทำให้คอแห้ง ลิ้นแข็ง หัวใจเต้นเร็ว เสียสติคล้ายคนบ้า อาการจะปรากฏภายในเวลา 5-10 นาทีหลังจากกินเข้าไป แต่ไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิต เพราะพิษจะเกิดกับระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ โดยจะแสดงอาการอยู่ราว 2-3 วัน


    ที่มา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=23
     
  3. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    อันตราย !!!
    <CENTER>การจำแนกเห็ดที่มีพิษในธรรมชาติ สามารถเเบ่งได้5กลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้</CENTER>
    1.กลุ่มอะแมนนิตา ฟัลลอยด์ (AMANITA PHALLOIDS)


    รูปร่างเห็นเเล้วน่ารับประทานมากก้านเห็ดโต อวบ เนื้อแน่น โคนก้านจะมีปลอกหุ้ม เเละตอนปลายติดกับหมวกเห็ดก็มีปลอกหุ้มอีกเช่นกัน ลักษณะสำคัญก็คือใต้หมวกเห็ด หรือดอกเห็ดนี้ จะมีเนื้อเป็นกลีบๆ คล้ายๆเหงือกปลา ที่น่าสนใจที่สุดสำหรับกลุ่มนี้ คือ มีความเป็นพิษร้ายเเรงตามส่วนต่างๆของเห็ดไม่เหมือนกัน ส่วนที่ร้ายเเรงที่สุดคือ ที่ดอกเห็ด กินเเล้วเมาถึงตายเเต่โคนหรือต้นมีพิษ แต่ไม่ร้ายเเรงมากนัก
    2.กลุ่มกาเลอรินา(GALERINA)

    ชอบอยู่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละหลายๆดอก ถ้ามองดูเผินๆจะคล้ายกับเห็ดนางรม เพียงเเต่ เห็ดนางรมซึ่งเป็นเห็ดบ้านจะมีสีขาวกว่า ดอกเห็ดของกาเลอรินานี้ ส่วนบนจะมีสีคล้ำๆ เเละด้านใต้จะเป็นกลีบๆคล้ายเหงือกปลาเช่นเดียวกัน เเละดอกของมันจะเป็นพิษถึงตาย เเละโดยที่ดอกของมันเป็นดอกเล็กๆกว่าจะกินให้ถึงตายได้ คงต้องกินเป็นกิโล เเต่ทางที่ดี อย่ากินเลยจะดีกว่า
    3.กลุ่มออมฟาโลตุส(OMPHALOTUS)

    กลุ่มนี้ก็ชอบขึ้นเป็นกลุ่มๆเหมือนกัน เเละจะคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อ แต่จะไม่เหมือนกันก็ตรงที่ เห็ดกลุ่มนี้จะมีสีออกไปทางสีส้มจางๆ เเต่พิษของมันไม่รุนเเรงถึงตายเพียงเเต่ทำให้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ เพราะเห็ดชนิดนี้จะทำปฎิกิริยาทางเคมี ทำให้เกิดเเก๊สในระบบย่อยของเรา ที่เเปลกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเอาเห็ดนี้เข้าไปในห้องมืดจะเห็นสีเรืองๆออกเขียวที่กลีบหรือเหงือกปลาใต้ดอกของมัน เเละปรกติจะงอกบนขอนไม้ ไม่งอกบนพื้นดิน ถึงเเม้จะสีสวย เเต่ก็ไม่ควรกินเช่นเดียวกัน
    4.กลุ่มไคลโตไซบ์ ดีเเอลบาตา(CLITOCYBE DEALBATA)

    รูปร่างคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อเช่นเดียวกัน เเต่แยกเป็นดอกๆ ไม่เป็นกลุ่ม กลุ่มนี้จะเห็นกลีบใต้ดอก ซึ่งเหมือนเหงือกปลาได้ชัดมากมีพิาเเปลกคือเป็นตัวกระตุ้นระบบปนะสาทพาราซิมปาเทติค ทำให้ระบบต่างๆขับน้ำออกมา มากกว่าปรกติเพราะฉะนั้นจะทำให้น้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหล กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจเต้นช้า ตาลอย เเละจะทำให้ผู้ที่กินเห็ดชนิดนี้เข้าไป รุ้สึกสงบสบาย ซึ่ง เป็นอาการของยาเสพติดอย่างหนึ่ง
    5.กลุ่มเลอปิโอตา(LEPIOTA)

    กลุ่มนี้น่าสนใจที่สุด พิษของมันชนิดที่สูงสุด ก็เพียงเเค่คลื่นไส้ อาเจียน เเต่หลายๆคน กินเเล้วไม่มีพิษไม่มีภัย เเละรสชาติของมันนั้น อร่อยเลอเลิศ บางคนกินเเล้วติดใจถึงกับ บอกว่าจิตใจมันสงบสบาย อย่างบอกไม่ถูก เห็ดกลุ่มนี้เป็นเห็ดดอกใหญ่ หมวกหนาเเละมี สีเขียวเรื่อๆพิษของมันอยู่ที่สีเขียวนี้เอง เเเละในเมืองไทยมีเห็ดป่าชนิดนี้มากมา

    เห็ดที่มีพิษต่างๆเหล่านี้ ไม่ใช่พิษประเภทยาพิษ เเต่เป็นพิษประเภท ทอกซิน(TOXIN) ดังนั้น ความเป็นพิษของมันไม่ค่อยแน่นอน บางคนเป็นพิษมาก บางคนเป็นพิษน้อยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพทางชีวะเคมีในร่างกายของผู้บริโภคนั้นๆ
    <CENTER>"เห็ดถ้าไม่รู้จักเเละไม่เคยกินมาก่อน ก็อย่ากิน อย่าลองเป็นอันขาด"</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ที่มา</CENTER><CENTER>http://members.fortunecity.com/seksan2543/pet.html</CENTER>
     
  4. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <CENTER>เห็ดพิษ</CENTER>

    เห็ดพิษในประเทศไทย จำแนกตามสารพิษ โดยสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ได้จัดจำแนกเห็ดพิษ ที่สำรวจพบแยกตามกลุ่มสารพิษออกเป็น 7 กลุ่ม
    <DL><DT>1. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Cyclopeptides <DD>อะมาท็อกซิน ( Amatoxins) และ ฟาโลท็อกซิน ( Phallotoxins) เป็นสารพิษทำลายเซลล์ของตับ ไต ระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบหายใจ และระบบสมอง ทำให้ถึงแก่ความตาย นับได้ว่าเป็นสารพิษในเห็ดที่ร้ายแรงที่สุด ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตภายใน 4-10 ชั่วโมง เห็ดหลายชนิดในสกุล Amanita สกุล Galerina และสกุล Lepiota จัดเป็นเห็ดพิษในกลุ่มนี้ เท่าที่ผู้เขียนรวบรวมได้ในประเทศมีอยู่ 2 ชนิด คือ
    1.1 Amanita verna (Bull. ex.fr.) Vitt ชื่อพื้นเมือง เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก (ฮาก) เห็ดชนิดนี้มีสีขาวล้วน เมื่อยังอ่อนมีเปลือกหุ้มสีขาวคล้ายเปลือกไข่ซึ่งด้านบนฉีดขาดออกเมื่อเห็ดเจริญโตขึ้น
    1.2 Amanita virosa Secr. ชื่อพื้นเมือง เห็ดระโงกหิน เห็ดไข่ตายซาก เช่นกัน รูปร่างและสีของเห็ดเหมือนชนิดแรกต่างกันที่ A. virosa มีขนหยาบบนก้านและสปอร์ค่อนข้างกลมขนาด 8-10 ไมโครเมตร เห็ดชนิดนี้จะพบมากกว่าชนิดแรก ​
    <DT>2. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Monomethylhydrazine <DD>เห็ดมีชื่อว่า Gyromitrin สารพิษนี้ทำให้คนถึงแก่ความตายถ้ารับประทานเห็ดดิบและน้ำต้มเห็ด เป็นสารพิษเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทและทำลายเซลล์ตับด้วย สารพิษในกลุ่มนี้พบในเห็ดสกุล Gyromitra ทั้งหมด ในประเทศไทยมีรายงานอยู่ 1 ชนิด คือ Gyromitra esculenta (Pat. Et Bak.) Boedism. ชื่อพื้นเมือง เห็ดสมองวัว ซึ่งเป็นเห็ดราในกลุ่ม Ascomycetes เพื่อความปลอดภัยไม่ควรรับประทานเห็ดดิบและน้ำต้มเห็ด แต่เมื่อต้มสุกแล้วรับประทานเนื้อได้ เห็ดชนิดที่กล่าวมาแล้วพบในป่าทางภาคเหนือ
    <DT>3. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Coprine <DD>สารพิษในกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทต่อเมื่อรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ สารพิษกลุ่มนี้มีอยู่ในเห็ดชนิดเดียว คือ Coprinus atramentaris (Bull.) Fr. ชื่อพื้นเมือง เห็ดหิ่งห้อย เห็ดน้ำหมึก หรือเห็ดถั่ว ชอบขึ้นอยู่บนอินทรียวัตถุ เช่น กองเปลือกถั่วเหลือง เกิดดอกเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อความปลอดภัยห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หลังรับประทานเห็ด เพราะสารพิษทำให้มึนเมาจนหมดสติได้ แต่จะหายเป็นปกติภายในเวลา 3-4 ชั่วโมง <DT>4. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Muscarine <DD>สารพิษในกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาท ทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการเพ้อคลั่ง เคลิบเคลิ้ม หมดสติอยู่เป็นเวลานาน ไม่มีผลทางสมอง คนป่วยไม่ถึงแก่ความตาย แต่มีอาการปางตาย ยกเว้นมีโรคอื่นแทรกซ้อนหรือเป็นเด็ก สารพิษในกลุ่มนี้พบในเห็ดหลายชนิดในสกุล Amanita สกุล Clitocybe และสกุล Inocybe ซึ่งมีผู้รายงานไว้ในประเทศไทยอยู่ 8 ชนิด คือ 1) Amanita pantherina (Dc. ex. Fr.) Secr. ชื่อพื้นเมือง เห็ดเกล็ดดาว 2) Amanita muscaria (L.ex.Fr.) Hooker. เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่พบน้อยกว่าชนิดแรก รูปร่างคล้ายเห็ด Amanita pantherina ที่แตกต่างก็คือมีหมวกสีแดงหรือแดงอมเหลือง นอกจากเห็ดทั้ง 2 ชนิดแล้วมีผู้รายงานเห็ดในสกุล Inocybe และ Clitocybe ไว้อีกสกุลละ 3 ชนิดโดยระบุว่าเป็นเห็ดมีพิษ สารพิษในกลุ่มนี้ได้แก่ 3) เห็ด Inocybe destricata, 4) I. ifelix, 5) I. splendens, 6) Clitocybe flaccida, 7) C. gibba และ 8) C.phyllophila แต่ Clitocybe flaccida และ C. gibba มีรายงานว่ารับประทานได้ เพื่อความปลอดภัยต้องศึกษาและเรียนรู้เห็ดแต่ละชนิด หลีกเลี่ยงรับประทานเห็ดในสกุลAmanita, Clitocybe และ Inocybe ไว้ก่อนเพราะถ้าเป็นเห็ดพิษอาการปางตาย
    <DT>5. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Ibotenic Acid และ Muscimol <DD>สารพิษในกลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเพ้อ คลั่ง เคลิบเคลิ้ม คล้ายสารพิษ mascarine คนป่วยอาการปางตายเหมือนกัน แต่ส่วนมากหายเป็นปกติพบในเห็ด A. pantherina, Amanita muscaria, A. solitaria, A, strobiliformis, A. gemmata, Tricoloma muscarium เห็ด 5 ชนิดหลังยังไม่มีผู้รายงานว่าพบในประเทศไทย จากการพบสารพิษในกลุ่มนี้ทำให้ทราบว่ามีสารพิษหลายกลุ่มในเห็ดชนิดเดียวกัน โดยเฉพาะ A. muscaria และ A. pantherina มีสารพิษทั้งกลุ่มนี้และกลุ่ม muscarine ในปริมาณมากน้อยที่แตกต่างกัน <DT>6. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Psilocybin และ Psilocin <DD>เห็ดพิษที่มีสารกลุ่มนี้มีอาการทางประสาทหลอนหรือฝันและมึนเมา อาจถึงขั้นวิกลจริต กล่าวกันว่ามีอาการเห็นอะไรเป็นสีเขียวหมด ต่อมา อาการจะหายเป็นปกติ แต่ก็มีรายงานว่าอาจถึงตายได้ถ้ารับประทานมาก มีฤทธิ์แบบกัญชา จึงเป็นที่ต้องการของตลาดและซื้อขายกันอย่างลับ ๆ แม้แต่ในประเทศไทยในแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่มีชื่อ จัดว่าเป็นเห็ดประเภทยาเสพติด ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ Copelandia cyanescens (Berk. & Br.) Sing. Psilocybe cubensis (Earle) Sing. ชื่อสามัญ เห็ดขี้ควาย บางแห่งเรียกเห็ดโอสถลวงจิต Gymanopilus Aeruginosus (Peck) Sing. ชื่อสามัญ เห็ดขอนสีทองเกล็ดแดง <DT>7. กลุ่มที่สร้างสารพิษ Gastrointestinal และสารพิษอื่น ๆ <DD>สารพิษในกลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการกับระบบทางเดินอาหารมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง เห็ดพิษในกลุ่มนี้มีมากมาย บางชนิดก็พบสารพิษว่าเป็นชนิดใดบ้างแล้ว และอีกหลายชนิดยังไม่มีการวิจัย ถ้าเด็กรับประทานเห็ดพิษกลุ่มนี้ปริมาณที่มากก็อาจถึงตายได้ นอกจากนี้เห็ดพิษชนิดเดียวกัน บางคนมีอาการแต่บางคนไม่แสดงอาการเมื่อรับประทานพร้อมกัน เห็ดพิษในกลุ่มนี้มีหลายชนิดเมื่อรับประทานดิบจะเป็นพิษ แต่ถ้าต้มสุกแล้วไม่เป็นอันตรายเพราะความร้อนทำให้พิษถูกทำลายหมดไป กลายเป็นเห็ดรับประทานได้ ส่วนหนึ่งของเห็ดมีพิษในกลุ่มนี้ที่พบในประเทศไทยได้แก่
    1) Chlorophyllum molybdites (Meyer. ex. Fr.) Mass. ชื่อสามัญ เห็ดหัวกรวดครีบเขียว
    2) Gomphus floccosus (Schw.) Sing. ชื่อสามัญ เห็ดกรวยเกล็ดทอง
    3) Clarkeinda trachodes (Berk.) Sing. ชื่อสามัญ เห็ดไข่เน่า Russula emetia (Schaeff. ex. Fr.) Pers. ex.S.F.
    4) Gray ชื่อสามัญ เห็ดแดงน้ำหมาก
    5) Scleroderma citrinum Pers. ชื่อสามัญ เห็ดไข่หงส์ ​
    </DD></DL>การบริโภคเห็ดโดยทั่วไปควรปฏิบัติดังนี้
    1. การรับประทานอาหารที่ประกอบขึ้นด้วยเห็ดควรจะ รับประทานแต่พอควรอย่ารับประทานจนอิ่มมากเกินไปเพราะเห็ดเป็นอาหารที่ย่อยยาก อาจจะทำให้ผู้มีระบบย่อยอาหารที่อ่อนแอ เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้
    2. การปรุงอาหารที่ประกอบขึ้นด้วยเห็ด ต้องระมัดระวัง คัดเห็ดที่เน่าเสียออก เพราะเห็ดที่เน่าเสียจะทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน
    3. อย่ารับประทานอาหารที่ปรุงขึ้นสุก ๆ ดิบ ๆ หรือเห็ดดิบดอง เพราะเห็ดบางชนิดยังจะมีพิษอย่างอ่อนเหลืออยู่ ผู้รับประทานจะไม่รู้สึกตัวว่ามีพิษ จนเมื่อรับประทานหลายครั้งก็สะสมพิษมากขึ้นและเป็นพิษร้ายแรงถึงกับเสียชีวิตได้ในภายหลัง
    4. ผู้ที่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับเห็ดบางชนิด หรือกับเห็ดทั้งหมด ซึ่งถ้ารับประทานเห็ดเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดอาการเบื่อเมา หรืออาหารเป็นพิษ จึงควรระมัดระวัง รับประทานเฉพาะเห็ดที่รับประทานได้โดยไม่แพ้หรือหลีกเลี่ยงจากการรับประทานเห็ด
    5. ระมัดระวังอย่ารับประทานเห็ดพร้อมกับดื่มสุรา (แอลกอฮอล์) เพราะเห็ดบางชนิดจะเกิดพิษทันที ถ้าหากดื่มสุราหลังจากรับประทานเห็ดแล้วภายใน 48 ชั่วโมง เช่น เห็ด Coprinus atramentrius แม้แต่เห็ดพิษอื่นทั่วไป หากดื่มสุราเข้าไปด้วย ก็จะเป็นการช่วยให้พิษกระจายได้รวดเร็วและรุนแรงขึ้นอีก
    การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ

    การปฐมพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากผู้ป่วยรับประทานเห็ดพิษและเกิดอาการพิษขึ้น ควรจะรู้จักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องกับผู้ป่วย แต่ตามชนบทมักจะปฏิบัติกับผู้ป่วยผิด ๆ แล้วทำให้เสียชีวิตกันอยู่เสมอ อนึ่ง อาการพิษของเห็ดจะแสดงอาการหลังรับประทานแล้วหลายชั่วโมง ซึ่งพิษมักจะกระจายไปมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีปฐมพยาบาล แล้วรีบนำส่งแพทย์ เพื่อทำการรักษาโดยรีบด่วนต่อไป
    การปฐมพยาบาลนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มาก และทำการช่วยดูดพิษจากผู้ป่วยโดยวิธีใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน activated charcoal และดื่ม 2 แก้ว โดยแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อนแล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมาอีกครั้ง จึงนำส่งแพทย์พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษหากยังเหลืออยู่ หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชาผสมน้ำอุ่นดื่ม จะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
    อนึ่ง ห้ามล้างท้องด้วยการสวนทวารหนักโดยพละการ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะวิธีนี้จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหากร่างกายขาดน้ำ
    หลังจากปฐมพยาบาลผู้ป่วยแล้วให้รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษ (หากยังเหลืออยู่) หรืออาจจะทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยในระหว่างนำส่งแพทย์ด้วยก็ได้
    แนวทางการเก็บตัวอย่างเห็ดพิษส่งตรวจ
    1. ควรเก็บจากแหล่งหรือพื้นที่เดียวกันกับที่ผู้ป่วยเก็บมารับประทาน
    2. เลือกเก็บดอกที่สมบูรณ์ ดอกยังไม่ช้ำและมีทั้งก้านดอกและราก
    3. ก่อนเก็บเห็ด ควรถ่ายภาพเห็ดไว้ เพื่อประกอบในการพิจารณา ชนิดของเห็ด โดยมีขั้นตอนดังนี้ <DD>3.1 ถ่ายภาพแบบธรรมชาติ <DD>3.2 กวาดเศษขยะรอบฯ ต้นเห็ดออก แล้วถ่ายภาพด้านบนดอก ด้านใต้ดอก และด้านข้างดอก ทั้ง สี่ด้าน และควรมีสเกลบอกความกว้างความยาวของเห็ด แล้วจึงลงมือเก็บ โดยขุดให้ห่างจากลำต้นพอประมาณให้ได้รากด้วย หลังจากนั้นควรปักป้ายเตือนไม่ให้มีการเก็บเห็ดในบริเวณนั้นไปรับประทาน <DL></DL></DD>
    4. การนำส่งตรวจ เห็ดที่ส่งตรวจควรมีสภาพสมบูรณ์ มีดอก ลำต้นและราก และขณะนำส่งต้องรักษาสภาพของดอกไม่ให้ช้ำและเน่า โดยห่อดอกเห็ดด้วยกระดาษ (การห่อด้วยกระดาษจะช่วยไม่ให้ภายในห่อมีความชื้น ซึ่งจะทำให้เห็ดเน่าเร็ว) ทำเป็นถุงหรือเย็บเป็นกระทงให้พอดีกับดอกเห็ด เพื่อไม่ให้ดอกเห็ดเคลื่อนไหว ป้องกันการช้ำ หลังจากนั้นใส่ลงถุงพลาสติก เป่าลมให้ถุงพลาสติกพองแล้วใช้หนังยางรัด และบรรจุในกล่องโฟมก่อนส่ง ถ้าส่งถึงห้องปฏิบัติการภายในวันเดียวกัน ไม่ต้องแช่เย็น ถ้าส่งเกิน 1 วัน ให้เก็บเห็ดไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 - 8 องศาเซลเซียล และควรรักษาความเย็นของเห็ดจนกว่าจะถึงปฏิบัติการ
    5. ส่งตัวอย่างพร้อมใบนำส่งตัวอย่าง ควรมีรายละเอียดบริเวณที่เก็บเห็ด ว่าเห็ดขึ้นในบริเวณใด เช่น บริเวณบ้าน, สนามหญ้า , ในป่าใกล้ต้นไม้ชนิดใด ใกล้จอมปลวก หรือบนชานอ้อย เป็นต้น พร้อมอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย เพื่อใช้ประกอบการตรวจยืนยัน ชนิดและพิษของเห็ด
    6. ส่งตัวอย่างมาที่สำนักระบาดวิทยาในวันและเวลาราชการ พร้อมแจ้งล่วงหน้าทางหมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1779 เพื่อสำนักระบาดวิทยาจะได้ไปรับตัวอย่าง และส่งตัวอย่างไปตรวจที่สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    สถานที่ส่งตรวจ ได้แก่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนงามวงศ์วาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เบอร์โทรศัพท์ 02-5798558, 02-5790147
    เอกสารอ้างอิง
    1. อนงค์ จันทร์ศรีกุล, นันทินี ศรีจุมปา. เห็ดพิษ สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย : 1-15.
    2. พ.ท. ยงยุทธ ขจรวิทย์. วารสารสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย : 52-6.
    ที่มา
    http://203.157.15.4/publish/outbreak/FPOI49/annex1.htm
     
  5. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>


    </TD><TD id=HeadName>ก้นปิด (เถาว์ก้นปิด) </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Stephania hernandifolia Walp. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Menispermaceae </TD></TR><TR><TD>ปังปอน (เชียงใหม่)</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>ไม้เถาที่เลื้อยโดยไม่มีมือจับ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบกลมและบังก้านใบ ดอกรวมกันอยู่บนช่อดอกรูปก้านซี่ร่ม ผลรูปไข่ เมล็ดรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ก้นปิดเป็นพืชเขตร้อนทั่วๆ ไป พบในอินเดีย จีน ไทย</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>หัว </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>fangchinoline, dl-tetrandrine, d-isochondrodendrine, picrotoxin </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>นำมาโขลกบีบเอนเฉพาะน้ำ ใช้เบื่อปลา แต่ถ้าคนนำมาดื่ม จะทำให้ตายได้</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>-</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>สารสกัดเอธานอล 50% เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายร้อยละ 50 คือ 350 มก./กก.</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD><TD>นันทวัน บุณยะประภัศร และ อรนุช โชคชัยเจริญพร "สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 3" พิมพ์ที่ บริษัท ประชาชน จำกัด 2541 : หน้า 538-539.

    ที่มา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=175&Temp=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2007
  6. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>หมามุ้ย </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Mucuna pruriens DC. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Papilionaceae </TD></TR><TR><TD>กลออื้อแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); บะเหยือง , หมาเหยือง (ภาคเหนือ); โพล่ยู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); หมามุ้ย (ภาคกลาง)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>ไม้เถา ตามลำเถาและก้านใบมีขนทั่วไป ใบเป็นช่อแบบ 3 ใบย่อย ช่อใบติดเรียงสลับ ทรงใบย่อยรูปไข่ โคนใบเบี้ยว ปลายเป็นติ่งแหลมคล้ายหนาม มีขนสีเทาตามผิวใบทั้งสองด้าน ดอกแบบถั่วสีม่วงเข้มออกรวมกันเป็นช่อยาวตามง่ามใบ ช่อห้อยย้อยลง ผลเป็นฝักคล้ายฝักถั่ว ปลายฝักอ่อนมีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองแน่น</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>ขนตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝัก </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>เอนไซม์ย่อยโปรตีน ชื่อ macunain, สาร serotonin 0.015% ซึ่งเป็น histamine-releasing substance </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>ขนที่ฝักเมื่อสัมผัสผิวหนังจะทำให้คันประมาณ 1-2 วัน</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือข้าวเหนียวคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายๆ ครั้งจนหมด หากยังมีอาการแดงร้อนหรือคันอยู่ให้ทาคาลาไมน์โลชั่น หรือครีมสเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน 4 มก. ครั้งละ 1 เม็ดทุก 6 ชม. จนเป็นปกติ</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>-</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=238&Temp=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2007
  7. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>กระเจานา </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Corchorus aestuans Linn. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Tiliaceae </TD></TR><TR><TD>ขัดมอญตัวผู้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>ไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบจัก จักซี่สุดท้ายมีติ่งแหลมยื่นทั้งสองด้าน ใบมีขนปกคลุมอย่างน้อยบริเวณเส้นใบ ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีเหลือง ฝักตั้งตรงยาวมีปีก 6, 8 หรือ 10 ปีก ปลายฝักมีปากยื่นโค้ง 3-5 แฉก ภายในฝักแบ่งเป็นช่อง 3-5 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลจำนวนมาก พบมากตามที่ว่าง ทุ่งนาร้าง ริมทางทั่วไป</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>เมล็ด </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>cardiac glycosides ได้แก่ corchoroside A corchoroside D , corchoroside E </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>ออกฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและทางเดินโลหิต</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>-</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>สารสกัดด้วยเอธานอล 50% เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้หนูตายร้อยละ 50 คือ 800 มก./กก.</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD><TD>-</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=81&Temp=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2007
  8. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>กระดาด </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Alocasia indica Schott </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Araceae </TD></TR><TR><TD>โทป้ะ [กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน]; บอนกาวี [ยะลา]; เผือกกะลา , มันโทป้าด [แม่ฮ่องสอน]; เผือกโทป้าด [เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน]<SUP>1</SUP></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>ไม้ล้มลุก มีเหง้าทอดทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าลึก แคบขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ช่อดอกเป็นแท่งยาวปลายแหลม ลักษระดอกบอน ดอกมีกาบสีเหลืองอมเขียวหุ้มส่วนโคนของกาบโอบรอบโคนช่อ ผลกลม เมื่อสุกสีแดงเนื้อนุ่มมีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>น้ำยาง </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>calcium oxalate </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>หากสัมผัสน้ำยางจะมีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน ต่อมาจะอักเสบบวมและพองเป็นต่มน้ำใส ถ้ากินพืชนี้จะทำให้เสียงแหบ น้ำลายไหล อาเจียน แสบร้อน เพดานบวมพองเป้นตุ่มน้ำใส ทำให้พูดลำบาก และอาจไม่มีเสียง</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>หากสัมผัสให้ล้างยางออกโดยใช้น้ำชะล้างหลายๆ ครั้ง แล้วทาด้วยครีมสเตียรอยด์ ถ้ายางเข้าตา ล้างตาด้วยน้ำหลาย ๆครั้ง ถ้ามีอาการรุนแรงให้นำส่งโรงพยาบาล</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>เมื่อฉีดสารสกัดของรากกระดาดด้วยแอลกอฮอล์ : น้ำ (1:1) เข้าช่องท้องหนูถีบจักรพบว่าขนาดที่ทำให้หนูตายร้อยละ 50 คือ 250 มก./กก.</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=19&Temp=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2007
  9. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>กระดาดแดง </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Alocasia indica Schott var. metallica Schott </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Araceae </TD></TR><TR><TD>กระดาดแดง (กรุงเทพฯ)</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>เป็นไม้ล้มลุก ลักษระคล้ายต้นกระดาด (Alocasia indica Schott) แตกต่างกันที่สีของใบ ใบและก้านใบสีแดงคล้ำ คล้ายสีโลหะ</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>น้ำยาง </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>calcium oxalate </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>หากสัมผัสน้ำยางจะมีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน ต่อมาจะอักเสบบวมและพองเป็นตุ่มน้ำใส ถ้ากินพืชนี้จะทำให้เสียงแหบ น้ำลายไหล อาเจียน แสบร้อนบริเวณที่สัมผัส เพดานบวมพอง อาจพองเป็นตุ่มน้ำใส บางรายอาจมีอาการกลืนลำบาก พูดลำบากและไม่มีเสียง</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>หากสัมผัสให้ล้างยางออกโดยใช้น้ำชะล้างหลายๆ ครั้ง แล้วทาด้วยครีมสเตียรอยด์ ถ้ายางเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>-</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD><TD>-</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=143&Temp=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2007
  10. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>ผกากรอง </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Lantana camara Linn. Lantana esculenta Linn. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Verbenaceae </TD></TR><TR><TD>ก้ามกุ้ง , เบญจมาศป่า , ขะจาย , ตาปู , มะจาย (แม่ฮ่องสอน); ขี้กา (ปราจีนบุรี); คำขี้ไก่ (เชียงใหม่); ดอกไม้จีน (ตราด); เบ็งละมาศ , สาบแร้ง (ภาคเหนือ); ไม้จีน (ชุมพร); ยี่สุ่น (ตรัง); สามสิบ (จันทบุรี); หญ้าสาบแร้ง (ภาคกลาง, ภาคเหนือ); Cloth of Gold, Hedge Flower.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>เป็นไม้พุ่มเลื้อย ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขน บางชนิดมีหนามชนิด hooked prickles (เป็นขอ) ใบหยาบมีกลิ่นแรง ดอกเป็นดอกช่อชนิดอยู่เป็นกระจุก มีหลายสีคือ สีขาว เหลือง เนื้อม่วง ส้มแดง ดอกสีเหลืองมีสีแดงอยู่กลาง ผลอ่อนมีสีเขียว ส่วนผลแก่มีสีน้ำเงินเข้มถึงดำ มีเมล็ด 2 เมล็ด</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>ใบ ผลแก่แต่ยังไม่สุก </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>สาร triterpenoids ชื่อ lantadene A และ B </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>มีรายงานว่า เด็กอายุ 2-6 ขวบ ซึ่งรับประทานผลที่แก่แต่ยังไม่สุก พบว่ามีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่ประสานกัน มึนงง อาเจียน หายใจลึกแต่ช้า ม่านตาขยาย ตัวเขียว ท้องเดิน หมดสติและตายได้ในที่สุด ผู้ใหญ่หากกินเข้าไปทำให้เกิดอาการผิวหนังไวต่อแสง (Photosensitization) ผิวหนังมีรอยฟกช้ำดำเขียว (Lesion) และผิวหนังแตกในคน

    ในสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย หากกินพืชชนิดนี้เข้าไปจะทำให้ตับอักเสบ จะมีการสะสมและขับถ่าย bromosulfophthalein ซึ่งอาจมีผลในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย วัวที่กินพืชนี้เข้าไปพบว่ามีระดับ serum adenosine diaminase เพิ่มขึ้น และมีอาการดีซ่าน

    หมายเหตุ
    ผกากรองมีหลายพันธุ์ และไม่อาจใช้สีของดอกเพื่อจำแนกชนิดหรือสายพันธุ์ของผกากรองได้
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>เด็กที่รับพิษจากผกากรองรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง ถ้าได้รับพิษนานกว่า 3 ชั่วโมง ควรให้ยาประเภท สเตียรอยด์ อะดีนาลีน และให้ออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจ สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ได้รับพิษผกากรองให้แยกจากบริเวณที่มีพืชนี้อยู่ แล้วให้ยากระตุ้นการขับถ่าย</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>สาร lantadene A มีพิษต่อสัตว์เลี้ยง ได้แก่ แกะ เมื่อให้ทางปากในขนาด 60 มก./กก.น้ำหนักตัว แต่ถ้าให้ทางหลอดเลือดดำขนาดที่ทำให้เกิดพิษเท่ากับ 2 มก./กก.น้ำหนักตัว</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=182&Temp=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2007
  11. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>ผักเสี้ยน </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Cleome gynandra L. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Cleomaceae </TD></TR><TR><TD>ผักส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ) ; ผักเสี้ยน , ผักเสี้ยนขาว (ภาคกลาง) ; Wild Spider flower .</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>ไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขาที่ไม่ยาวมากรอบต้น ตามลำต้นมีขนอ่อนๆ ปกคลุม จับดูจะเหนียวมือ ใบประกอบ 3-5 ใบ ใบย่อยรูปไข่งู ปลายเสี้ยมขนาดไม่เท่ากัน เรียงกันคล้ายรูปนิ้วมือ ดอกเล็กสีขาวหรือขาวปนม่วง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ฝักกลมยาว เมล็ดเหมือนเมล็ดงาสีดำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>ทั้งต้น </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>cyanogenetic glycosides </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและทางเดินโลหิต เนื่องจากไซยาไนด์จับกับเอนไซม์ cytochrome oxidase ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ลดลง ในธรรมชาติสารพวกไซยาไนด์ที่อยู่ในพืชเหล่านี้จะอยู่ในรูปของ สารประกอบ cyanogenic oxidase ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ลดลง ในธรรมชาติสารพวกไซยาไนด์ที่อยู่ในพืชเหล่านี้จะอยู่ในรูปของ สารประกอบ cyanogenic glycoside การต้ม ดองจะทำให้สารพิษสลายตัวและไม่เป็นอันตราย หากรับประทานเข้าไป

    อาการพิษ
    ถ้ากินพืชที่มีสารนี้สดๆ โดยมิได้นำมาหุงต้มหรือดอง เพื่อให้เอนไซม์หมดฤทธิ์ก็จะทำให้เกิดโทษ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจขัด ชักกระตุก กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจลำบาก อาจหมดสติ โคม่า ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก ลมหายใจมีกลิ่นไซยาไนด์ ถ้าในปริมาณน้อยทำให้มึนงง แต่ถ้าในปริมาณที่มากพอทำให้หน้าเขียว เล็บเขียว (Cyanosis) เพราะขาดออกซิเจน หายใจขัดและถึงแก่ความตายได้
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>ให้ผู้รับพิษสูดดม arnyl nitrite ทุกๆ 5 นาที แล้วจึงฉีด 3% sodium nitrite 10 มล. หลังจากนั้นให้ 50% sodium thiosulphate 50 มล. ระหว่าง 15-20 นาที ถ้าหายใจไม่สะดวกให้ออกซิเจนเพื่อช่วยหายใจ</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>เป็นพิษเมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อาการพิษตรวจไม่พบ การตรวจหาแอลกาลอยด์ ใช้ส่วนลำต้น และใบ เก็บในเดือนพฤศจิกายน<SUP>2</SUP></TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD><TD>1. เต็ม สมิตินันทน์ "ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง)" พิมพ์ที่ ฟันนี่พับบลิชชิ่ง กรุงเทพ 2523 หน้า 197.
    2.วันทนา งามวัฒน์ "สารพิษในพืชและอาการพิษในสัตว์ทดลอง" กองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2530 หน้า 5.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=86&Temp=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2007
  12. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE style="CLEAR: right; FLOAT: right; MARGIN: 0px 0px 0.5em 1em; WIDTH: 200px; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellPadding=0 border=1><TBODY><TR style="TEXT-ALIGN: center"><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR style="TEXT-ALIGN: center"><TH style="BACKGROUND: lightgreen">การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์</TH></TR><TR style="TEXT-ALIGN: center"><TD><TABLE style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; MARGIN: 0px auto; TEXT-ALIGN: left" cellPadding=2><TBODY><TR><TD vAlign=top>อาณาจักร:</TD><TD>Plantae

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ส่วน:</TD><TD>Magnoliophyta

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ชั้น:</TD><TD>Magnoliopsida

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ชั้นย่อย:</TD><TD>Asteridae

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ตระกูล:</TD><TD>Solanales

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>วงศ์:</TD><TD>Solanaceae

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>สกุล:</TD><TD>Solanum

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>สปีชีส์:</TD><TD>S. tuberosum

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD id=HeadName>มันฝรั่ง </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Solanum tuberosum Linn. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Solanaceae </TD></TR><TR><TD>มันเทศ , มันอาลู , มันอีลู (ภาคเหนือ) Potato.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยหลายใบ ดอกออกเป็นช่อ สีขาวหรือขาวอมน้ำเงิน</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>หัวมันฝรั่งที่กำลังงอก </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>solanine </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>อาการพิษที่เกิดขึ้นคือ ปวดแสบปวดร้อนในลำคอ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ทำให้มึนงง การเต้นของหัวใจอ่อนลง ตัวเย็นซีด การหายใจล้มเหลว สาร solanine ที่พบมากบริเวณตาของมันฝรั่งที่กำลังงออก ดังนั้นไม่ควรรับประทานมันฝรั่งที่กำลังงอก ถ้าจะรับประทานควรตัดส่วนที่กำลังงอกออกให้หมด และทำให้สุก</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>ทำให้อาเจียน หรือให้ activated charcoal เพื่อดูดซึมพิษ หลังจากนั้นรักษาตามอาการ</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>สาร solanine ขนาด 2.8 ก./กก.น้ำหนักตัวทำให้เกิดพิษในคน</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD><TD>-</TD></TR></TBODY></TABLE>http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=186&Temp=0
     
  13. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>ชวนชม </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Adenium obesum Balf. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Apocynaceae </TD></TR><TR><TD>ลั่นทมแดง, ลั่นทมยะวา [กรุงเทพฯ]; Mock Azalea, Desert Rose, Impala Lily, Pink Bignonia.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก มีน้ำยางขาว ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยว ดอกช่อกลีบดอกสีชมพูแดง ผลเป็นฝักคู่ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนเป็นกระจุก</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>ต้นสด เปลือกของต้น เมล็ด </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>abobioside, abomonoside, echubioside, echujun, cardiac glycoside </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>หลังจากเคี้ยวหรือกลืนส่วนของพืชเข้าไป จะระคายเคืองต่อ เยื่อบุภายในปาก และกระเพาะอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ตาพร่า และการมองเห็นสีผิดกติ มึนงง ชีพจรเต้นช้าหรือไม่สม่ำเสมอ ความดันโ,หิตลด และตายเนื่องจาก ventricular fibrillation ในเด็กเล็กจะเกิด cardiac arrhythmia และกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางอย่างรุนแรง ในผู้ใหญ่จะเกิดอาการทางจิตร่วมด้วย</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>1. ทำให้อาเจียน โดยให้ยาพวก ipecac เพื่อกำจัดเศษพืช พิษที่ไม่ถูกดูดซึมออก แล้วให้ activated charcoal เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ วัดปริมาณโปรตัสเซี่ยม และแมกนีเซี่ยมในซีรัมทุกชั่วโมง ตรวจคลื่นหัวใจควบคุมอัตราความเร็วของการบีบตัวของหัวใจ ไม่ควรให้ epinephrine หรือยากระตุ้นอื่นๆ เพราะจะทำให้เกิด ventricular fibrillation
    2. การลดพิษ
    2.1 ถ้ามีอาการ cardiac arrhythmia เนื่องจากปริมาณโปตัสเซี่ยมลดลง หากผู้รับพิษไม่มีอาการผิดปกติทางไต ให้โปตัสเซี่ยมคลอไรด์ 3 กรัม ละลายในน้ำผลไท้ให้ดื่มทุกชั่วโมง หรือให้โปตัสเซี่ยม 20 meq ใน 500 มล. 5% เด็กซโตรสทางเส้นเลือด อัตราเร็วไม่เกิน 0.3 meq/นาที จนกระทั่ง ECG ปกติถ้าในซีรั่มมีปริมาณโปตัสเซี่ยม 5 meq/L ควรหยุดให้โปตัสเซียมทันที และไม่ควรใช้โปตัสเซี่ยมในผู้รับพิษที่มีอาการ complete heart block
    2.2 ลดปริมาณโปตัสเซี่ยม ที่เพิ่มขึ้นโดยให้ sodium polystyrene sulfonate เช่น kayexalate 20 กรัมทางปาก หรือสวนทุก 4 ชั่วโมง ให้ อินซูลิน 10 ยูนิท ขณะให้เด็กซโตรส 5%
    2.3 สำหรับ atrial and ventricular irregularities ซึ่งไม่ได้ตอบสนองต่อการให้โปตัสเซี่ยมให้ phetoin 0.5 มก./กก. ่ทางเส้นเลือดอย่างช้าๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรเกิน 10 มก./กก. ใน 24 ชั่วโมง ให้ lidocaine 1 มก./กก. 5 นาที และ 15-50 ไมโครกรัม/กก./นาที เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้ปกติ ระวังการใช้ propranolol, quinidine และ procainamide จะเป็นอันตราย
    2.4 ให้ cholestyramine เพื่อช่วยลดการดูดซีมพิษ
    2.5 ให้ atropine ขนาด 0.01 มก./กก. ทางเว้นเลือด เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจในรายที่เกิด heart block
    3. ในกรณีไตเสียให้รีบรักษาจนกว่าอาการเต้นผิดปกติของ ventricle ที่เกิดจากสารพิษจะหายไปโดยดูจาก ECG ถ้าไตปกติให้ดื่มสารละลายทุก 24 ชั่วโมง ไม่ควรให้ยาขับปัสสาวะ ในกรณีที่ยังมีฤทธิ์ของสารพิษอยู่
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>-</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD></TR></TBODY></TABLE>http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=20&Temp=0
     
  14. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>
    </TD><TD id=HeadName>สลอด </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Croton tiglium L. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Euphorbiaceae </TD></TR><TR><TD>มะข่าง , มะคัง , มะตอด , หมากทาง , หัสคึน (ภาคเหนือ) ; ลูกผลาญศัตรู , สลอดตัน ,หมากหลอด (ภาคกลาง); หมากยอง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); Croton Oil Plant.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR align=center width="98%" SIZE=1>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD> ไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ โคนใบมนปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ดอกสีขาวอมเขียวขนาดเล็ก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน ผลรูปป้อมแกมสามเหลี่ยมมี 3 พู เมื่อแห้งแตก เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD> เมล็ด เนื้อในเมล็ด ยาง </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD> diterpene esters และน้ำมันสลอด (croton oil) </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD> เมื่อกินเข้าไประยะหนึ่งถึงจะทำให้กระเพาะลำไส้อักเสบ ท้องเสียรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาหารเป็นพิษ และอาจเสียชีวิตจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ น้ำมันเป็นยาถ่ายอย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการระคายเคืองมาก ถ้าน้ำมันถูกผิวหนังจะระคายเคืองเป็นผื่นแดง</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD> ให้ดื่มนม หรือผงถ่าน เพื่อลดการดูดซึม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องทันที ให้น้ำเกลือ ป้องกันการหมดสติและช็อกที่เกิดจากการสูญเสียน้ำและสารอิเลคโตรไลท์ ในรายที่มีอาการคล้ายได้รับ atropine เช่น สาร curcin ให้ฉีด physostigmine salicylate เข้าเส้นเลือดอย่างช้าๆ แล้วรักษาตามอาการ เช่น ให้ morphin sulfate 2-10 mg เพื่อลดอาการปวดท้อง</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD> ส่วนสกัดที่แยกได้จากเมล็ดเป็น resin มีคุณสมบัติเป็นตัวที่ทำให้เกิดเนื้องอก น้ำมันสลอดประมาณ 10 หยด สามารถฆ่าสุนัขได้ สลอดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=9&Temp=0
     
  15. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top rowSpan=4><CENTER>[​IMG]
    < รูปภาพที่เกี่ยวข้อง ></CENTER>

    </TD><TD id=HeadName>จามจุรี (ก้ามปู) </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD id=ScienceName>Samanea saman Merr. </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD id=HeadName>วงศ์ Mimosaceae </TD></TR><TR><TD>ก้ามกราม , ก้ามกุ้ง , ก้ามปู , จามจุรี (ภาคกลาง); ฉำฉา , ลัง , สารสา , สำสา (ภาคเหนือ); ตุ๊ดตู่ (ตาก); เส่คู่ , เสดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); East Indian Walnut, Rain Tree.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR align=center width="98%" SIZE=1><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>ลักษณะของพืช</TD><TD>ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกสีดำ แตกและล่อนได้ เรือนยอดเป็นรูปร่มกว้าง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น มีช่อใบ 4 คู่ แต่ละช่อมีใบย่อย 2-10 คู่ ใบมัน ใต้ใบมีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยออกรวมกันเป็นกระจุก กลีบดอกเล็กมาก เกสรจำนวนมากสีชมพู ฝักกลมแบนยาว 15-20 เซนติเมตร ฝักแก่สีดำมีเนื้อนิ่ม ฝักไม่แตกแต่จะหักเป็นท่อนๆ แต่ละฝักมีเมล็ด 15-25 เมล็ด</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130 height=21>ส่วนที่เป็นพิษ</TD><TD>เมล็ด </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>สารพิษที่พบ</TD><TD>saponins </TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การเกิดพิษ</TD><TD>ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว มีไข้ ตาพร่า ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ ถ้าอาการพิษรุนแรง เนื้อเยื่อที่อยู่ลึกๆ อาจถูกทำลาย กรณีที่มีการดูดซึมสารพิษ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง กกระหายน้ำ กังวล ม่านตาขยาย และหน้าแดง พิษที่รุนแรง แสดงออกโดยกล้ามเนื้อไม่มีแรง การประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี สุดท้ายการไหลเวียนของเลือดไม่สม่ำเสมอ และอาจถึงชัก</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การรักษา</TD><TD>ให้คนไข้รับประทานไข่ขาวเพื่อให้อาเจียน และรักษาตามอาการในรายที่ไม่มีอาการอาเจียนรุนแรงให้ล้างท้องทันที ให้สารหล่อลื่น เช่น นม หรือไข่ขาว และให้ทานอาหารอ่อน เช่นเดียวกับโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด เมื่อมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มาก</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>การทดสอบความเป็นพิษ</TD><TD>-</TD></TR><TR vAlign=top><TD width=130>ที่มาของข้อมูล</TD><TD>-</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://webdb.dmsc.moph.go.th/poison/Detail.asp?id=190&Temp=0
     
  16. เทพ

    เทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    275
    ค่าพลัง:
    +3,099
    สำหรับนักนิยมบริโภคเห็ดแปลกๆ หรือเกี่ยวกับเห็ดพิษ เท่าที่เคยรับทราบข้อมูล จะมีเห็ดชนิดหนึ่งเรียกว่า พญาเห็ด จะสามารถแก้พิษของเห็ดเกือบทุกชนิดได้

    อาจารย์ผมซึ่งจบทางแพทย์แผนปัจจุบัน ยืนยันว่าได้เคยเห็นการทดลอง และมีการตรวจด้วยตนเองว่า ชาวบ้านสามารถทานเห็ดพิษหลายชนิดได้โดยไม่เป็นอันตราย โดยการทานพญาเห็ดร่วมด้วย ... แต่หน้าตาพญาเห็ดจะเป็นอย่างไรนั้น โดยส่วนตัวผมก็ยังไม่เคยเห็น ...

    แต่ใครที่สนใจจริงจัง ระหว่างออกภาคสนามลงพื้นที่ อาจโชคดีได้พบของจริงจากชาวบ้านพื้นถิ่น ลองเก็บเป็นข้อมูลเผื่อการสอบถาม
     
  17. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    ขออนุโมทนากับข้อมูลของคุณเทพครับ
    ถ้ามีโอกาสเจอพญาเห็ด อย่าลืมถ่ายรูปมาฝากเพื่อนๆด้วยนะครับ
     
  18. ตลับนาค

    ตลับนาค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +1,497
    นึกได้อีกอย่างนึงครับที่ไม่ใช่เห็ด คนสมัยก่อนใช้กัน แก้ยาสั่ง
    ว่านรางจืด เป็นไม้เถาดอกสีม่วงขาว ใช้แก้พิษได้หลายอย่าง
    รวมถึงแก้เมาได้ ปัจจุบันเห็นขายเป็นซองเหมือนชา
    ใช้ชงกับน้ำร้อนครับ
     
  19. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    [​IMG]

    ว่านรางจืด
     
  20. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=160>[​IMG]
    </TD><TD align=middle width=294>[​IMG]
    รางจืด
    Thunbergia laurifolia Linn.
    THUNBERGIACEAE

    ชื่ออื่น กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว คาย รางเย็น ดุเหว่า ทิดพุด น้ำนอง ย่ำแย้ แอดแอ </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    รูปลักษณะ
    ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ขอบใบเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ใบประดับสีเขียวประสีน้ำตาลแดง ผลแห้ง แตกได้

    สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
    ใบสด-ใช้คั้นน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษต่างๆ ในร่างกาย เช่น อาการแพ้อาหาร เป็นต้น การทดลองเพื่อใช้แก้พิษที่เกิดจากยาฆ่าแมลงโพลิดอลในสัตว์ ได้ผลดีพอควร สรุปได้ว่าอาจใช้น้ำคั้นใบสดให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลง ดื่มเป็นการปฐมพยาบาล ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกัน ก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา
    http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=236
     

แชร์หน้านี้

Loading...